Tag: urban spaces

URBAN JOY PLAYGROUND

Urban Joy Palyground by ANANDA
Urban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Palyground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDA

TEXT: NATHATAI TANGCHADAKORN
PHOTO COURTESY OF ANANDA DEVELOPMENT

(For English, press here

เมื่อสนามฟุตซอลที่ถูกรีโนเวทโดย ANANDA และพันธมิตร ร่วมกับ กทม. ถูกเติมแต่งลวดลายด้วยกราฟิกสีจัดจ้าน ประกอบกับการใช้เส้นสายที่เลื่อนไหลอย่างอิสระและรูปทรงเรขาคณิต ภาพถ่ายของสนามแห่งนี้จึงมีองค์ประกอบทางศิลปะสอดแทรกอยู่มากมาย

ความสวยงามของภาพชุดนี้ดูไปแล้วใกล้เคียงกับ minimalist photography ที่เรียบง่าย ทว่าความจริงแล้วมีความหมายของแต่ละสีอัดแน่นบนพื้นสนาม เนื่องจากที่นี่ตั้งใจวางตัวเป็นพื้นที่สาธารณะทางศิลปะของคนเมือง นักออกแบบจึงแฝงความหมายและแรงบันดาลใจเอาไว้ในทุกพื้นที่ และไม่ได้คำนึงถึงแต่ความสวยงามเท่านั้น เช่น สีฟ้าที่สร้างความรู้สึกโปร่งสบายและความสดชื่น ก็ถูกนำมาเป็นตัวแทนของคอนเซ็ปต์ ‘Inspire & Urban’ หรือสีแดงที่สร้างความกระตือรือร้น ก็เป็นตัวแทนของคอนเซ็ปต์ ‘Power & Energetic’ เป็นต้น

ความหมายของแพทเทิร์นเหล่านี้มาพร้อมกับความหมายของเส้นที่ถูกตีขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตการใช้งาน บ้างก็เป็นเส้นระบุตำแหน่งกึ่งกลางของสนาม บ้างก็เป็นเส้นรอบนอกที่หากผู้ใช้งานก้าวพ้นไปแล้วจะถูกกีดกันจากเกมด้วยกติกา บ้างก็เป็นที่ทุกคนต้องข้ามผ่านเพื่อทำคะแนนสู่ชัยชนะ แต่ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามหรือการใช้งาน ก็ผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืนออกมาเป็นกราฟิกชิ้นหนึ่ง ซึ่งยังคงเป็นสนามฟุตซอล ยังคงเป็นพื้นที่ทางศิลปะ และยังคงเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนข้างเคียงออกมาทำกิจกรรมได้โดยไม่บกพร่อง ทำให้ทางเลือกในการออกกำลังกายและพบปะสังสรรค์ของคนในย่านมีตัวเลือกมากขึ้นจากเดิม

ananda.co.th

PHOTO ESSAY : BANGKOK URBAN STORIES

TEXT & PHOTO: HIROTARO SONO

(For English, press here)

ผมมักพยายามมองหาเรื่องราว เวลาที่ผมเดินผ่านพื้นที่ต่างๆ ในเมืองอยู่เสมอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และผู้คน

“ทำไมพื้นที่นี้ถึงดูน่าสบายจัง?” “อะไรคือองค์ประกอบที่ทำให้บรรยากาศของพื้นที่เป็นแบบนี้กันนะ?”

พื้นที่เมืองถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ มันจึงเต็มไปด้วยความคิดของผู้คนหลากหลาย
และปริมาณที่มากมายของความคิดนั้นก็เป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจในทันทีทันใด
ดังนั้นแล้ว หากเราต้องการที่จะรู้สึกสนุกไปกับการเดินเล่นภายในเมือง เราต้องตั้งใจมองหาและจับความคิดและเรื่องราวอันแตกต่างกันไปของพื้นที่เมือง

ผมถ่ายภาพเวลาที่ผมสังเกตเห็นเรื่องราวบางอย่าง
เพื่อเป็นแรงบันดาลใจการออกแบบสถาปัตยกรรม
เพื่อความสุขของตัวผมเองที่จะได้ร่วมแบ่งปันมันกับผู้อื่น

นี่คือมุมมองของผม
และนี่ก็คือกรุงเทพฯ ของผม

_____________

Hirotaro Sono (Hiro) คือช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่จับภาพและแบ่งปันอารมณ์ของพื้นที่และผู้คน เขายังเป็นสถาปนิกที่ออกแบบความรู้สึกของพื้นที่และผู้คนด้วยเช่นกัน

hirotarosono.com
instagram.com/sono_thai.jp