ป้ายกำกับ: Work in Progress

TYH HOUSE

Location: Nontaburi, Thailand
Building Type: House
Architect:  Alkhemist Architects
Interior: Huippu Design
Building Area: 450 sq.m

(For English, press here)

ด้วยความชอบส่วนตัวด้านการทำอาหารของเจ้าของบ้าน โครงการ TYH จึงได้รับการออกแบบภายใต้โจทย์ที่ผู้อยู่ต้องการให้บ้านสามารถรองรับงานสังสรรค์ขนาดย่อมได้ Alkhemist Architects ได้เอานำแนวคิด Raumplan ของ Adolf Loos ซึ่งเป็นการออกแบบแบบเล่นระดับ มาใช้ในการปรับวิธีการวางผังให้ต่างไปจากการวางผังของบ้านโครงการทั่วไป ผลลัพธ์ที่ได้คือผังอาคารที่มีความยาวและแคบขึ้นซึ่งก่อให้เกิดที่ว่างของสวนทางด้านข้างของบ้าน อีกทั้งยังสร้างความเป็นส่วนตัวมากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ การวางผังดังกล่าวยังจัดแบ่งโปรแกรมให้เกิด pinwheel effect ซึ่งทำให้ลำดับการเข้าถึงเกิดประสบการณ์ที่สามารถตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของความเป็นสาธารณะและความเป็นส่วนตัวในแต่ละห้อง ขณะเดียวกัน ทีมออกแบบยังให้ความสำคัญไปกับการทำพื้นผิวของผนังและพื้น ซึ่งเมื่อองค์ประกอบทั้งหมดนี้รวมเข้ากับจังหวะการเปิด-ปิดของช่องเจาะแล้ว ทางผู้ออกแบบหวังว่าบ้านหลังนี้จะช่วยสร้างบทสนทนาระหว่างความสงบนิ่งกับพลังงานในความเคลื่อนไหวของชีวิตได้

alkhemistarchitects.com
huippudesign.com

 

THAILAND IRRIGATION PARK

Location: Nonthaburi, Thailand
Building Type: Master Plan Design
Architect: IF (Integrated Field)
   / Cloud-floor
Area: 95.5-acre

โครงการอุทยานชลประทานไทย เริ่มต้นขึ้นจากแนวคิดของกรมชลประทานที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการน้ำ และต้องการเปลี่ยนพื้นที่สนามกอล์ฟชลประทาน ปากเกร็ด ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเป็นพื้นที่รับน้ำของจังหวัดนนทบุรีในช่วงที่มีระดับน้ำท่วมสูงได้ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ “น้ำ” ในทุกระดับตามแผนผังเมืองแม่บท ไปพร้อมๆ กับการเป็นพื้นที่สาธารณะที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน

จากโจทย์ข้างต้น IF (Integrated Field) และ Cloud-floor ได้ทำการออกแบบผังแม่บท ปรับปรุงพื้นที่ 239 ไร่ ของสนามกอล์ฟชลประทาน ด้วยการแบ่งพื้นที่ใช้สอยของโครงการออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ โดยส่วนแรกคือ ‘สวนอุทยานชลประทานไทย’ สวนสาธารณะที่ผู้ออกแบบตั้งใจสอดแทรกความรู้เรื่องน้ำที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ผ่าน Water Pavilion ซึ่งรอบล้อมไปด้วยพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ส่วนสันทนาการต่างๆ และแปลงนา โดยผลผลิตที่ได้จากแปลงนาจะถูกนำไปแปรรูปก่อนที่จะนำมาจัดจำหน่ายในตลาดนัดเกษตรกร ส่วนที่สองคือ ‘พิพิธภัณฑ์ชลประทานไทย’ ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับใช้ถ่ายทอดเรื่องราวของการชลประทาน ครอบคลุมตั้งแต่ประวัติศาสตร์การชลประทาน พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับชลประทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ไปจนถึงวิวัฒนาการของการชลประทานในอนาคต

ส่วนที่สามถูกเรียกว่าพื้นที่ ‘อนาคตของการเกษตร’ ซึ่งเป็นเหมือนห้องทดลองกลางแจ้งของโครงการ ประกอบด้วย ส่วนนวัตกรรมการเกษตร ซึ่งใช้เป็นพื้นที่เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตรต่างๆ ตั้งแต่โซลาเซลล์ โดรน ไปจนถึงนวัตกรรมต่างๆ ในอนาคต ในขณะที่ส่วนสุดท้ายซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ด้านในสุดของโครงการอุทยานชลประทานไทย คือ ‘ห้องครัวโครงการเกษตรพอเพียง’ ทำหน้าที่จำลองผลผลิตของระบบนิเวศทางความรู้ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ การชลประทาน และการเกษตร โดยออกแบบให้เกิดระบบนิเวศทางการเกษตรแบบยั่งยืนและพอเพียง

ทุกๆ ส่วนของโครงการถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้ผ่าน 3 เส้นทางคู่ขนาน (main circulation) ได้แก่ เส้นทางศึกษาทางวัฒนธรรม เส้นทางศึกษาน้ำกับชลประทาน และเส้นทางศึกษาทางการเกษตร โดยแต่ละเส้นทางถูกร้อยเรียงและเชื่อมโยงจุดต่างๆ ไว้อย่างกลมกลืนกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการชลประทาน ควบคู่ไปกับการตระหนักและสังเกตเห็นถึงความสำคัญของการจัดการน้ำ ภายในเมืองที่ศักยภาพของการชลประทานยังคงเป็นเครื่องหมายคำถาม และองค์ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่รับน้ำ ชะลอน้ำ และระบายน้ำ ยังต้องการการส่งต่อออกไปให้กับสาธารณชนอยู่อีกมาก

With the vision and acknowledgement in the importance water management, the Royal Irrigation Department initiates Thailand Irrigation Park with the desire to turn the area into a public space whose new program will serve as a learning center that provides a comprehensive knowledge about water. With the geographical location that is the water basin of Nonthaburi province’s Pakkred district, the area, which was once occupied by the Royal Irrigation Golf Course, is developed following the master plan to become a public space that will contribute to the sustainable development of the quality of living of the people in the local community.


From the aforementioned brief,  IF (Integrated Field) and Cloud-floor realize the master plan that encompasses the development of the expansive 95.5-acre land of the golf course by dividing the functional area into 4 sections. The first part houses ‘Thailand Irrigation Park’, a public park that will provide the knowledge about water and human life through the program of Water Pavilion surrounded by public spaces and recreational areas including the project’s organic paddy fields.

The produces harvested from the fields will be processed and sold at the project’s farmers’ market. The second section of the program houses Thailand Irrigation Museum with the permanent exhibition showcasing the history and story of irrigation in Thailand, the royal initiative projects of King Bhumiphol Adulyadej the Great and the evolution of irrigation in Thailand from, past, present to the future.

The third part of the program is called ‘The Future of Agriculture’. This outdoor experimental ground of the project consists of the Agricultural Innovation section that acts as a classroom for different agricultural technologies such as solar cell, drone including other future innovations. The last part is situated further to the farthest end of the program and is referred to as The Kitchen of Self-Sufficient Agricultural Projects with the functional program that simulates the outcomes of the project’s Ecosystem of knowledge, which nurtures comprehensive know-hows about water, irrigation system and agriculture designed to be the simulation of a sustainable and self-sufficient agricultural Ecosystem.

Every part of the program of Thailand Irrigation Park can be accessed via three main circulations; the Cultural Route, Water and Irrigation Study Route and Agricultural Study Route, seamlessly linking different areas of the project together to enable users to participate in different activities. Through this experience, the users are able to participate in different activities taking place inside the project as they learn the importance of water management in the city where the potential of irrigation is still a question unanswered and the body of knowledge about water basin, water flow reduction and drainage are the matters that need to be made realized to the public. 

integratedfield.com
cloud-floor.com

WVT SUSTAINABLE CORPORATE SOCIAL HOUSING

Location: Samut Sakhon, Thailand
Building Type: Mixed-Use
Architect:  SOOK Architects

Building Area: 5,800 sq.m

(For English, please scroll down)

โครงการปรับปรุงอพาร์ทเม้นท์พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดสมุทรสาคร ที่เกิดความเสื่อมโทรมและมีปัญหาในด้านต่างๆ จากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ความเสียหายของโครงสร้างอาคาร และระบบสุขาภิบาล ด้วยแนวคิดของเจ้าของโครงการที่ต้องการปรับปรุงให้เป็นที่พักอาศัยที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยสำหรับพนักงาน โดยเน้นการแก้ปัญหาอย่างตรงจุดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด สถาปนิกจึงได้ทำการออกแบบยูนิตส่วนเปียกของห้องน้ำใหม่ ร่วมไปกับการจัดระบบวิศวกรรมสุขาภิบาล เพื่อให้บริเวณรอบๆ อาคารมีบรรยากาศที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ได้รื้อชั้น 3 ของอาคารที่มีปัญหาหลังคาชำรุด และเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบการใช้งานด้วยการจัดวางยูนิตที่พักอาศัยบริเวณชั้น 3 เสียใหม่ โดยทำการต่อเติมพื้นที่ใช้สอยอเนกประสงค์บริเวณลานภายนอกระหว่างห้องพักแต่ละหลัง ซึ่งมีความอิสระ ยืดหยุ่น และสามารถปรับการใช้งานได้หลากหลาย ในการออกแบบสถาปนิกยังได้คำนึงถึงโจทย์ที่ได้รับอีกข้อหนึ่ง คือเรื่องของระยะเวลาการก่อสร้างและความประหยัด โครงสร้างเดิมที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก จึงถูกปรับมาเป็นการใช้วัสดุทดแทนวัสดุธรรมชาติที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ เช่น โครงสร้างเหล็ก ไม้เทียม เป็นต้น ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้างและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

The renovation of the apartment building for employees of a factory in Samut Sakhon province is a result of the deterioration of the building and problems caused by standardized construction that led to problematic structural components and  sanitary system. With the owner’s idea to improve the building into a safe and healthy living space for the employees, the design puts its emphasis on providing the most efficient solutions to the project’s problems. The architect redesigns the wet area or the bathroom of the living units including the sanitary engineering system, causing the physical environment around the building to be more pleasant.   The third floor of the building is demolished due to the damaged roof structure. The functional program of the third floor is made more diverse with the new layout, adding multi-functional space in the form of an outdoor space situated between each living unit with the freedom and flexibility that accommodate different types of functionality. The architect works out the limited time frame and budget of the project by replacing the original reinforce concrete structure with alternative materials such as steel, artificial wood, etc., allowing the construction time to be diminished and the negative environmental impacts to be minimized.

sookarchitects.com
fb.com/SOOKArch 

HAMILTON RESIDENCE

Location: Phetchaburi, Thailand
Building Type: House
Completion: 2020
Architect:  Black pencils Studio
Interior Designer: Black pencils Studio
Landscape Designer:  Black pencils Studio
Structural Engineer:
System Engineer:
Building Area: 570 sq.m

(For English, please scroll down)

Hamilton Residence เป็นโครงการบ้านพักอาศัยในจังหวัดเพชรบุรี พื้นที่ตั้งมีลักษณะเป็นที่นาเปิดโล่งที่ไม่มีจุดนำสายตาใดๆ สถาปนิกจึงเกิดแนวคิดที่จะสร้าง “จุดสนใจ” ให้กับพื้นที่ด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่าง “ระนาบ” ซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย เช่น การสร้างลำดับการเข้าถึงและลำดับความสำคัญของพื้นที่แต่ละส่วนของบ้าน การปิดล้อมรั้วบริเวณภายนอกบ้าน (ระนาบทางนอน) และการคั่น / แบ่งสเปซแต่ละห้องภายในบ้านด้วยแผ่นผนัง (ระนาบทางตั้ง) ที่ถูกยึดขึ้นมาสูงกว่าระดับหลังคา นอกจากนี้ยังสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ และบังคับมุมมองจากทุกๆ ห้องภายในบ้านให้หันไปสู่ “ห้องดื่มน้ำชา” (Tearoom) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนจุดรวมสายตาของบ้าน โดยพื้นที่ข้างต้นนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของเจ้าของบ้านที่ตั้งใจจะให้บ้านหลังนี้เป็น “บ้านชา” (Teahouse)

Hamilton Residence is a private residence situated in Phetchaburi, Thailand. With the location being an open field with no particular focal point in sight, the architect comes up with the idea of creating a point of interest for the project through the physical presence of a ‘plane’. As an architectural element, the plane serves a variety of purposes, from creating an order of accessibility and priority of various functional spaces of the house to determining the enclosure of the house’s outdoor periphery  (horizontal plane), including the partitioning / dividing the interior functional spaces with the walls (vertical plane) whose masses are stretched to be physically higher than the roof structure. The design grants a higher level of privacy to the living space by directing the perspective of every room of the house towards the ‘Tearoom’, which functions as the focal point of the program, following the owners’ intention for the residence to become their very own ‘Teahouse’.


blackpencilsstudio.com

DUSIT LAGUNA RESORT VILLAS AND HOTEL

Location: Phuket, Thailand
Building Type: Hotel
Completion: 2021
Architect:  Somdoon Architects
Interior Designer: Create Great Design Co.,Ltd.
Landscape Designer: Group Three Design Co.,Ltd
Structural Engineer: Stonehenge Co,. Ltd.
System Engineer: W.and Associates Consultants Co., Ltd.
Building Area: 8,475 sq.m – 22 Villas, 6,830 sq.m – Hotel

(For English, please scroll down)

โครงการ Dusit Laguna Resort Villas and Hotel เกิดขึ้นเพื่อรองรับความต้องการเข้าพักระยะสั้นและระยะยาวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เพิ่มมาขึ้นทุกๆ ปี โดยโครงการแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ โรงแรม และวิลล่าจำนวน 22 หลัง สถาปนิกเลือกวางผังอาคารเปิดออกสู่ทะเลสาบขนาดใหญ่ ให้สามารถรับวิวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยซ้อนชั้นอาคารในแนวราบและบิดแนวแกนอาคารเพื่อบดบังมุมมองซึ่งกันและกันและมอบความเป็นส่วนตัวแก่แขกผู้มาพัก

ในด้านแนวคิดการออกแบบนั้น สถาปนิกดึงเอาองค์ประกอบของรูปแบบบ้านดั้งเดิมของภูเก็ต อย่างการเปิดช่องลมมาผสมผสานกับการออกแบบอาคารแบบสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้น เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนอากาศตามธรรมชาติ รวมไปถึงลวดลายไทยบางอย่าง ที่ก็ถูกนำมาลดทอนให้ดูร่วมสมัย ตกแต่งลวดลายและสีตามรูปแบบอาคารเก่าในภูเก็ต ทั้งในส่วนวิลล่า และโรงแรม เพื่อให้สะท้อนถึงความเป็นไทยตามแนวคิดของโครงการในเครือดุสิตธานีเดิม

Dusit Laguna Resort Villas and Hotel is conceived as a result of the growing demand for both short and long stay of foreign tourists in Phuket through the years. The program houses a hotel building and a cluster of 22 villas as the architect delivers a floor plan that opens itself up to the massive lake to fully embrace the spectacular view. Allocated to be horizontally overlapped with the axes thoughtfully twisted,  the buildings’ structures visually shield each other’s functional interior space, offering a greater sense of privacy for the guests. 

In terms of the design concept, the architect combines the architectural compositions of a traditional Phuket house such as the openings to enable natural airflow to the design elements of Tropical architecture to enhance the program’s natural ventilation. Thai patterns are selected and simplified, rendering a look that is more contemporary. The ornamental details of patterns and colors are also inspired from traditional buildings in Phuket Old Town, reflecting the Thai and regional architectural identity as well as the characteristic of Dusit Thani hotel chain through the aesthetic of both the hotel building and the villas.


somdoonarchitects.com


PORTO DE PHUKET

Location:  Phuket, Thailand
Building Type:  Multipurpose / Life Style Shopping Mall

Completion: 2019
Architect: Stu/D/O Architects
Landscape Designer: XSiTE Design Studio
Structural Engineer: VSD Consultant., Ltd.
System Engineer: Mitr Technical Consultant Co.,Ltd.
Building Area: 12,900 sq.m.

(For English, please scroll down)

เชิงทะเลเป็นตำบลเล็กๆ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะภูเก็ต เป็นทางผ่านระหว่างสนามบินนานาชาติไปสู่ตัวเมือง ประกอบด้วยชายหาดและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย อีกทั้งยังมีความสงบไม่พลุกพล่าน ทำให้ตำบลเชิงทะเลกลายเป็นแหล่งที่พักอาศัยของนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มาพร้อมกับครอบครัว และมาอยู่อาศัยเป็นระยะยาว จากปัจจัยเหล่านี้ เจ้าของโครงการจึงต้องการพัฒนาผืนที่ดินในบริเวณนี้ให้เป็นศูนย์การค้าแบบ Open Air Lifestyle Retail เพื่อเป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตแห่งใหม่ของภูเก็ต

แนวคิดหลักในการออกแบบเน้นไปที่การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้อาคารให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติภายนอกให้ได้มากที่สุด นำมาสู่การจัดวางกลุ่มอาคารที่กระจายตัวแทรกไปกับกลุ่มต้นไม้เดิม มีการนำรูปทรงคลื่นในธรรมชาติมาลดทอนเป็นรูปทรงอาคารและสเปซภายใน อีกทั้งยังนำสัดส่วนของอาคารในยุคชิโน-โปรตุกีสในย่านเมืองเก่าภูเก็ตมาปรับใช้กับรูปแบบของช่องเปิดอาคาร โครงการมีอาคารทั้งหมด 8 หลัง ประกอบด้วยอาคารหลัก ซึ่งเป็นพื้นที่ขาย 5 หลัง และอาคารขนาดเล็กรวมถึงอาคารบริการอีก 3 หลัง สถาปนิกลดทอนรูปทรงของคลื่นมาใช้เป็นรูปทรงของหลังคาอาคารที่มีลักษณะที่เหลื่อมกัน ซึ่งนอกจากจะทำให้สเปซภายในมีความน่าสนใจแล้ว ยังช่วยในการนำแสงธรรมชาติภายนอกเข้ามาภายในตัวอาคารอีกด้วย  

ระเบียงไม้ขนาดกว้างล้อมรอบอาคารถูกออกแบบให้ทำหน้าที่เป็นพื้นที่กึ่งภายนอกเชื่อมต่อระหว่างตัวอาคารและสวนด้านนอก กระตุ้นให้ผู้ใช้อาคารออกมาสัมผัสกับธรรมชาติภายนอก มีการเจาะคอร์ทภายในอาคาร เพื่อนำพื้นที่สีเขียวและแสงธรรมชาติเข้ามาสู่พื้นที่ขายภายใน รวมไปถึงการใช้กระจกใสในด้านที่ไม่รับแดดเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับพื้นที่ภายใน-ภายนอกให้ได้มากที่สุด

ในด้านสกัดของอาคาร ส่วนใหญ่ออกแบบเป็นผนังทึบเพื่อหลบแดดในทิศตะวันออกและตะวันตก กรุด้วยคอนกรีตบล็อคที่นำมาจัดเรียงเป็นแพทเทิร์นในรูปแบบเดียวกับรูปทรงหลังคา เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและสร้างจุดเด่นให้กับตัวอาคาร

ภาพรวมของการใช้วัสดุในส่วนของงานสถาปัตยกรรมเน้นไปที่วัสดุที่เรียบง่าย สถาปนิกเลือกใช้กระเบื้องซีเมนต์ลอนเล็กเป็นวัสดุมุงหลังคา เนื่องจากมีรูปแบบสวยงาม สีสันที่สบายตา และราคาไม่แพง ในส่วนของระเบียงภายนอก ใช้กระเบื้องลายไม้แทนการใช้ไม้จริงเพื่อให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา ด้านสกัดของอาคารใช้คอนกรีตบล็อคหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม เลียนแบบรูปทรงของหลังคามาจัดเรียงเป็นแพทเทิร์น เนื่องจากเป็นวัสดุที่ราคาไม่แพง สามารถสั่งทำเป็นโมดูลตามต้องการได้ ทั้งยังมีสีและผิวสัมผัสของวัสดุที่สวยงามโดยไม่ต้องฉาบหรือทาสีทับ

Cherng Talay is a small district located to the west of Phuket Island, en route between the Phuket International Airport and the city center. The area houses a number of beaches and natural travelling destinations. Still fairly a quiet beach town, the place is home to accommodations that welcomes foreign travellers, especially families who are on a long-stay vacation. The owner of the project had the idea of developing this particular piece of land into an open air lifestyle retail, which will serve as a new lifestyle hub in Phuket.

The core concept of the design put an emphasis on facilitating user experience that engages and embraces the external natural surroundings. The idea leads to the allocation of buildings as a part of the site’s existing trees. The form of waves is simplified into an architectural structure and interior space with details of the openings that take the inspiration from the architectural proportions of Chino-Portuguese buildings in Phuket’s Old Town. The 8 structures are comprised of the main buildings, five of them are retail spaces which are up for lease, and 3 other smaller structures and service buildings. Derived from the simplified shape of a  wave, the roofing structures of the buildings are designed to overlap, resulting in the interesting spatial characteristic of the interior space as well as the ample presence of natural light.

The spacious wooden terrace runs around each built structure, serving as a semi-outdoor area that physically links the buildings to the exterior garden. An interior court is added to the functional program to bring in natural light to the retail spaces with the use of transparent glass for the walls that are not exposed to sunlight, collectively maximizing the spatial flow between the interior and exterior spaces.

The end walls are mostly dense, rigid masses that prevent the heat from the sun to radiate from the east and the west. These walls are claded with concrete blocks, constructed in a pattern similar to that of the roof structure, adding an interesting decorative element to the buildings.

The materials used for the architectural structures are mostly simple materials. The architect uses corrugated cement sheets as the roofing material for their simplistic aesthetic details, visually soothing color and low price. Instead of real wood, wood-patterned tiles are used for the floor of the outdoor terrace due to the convenience in its maintenance. Concrete blocks with triangular sections is the chosen material for the end walls, constructed in a pattern that physically mimics the shape of the roof. The material is used, not only for its affordable price, but also for the fact that it can be prefabricated in the desired module with the color and texture which are aesthetically pleasing and blend nicely with the roofing material without the need for additional finishes such as coating or painting.

stu-d-o.com

 

CHOICE CORPORATE PARK

Location:  Chiang Mai, Thailand
Building Type:  Office Building 
Completion: 2020
Architect: Plan Associates Co., Ltd.
Structural Engineer: PSAA Consulting Engineers Co., Ltd.
System Engineer: EEC Engineering Network Co., Ltd.
Building Area: 5,300 sq.m

(For English, please scroll down)

อาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของบริษัท Choice Property บนถนนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อาคารสูง 4 ชั้น นี้จะถูกใช้เป็นอาคารสำนักงาน ห้องประชุม และพื้นที่ใช้งานอเนกประสงค์  โดยมีพื้นที่ใช้สอยรวมกันประมาณ 5,300 ตารางเมตร

แนวคิดในการออกแบบของ Plan Associates คือการผสมผสานอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นเข้ากับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ รวมถึงการสร้างสถาปัตยกรรมที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ  ทางเลือกที่ได้รับการพัฒนาคืออาคารสี่เหลี่ยมที่เรียบง่าย สูง 4 ชั้น  ที่มีการออกแบบที่ว่างให้เกิดการสัญจรและกิจกรรมที่เชื่อมโยงผู้คนในองค์กรเข้าด้วยกัน โดยมีคอร์ทบริเวณกึ่งกลางของอาคารเพื่อนำแสงธรรมชาติและพื้นที่สีเขียวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรม รวมทั้งออกแบบการเข้าถึงอาคารด้วยลานโล่งและบันไดขนาดใหญ่ ที่นำขึ้นไปสู่ชั้นสองของอาคาร ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมเอนกประสงค์

ในส่วนของการใช้วัสดุนั้น นอกจากกระจก คอนกรีต และอะลูมิเนียมซึ่งเป็นวัสดุมาตรฐานสำหรับอาคารสำนักงานสมัยใหม่แล้ว สถาปนิกยังเลือกใช้อิฐดินเผามาเป็นวัสดุหลักอีกอย่างหนึ่งด้วย เพื่อสื่อถึงลักษณะพื้นถิ่นของที่ตั้งโครงการ ในงานผิวผนังด้านนอกของอาคาร มีการใช้แผงระแนงเพื่อช่วยลดทอนแสงและความร้อนเข้าสู่อาคาร

Choice Property’s new headquarters on Sankampaeng road in Chiang Mai is a four-storey, 5,300 m² building that contains offices, meeting rooms and versatile spaces.

The design concept by Plan Associates combines characteristics of the local architecture and modern styles while situating the building within nature. The plan that was developed is of a simple, cubical, four-storey building with spaces that bring together those who work within the organisation. The building contains a courtyard that allows natural sunlight and green spaces to be part of the architecture along with an open, extended entrance with a large staircase leading up to the second floor, where there is a multi-functional area.

Apart from glass, concrete, and aluminum, which are all standard elements, the architects also chose to use clay bricks as one of their building materials in order to maintain a sense of cohesion with the surrounding areas. Additionally, the light and temperature of the building are controlled by the panels on its exterior.

planassociates.co.th

81 TRANS-(PARENT)

Location: Bangkok, Thailand
Building Type: Residential
Completion: 2019
Architect: TOUCH Architect
Interior Designer: TOUCH Architect
Structural Engineer: Chittinat Wongmaneeprateep
Contractor: OKCON
Building Area: 520 sq.m

(For English, please scroll down)

บ้านสำหรับเจ้าของบ้านที่เป็นคู่สามีภรรยาที่เคยอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมพื้นที่จำกัด ที่ต้องการขยายครอบครัวและที่อยู่เป็นบ้านเดี่ยวที่มีบริเวณและอยู่ใกล้ธรรมชาติมากขึ้น สถาปนิกใช้แนวคิดในการดึงพื้นที่สีเขียวมาใช้ร่วมกับพื้นที่ภายใน จึงมีการยืดหดอาคารให้เป็นลักษณะโอบล้อมพื้นที่สีเขียวที่รวมไว้จุดเดียวบริเวณกลางบ้าน สามารถสัมผัสได้จากทุกพื้นที่ในบ้าน โดยไม่ต้องออกไปภายนอก ซึ่งเป็นการตอบโจทย์เจ้าของบ้านที่ต้องการมีพื้นที่สีเขียวเล็กน้อย เพื่อการดูแลรักษาง่าย รอบบ้านภายนอกในส่วนที่ติดกับถนนและส่วนที่ติดกับบ้านข้างเคียงถูกออกแบบให้มีลักษณะที่ค่อนข้างทึบ ทั้งจากแผงอาคารและทิวต้นไม้ ในขณะที่ในส่วนที่ติดกับคอร์ทกลางบ้านเปิดโล่ง ให้ทุกพื้นที่สามารถเดินเชื่อมต่อกันได้ทั้งหมด โดยเฉพาะส่วน outdoor terrace ที่มีทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีสะพานเดินข้ามให้มองสวนและส่วนภายในบ้านได้อย่างชัดเจน วัสดุที่ใช้เน้นวัสดุที่ดูแลรักษาง่าย และมีสีที่อบอุ่น เช่น หิน และ composite wood 

A single house designed for a small family who used to live in a condominium with limited space and now seeking a house to expand the family. The architect comes up with an idea to bring green space into every corner inside the house by stretching building form to enclose a small courtyard in the center which can be reached from all areas of the house. This is also convenient for the owner in terms of maintenance. The building exterior facing the road and neighbourhood is designed to be enclosed massive wall of screening and plants while the inner building surfaces around the inner court are mainly open and all round connected, with an outdoor terrace and a walkway providing vista to the inner garden and the living areas of the house. The materials used are low maintenance and mainly are of warm and homely touch such as stones and composite wood.

TOUCH Architect