Tag: Glass

LIVING WITH THE GLASS | GUARDIAN GLASS

LIVING WITH THE GLASS | GUARDIAN GLASS

เราลองไปดูบ้าน 3 หลังใน 3 ประเทศที่ใช้กระจกจาก Guardian Glass ในการสร้างช่องเปิดที่ตอบโจทย์ในแบบต่างๆ ทั้งการสร้างทัศนียภาพในอาคาร เปิดรับลมเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก หรือรักษาอุณหภูมิให้พอเหมาะ ทั้งนี้ก็เพื่อการสร้่างภาวะอยู่สบายให้กับผู้อยู่อาศัย

Read More

WITH OR WITHOUT GLASS

วรา จิตรประทักษ์ จาก Plan Architect พาเรามองการใช้กระจกให้เต็มประสิทธิภาพที่มากกว่าแค่เรื่องความสวยงามผิวเผิน และบอกเล่าถึงการใช้วัสดุนี้อย่างที่ควรจะเป็นในสถาปัตยกรรมแบบร้อนชื้นของประเทศไทย

Read More

OFFICE BUILDING 01 | GUARDIAN GLASS

Le Cristallin building

OFFICE BUILDING 01 | GUARDIAN GLASS

ร่วมสำรวจการใช้กระจก Guardian Glass ในการออกแบบอาคารสำนักงานชั้นนำของโลก ในฐานะวัสดุอันเป็นภาพรวมของอาคารที่ทั้งตอบรับกับการใช้สอย ทั้งยังเป็นดั่งตัวแทนที่จะนำเสนอวิสัยทัศน์ขององค์กรแก่สาธารณะ

Read More

PERCEPTION OF EMPTINESS

กุลธิดา ทรงกิตติภักดี จาก HAS design and research มองความว่างเปล่าที่ปรากฏบนวัตถุและพื้นที่ในสถาปัตยกรรม ในฐานะเครื่องมือเพื่อสร้างการรับรู้ที่ไร้ขอบเขต น่าค้นหา และเป็นอนันต์

Read More

LA CASA DEL DESIERTO | GUARDIAN GLASS

LA CASA DEL DESIERTO | GUARDIAN GLASS

ท่ามกลางทะเลทรายที่ร้อนระอุ บ้านพักตากอากาศ La Casa del Desierto โดย OFIS Architects กลับมีการออกแบบที่โดดเด่นด้วยการใช้วัสดุที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมอย่างกระจก SunGuard eXtraSelective SuperNeutral 60 (SNX 60) และ ClimaGuard® Premium2 ที่มีคุณสมบัติในการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารพร้อมทั้งเปิดรับแสงธรรมชาติเข้ามาได้พร้อมกัน

Read More

///

มอง ‘กระจก’ วัสดุที่ทั้งมองเห็นและไม่เห็นผ่านสายตาของ กาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ บรรณาธิการ art4d ที่ชี้ให้เห็นความพิเศษของวัสดุที่ทั้งมีตัวตน และไม่มีตัวตน คาดเดาได้ และคาดเดาไม่ได้

Read More

ROYAL PROJECT FOUNDATION | GUARDIAN GLASS

ROYAL PROJECT FOUNDATION | GUARDIAN GLASS

โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวงนี้เป็นอาคารแบบล้านน้าที่ซ่อนรายละเอียดของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยไว้ภายในผ่านใช้กระจกจาก Guardian Glass เพื่อตอบโจทย์ในด้านการกรองแสงแดดและถ่ายทอดอัตลักษณ์ของอาคาร

Read More

ELBPHILHARMONIE HAMBURG: FAÇADE DETAILS | GUARDIAN GLASS

ELBPHILHARMONIE HAMBURG: FAÇADE DETAILS | GUARDIAN GLASS

หลังจากได้นำเสนอเบื้องหลังแนวคิดการดีไซน์อาคาร ELBPHILHARMONIE HAMBURG กันไปในครั้งก่อน คราวนี้ไปเจาะลึกถึง façade กระจกของอาคารที่ประกอบด้วย Guardian ExtraClear®, Guardian ClimaGuard® และ Guardian SunGuard® ที่ก่อให้เกิดเส้นสายดั่งคลื่นน้ำและท่าเรือใกล้เคียง

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: CORDELIA EWERTH

(For English, press here)

Façade กระจกดัดโค้งรูปร่างประหลาดตา กลายเป็นภาพจำของโปรเจ็คต์ Elbphilharmonie Hamburg ผลงานออกแบบจาก Herzog & de Meuron ที่นำคลังสินค้าเก่ามาออกแบบใหม่ให้กลายเป็นศูนย์กลางของเมือง Hamburg ที่เต็มไปด้วยกิจกรรม ทั้งโรงแสดงดนตรี ร้านอาหาร บาร์ อพาร์ทเมนต์ และ โรงแรม

จากแนวความคิดในการออกแบบที่มาจากคลื่นน้ำ นำมาสู่การพัฒนารูปร่างของกระจกให้เกิดความโค้งแบบ 3 มิติ ด้วยพื้นที่ของ Façade กว่า 21,800 ตารางเมตร โดยมีส่วนที่ถูกออกแบบให้เป็นกระจกโค้งกว่า 5,000 ตารางเมตร ที่เกิดจากการพัฒนาร่วมกันกับ Guardian Glass และโครงการ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่เคยมีการพัฒนากระจกในลักษณะนี้มาก่อน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของรูปลักษณ์เท่านั้น แต่แผงกระจกนี้ยังคงต้องคงคุณสมบัติต่างๆ ไว้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งความเข็งแรง ความปลอดภัย และ การลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร

สถาปนิกเลือกนำกระจก 3 ชั้นมาดัดโค้งและประกอบจนเกิดเป็นรูปแบบตามความต้องการ นอกจากที่จะตอบโจทย์ในแง่ของความสวยงามแล้ว กระบวนการผลิตก็ยังคงคุณสมบัติต่างๆ ของกระจกไว้ได้อย่างดีแม้ว่าจะนำไปดัดโค้ง ทำให้สามารถรักษาประสิทธิภาพของผิวกระจก Low-E ที่สามารถควบคุมความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้อย่างครบถ้วน

กระจกที่เลือกมาใช้ในโครงการ Elbphilharmonie Hamburg นั้นประกอบไปด้วย Guardian ExtraClear® กระจกโฟลตใส ที่เลือกใช้เป็นกระจกหลักกับ Façade ของอาคาร เพื่อให้มีความโปร่งใส รวมถึง Guardian ClimaGuard® DT กระจกฉนวนความร้อน มีที่คุณสมบัติควบคุมอุณหภูมิจากภายนอกสู่ภายในได้ดี  มีความแข็งแรงทนทาน และ Guardian SunGuard® Solar Light Blue 52 กระจกควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องเข้าสู่ตัวอาคาร สามารถส่งผ่านแสงอาทิตย์เข้าสู่ตัวอาคาร หรือ Visible Light Transmission (VLT) ที่ 47% และ ส่งผ่านความร้อนเพียง 36% เท่านั้น ซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมอุณหภูมิ และ ลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศภายในอาคารได้

จากเทคโนโลยีในการก่อสร้างอาคาร Elbphilharmonie Hamburg นี้ ทำให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ต่างๆ ในการนำกระจกมาใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งหากเรานำการออกแบบ มาผสมผสานกับองค์ความรู้ในแง่ของวัสดุ และ กระบวนการผลิตนั้น ก็จะช่วยให้มองเห็นความเปิดกว้างในงานออกแบบมากขึ้นในอนาคต

และย้อนดูบทความเกี่ยวกับเบื้องหลังแนวคิดในการออกแบบอาคาร Elbphilharmonie Hamburg ได้ที่

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

GLASS IN ARCHITECTURE

กังวานสิริ เตชะวณิช จากสตูดิโอ pbm จะมานำเสนอเรื่องราวของวัสดุอย่าง ‘กระจก’ ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่แผ่นบางๆ ที่กั้นตรงกลางเท่านั้น หากแต่เป็นวัสดุที่ทำลายทุกกรอบของความเป็นไปได้ในงานออกแบบ เพื่อแสดงออกถึงวิสัยทัศน์แห่งอนาคตของงานสถาปัตยกรรม

Read More

CUBE BERLIN | GUARDIAN GLASS

CUBE BERLIN | GUARDIAN GLASS

3XN Architects นำเสนออาคาร Cube Berlin ที่ทำหน้าที่เป็นแลนด์มาร์คให้กับพื้นที่สาธารณะที่ผสมศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันทั้งงานสถาปัตยกรรม ศิลปะและเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง Façade จากกระจกรุ่น Climaguard Premium 2 และ Sunguard High Durable Diamond 66 ก็ได้สร้างความโดดเด่นและลดการใช้พลังงานในอาคารไปได้พร้อมๆ กัน

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: ADAM MØRK

(For English, press here)

จัตุรัสใจกลางเมืองเบอร์ลินเป็นที่ตั้งของอาคารรูปทรงทันสมัยอย่าง Cube Berlin ด้วยทำเลที่ตั้งที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหลักของเมือง อีกทั้งยังติดริมแม่น้ำ จึงทำให้อาคารนี้ทำหน้าที่เป็นเสมือน Landmark ให้กับพื้นที่สาธารณะในย่านนี้ ที่ไม่ใช่แค่เพียงรูปลักษณ์ภายนอกที่โดดเด่นเท่านั้น แต่อาคารหลังนี้ยังเป็นการผสมผสานศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งในแง่ของความเป็นงานสถาปัตยกรรม ศิลปะ และ เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

จากความตั้งใจของผู้ออกแบบ 3XN Architects มีแนวความคิดที่ต้องการให้มิติของตัวอาคารนั้นมีความหลากหลายมากกว่าเดิม แม้ว่าจะเป็น office แต่ก็ยังสามารถแสดงออกเสมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่งได้ รวมไปถึงการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับพื้นที่โดยรอบด้วยผนังกระจกรอบด้าน ที่สะท้อนทางเดิน บรรยากาศของเมืองได้ ด้วยมิติที่หลากหลายเมื่อมองจากทั้งภายในและภายนอก

อาคารพาณิชย์สูง 10 ชั้นที่ประกอบไปด้วยพื้นที่กิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งออฟฟิศ ตลาด ที่จอดรถ ดาดฟ้า เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับพื้นที่โดยรอบ และด้วยความสูงของเปลือกอาคาร 42.5 เมตร โดยรอบ ทำให้ฟอร์มทรงลูกบาศก์นั้นโดดเด่นชัดเจน ด้วยผิวอาคารกระจกที่เปิดโล่งทั้งอาคารเผยให้เห็นโครงสร้างอย่างชัดเจนและจากมุมมองพื้นที่ภายในที่ผนังกระจกสูงจากพื้นถึงเพดาน เปิดให้เห็นวิวโดยรอบอย่างชัดเจนและรับแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ใช้สอยภายในได้อย่างเต็มที่

Façade ถูกออกแบบให้เกิดเป็นมุมหักสะท้อนที่แตกต่างทิศทางกันออกไป คล้ายกับรูปทรงของปริซึม เกิดเป็นลูกเล่นสำหรับผู้คนที่พบเห็น เปลือกอาคารถูกออกแบบให้เป็น กระจก 2 ชั้นช่วยให้เกิดมิติของอาคารที่มากกว่าเดิม ครอบคลุมพื้นที่ใช้สอย และ ส่วนระเบียงที่เรียงตัวสลับกันไปมาในแต่ละชั้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดเป็นพื้นที่เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ภายใน และ ภายนอก ซึ่งเมื่อมองจากภายนอกนั้น ผนังกระจกที่หุ้มอาคารนั้นเลือกใช้กระจกรุ่น Climaguard Premium 2 และ Sunguard High Durable  Diamond 66 ที่มีคุณสมบัติในการดักจับพลังงานความร้อนและมีการเคลือบสารสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์บนผิวของกระจก ทำให้สามารถตอบโจทย์ของการออกแบบที่ส่งเสริมเรื่องของอาคารอัจฉริยะที่เป็นอีกหนึ่งแนวความคิดหลักของโครงการนี้

ด้วยแนวความคิดของอาคารอัจฉริยะทำให้ผู้ออกแบบให้ความสำคัญถึงการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยประสิทธิภาพของกระจกนั้น ช่วยให้อาคารสามารถจัดการเรื่องความร้อนภายนอก และอุณหภูมิที่จะส่งเข้ามายังพื้นที่ภายใน ช่วยลดการใช้พลังงานภายในอาคารได้ ถึงแม้ว่าเปลือกอาคารจะเป็นผืนกระจกทั้งหมด แต่ไม่ส่งผลกับการจัดการพลังงานของอาคารหลังนี้ และเมื่อผนวกกับระบบการจัดการต่างๆ ทำให้อาคารหลังนี้ตอบโจทย์ความเป็นอาคารอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com