Tag: thai architecture

THAI ARCHITECTURE INFOGRAPHIC

TEXT & IMAGE: KIDYANG ARCHITECTURE & RESEARCH

(For English, press here)

ซีรีส์ Thai Architecture Infographic เป็นการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับโบราณสถานและอาคารประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ที่เราเห็นว่ามีจุดน่าสนใจทั้งสถานที่ที่สูญหายไปแล้ว สถานที่ที่เข้าถึงยากหรือถูกสงวนการเข้าถึง และเป็นสถานที่ที่ไม่เคยได้สร้างจริง เช่นในการสันนิษฐานพระบรมบรรพต ที่แต่แรกสร้างนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ (King Nangklao) เคยมีพระราชประสงค์จะสร้างเป็นพระปรางค์ที่สูงที่สุดเทียบเท่ากับภูเขาทองอยุธยาและพระปรางค์วัดอรุณ แต่ก็ล้มเลิกไปด้วยปัญหาฐานรากทรุด

ทั้งหมดนี้ เรามีการนำเสนอผ่านการผสมเครื่องมือระหว่างการวาดมือและการปั้นโมเดลสามมิติเพื่อช่วยทุ่นแรงและเวลาในการผลิตผลงานโดยที่ infographic และ illustration ทั้งหมดของซีรีส์นี้ก็ยังคงจุดมุ่งหมายแรกของเราไว้คือการทำให้ข้อมูลที่เข้าถึงได้ยากถูกนำเสนอให้เข้าใจง่าย และมีความน่าดึงดูดสำหรับบุคคลทั่วไปให้มีความสนใจต่ออาคารทางประวัติศาสตร์ในมิติที่แปลกใหม่ยิ่งขึ้น และเป็นโชคดีที่ในการทำงานชุดดังกล่าวนี้ ทำให้เราได้รู้จักกับกองบรรณาธิการและทีมของ National Geographic Thailand เกิดเป็นการร่วมกันสร้างสรรค์บทความและภาพประกอบสำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในประเทศไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา

กลุ่ม ‘คิดอย่าง’ เกิดจากการรวมตัวของคนจากหลายสาขาวิชาและความถนัดที่มีความสนใจร่วมกับเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสุรเชษฐ์ แก้วสกุล และ พัชรพงศ์ กุลกาญจนาชีวิน เป็นทีมหลักในซีรีส์ Thai Architecture Infographic

facebook.com/Arch.kidyang
facebook.com/Maewsow
instagram.com/p.kulkan

HANDIGRAPH

TEXT & PHOTO COURTESY OF HANDIGRAPH

(For English, press here)

WHO
ชื่อ Handigraph มาจาก handicraft + graphic เพราะงานที่เราทำคือการสร้างผลงานกราฟฟิกด้วยวิธีแบบแฮนเมด ซึ่งที่เราทำก็คือการแกะยางลบ เลยจะเรียกว่าเป็นสตูดิโอแกะตัวปั๊มยางลบก็ได้

WHAT
เป็นสตูดิโอทำงานคราฟต์แกะยางลบเป็นหลัก แล้วก็มาใช้ทำงานภาพพิมพ์ ลายที่แกะก็มีหลายอย่างแต่ส่วนใหญ่จะเป็นงานสถาปัตยกรรม ในประเทศไทยเพราะรู้สึกว่าน่าสนใจ

WHEN
จริงๆ เป็นงานอดิเรกที่ทำมาได้ประมาณ 10 ปีแล้ว ตั้งแต่สมัยเรียนสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ ตอนนั้นเริ่มต้นจากการที่เห็นผลงานแกะยางลบของต่างประเทศแล้วรู้สึกว่าน่าจะไม่ยาก เลยลองเริ่มทำดู (ถึงได้รู้ว่าจริงๆ แล้วก็ไม่ง่ายขนาดนั้น) ตอนแรกๆ ก็คือแกะลายทั่วๆ ไปก่อน ไม่ได้แค่งานสถาปัตยกรรม แต่ชอบแกะแบบเป็นคอลเลคชั่น เวลาปั๊มด้วยกันเยอะๆ แล้วน่ารักดี

WHERE
เพราะทำเป็นงานอดิเรก ก็เลยทำงานที่บ้านเป็นหลักในวันที่ว่าง ส่วนผลงานมีวางขายในเพจแล้วก็ที่มิวเซียมสยามนะ

WHY
เราเห็นที่คนต่างประเทศแกะยางลบให้เป็นลายต่างๆ ตาม culture แต่ละประเทศ แต่ของไทยยังไม่ค่อยมีที่เป็นงาน craft ลักษณะนี้ที่แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของบ้านเราด้วย เราเลยรู้สึกว่ามันน่าจะมีอะไรอย่างนี้บ้างในไทย

แล้วทำไมถึงเริ่มแกะตัวปั๊มเป็นลายสถาปัตยกรรม?
ส่วนตัวเป็นคนที่ชอบดูอาคารต่างๆ อยู่แล้ว แล้วงานสถาปัตยกรรมก็มักจะมีดีเทลรายละเอียดเฉพาะตัว โดยเฉพาะตึกเก่าแบบพวกยุคบ้านขนมปังขิง ที่มันจะมีดีเทลที่อาคารในยุคใหม่ๆ ไม่ค่อยมี แล้วพองานที่แกะมันมีเส้นสายดีเทลเยอะๆ งานมันดูสวยแล้วดูเต็มดีโดยตึกแรกๆ ที่ลองเริ่มแกะคือตึกพระที่นั่งอนันตสมาคม

ขั้นตอนไหนที่สนุกที่สุดและขั้นตอนไหนที่ยากที่สุด.
จริงๆ ทุกขั้นตอนก็มีความยากง่ายในตัว อย่างตอนหาแบบอาคารบางหลังก็หาแบบนานมาก เพราะเวลาแกะตึกต่างๆ เราจะแกะตาม proportion เลยต้องหาพวกแบบก่อสร้าง แบบรูปด้านอาคารให้ได้ก่อน ส่วนตัวเราเองเป็นคนที่ชอบประวัติศาสตร์แบบที่ไม่ได้อยู่ในตำราเรียนอยู่แล้วด้วย เลยสนุกกับการไปค้นคว้าหาข้อมูลแบบต่างๆ อย่างตอนนี้มีหลังหนึ่งที่อยากแกะมากคือบ้านบ้านบรรทมสินธุ์ทั้งๆที่เป็นบ้านสำคัญในยุคนั้นแต่ยังหาแบบไม่ได้สักที ส่วนขั้นตอนการแกะจริงๆต้องบอกว่าอันนี้คือท้าทายสุด เพราะพอวาดลายเสร็จแล้วมันดูละเอียดมาก เรามักจะคิดว่า มันจะรอดมั้ยเนี่ย อันนี้พังชัวร์ 555 ก็เรียกว่าเป็นขั้นที่ต้องคิดเยอะสุดว่าจะแกะออกมายังไงดี ตรงนี้เอาไงดี ลุ้นๆ กันไป ส่วนขั้นตอนที่ดูเหมือนจะง่ายแต่จริงๆยากคือตอนปั๊ม เพราะถ้าปั๊มแล้วเอียง กดไม่ดี ใบนั้นก็ต้องทิ้งเลย แล้วการปั๊มเป็นสิ่งที่ใช้ประสบการณ์ค่อนข้างเยอะ เคยมีเหตุการณ์ที่ปั๊มเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่หมึกดันซึมบนกระดาษเยอะมาก สรุปก็คือเป็นเพราะว่าวันนั้นฝนตก ทำให้ความชื้นสูง การปั๊มให้สวยเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ง่ายเลยแต่ว่าจริงๆ คือยากกว่าที่คิด

 

โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
ถ้าเท่าที่แกะมาตอนนี้ ชอบบ้านสุริยานุวัตรที่สุด พอแกะเสร็จแล้วรู้สึกว่าอาคารมีความน่ารักมาก เหมือนบ้านตุ๊กตาเลย ตัวบ้านเดิมเป็นของพระยาสุริยานุวัตรตั้งอยู่ที่ถนนหลานหลวง ตอนนี้เค้าเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปเข้าชมได้แล้วด้วย

อะไรคือหลักการทำงานของ Handigraph
ทำเพราะชอบ ทำเพราะรัก ทำเท่าที่เราสบายใจ ไม่ชอบความกดดันเลย เวลาที่เราทำเรารู้สึกชอบเวลาแกะไปคิดไปเรื่อยๆ มากกว่า ไม่รู้ว่า final จะออกมาเป็นยังไงด้วยซ้ำบางครั้ง เลยไม่อยากรับจ้างแกะยางลบ เพราะคนจ้างคงคาดหวัง ผลงานที่ขายก็เลยเป็นภาพพิมพ์ handprint จากยางลบที่เราแกะมากกว่า

 

ถ้าอยากฝึกแกะยางลบบ้างต้องทำอย่างไร
บางครั้งเราจะมีจัด workshop ตามที่ต่างๆ อย่างล่าสุดก็ที่มิวเซียมสยาม แต่หลักการง่ายๆ คือทำไปเรื่อยๆ เหมือนงาน craft ประเภทอื่นๆ หลักการไม่ยาก แต่การแกะให้ได้ดีต้องใช้ทักษะ ทำจนเคยชินทำจนชำนาญแล้วเราจะเห็นถึงรายละเอียดต่างในการทำผลงานแต่ละชิ้น ใช้ยางลบชนิดไหนดี หมึกอะไรดี กระดาษอะไรเหมาะ หรือแม้แต่ว่าจะเก็บยางลบอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ใช้การสังเกตและใช้เวลากับมัน

คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
กินขนม เวลาเหนื่อยมากๆและต้องการ heal ตัวเอง จะอยากกินของหวาน

ถ้าคุณสามารถเชิญศิลปินหรือครีเอทีฟ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
ไปกับคุณวราเนี่ยแหละ (สามีตัวเอง) เพราะว่าทำงานออกแบบทั้งคู่ เป็นคนที่เป็นคู่คิด เป็นที่ปรึกษา เป็นคนที่เท่าทันกัน เป็นคนที่รู้ใจไม่ว่าจะเป็นตอนที่เราพูด หรือเราไม่พูด แล้วก็เป็นคนที่อยู่ด้วยแล้วสบายใจสุด เรียกว่าเป็น best partner ในทุกสถานการณ์

fb.com/handigraph