Tag: research
HOW TO BOOK IN JAPAN
หนังสือ How to Book in Japan นำเสนอแนวคิดของกระบวนการทำหนังสือในบริบทญี่ปุ่นสู่สายตาชาวโลก โดยมุ่งหวังให้เป็นคู่มือสำหรับผู้ที่สนใจจะจัดพิมพ์หนังสือประเภทต่างๆ
THAI ARCHITECTURE INFOGRAPHIC
TEXT & IMAGE: KIDYANG ARCHITECTURE & RESEARCH
(For English, press here)
ซีรีส์ Thai Architecture Infographic เป็นการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับโบราณสถานและอาคารประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ที่เราเห็นว่ามีจุดน่าสนใจทั้งสถานที่ที่สูญหายไปแล้ว สถานที่ที่เข้าถึงยากหรือถูกสงวนการเข้าถึง และเป็นสถานที่ที่ไม่เคยได้สร้างจริง เช่นในการสันนิษฐานพระบรมบรรพต ที่แต่แรกสร้างนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ (King Nangklao) เคยมีพระราชประสงค์จะสร้างเป็นพระปรางค์ที่สูงที่สุดเทียบเท่ากับภูเขาทองอยุธยาและพระปรางค์วัดอรุณ แต่ก็ล้มเลิกไปด้วยปัญหาฐานรากทรุด
ทั้งหมดนี้ เรามีการนำเสนอผ่านการผสมเครื่องมือระหว่างการวาดมือและการปั้นโมเดลสามมิติเพื่อช่วยทุ่นแรงและเวลาในการผลิตผลงานโดยที่ infographic และ illustration ทั้งหมดของซีรีส์นี้ก็ยังคงจุดมุ่งหมายแรกของเราไว้คือการทำให้ข้อมูลที่เข้าถึงได้ยากถูกนำเสนอให้เข้าใจง่าย และมีความน่าดึงดูดสำหรับบุคคลทั่วไปให้มีความสนใจต่ออาคารทางประวัติศาสตร์ในมิติที่แปลกใหม่ยิ่งขึ้น และเป็นโชคดีที่ในการทำงานชุดดังกล่าวนี้ ทำให้เราได้รู้จักกับกองบรรณาธิการและทีมของ National Geographic Thailand เกิดเป็นการร่วมกันสร้างสรรค์บทความและภาพประกอบสำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในประเทศไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา
กลุ่ม ‘คิดอย่าง’ เกิดจากการรวมตัวของคนจากหลายสาขาวิชาและความถนัดที่มีความสนใจร่วมกับเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสุรเชษฐ์ แก้วสกุล และ พัชรพงศ์ กุลกาญจนาชีวิน เป็นทีมหลักในซีรีส์ Thai Architecture Infographic
facebook.com/Arch.kidyang
facebook.com/Maewsow
instagram.com/p.kulkan
ARCHITECTURE ANOMALY
TEXT & IMAGE: SAUL KIM
(For English, press here)
จิตใจของเราถูกตั้งโปรแกรมให้ปฏิบัติตามแนวคิดที่สังคมกำหนดไว้ล่วงหน้า และแนวคิดใดๆ ที่ท้าทายข้อกำหนดนั้นมักจะถูกมองว่าเป็น ‘ความผิดปกติ (anomalous)’ Architecture Anomaly เป็นซีรีส์งานวิจัยด้านการออกแบบที่ริเริ่มโดย Saul Kim ซึ่งทดลองกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในวิถีทางที่ผิดแผกไปจากปกติ เพื่อค้นหาวิธีการก่อร่าง ประกอบ และการอยู่อาศัยใหม่ๆ
แรงบันดาลใจของผลงานชุดนี้มาจากแทบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ หากแต่ไม่ใช่สถาปัตยกรรม สิ่งนี้ช่วยให้นักออกแบบสามารถหลีกเลี่ยงการสร้างสรรค์งานตามรอยเดิม การออกแบบนั้นไม่ควรมีกฎเกณฑ์ แต่คนเรามักจะเผลอตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาเองเมื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ และเริ่มเชื่อว่าการทำสิ่งอื่นนอกเหนือจากนี้เป็นสิ่งที่ผิด ตัวอย่างเช่น เราได้รับการสอนในโรงเรียนสถาปัตยกรรมว่าแผ่นพื้นควรถูกวางในทางราบ มีความหนาระดับหนึ่ง และต้องวางอยู่เหนือคานเพื่อสร้างสเปซสำหรับอยู่อาศัย นี่คือความเข้าใจถึง ‘แผ่นพื้น’ ในมุมมองของมนุษย์ เพราะเราได้เรียนรู้มาช้านานผ่านวิวัฒนาการหลายร้อยปีว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสร้างพื้นที่อยู่อาศัย แต่หากเราก้าวถอยออกมา และลองคลายคำจำกัดความที่ตายตัวของแผ่นพื้นดูว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร ถูกสร้างมาเพื่ออะไร ควรนำไปใช้ในอาคารอย่างไร เราจะเริ่มเห็นภาพแผ่นพื้นอย่างที่มันเป็นจริงๆ เพราะโดยพื้นฐานแล้ว มันก็เป็นเพียงชิ้นของพื้นผิวบางๆ ชิ้นหนึ่งที่กลายเป็นสิ่งอื่นได้อีก บางทีพื้นผิวนี้อาจต้องถูกพับ ถูกทำให้ยับย่น หรือถูกตัดบางส่วนออกไปเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ด้วยการตั้งคำถามเชิงอภิปรัชญาต่อองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้ เราจะสามารถหลุดพ้นจากจุดมุ่งหมายแรกเริ่มของการดำรงอยู่ เพื่อค้นพบความหมายใหม่ๆ ได้อย่างเสรี
_____________
Saul Kim เป็นนักออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงโซล เขาเริ่มเส้นทางด้านสถาปัตยกรรมที่สิงคโปร์ ก่อนจะย้ายไปลอสแอนเจลิสเพื่อศึกษาระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่สถาบันสถาปัตยกรรมแห่งเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (Southern California Institute of Architecture หรือ SCI-Arc) และปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ในปี 2563 Saul Kim ได้เปิดตัวซีรีส์งานวิจัยด้านการออกแบบ ‘Architecture Anomaly’ ที่ให้บริการด้านการวางแผนและการออกแบบ นอกจากนี้เขายังสอนที่มหาวิทยาลัยฮงอิก (Hongik University) ในฐานะศาสตราจารย์พิเศษและเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเควอน (Kaywon University of Art and Design)
PARIN+SUPAWUT STUDIO
Parin+Supawut Studio ก่อตั้งโดยสองนักออกแบบที่ทำงานออกแบบโดยให้ความสำคัญกับกระบวนการคิดและการค้นหาคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในงาน ปล่อยให้กระบวนการ นำพาไปสู่ผลงานหลากรูปแบบที่ตอบโจทย์กับบริบท
STREET REPORT 1: PUBLIC BINS
‘รายงาน’ เล่มแรกของซีรีส์ Street Report จาก Atelier HOKO พาไปดูแง่มุมหลากหลายของถังขยะสาธารณะสิงคโปร์ และสำรวจดูว่าผู้คนทั่วไปมีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับมัน
KULTHIDA SONGKITTIPAKDEE
art4d พูดคุยกับกุลธิดา ทรงกิตติภักดีถึงเรื่องราวเส้นทางชีวิตตั้งแต่การเป็นสถาปนิกคนเดียวจากทั้งโลกที่ได้รับคัดเลือกให้ร่วมโปรแกรมฝึกงานของ Renzo Piano Building Workshop และความท้าทายล่าสุดอย่างการเปิดออฟฟิศของตัวเองในประเทศไทยในชื่อ HAS design and research