All posts by Ketsiree Wongwan

81 TRANS-(PARENT)

Location: Bangkok, Thailand
Building Type: Residential
Completion: 2019
Architect: TOUCH Architect
Interior Designer: TOUCH Architect
Structural Engineer: Chittinat Wongmaneeprateep
Contractor: OKCON
Building Area: 520 sq.m

(For English, please scroll down)

บ้านสำหรับเจ้าของบ้านที่เป็นคู่สามีภรรยาที่เคยอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมพื้นที่จำกัด ที่ต้องการขยายครอบครัวและที่อยู่เป็นบ้านเดี่ยวที่มีบริเวณและอยู่ใกล้ธรรมชาติมากขึ้น สถาปนิกใช้แนวคิดในการดึงพื้นที่สีเขียวมาใช้ร่วมกับพื้นที่ภายใน จึงมีการยืดหดอาคารให้เป็นลักษณะโอบล้อมพื้นที่สีเขียวที่รวมไว้จุดเดียวบริเวณกลางบ้าน สามารถสัมผัสได้จากทุกพื้นที่ในบ้าน โดยไม่ต้องออกไปภายนอก ซึ่งเป็นการตอบโจทย์เจ้าของบ้านที่ต้องการมีพื้นที่สีเขียวเล็กน้อย เพื่อการดูแลรักษาง่าย รอบบ้านภายนอกในส่วนที่ติดกับถนนและส่วนที่ติดกับบ้านข้างเคียงถูกออกแบบให้มีลักษณะที่ค่อนข้างทึบ ทั้งจากแผงอาคารและทิวต้นไม้ ในขณะที่ในส่วนที่ติดกับคอร์ทกลางบ้านเปิดโล่ง ให้ทุกพื้นที่สามารถเดินเชื่อมต่อกันได้ทั้งหมด โดยเฉพาะส่วน outdoor terrace ที่มีทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีสะพานเดินข้ามให้มองสวนและส่วนภายในบ้านได้อย่างชัดเจน วัสดุที่ใช้เน้นวัสดุที่ดูแลรักษาง่าย และมีสีที่อบอุ่น เช่น หิน และ composite wood 

A single house designed for a small family who used to live in a condominium with limited space and now seeking a house to expand the family. The architect comes up with an idea to bring green space into every corner inside the house by stretching building form to enclose a small courtyard in the center which can be reached from all areas of the house. This is also convenient for the owner in terms of maintenance. The building exterior facing the road and neighbourhood is designed to be enclosed massive wall of screening and plants while the inner building surfaces around the inner court are mainly open and all round connected, with an outdoor terrace and a walkway providing vista to the inner garden and the living areas of the house. The materials used are low maintenance and mainly are of warm and homely touch such as stones and composite wood.

TOUCH Architect

PHOTO ESSAY : NATURAL SPACE

TEXT & PHOTO: LUKE YEUNG

(For English, please scroll down)

โดยปกติเราจะเห็นเส้นแบ่งขอบเขตระหว่างสถาปัตยกรรมและธรรมชาติได้อย่างชัดเจน ที่ผ่านมา เราเดินทางไปยังแหล่งธรรมชาติหลายๆ แห่ง เพื่อหลบหนีความหนาแน่นของเมืองใหญ่ เรามีความสุขไปกับทิวทัศน์ที่พบเห็น แต่ยิ่งผมไปเยือนภูมิประเทศเหล่านั้นบ่อยเท่าไร มันก็ยิ่งทำให้ผมมองเห็นสเปซที่อยู่ภายในนั้น และนึกถึงความเป็นไปได้อื่นๆ  เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะเบลอเส้นแบ่งคู่ตรงข้ามระหว่างธรรมชาติกับสภาพแวดล้อมที่คนสร้างขึ้น บางทีสถาปัตยกรรมอาจจะสามารถดำรง “อยู่ภายใน” ธรรมชาติ และไหลสอดแทรกตัวมันเข้าไปในธรรมชาติ

ผมนึกถึงสถาปัตยกรรมที่เราเข้าไปสัมผัสได้ไม่ต่างจากที่เรารับรู้แสงที่ส่องผ่านลงมาตามช่องไม้ในเงาป่า หรือธรรมชาติที่สลักเสลาที่ว่างต่างๆ ขึ้นมาจากการก่อตัวของสภาพภูมิประเทศ  มันจะเป็นไปได้หรือเปล่า ที่เราจะสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ขับเน้นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติขึ้นมา บางทีแล้ว เป้าหมายของเราคือ การออกแบบที่ไม่ได้ทำไปเพื่อสร้างสภาพแวดล้อม แต่เป็นการออกแบบเพื่อธรรมชาติต่างหาก

_____________

Luke Yeung เป็นสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Architectkidd ซึ่งเป็นสตูดิโอออกแบบในกรุงเทพฯ เขาทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม ควบคู่ไปกับการถ่ายภาพสเปซที่สะท้อนถึงผู้ใช้งานและวัฒนธรรมของสถานที่ที่ได้เดินทางไป 

Normally the line that separates nature and architecture is a clear and distinct one. We travel and visit the great outdoors to escape congested cities and enjoy the natural scenery. But the more I visit these landscapes, the more I see spaces within them and think of different possibilities. Can the dichotomy between nature and built environment be blurred? Perhaps architecture can also exist in nature and can flow through it. 

Architecture that can be experienced like light hovering in forests, or nature that can carve spaces from geological formations. Is it possible to create architecture that emphasizes natural phenomenon? Perhaps the goal is to design not for the built environment but rather for nature.

_____________

Luke Yeung is principal of Architectkidd, a Bangkok-based design studio. Working in architecture and photography, he captures spaces to reflect people and culture of the place.

LUKE YEUNG 
ARCHITECTKIDD

 

FEMME ATELIER

WHO
Femme Atelier is a   design studio founded in 2018 by  Kamonwan Mungnatee and   Lalita Kitchachanchaikul. This project is part of a furniture design course of  King Mongkut’s University of Technology Ladkrabang (KMITL). This multidisciplinary team has also illustrated the values of my work under the emotive principle design.

WHAT
Furniture design. The conceptions of Femme are about the experiment and redefine everyday objects in our life.

WHEN
Founded in 2018 by Kamonwan Mungnatee and Lalita Kitchachanchaikul. During the furniture design course of King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (KMITL).

WHERE
Bangkok, Thailand.

WHY
We are interested in demonstrating values under the design of emotive principle design through experiments and define new content in daily life.

Read More

WAREHOUSE INTERVENTION

Location: Bangkok, Thailand
Building Type:  Adaptive Reuse / Architecture Interior
Completion: 2019
Architect: Imaginary Objects
Interior Designer:  Imaginary Objects
Structural Engineer: Ampersand Ace
System Engineer:  March Utilities
Contractor: New Siam First 999
Building Area: 800 sq.m

HOW DID THE PROJECT GETS STARTED
We were approached by Vespiario as they plan to open a new flagship store for a new brand that they just partnered with. They sought an innovative approach for this first flagship in Bangkok. IO was just starting up and we were willing to experiment. We were also quite excited to work on a project so close to our office.

เราได้รับการทาบทามจาก Vespiario ในขณะที่กำลังร่วมมืออยู่กับแบรนด์ๆ หนึ่ง ทั้งสองแบรนด์ต่างมองหาวิธีการนำเสนอใหม่ๆ สำหรับ flagship store ของแบรนด์มอเตอร์ไซต์ชื่อดังจากออสเตรเลีย ในกรุงเทพฯ IO เพิ่งก่อตั้งได้ไม่นานและเราต้องการค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการออกแบบ นอกจากนั้น เรายังแอบตื่นเต้นไม่น้อยที่ได้ทำโครงการที่มีไซต์อยู่ติดกับออฟฟิศของเรา

WHAT WAS THE DESIGN BRIEF FROM THE CLIENT
In principle we needed to accommodate two restaurants, retail space, exhibition space, a motorcycle workshop and the necessary back-of-house programs. The brand is an established name with a clear branding strategy. It was also crucial for us to become familiar with their other projects around the world.

โจทย์ที่ได้รับคือการสร้างพื้นที่สำหรับร้านอาหาร 2 แห่ง ร้านค้าปลีก พื้นที่นิทรรศการ พื้นที่เวิร์คช็อปรถมอเตอร์ไซต์ และพื้นที่ส่วนบริการอื่นๆ แบรนด์นี้เป็นแบรนด์ที่ค่อนข้างมีแนวทางการทำแบรนด์ดิ้งที่ชัดเจน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องทำความเข้าใจกับทุกโครงการที่เขาทำทั่วทุกมุมโลก

WHAT’S THE CONCEPT OF THE PROJECT
The project is defined by the insertion of an architectural object into an old warehouse. This object acts both as a spatial divider as well as a container of multiple programs, art gallery, workshop, lecture space, playscape, etc.

หลักๆ โครงการนี้จะเป็นการนำสถาปัตยกรรมสอดแทรกเข้าไปในพื้นที่โกดังเก่า โดยตัวโครงสร้างนั้นจะเป็นทั้งตัวแบ่งพื้นที่ภายในและเป็นพื้นที่ที่รองรับกิจกรรมที่เกิดขึ้นด้วยตัวมันเอง เช่น พื้นที่จัดนิทรรศการ พื้นที่ทดลองเชิงปฏิบัติการ พื้นที่สำหรับการบรรยาย และพื้นที่พักผ่อน

WHAT ARE THE DISTINCTIVE FEATURES/IMPORTANT ELEMENTS OF THE PROJECT
The main entrance is a strong axial corridor penetrating into the warehouse from the exterior. It divides the interior space and leads directly into the most distinctive feature of the design, a centralised oculus defining and surrounding an event space. There are other interesting features. We invite everyone to come and see them once the project is completed.

ทางเข้าหลักของโครงการเป็นทางเดินที่เชื่อมทะลุตรงมาจากด้านนอก ก่อให้เกิดแกนที่แบ่งพื้นที่ภายในและนำผู้คนไปยังพื้นที่ด้านในที่โดดเด่นที่สุดนั่นคือพื้นที่ทรงกลมตรงกลางที่มีการเปิดรับช่องแสงจากด้านบน โดยพื้นที่ที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นตัวกำหนดพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่างๆ ด้านใน อีกทั้งยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่น่าสนใจ เราอยากให้ทุกคนลองมาดูกันตอนที่โครงการนี้สร้างเสร็จ


WHAT’S THE PRIMARY BUILDING MATERIAL USED AND WHY
We wanted the architectural object to have a strong industrial quality and simultaneously create an unexpected encounter. Corten steel is industrial but due to its rusty appearance it can also convey the passage of time. We like to stay true to the qualities of the materials we use. We find unpolished surfaces more compelling.

เรามองหาวัสดุที่จะทำให้ตัวโครงสร้างของ “วัตถุอุตสาหกรรม” ชิ้นนี้ มีกลิ่นอายแบบอุตสาหกรรมและสร้างให้เกิดการรับรู้ที่คาดไม่ถึงไปพร้อมๆ กัน เหล็ก corten ที่ให้ลุคแบบอุตสาหกรรม และพื้นผิวที่มีสนิมเกาะอยู่ทั่วจึงเป็นคำตอบของเรา เพราะสื่อถึงกาลเวลาบนวัสดุได้เป็นอย่างดี เราต้องการจะสื่อถึงธรรมชาติของวัสดุที่เราใช้ ซึ่งการใช้วัสดุที่ไม่แต่งผิวจะก่อให้เกิดความน่าสนใจที่มากกว่า

WHAT’S THE CONSTRUCTION TECHNIQUE
Primarily steel structure cladded in corten steel.

กระบวนการก่อสร้างจะเป็นโครงสร้างเหล็กและปิดผิวด้วยเหล็ก corten เกือบทั้งหมด 


WHAT ARE THE PROBLEMS/CONSTRAINTS AND HOW DID YOU OVERCOME THE CHALLENGE
We always struggle to find the desired form and proportions whilst delivering a functional plan. At the end the struggle is worth it. If we want to arrive at unexpected solutions we think it’s important to not immediately succumb to functional constraints. Challenging them helps us think outside the box.

เรามักจะมีปัญหากับการเลือกรูปทรงและสัดส่วนให้ได้อย่างที่เราต้องการ ในขณะเดียวกันก็ต้องก่อให้เกิดพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้จริงด้วย หลังจากผ่านจุดนั้นมาได้ สุดท้ายแล้วมันก็คุ้มค่าเลยทีเดียว หากเราต้องการที่จะไปถึงวิธีการใหม่ เราคิดว่าการไม่ยอมแพ้ต่อข้อจำกัดในการใช้งานเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งความท้าทายนี้ก็ช่วยให้เราต้องใช้ความคิดที่หลุดออกจากกรอบเดิมๆ

WHAT THE PROGRAMMATIC TYPE OF THE BUILDING
Mixed Use (F&B, Retail)

เป็นแบบผสม (Mixed-use) อาทิ ร้านค้าจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ร้านค้าปลีก

Imaginary Objects