ป้ายกำกับ: Glass

CITÉ DU VIN | GUARDIAN GLASS

CITÉ DU VIN | GUARDIAN GLASS

XTU Architect ออกแบบโปรเจ็คต์​ Cité du Vin โดยนำแรงบันดาลใจจากแม่น้ำ Garome ในประเทศฝรั่งเศสและไวน์ที่เป็นเครื่องดื่มประจำชาติ มาสร้างสถาปัตยกรรมที่เต็มไปด้วยความโค้งมน พร้อมกรุด้วย façade กระจกรุ่น SunGuard® Solar Gold 20 และ Guardian UltraClear™ ที่บิดโค้งไปตามรูปทรงอาคาร

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO COURTESY OF GUARDIAN GLASS

(For English, press here)

คงน่าสนใจไม่น้อย หากงานสถาปัตยกรรมคอยบอกเล่าเรื่องราวของเมือง และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ผสมผสานทั้งเรื่องราวที่น่าสนใจ ผ่านการออกแบบที่เต็มไปด้วยวัสดุ รูปทรง และ เทคโนโลยีการก่อสร้างที่ร่วมสมัย ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น รวมอยู่ภายในโครงการ Cité du Vin นี้แล้ว

โปรเจกต์ Cité du Vin นี้ตั้งอยู่ในเมือง Bordeaux ประเทศฝรั่งเศส พื้นที่ของโครงการตั้งอยู่ริมแม่น้ำ Garome แม่น้ำสายหลักที่ผ่านกลางใจเมือง ทำให้ตัวอาคารนั้นถูกออกแบบให้มีเอกลักษณ์ และเป็นเสมือน Landmark ของเมืองไปด้วยในเวลาเดียวกันผ่านอาคารรูปทรงโค้งมน ด้วยพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ฟังค์ชั่นของตัวอาคารนั้นเป็นพิพิธภัณฑ์ไวน์ที่ประกอบไปด้วย ร้านอาหาร ห้องจัดแสดง ห้องสำหรับการเรียนรู้ รวมไปถึง ห้องทดลองไวน์ โดยมีพื้นที่แสดงนิทรรศการมากถึง 22 ส่วน เพื่อจัดแสดงและบอกเล่าประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ ในการรับชมอาคาร

XTU Architect ผู้ออกแบบโครงการนี้ตั้งใจนำแนวความคิดของไวน์ที่เป็นเครื่องดื่มทางวัฒนธรรมประจำชาติ ให้แสดงออกผ่านงานสถาปัตยกรรม จึงเกิดเป็นรูปทรงของอาคารที่บิดโค้ง ไร้มุม และสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงมากขึ้นระหว่างตัวอาคารและบริบทของพื้นที่โดยรอบ โดยเมื่อมองจากภายนอกจะเห็นถึงรูปทรงอาคารที่สอดคล้องไปกับแม่น้ำที่ไหลผ่านอยู่ด้านข้างตัวอาคาร นอกจากนี้ ภายนอกตัวอาคารยังสามารถมองเห็นพื้นผิวของ façade กระจกที่สะท้อนแสงธรรมชาติในมุมต่างๆ รอบทิศทาง โดยถูกออกแบบให้บิดตัวไปตามรูปทรงของอาคาร

แผงกระจกที่ถูกออกแบบให้เป็นไฮไลต์ของอาคาร เลือกใช้กระจกรุ่น SunGuard® Solar Gold 20 และ Guardian UltraClear™ นำมาดัดโค้งเพื่อใช้เป็น Façade ให้ช่วยส่งเสริมรูปทรงของอาคารมากขึ้น โดย SunGuard® Solar Gold 20 ที่ถูกออกแบบให้มีสีทองนั้นมีคุณสมบัติทั้งช่วยลดรังสีและกรองแสงที่ส่องผ่าน ซึ่งเมื่อนำมาใช้ใน Façade ก็สามารถสร้างลวดลายให้มีความน่าสนใจได้และเมื่อใช้ร่วมกับ Ultraclear ที่มีคุณสมบัติให้แสงส่องผ่านได้ดี ก็จะสามารถมองเห็นโครงสร้างภายในได้ชัดเจน ช่วยให้ตัวอาคารมีรายละเอียดที่น่าสนใจมากขึ้น

จากรูปฟอร์มภายนอกส่งเข้ามาถึงพื้นที่ภายใน ที่เส้นสายต่างๆ ทำให้สเปซภายในสื่อถึงแนวความคิดของไวน์ ของสายน้ำออกมาได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ห้องนิทรรศการหลัก ที่เลือกใช้ไม้ในการออกแบบเป็นพื้นที่ภายใน โดยใช้แนวความคิดของโครงสร้างเรือมาสร้างเพื่อสื่อถึงการเดินทางของไวน์และเพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับผู้เข้าชม

การเลือกใช้วัสดุอย่างพิถีพิถันจะช่วยส่งเสริมให้งานสถาปัตยกรรมสื่อสารออกมาได้อย่างเติมที่ ควบคู่ไปกับข้อมูลที่น่าสนใจของอาคารนั้นๆ Cité du Vin จึงเป็นอีกหนึ่งงานสถาปัตยกรรมที่แสดงเรื่องราวออกมาได้เป็นอย่างดี

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

MARAYA CONCERT HALL | GUARDIAN GLASS

MARAYA CONCERT HALL | GUARDIAN GLASS

Maraya Concert Hall คืออาคารกระจกเงาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งแฝงตัวอยู่ท่ามกลางทะเลทราย Arabian พื้นผิวอาคารถูกห่อหุ้มด้วยกระจกเงา UltraMirror ที่พัฒนาโดย Guardian Glass ซึ่งสะท้อนภาพทิวทัศน์โดยรอบลงบนพื้นผิวภายนอกของอาคาร สร้างภาพลวงตาเสมือนอาคารหายไปในสภาพแวดล้อม

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO COURTESY OF GUARDIAN GLASS

(For English, press here)

มองแล้ว ต้องมองอีกที สำหรับโปรเจ็คต์ Maraya Concert Hall ที่มองผ่านๆ ถ้าไม่ทันสังเกตเราอาจจะเห็นเป็นทิวทัศน์ของภูเขาท่ามกลางทะเลทราย Arabian เพราะตัวอาคารนั้นปิดผิว Façade ทั้งหมดด้วยกระจกเงา จนเกิดเป็นทิวทัศน์โดยรอบ ภายใต้กรอบสี่เหลี่ยมของตัวอาคาร จนคล้ายกับว่าจะหายไปจากการมองเห็นในบางครั้ง สร้างความรู้สึกเหมือนภาพลวงตาให้เกิดขึ้นสำหรับคนที่พบเห็น

สำหรับห้องจัดแสดงขนาด 500 ที่นั่ง และ ด้วยพื้นที่กว่า 9740 ตารางเมตร ทำให้ Maraya Concert Hall นั้นกลายเป็นอาคารกระจกเงาที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยบันทึกลงใน Guinness Book ซึ่งด้วยสเกลของอาคารนั้นทำให้ภาพที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงสภาดแวดล้อมโดยรอบอย่างชัดเจน ซึ่งคำว่า Maraya นั้นหมายถึง ‘กระจก’ ในภาษาอาหรับ ซึ่งหลายมาเป็น Concept Idea หลักของโปรเจ็คต์นี้

ในตอนเริ่มต้นนั้น Façade ถูกออกแบบให้ดูคล้ายผนังเหล็กขนาดใหญ่ ที่สะท้อนให้เป็นภาพทิวทัศน์โดยรอบแบบเลือนราง และ ไม่ชัดเจน เนื่องด้วยความกังวลในการใช้กระจกจริงสำหรับการออกแบบอาคารในสภาพแวดล้อมที่เป็นทะเลทรายเช่นนี้ ที่ทั้งความร้อน และ รังสี UV จะส่งผลถึงสารเคลือบกระจกต่างๆ จนทำให้เกิดปัญหาในการดูแลรักษาในอนาคต รวมถึงผลลัพธ์ของการสะท้อนที่ไม่ชัดเจนมากพอ จนถึงการผิดเพี้ยนของสี ที่อาจะส่งผลให้การใช้กระจกไม่ได้ผลดีเท่าที่คิด 

แต่ด้วยเทคโนโลยีจาก Guardian Glass ที่ได้พัฒนากระจกหลากหลายรูปแบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการใช้งาน ซึ่งทางทีมก็ได้เลือก UltraMirror ที่เป็นกระจกเงาสำหรับงานออกแบบภายใน เพื่อพัฒนาให้มีคุณสมบัติมากพอสำหรับการใช้งานในโครงการที่มีสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ 

โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ทาง Guardian Glass ไม่ใช้เพียงแต่ผลิตกระจกเท่านั้น แต่ยังสามารถร่วมพัฒนาผลงาน ค้นคว้า และ หาทางออกที่เหมาะสม และตอบโจทย์ที่สุดสำหรับงานกระจกในงานสถาปัตยกรรม แม้ว่าจะเป็นแนวความคิดที่ยากจนเกือบเป็นไปไม่ได้ก็ตาม เพราะกระจกทุกรูปแบบ มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน อยู่ที่การทำความเข้าใจ คัดสรร และ ประยุกต์เลือกใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

นอกจากเรื่องคุณสมบัติของกระจกแล้วยังมีความท้าทาย ในการขนส่ง และ ติดตั้ง เนื่องจากกระจกเงาที่ใช้นั้นมีความแตกต่างจากกระจกเงาปกติ เพราะต้องนำไปตัด อบความร้อน และ เคลือบสารเคมีต่างๆ ที่มาก และ ซับซ้อนกว่าปกติ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งหากมองในภาพรวม ทั้งวิธีการติดตั้ง ขนาดของกระจก และ พื้นผิวโดยรวม รวมไปถึงประสิทธิภาพในการสะท้อนสภาพแวดล้อมโดยรอบนั้น ส่งผลให้ Maraya Concert Hall เป็นผลงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นอย่างมาก จนได้รับรางวัล Popular winner จาก Architizer A+Awards ปี 2020 ในสาขา สถาปัตยกรรม และ กระจก เป็นรางวัลที่การันตีการประสบความสำเร็จของโครงการนี้ได้เป็นอย่างดี

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

Herzog & de Meuron สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ ‘Elbphilharmonie Hamburg’ ปรับปรุงคลังสินค้าเก่าให้กลายเป็นแลนด์มาร์กของเมือง Hamburg ประเทศเยอรมนี ด้วย façade กระจกผิวโค้งมน 3 มิติ ที่เกิดจากการร่วมพัฒนากับ Guardian Glass เป็นครั้งแรก

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: CORDELIA EWERTH

(For English, press here)

Elbphilharmonie Hamburg เป็นหนึ่งในอาคารที่ได้ชื่อว่ามีความสวยงาม และมีระบบการออกแบบ Acoustic ที่ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกระดับโลกอย่าง Herzog & de Meuron เจ้าของรางวัล Prizker Prize เมื่อปี 2001 ที่มีแนวทางการออกแบบในการประยุกต์ การผสมผสานสิ่งเก่าและสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นในงานสถาปัตยกรรมของพวกเขาอยู่เสมอ

ความน่าสนใจของโครงการนี้ไม่ใช่เพียงแค่หน้าตาของอาคาร และเทคโนโลยี แต่ยังแสดงถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพื้นที่ รวมทั้งอาคารหลังเก่าก็ช่วยสร้างให้เกิดความพิเศษขึ้นมา เดิมที่พื้นที่นี้เคยเป็นที่ตั้งคลังสินค้าหลวง (Kaispeicher) โดยทางรัฐบาลมีแนวคิด ที่จะพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นศูนย์กลางของเมือง เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายในพื้นที่สาธารณะการออกแบบจึงเริ่มต้นจากการรักษาอาคารคลังสินค้าเก่าและสร้างโครงสร้างใหม่ต่อยอดขึ้นไปด้านบน เกิดเป็นการผสมผสานระหว่างอาคารก่ออิฐและอาคารผิวกระจกที่มีความน่าสนใจอย่างมาก จากด้านล่างที่พื้นที่ต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน ห้อมล้อม และผ่านตัวอาคารคลังสินค้าเก่านี้ ก่อนที่จะขึ้นไปพบกับฟังก์ชั่นที่หลากหลายด้านบน ทั้งโรงแสดงดนตรี ร้านอาหาร บาร์ อพาร์ทเมนต์ โรงแรม รวมถึงดาดฟ้าที่สามารถชมวิวท่าเรือของเมือง Hamburg ได้

ใจความสำคัญของโครงการคงหนีไม่พัน ส่วนขยายต่อเติมที่เป็นอาคารกระจกด้านบนที่ถูกออกแบบให้มีความสุนทรียศาสตร์เพื่อให้สอคล้องไปกับฟังก์ชั่นที่เป็นโรงแสดงดนตรี โดยนำเส้นโค้งและการบิดตัวของพื้นผิวต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ที่เข้ามาใช้งาน สื่อถึงความเป็นท่าเรือโดยได้แรงบันดาลใจมากจากผ้าใบเรือ และรูปลักษณ์ของคลื่นบนพื้นผิวของ façade ขนาดพื้นที่กว่า 5,000 ตารางเมตร ไม่บ่อยครั้งนักที่วัสดุที่เราคุ้นชินอย่างกระจกจะถูกนำมาดัดโค้งบิดรูปจนเกิดเป็นพื้นผิวที่โค้งมน 3 มิติ ทำให้สถาปนิกนั้นสามารถออกแบบได้อย่างอิสระเพื่อให้ใกล้เคียงกับแนวความคิดมากที่สุด โดยได้พัฒนาร่วมกัน Guardian Glass เพื่อมองหาความเป็นไปได้นี้

ความน่าสนใจคือการสร้างกระจกที่บิดตัวเป็นแบบ 3 มิติ ที่ได้ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกในโครงการนี้ ผ่านการวิจัยอย่างละเอียดเพื่อที่จะรักษารูปแบบของกระจกพร้อมกับคงคุณสมบัติของกระจกแต่ละประเภทไว้ ทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคาร การป้องกันความร้อนเข้าสู่พื้นที่ภายใน โดยในโครงการนี้ได้เลือกใช้กระจกอย่างรุ่น Extra Clear, ClimaGuard®, SunGuard® มาผสมผสานกันเพื่อให้งานออกแบบนั้นสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งสำหรับงานสถาปัตยกรรมแล้ว การพัฒนาในแง่ของวัสดุครั้งนี้ช่วยให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดในงานออกแบบต่างๆ ในอนาคต

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com