ป้ายกำกับ: Architectural photography

PHOTO ESSAY : THE ARCHITECTURE STUDIO ATLAS

Marc Goodwin
Marc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc Goodwin

TEXT & PHOTO: MARC GOODWIN / ARCHMOSPHERES

(For English, press here

‘The Architecture Studio Atlas’ เป็นเสมือนการเข้าไปสำรวจโลกของแต่ละสตูดิโอออกแบบที่มักซ่อนตัวอยู่หลังม่าน ซึ่งเผยให้เห็นถึงกระบวนการและหลักการทำงานของพวกเขา ผ่านเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่าง 20 เมืองในยุโรป รวมไปถึงมหานครทั่วโลกอย่าง โตเกียว โซล ไทเป ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ลอสแองเจลิส ปานามาซิตี เม็กซิโกซิตี และเซาเปาโล โดยให้ความสำคัญกับแนวทางการทำงานในแต่ละสตูดิโอ ตั้งแต่สตาร์ทอัพเฉพาะทางไปจนถึงสตูดิโอสถาปนิกที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง พร้อมกับภาพของผู้คนและบรรยากาศการทำงานที่สะท้อนทั้งแง่มุมที่จริงจังและสนุกสนาน ‘The Architecture Studio Atlas’ ทำให้เรื่องของสถาปัตยกรรมนั้นเปิดกว้าง สามารถเข้าถึงได้ง่าย และเสมอภาคมากขึ้น

___________________

Marc Goodwin เป็นช่างภาพสถาปัตยกรรมผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Archmospheres นักเขียน และอาจารย์ เขาเกิดในลอนดอนและปัจจุบันแบ่งเวลาใช้ชีวิตในยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของเขาในหัวข้อ ‘การถ่ายภาพ, พื้นที่สนทนาของสถาปัตยกรรม’ (architecture’s discursive space, photography) ได้ศึกษาองค์ประกอบของการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมผ่านการเปรียบเทียบกับระบบของบรรยากาศ หลังจบปริญญาเขาเดินทางไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำงานให้ลูกค้าและทำหนังสือ The Architecture Studio Atlas

archmospheres.com
instagram.com/archmospheres

PHOTO ESSAY : TOWARDS EVENING

TEXT & PHOTO: FEDERICO COVRE

(For English, press here

รูปเหล่านี้นำเสนอคอลเล็กชันของโปรเจ็กต์ต่างๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในหลากหลายประเทศแถบยุโรป ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก ทั้งหมดถูกถ่ายในยามเย็นก่อนที่กลางคืนจะคืบคลานมาถึง ทุกภาพล้วนแสดงบรรยากาศที่เงียบสงบ แสงธรรมชาติ โดยมีสถาปัตยกรรมรับบทบาทเป็นตัวเอก
________________

Federico Covre (เกิดปี 1977) เป็นช่างภาพสถาปัตยกรรมและแลนด์สเคปที่ทำงานและพำนักอยู่ในอิตาลีและสวีเดน เขามุ่งสร้างสมดุลระหว่างความเข้มข้นทางแนวคิดและการใช้งานจริงในงานสถาปัตยกรรมผ่านการสื่อสารทางภาพหลากหลายวิธีการ ผลงานของเขาเน้นการถ่ายทอดองค์ประกอบที่เรียบง่ายแต่มีระดับ อธิบายสถาปัตยกรรมในบริบทแวดล้อม พร้อมกับจับภาพความงามของวัตถุ ไปจนถึงสิ่งที่อยู่นอกเหนือมิติทางกายภาพ

federicocovre.com
facebook.com/fedcovre
instagram.com/Federico.Covre

PHOTO ESSAY : THE DISTANT EVERYDAY

TEXT: BANGKOK TOKYO ARCHITECTURE
PHOTO: BANGKOK TOKYO ARCHITECTURE AND PAKKATUS PROMSAKA NA SAKOLNAKORN

(For English, press here

The Distant Everyday เป็นการสนทนาด้วยภาพระหว่างสถาปัตยกรรม การสังเกต และภาพที่เห็นในชีวิตประจําวัน อาจให้เหตุผลได้ว่าสถาปัตยกรรมเป็นผลมาจากการบรรจบกันของความเห็นและแนวคิดที่หลากหลาย ในฐานะผู้สังเกตการณ์ของสภาพแวดล้อม เราค้นหาความเชื่อมโยงของบริบทต่างๆ ที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง ภาพถ่ายที่นําเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของภาพอีกมากมายของเราซึ่งสะสมมาตั้งแต่ปี 2559 เป็นการถ่ายฉากทัศน์และวัตถุในกรุงเทพฯ และโตเกียว ตามแต่โอกาส โดยไม่มีการเรียงลําดับและการจัดหมวดหมู่เป็นการเฉพาะใดๆ แต่ละภาพดูธรรมดา แต่เมื่อวางอยู่ด้วยกันแล้วจะกลายเป็นที่มาของแรงบันดาลใจและความคิด นอกจากนี้ ยังเผยให้เห็นถึง ความสามารถโดยธรรมชาติของสถาปัตยกรรมในการเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง

_____________

Bangkok Tokyo Architecture เป็นสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม ก่อตั้งโดย วทันยา จันทร์วิทัน และ Takahiro Kume ในปี 2017 เราหลงใหลในโครงสร้างแบบปลายเปิด การประกอบกันของวัสดุทั่วๆ ไป และการลด เส้นแบ่งระหว่างความธรรมดาและความพิเศษ

btarchitecture.jp
facebook.com/bangkoktokyoarchitecture

PHOTO ESSAY : EXPO DISMANTLING

TEXT & PHOTO: FILIPPO POLI

(For English, press here

ผมไปงาน Expo Milano ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015  ไม่ถึง 3 เดือนก่อนที่งานจะเริ่มขึ้น พื้นที่ทั้งหมดดูราวกับรังมดขนาดมหึมาที่ถูกรายล้อมไปด้วยมวลหมู่รถบรรทุกเป็นแถวยาวเหยียดและเหล่าคนทำงานนับพัน ผมไม่เคยเห็นไซต์ก่อสร้างไหนที่ใหญ่โตและซับซ้อนขนาดนั้นมาก่อน ด้วยจำนวนโปรเจ็คต์ที่กำลังถูกดำเนินการไปพร้อมๆ กันในคราวเดียว 

หลังคายักษ์บนทางเดินหลักของงานถูกนำเข้ามาในไซต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พาวิลเลียนต่างๆก็เริ่มจะเป็นรูปเป็นร่าง เกือบทั้งหมดถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการก่อสร้างแบบแห้งเพื่อร่นเวลาของกระบวนการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ทีมงานจากบางประเทศก็เริ่มขึ้นโครงสร้างกันอย่างรวดเร็วในขณะที่บางทีมก็ดูเหมือนว่าจะต้องใช้ปาฏิหารย์ช่วยถ้าอยากจะทำทุกอย่างให้เสร็จทันเวลา

พื้นที่ทั้งไซต์อยู่ภายใต้การดูแลควบคุมของตำรวจด้วย เพราะมีคำขู่ว่าจะเกิดการก่อจลาจลโดยกลุ่มผู้ประท้วงชุดดำที่ชื่อเสียงไม่ค่อยจะดีสักไหร่ ระหว่างทางเดินไปยังทางเข้างาน มีโซนที่เรียกว่าโซนเอื้ออาทร’ (zones of condescension) ที่จะมีผู้อพยพมายืนรอต่อคิวที่ด้านนอกรั้วกันทุกเช้าเพื่อรอการถูกว่าจ้างให้เข้าไปทำงานในไซต์ในแต่ละวัน ระบบการจัดการอันล่มสลายและขั้นตอนการว่าจ้างแรงงานแบบไม่เป็นทางการได้กลายมาเป็นทางเลือกเดียวในการทำงานให้สำเร็จลุล่วง ในช่วงท้ายๆ ก่อนวันเปิดงาน เหล่าทีมนักเก็บรายละเอียดมืออาชีพ บริษัทจัดงานแสดงสินค้า และติดตั้งระบบโทรทัศน์ต่างๆ เข้ามาร่วมขบวนกับบริษัทก่อสร้าง เพื่อช่วยพรางอะไรก็แล้วแต่ที่เสร็จไม่ทันการ และเตรียมทุกอย่างให้พร้อมสำหรับการเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2015

ผู้เข้าร่วมงานสิริรวมราว 21 ล้านคน คือสิ่งที่ตามมา และสื่อก็เฉลิมฉลองความสำเร็จนี้ด้วยบทความประกาศศักดาถึงการฟื้นคืนชีพของมิลานและอิตาลี

กฎของ BIE กำหนดว่า14 เดือนหลังจากงานจบลง ประเทศที่เข้าร่วมต้องรื้อถอนทุกอย่างให้อยู่ในสภาพเดิม และควรพยายามนำเอาพาวิลเลียนไปใช้งานที่อื่น มีอยู่ไม่กี่ประเทศที่พอจะจัดการหาที่ลงให้กับพาวิลเลียนของตัวเองได้ เป็นที่น่าเสียดายว่า รายชื่อของกลุ่มที่เอาพาวิลเลียนไปทำลายทิ้งนั้นยาวกว่ากลุ่มที่เลือกที่จะถอดชิ้นส่วนแล้วนำไปใช้ใหม่ อย่างไรก็ดี งาน Expo ก็กำลังปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยอย่างช้าๆ ขยะที่เกิดจากงานแสดงสินค้าในสเกลใหญ่โตขนาดนี้นั้นอยู่ในระดับที่นับว่ารับไม่ได้ และกลยุทธที่จะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้การผลิตขยะมหาศาลขึ้นมาอีกก็เป็นสิ่งที่กำลังถูกหยิบยกมาพิจารณา

Expo Milano สิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม 2015 และในช่วงปลายปี ประตูของมันถูกเปิดขึ้นเพื่อให้เหล่ารถบรรทุกและคนงานได้เข้าไปรื้อถอนพาวิลเลียนออกมาราวกับชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ขนาดมหึมา ผมได้เข้าไปที่งานอีกสองครั้งนับแต่ตั้งมันถูกปิดลงไม่ให้สาธารณชนเข้าถึงได้อีกต่อไป หลังจากได้เห็นกระบวนการก่อสร้างตลอดเวลาหลายเดือนที่งานดำเนินไป วงจรหนึ่งปิดตัวลง ก่อนจะบันทึกร่องรอยของสิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ตรงนั้น รวมไปถึงเหล่าเครื่องจักรที่รื้อถอนเหล็ก เลื่อย และแรงงานของเหล่าคนงานผู้อดทนไปกับการคัดแยกวัสดุทั้งหลายแหล่

พาวิลเลียนบางหลังหายไปราวกับว่ามันระเหยไปกับอากาศ บนพื้นปรากฏร่องรอยของฐานรากและโคลนดิน บางชิ้นส่วนก็ถูกรื้อจนฉีกขาด บางหลังดูราวกับว่ามันถูกทำลายด้วยระเบิดลูกยักษ์ แต่ก็ยังคงยืนอยู่อย่างสงบนิ่ง

หลังจากที่เมื่อไม่กี่เดือนก่อนผมเที่ยวตามหาจุดถ่ายรูปดีๆ ตอนนี้ผมเดินอยู่คนเดียวไปตามทางเดินหลักที่รายล้อมไปด้วยภูมิทัศน์ที่ดูราวกับโลกในวันหลังระเบิดปรมาณูลง เหล่าอาสาสมัครเข้ามาช่วยชีวิตพืชพรรณ แต่ต้นที่ไม่สามารถมีชีวิตรอดหากขาดระบบน้ำที่มนุษย์สร้างมาช่วยหล่อเลี้ยงก็ได้ล้มตายไป ในขณะเดียวกัน the third landscape ตามแนวคิดของ Gilles Clement ก็เพิ่มพื้นที่ขึ้นท่ามกลางกองโครงกระดูกของโครงสร้างและพื้นที่สวนที่ถูกทิ้งรกร้าง ในแง่มุมนี้ Expo ก็มีเสน่ห์ในแบบของมัน

ผลงานภาพถ่ายที่ถูกนำเสนอในที่นี้ต้องการที่จะตั้งคำถามที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องแต่กับเพียงสถาปัตยกรรม แต่เกี่ยวพันไปถึงสังคมของเราและความหมายของงานนิทรรศการเหล่านี้

_____________

Filippo Poli เป็นช่างภาพที่เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพงานสถาปัตยกรรม เขาทำงานอยู่ในยุโรปและร่วมงานกับบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมหลายแห่งรวมไปถึงสถาบันและสำนักพิมพ์มากมาย

ผลงานส่วนตัวของเขามุ่งความสนใจไปที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ และผลลัพธ์ที่มันก่อให้เกิดต่อพื้นที่

ภาพถ่ายของเขาได้รับเลือกให้ถูกจัดแสดงเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นถาวรของ Art Centre of Santander of public Enaire Foundation แห่งใหม่ งานของเขายังได้ถูกนำเสนอในสถานที่และงานต่างๆในยุโรป เช่น Climate Summit (COP25) ที่มาดริด งาน Venice Biennale, Arco Madrid, Photo España, Deutsches Architekturmuseum และในสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงงานที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชันส่วนตัวและสาธารณะหลายต่อหลายคอลเลคชัน

เขามีผลงานถูกตีพิมพ์ในนิตยสารสถาปัตยกรรมสำคัญๆหลายฉบับ รวมไปถึงงานที่ได้รับรางวัลโดย Fundación Enaire, PX3, European Architectural Photography, Architekturbild, IPA, Photography Master Cup, Philadelphia Basho, ArchTriumph และอื่นๆ

Filippopoli.com
facebook.com/filippopoliphotography
instagram.com/filippo.poli

PHOTO ESSAY : FADE #01

TEXT & PHOTO: THANNOP AUTTAPUMSUWAN

(For English, press here)  

สิ่งที่เห็นชัด บางที ก็ไม่ได้ชัดในความรู้สึก

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป…. 
ตามกาลเวลาของวัตถุ สถานที่ จิตวิญญาณ ทุกสิ่งที่เราเห็นอยู่วันนี้ บอกไม่ได้ว่าจะคงอยู่อีกนานแค่ไหน อาจจะเลือนหายไป เมือไหร่ ไม่รู้ได้ แต่ทุกอย่างที่เราได้พบเจอ ล้วนมีประสบการณ์ที่เราได้รับตามการได้พบ การปะทะ การได้สัมผัสของแต่ละคน ทั้งความเป็นตัวตนของสิ่งนั้นแต่ละช่วงเวลา ทั้งการสะท้อนกลับต่อตนเองเปลี่ยน หรือเลือนลางไปในความทรงจำ

บางสิ่งบางอย่าง หลายคนจะมีประสบการณ์ร่วมกัน แตกต่างด้วยช่วงเวลาที่ได้รับมา ศิลปินจึงใช้งานภาพถ่ายด้วยกล้องฟิล์มขาวดำ กับเทคนิคการถ่ายภาพ และการทำงานในห้องมืดถ่ายทอดแทนมุมมองประสบการณ์ของผู้ชม ให้สัมผัสถึงความหมายของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป โดยอาศัยประสบการณ์ส่วนตัวของผู้ชมภาพ เป็นตัวบอกเล่าต่อสิ่งที่สัมผัสได้จากการชมภาพถ่ายนี้ด้วยตนเอง

_____________

ธัญนพ อัตภูมิสุวรรณ์ จบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ปัจจุบันเป็นช่างภาพสถาปัตยกรรม และทำงานส่วนตัวด้วยกล้องฟิล์มขาวดำ และกระบวนการในห้องมืด

facebook.com/gapjaa 
instagram.com/whydoyoulovefilm

 

PHOTO ESSAY : FEEL COMPLICATED

TEXT & PHOTO: ANAN NARUPHANTAWAT

(For English, press here)

ภาพถ่ายแนวกราฟิกเป็นสไตล์ภาพที่ผมชอบเสมอ มันเรียบง่ายแต่กลับสื่ออารมณ์ในภาพได้มากมาย ความบังเอิญในวันหนึ่งที่พบกับมุมแปลกๆ ระหว่างทำงานย่านอารีย์ ทำให้ผมพบเจอกับตึกรูปทรงที่น่าสนใจ 

เส้นสายของโครงสร้างตัดกับกระจกอาคารทอดตัวยาวต่อเนื่อง สลับกันไปมาหลายๆ ชั้น ดึงความรู้สึกให้เราเคลื่อนไหวตามไปในทุกมิติ ความสลับซับซ้อนของตัวอาคารทำให้ผมรู้สึกเหมือนถูกดึงลงไปในห้วงอารมณ์ลึกๆ ที่มีอยู่ภายในจิตใจ พร้อมกับทำให้ค้นพบว่า บางทีงานสถาปัตยกรรมอาจไม่ได้ซับซ้อนเท่าจิตใจของมนุษย์เลยก็ว่าได้…

_____________

อานันท์ นฤพันธาวาทย์ ช่างภาพอิสระที่หลงใหลธรรมชาติและงานออกแบบ ชื่นชอบในการถ่ายทอดความรู้สึกต่างๆ ที่มีผ่านการลั่นชัตเตอร์ ปัจจุบันเปิดเพจถ่ายภาพด้านสถาปัตยกรรม Studio.Horizon

facebook.com/StudioHorizonPhotograp

PHOTO ESSAY : MY WIFE IS A PROP

TEXT & PHOTO: KRAIPOL JAYANETRA

(For English, press here)

ผมชอบเดินทางไปดูงานสถาปัตยกรรมในประเทศต่างๆ ทุกครั้งที่ไป ภรรยาของผมก็จะติดตามไปด้วย ผมสังเกตว่าขณะที่ผมกำลังเพลิดเพลินกับการเสพสเปซงานของสถาปนิกที่ผมรัก ภรรยาที่รักของผมกลับเดินเหม่อบ้าง นั่งหาวบ้าง เธอคงเบื่อกับการต้องดูตึก ส่องกำแพงทีละหลายชั่วโมง ผมจึงหาหน้าที่ให้เธอทำ นั่นก็คือการเดินไปเดินมาประกอบอยู่ในภาพถ่ายงานสถาปัตยกรรมของผม ภาพสถานที่กว้างๆ พอมีพรอพเล็กๆ ประกอบอยู่ มันก็ดูมีชีวิตชีวาขึ้นว่าไหมครับ

#เมียคือพรอพของภาพ

_____________

ไกรพล ชัยเนตร สถาปนิกเจ้าของ Alkhemist Architects ออฟฟิศออกแบบเล็กๆ เขาเป็นเนิร์ดในเรื่องสถาปัตยกรรมตะวันตก เขาสนุกในการขุดคุ้ยหาความรู้เก่าๆ จากการฟัง lecture ของสถาปนิกรุ่นใหญ่ในคลัง YouTube และใฝ่ฝันที่จะเห็นงานสถาปัตยกรรมตามที่เขาปักธงไว้ใน Google Maps

instagram.com/donnie_boy

PHOTO ESSAY : YONDER

 

PHOTO: KETSIREE WONGWAN

SELECTION: KETSIREE WONGWAN AND KANOKWAN TRAKULYINGCHAROEN

TEXT: KANOKWAN TRAKULYINGCHAROEN 

(For English please scroll down.)

‘Yonder (ตรงนั้นน่ะ)’ มุมมองถึงบริบทรอบงานสถาปัตยกรรม เป็นความคิดที่เกิดขึ้นเบื้องหลังการถ่ายภาพ ของ เกตน์สิรี วงศ์วาร ช่างภาพสถาปัตยกรรมของ art4d 

ภาพเซตนี้แยกออกเป็นสามสถานการณ์ในบริบทต่างกัน  เซตแรก ‘กรุงเทพฯ-ชานเมือง-ต่างจังหวัด’ เซตสอง  ‘พ่อ-แม่-ลูก’ บริบทชีวิตของคนสองรุ่น ในรั้วความเป็นครอบครัวเดียวกัน และเซตสุดท้าย ‘คนที่เข้ามาแทรกตัว’ คนใหม่ในบริบทเก่า กับจินตนาการถึงบริบทเก่าที่จะกลายเป็นบริบทใหม่ในอนาคตอันใกล้

“Yonder” conveys a viewpoint of meaningful context surrounding architecture. It is an idea generated behind the photo shoot of Ketsiree Wongwan, art4d architectural photographer. 

The photo essay represents three contrast situations in different contexts. The first set is titled   ‘Bangkok-Periphery-Khon Kaen,’ a simple sequence of the similar angles of view in different places. The second “Mom-Dad-Kid” reflects the living of two different generations in the same fence of an extended family. The last titled ‘Intervenor’ brings you to a life of newcomers in an old context and, at the same time, to imagine when the old context would turn into a new context in the near future.