Tag: Photo essay

PHOTO ESSAY : LIFE – TIME – CULTURE

TEXT & PHOTO: SARAN SRITHAWATPONG

(For English, please scroll down)

การเฝ้ามองสิ่งต่างๆ ในเวลาที่ต่างกัน 
เห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม 
ทั้งในภาพเล็กและใหญ่ 
สถานที่จากวัฒนธรรมตกทอด 
เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหน้าตา 
การใช้งาน บริบท หรือแม้แต่เส้นขอบฟ้า

บางอย่างก็เปลี่ยนไปตามที่ควรจะเป็น 
บางอย่างก็เปลี่ยนไปแบบขัดเขิน 
มันอาจเป็นเพราะ
คนให้ความสำคัญแก่สถานที่ไม่เหมือนเดิม 
เมื่อก่อนสถานที่ที่มากด้วยศิลปวัฒนธรรม 
เป็นหัวใจของชุมชน 
เป็นหน้าตาของเมือง 
แต่ปัจจุบันมันกลับลดบาทความสำคัญลง 
กลายเป็นสถานที่ที่ถูกละเลย

เนื่องจากเมืองไม่ได้ต้องการแค่หาที่ทางให้ประวัติศาสตร์
เมืองจึงยังต้องการแสดงความก้าวหน้า 
ค้นหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของเมือง 
แต่ก็ไม่ได้แปลว่า การเกิดขึ้นใหม่จะทำลายอดีตของวัฒนธรรมเสมอไป 

ในบางจุดก็เกิดเป็นการผสมผสาน
ของสถานที่ทางประวัติศาสตร์และสถานที่ใหม่เข้าด้วยกัน 
จนเป็นสิ่งที่แปลกหูแปลกตา แต่ไม่ประหลาด 
มันกลับดูส่งเสริม และลงตัวด้วยซ้ำในบางที

อะไรที่ดี รักษาไว้ให้ดี
อะไรที่ต้องเปลี่ยน ก็เปลี่ยน
อะไรที่ต้องเริ่มใหม่ ก็เริ่มใหม่
เมื่อเปิดให้เริ่ม ให้รักษาไว้
เพราะระลอกของการเปลี่ยนที่เลี่ยงไม่ได้ ยังคงมี 

_____________

ศรัณย์ ศรีธวัชพงศ์
สถาปนิก
ช่างภาพสมัครเล่น
และลงภาพ IG : thaicapsule

Observing different things at different times
seeing changes in the environment
both big and small,
places conceived from inherited culture,
places that physically transform
functionalities change, context evolves, redrawing the city’s skyline.

Certain things change the way they should be.
Some reluctantly.

Perhaps,
people value places differently,
places that were once rich in art and culture,
existed as the heart of a community,
as landmarks of a city,
now they’re less recognized,
now they’re even being forgotten

A city looks for a place rich in its history,
but also desires to showcase progress,
searching for new things to serve as its new image.

But the birth of the new does not have to end up destroying a culture’s past.

At some point in time,
historical and contemporary places meet and merge,

becoming something different, not as an alienated space, but rather
complementing, fitting, so perfectly fused/integrated.

Preserve the good.
Allow whatever that needs to be changed, to change,
and for new things to begin.
Initiate but also keep,
for the unavoidable tide of change will always be around. 

_____________

Saran Srithawatpong
Architect
Amateur Photographer 
IG : thaicapsule

instagram.com/thaicapsule

PHOTO ESSAY : NATURAL SPACE

TEXT & PHOTO: LUKE YEUNG

(For English, please scroll down)

โดยปกติเราจะเห็นเส้นแบ่งขอบเขตระหว่างสถาปัตยกรรมและธรรมชาติได้อย่างชัดเจน ที่ผ่านมา เราเดินทางไปยังแหล่งธรรมชาติหลายๆ แห่ง เพื่อหลบหนีความหนาแน่นของเมืองใหญ่ เรามีความสุขไปกับทิวทัศน์ที่พบเห็น แต่ยิ่งผมไปเยือนภูมิประเทศเหล่านั้นบ่อยเท่าไร มันก็ยิ่งทำให้ผมมองเห็นสเปซที่อยู่ภายในนั้น และนึกถึงความเป็นไปได้อื่นๆ  เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะเบลอเส้นแบ่งคู่ตรงข้ามระหว่างธรรมชาติกับสภาพแวดล้อมที่คนสร้างขึ้น บางทีสถาปัตยกรรมอาจจะสามารถดำรง “อยู่ภายใน” ธรรมชาติ และไหลสอดแทรกตัวมันเข้าไปในธรรมชาติ

ผมนึกถึงสถาปัตยกรรมที่เราเข้าไปสัมผัสได้ไม่ต่างจากที่เรารับรู้แสงที่ส่องผ่านลงมาตามช่องไม้ในเงาป่า หรือธรรมชาติที่สลักเสลาที่ว่างต่างๆ ขึ้นมาจากการก่อตัวของสภาพภูมิประเทศ  มันจะเป็นไปได้หรือเปล่า ที่เราจะสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ขับเน้นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติขึ้นมา บางทีแล้ว เป้าหมายของเราคือ การออกแบบที่ไม่ได้ทำไปเพื่อสร้างสภาพแวดล้อม แต่เป็นการออกแบบเพื่อธรรมชาติต่างหาก

_____________

Luke Yeung เป็นสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Architectkidd ซึ่งเป็นสตูดิโอออกแบบในกรุงเทพฯ เขาทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม ควบคู่ไปกับการถ่ายภาพสเปซที่สะท้อนถึงผู้ใช้งานและวัฒนธรรมของสถานที่ที่ได้เดินทางไป 

Normally the line that separates nature and architecture is a clear and distinct one. We travel and visit the great outdoors to escape congested cities and enjoy the natural scenery. But the more I visit these landscapes, the more I see spaces within them and think of different possibilities. Can the dichotomy between nature and built environment be blurred? Perhaps architecture can also exist in nature and can flow through it. 

Architecture that can be experienced like light hovering in forests, or nature that can carve spaces from geological formations. Is it possible to create architecture that emphasizes natural phenomenon? Perhaps the goal is to design not for the built environment but rather for nature.

_____________

Luke Yeung is principal of Architectkidd, a Bangkok-based design studio. Working in architecture and photography, he captures spaces to reflect people and culture of the place.

LUKE YEUNG 
ARCHITECTKIDD

 

PHOTO ESSAY : IN PRAISE OF SHADOWS


TEXT & PHOTO: PAM VIRADA

(For English, please scroll down)

ภาพเซ็ทนี้เป็นโปรเจ็คต์ต่อเนื่องของการถ่ายภาพชีวิตประจำวันในประเทศญี่ปุ่น ย้อนกลับไปครั้งที่อ่าน ‘In Praise of Shadows’ โดย Junichiro Tanizaki หนังสือเล่มนี้ทำให้ฉันเริ่มสนใจ “ความมืด” ที่ซุกซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวัน ความมืดมอบความสงบแบบที่ความงามที่คนทั่วไปยึดถือให้ไม่ได้สำหรับฉัน ถ้าไม่มีความมืด ทุกอย่างมันอาจจะสว่างเกินไป

ในตัวบทเดียวกันนี้ Tanizaki ยังกล่าวถึงมุมมองต่อแสงและเงามืดของสองวัฒนธรรม – ตะวันตกและตะวันออก ที่แตกต่างกัน ในสายตาของวัฒนธรรมตะวันตก พวกเขาแสวงหาความสว่างและความชัดแจ้ง กลับกัน เงามืดดูจะสัมพันธ์กับงานศิลปะและวรรณกรรมในวัฒนธรรมตะวันออกมากกว่า 

ประกายของเพชรจะแสดงตัวในความมืดไม่ใช่ในแสงสว่างของวัน ถ้าไม่มีเงามืด เพชรก็จะสูญเสียความงามของมันไป– Junichiro Tanizaki

In Praise of Shadows เป็นชุดภาพถ่ายที่อุทิศให้แก่หนังสือชื่อเดียวกัน เป็นการกักเก็บช่วงเวลา และค้นหาฉากตอนบางอย่างในชีวิตประจำวัน การเลือกถ่ายภาพสัดส่วนแบบไวด์สกรีนเปลี่ยนมุมมองของภาพชีวิตปกติสามัญให้มีความคล้ายคลึงกับซีนจากภาพยนตร์ใดสักเรื่องหนึ่ง ภาพชุดนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของโปรเจ็คต์ที่จำนวนภาพกำลังเพิ่มตัวขึ้น เป็นรากฐานบางอย่าง เป็นประกายจุดๆ หนึ่งที่กำลังพัฒนาตัวเองเป็นโปรเจ็คต์อื่นต่อไป

_____________

วิรดา บรรเจิดรุ่งขจร เป็นศิลปินและนักออกแบบกราฟิก วิรดามีความสนใจในแนวคิดเชิงบริบทที่อยู่ระหว่างพื้นที่สถาปัตยกรรม ความทรงจำส่วนรวม และความทรงจำส่วนตัว เธอมักสร้างผลงานผ่านภาพถ่าย, ภาพเคลื่อนไหว, งานเขียน, และศิลปะจัดวาง

An ongoing series that captures the mundane events in Japan. Upon reading ‘In Praise of Shadows’, an essay written by Junichiro Tanizaki, I have become engrossed in the tinge of darkness acting as an opposition to the more brighter side of life. The darkness brings immutable tranquility and I have always been drawn to its depth. Were it not for them, beauty would seem perhaps too polished, too glaring.

Within the essay, Tanizaki compares the contrast of light at darkness used in Western and Eastern cultures. The west, whilst striving for progress, continues to search for light and clarity, whilst the subtle shadows relates more to the oriental art and literature.

“A phosphorescent jewel gives off its glow and color in the dark and loses its beauty in the light of day. Were it not for shadows, there would be no beauty.”   – Junichiro Tanizaki

The series aims to act as a photo essay, a tribute to the book with the same name to the series. It also explores imageries as poetic seizures of moments, finding a cinematic quality in the everyday life. The usage of the widescreen ratio enables the scene captured to be perceived more as a film still than an image. As said before, the series is an ongoing process and is ever-expanding. Therefore, the series may act as a starting point, foundation or an inspiration for a project in the near future.

_____________

Pam Virada is an artist and graphic designer interested in the contextualised notions of architectural spaces, collective memory, and personal memory. She works primarily with photography, moving images, writing, and installation art.

PAM VIRADA

PHOTO ESSAY : THE NEW POTENTIAL


TEXT & PHOTO: REBECCA VICKERS

(For English, please scroll down)

The New Potential ชุดภาพถ่ายบิลบอร์ดระหว่างการพักคอยโฆษณาแผ่นใหม่ ภาพเก่าที่เหลื่อมซ้อนทับกันบนผิวป้ายเชื้อเชิญให้เราพิจารณาร่องรอยของสิ่งที่เคยเกิดขึ้น เพราะในความไม่ปรากฏของภาพ มีบางอย่างที่ปรากฏขึ้นมาแทนที่นั่นคือโอกาสที่เราจะได้มองบิลบอร์ดในฐานะอื่นมากกว่าการเป็นแค่ป้ายโฆษณา

เราจะเห็นบิลบอร์ดเหล่านี้ได้ตามปลายขอบฟ้า บนระนาบนั้นมี เส้น สี และคราบเปื้อนที่แต่งเติมเข้ามาโดยบังเอิญซึ่งทำให้บิลบอร์ดกลุ่มนี้ต่างไปจากป้ายโฆษณาทั่วไป ทุกวันนี้เราใช้ชีวิตอยู่ในยุคที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะหลบสายตาจากป้ายโฆษณาที่ปรากฏทุกหนทุกแห่ง The New Potential อาจมีนัยเชิงต่อต้าน เพราะมันกำลังเสนอภาพที่ไม่ใช่ภาพ ไม่เกี่ยวข้องกับบางสิ่ง ทว่าเป็นความเป็นไปได้บางอย่างที่มากเกินกว่าสิ่งที่รู้ นั่นคือประสบการณ์

การพบเจอสิ่งใหม่ๆ คือสัญญาณของการมีชีวิต

________

Rebecca Vickers (เกิดในปี 1981 ที่แมดิสัน รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา) ศิลปินวิช่วลอาร์ตที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ จบการศึกษาระดับปรัญญาตรีวิทยาศาสตร์ศิลปกรรมศาสตร์ เกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ในปี 2007 และปริญญาโทศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิช่วลอาร์ต จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี 2014 นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งโปรเจ็คต์ศิลปะ LIV_ID collective อาจารย์สอนวิชาวิช่วลอาร์ต ที่โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และมือกีต้าร์ วงอินดี้-ป็อป VIPED

The New Potential presents images of billboards captured between advertisements, when remnants of previous adverts are exhibited upon their facades. Overlapping and layering in configurations that welcome what was to float back into focus, the compositions reveal rather than conceal the potential for new relevance and meaning to be communicated.

Prominently displayed across our horizons and built by color, line and happenstance, the only characteristic of their disposition that differs from that of typical billboard advertisements is the nature of their imagery. Our visual culture is one of excess, crowded with infinite content of material plenitude. The New Potential, in contrast and perhaps protest, proposes images that are not of or about something, but are something. What they offer is therefore the potential to have, rather than know of, an experience.  

A means of encounter – signs of life.

________

Rebecca Vickers (B. 1981, Madison, WI, USA) is a visual artist based in Bangkok, Thailand. She received her Bachelor of Science in Fine Art and graduated with academic honors from the University of Wisconsin-Madison in 2007, and an MFA in Visual Arts from the Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University in 2014.She is a co-founder of LIV_ID collective, teaches visual art at Mahidol University International Demonstration School and plays guitar in the indie-pop band VIPED.

rebeccavickers.com

PHOTO ESSAY : THE BIG SCULPTURE, MINI ARCHITECTURE

TEXT & PHOTO: PARIWAT ANANTACHINA

(For English, please scroll down)

“ป้อมยาม” ที่เห็น มันเป็นได้ทั้งสถาปัตยกรรมขนาดย่อม หรือประติมากรรมขนาดใหญ่ บ้างก็มีสถาปนิกออกแบบมันขึ้นมาอย่างดีเพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่และตัวอาคาร บ้างก็เป็น “ป้อมยาม” แบบสำเร็จรูปผลิตจากโรงงาน บ้างก็ถูกคิดและสร้างขึ้นโดยผู้รับเหมาก่อสร้าง ช่างไม้ ช่างเหล็ก หรือผู้ชำนาญการทำชิ้นงานเพื่อรองรับการใช้งานแบบชั่วคราว และก็มีอยู่บ้างเหมือนกันที่ถูกสร้างขึ้นมาแบบตามมีตามเกิด อาศัยไม้หรือเหล็กเหลือใช้จากตึกอาคารมาประดิษฐ์เป็นโครงสร้างและใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งมาประยุกต์ตกแต่งให้ชวนทึ่งปนรอยยิ้ม

จริงอยู่ แม้บาง “ป้อมยาม” ถูกคิดและสร้างมาอย่างดี แต่กระนั้นก็ใช่ว่ามันจะตอบสนองได้ดี ลงตัวในทุกที่ และถูกใจทุกคน เพราะอย่างนี้เอง เราจึงได้เห็นมัณฑนากรในเครื่องแบบรปภ.แสดงความสามารถในการออกแบบตกแต่ง “สเปซ” ของตัวเองทั้งภายนอกและภายใน ด้วยข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างกระบองยาม พัดลม เก้าอี้ ปฏิทิน กระติกน้ำ กาต้มน้ำ หม้อหุงข้าว กระดานหมากรุก ฯลฯ จึงไม่แปลกอะไรเลยที่บางครั้งเราอาจเห็นบาง “ป้อมยาม” ดูราวกับประติมากรรมเรียกรอยยิ้มขนาดใหญ่ ที่ปั้นมาจากข้าวของสามัญโดยคนธรรมดา

สเปซเล็กๆ นี้จึงมิเพียงทำขึ้นมาเพื่อการใช้งานทั้งยามปฏิบัติงาน ยามพักผ่อน ยามกิน และยามนอน แต่มันยังสะท้อนถึงเอกลักษณ์แบบไทยๆ ของคนธรรมดาตามถนนหนทางไม่มากก็น้อยอีกด้วยเช่นกัน

_____________

ปริวัฒน์ อนันตชินะ กราฟิกดีไซเนอร์ และศิลปินอิสระ ที่ยังคงฝังใจกับอาชีพสถาปนิก อาชีพในฝันที่เขาไม่อาจทำมันได้สำเร็จสมัยเป็นนักศึกษา

ปัจจุบันเป็น Design Director ให้กับ THE UNI_FORM สตูดิโอออกแบบที่เขาร่วมก่อตั้งกับ วุฒิภัทร สมจิตต์ คู่ขนานไปกับการทำงานศิลปะในแบบฉบับของตัวเองด้วยความแช่มช้าอย่างต่อเนื่อง มีแสดงงานในต่างประเทศบ้างประปราย

A guardhouse can either be viewed as small-scale architecture or as a large-scale art installation. Sometimes guardhouses are meticulously designed to physically and visually correspond with the spaces and the main buildings they are part of. It’s also very common to see factory-made or prefabricated structures, as well as those built by contractors, carpenters, steelworkers, or anyone who possesses the skill and experience to construct a simple structure. There are plenty of guardhouses that have been thoughtlessly set up using scrap wood and steel, resulting in those funny looking structures that seem out of place and unexpectedly amazing all at the same time.

While some guardhouses show evidence of thoughtful design and attentive construction, not all of them are able to satisfy everyones needs. Perhaps that’s why, under those security uniforms, we see the instinct of an interior decorator expressed in the ways that the space has been brought to life. Everyday objects can be found, from batons to fans, chair, calendars, ice coolers, kettles, rice cookers, and chess boards, etc. It isn’t surprising for a guardhouse to appear like a large-scale art installation, bringing a smile to one’s face thanks to the miscellaneousness of the everyday objects that it’s made up of.

This small space isn’t just somewhere one works, rests, eats, and sleeps; it reflects Thai identity and ordinary peoples way of life, doing their jobs and living their lives.

_____________

Graphic designer and independent artist, Pariwat Anantachina had dreamt of becoming an architect since he was a student, but hadn’t been able to pursue his dream.

He’s currently the Design Director of THE UNI_FORM, the design studio he co-founded with Wutthipat Somjit, while at the same time he slowly and steadily works on his art and overseas exhibitions.

pariwatstudio.com

PHOTO ESSAY : EQUILIBRIUM


TEXT & PHOTO: WEERAPON SINGNOI

(Scroll down for English)

ภาพชุด “Equilibrium” เกิดจากการติดตามเฝ้าดูต้นไม้ต้นหนึ่งที่ยืนต้นจมน้ำที่เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นเวลา 7 ปี 

กาลเวลาได้ทำรั้งเอากิ่งก้านที่เคยมีแตกหักเสียหาย แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในใจของช่างภาพกลับเป็นความสงบมากขึ้นเมื่อได้เผชิญหน้าต้นไม้ต้นเดิมอีกครั้ง ธรรมชาติกำลังบอกเราถึงความอจีรัง

ช่างภาพสถาปัตยกรรม เบียร์วีระพล สิงห์น้อย ผู้สำรวจตึกเก่ายุคโมเดิร์นในเพจ foto_momo พยายามหมั่นสังเกตต้นไม้ใหญ่ที่มีรูปทรงประหลาด หรือสภาพแวดล้อมที่ผิดธรรมดา และบันทึกภาพที่ว่างใต้ต้นไม้นั้นไว้

The birth of  “Equilibrium” photo essay came from the photographer’s 7-year-long observation of a tree standing in the flooded land of Srinakarin dam.

The passing of time gradually deteriorates the tree’s once leafy stems. But what changes in the mind of the photographer after another encounter with the tree is a greater sense of tranquility. 

Nature is telling us about the ephemeral existence of things.

Architectural photographer, Weerapon Singnoi of facebook page  foto_momo and  the explorer of old Modernist buildings tirelessly searches and observes large timbers with bizarre figures and unusual surroundings, and recorded are the empty spaces underneath those trees.

beersingnoi.com

PHOTO ESSAY : OBSCURE

 

TEXT & PHOTO: PITI AMRARANGA

(For English please scroll down.)

Obscure รวมรูปคนไร้ใบหน้า ตลอดช่วงเวลาสามปีที่ฝึกถ่ายภาพของ ปิติ อัมระรงค์ นักออกแบบอิสระจาก o-d-a

การปิดบังบางส่วนของซับเจคในภาพเอาไว้ยังเป็นมุกที่สร้างความน่าสนใจได้ดีอยู่เสมอหลายคนก็คงเห็นด้วย เชื่อว่าคนถ่ายรูปสตรีททุกคนต้องมีอัลบั้มทำนองนี้เป็นของตัวเองอยู่อย่างแน่นอน มากบ้างน้อยบ้างตามนิสัย รายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามลีลา เป็นท่าไม้ตายสากลที่ใช้กันได้ต่อไปไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขของเวลา ด้วยสัจธรรมที่ว่า “ของบางอย่างปกปิดไว้จึงจะงดงาม

Obscure – people without faces, a photo set collected over 3 years of practicing photography by Piti Amraranga, an independent designer of o-d-a.

Removing the subject’s face is a technique that provokes the sense of surprise and is quite popular amongst street photographers. I am quite sure that photographers must have at least one collection of faceless people that were taken in their own style, perspective and point of view. It is a kind of a universal topic that I believe will last forever as per this quote “to enchant something is to partially hide it from seeing”

instagram.com/piti_dui_photo 

PHOTO ESSAY : YONDER

 

PHOTO: KETSIREE WONGWAN

SELECTION: KETSIREE WONGWAN AND KANOKWAN TRAKULYINGCHAROEN

TEXT: KANOKWAN TRAKULYINGCHAROEN 

(For English please scroll down.)

‘Yonder (ตรงนั้นน่ะ)’ มุมมองถึงบริบทรอบงานสถาปัตยกรรม เป็นความคิดที่เกิดขึ้นเบื้องหลังการถ่ายภาพ ของ เกตน์สิรี วงศ์วาร ช่างภาพสถาปัตยกรรมของ art4d 

ภาพเซตนี้แยกออกเป็นสามสถานการณ์ในบริบทต่างกัน  เซตแรก ‘กรุงเทพฯ-ชานเมือง-ต่างจังหวัด’ เซตสอง  ‘พ่อ-แม่-ลูก’ บริบทชีวิตของคนสองรุ่น ในรั้วความเป็นครอบครัวเดียวกัน และเซตสุดท้าย ‘คนที่เข้ามาแทรกตัว’ คนใหม่ในบริบทเก่า กับจินตนาการถึงบริบทเก่าที่จะกลายเป็นบริบทใหม่ในอนาคตอันใกล้

“Yonder” conveys a viewpoint of meaningful context surrounding architecture. It is an idea generated behind the photo shoot of Ketsiree Wongwan, art4d architectural photographer. 

The photo essay represents three contrast situations in different contexts. The first set is titled   ‘Bangkok-Periphery-Khon Kaen,’ a simple sequence of the similar angles of view in different places. The second “Mom-Dad-Kid” reflects the living of two different generations in the same fence of an extended family. The last titled ‘Intervenor’ brings you to a life of newcomers in an old context and, at the same time, to imagine when the old context would turn into a new context in the near future.