Tag: park

URBAN JOY PLAYGROUND

Urban Joy Palyground by ANANDA
Urban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Palyground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDA

TEXT: NATHATAI TANGCHADAKORN
PHOTO COURTESY OF ANANDA DEVELOPMENT

(For English, press here

เมื่อสนามฟุตซอลที่ถูกรีโนเวทโดย ANANDA และพันธมิตร ร่วมกับ กทม. ถูกเติมแต่งลวดลายด้วยกราฟิกสีจัดจ้าน ประกอบกับการใช้เส้นสายที่เลื่อนไหลอย่างอิสระและรูปทรงเรขาคณิต ภาพถ่ายของสนามแห่งนี้จึงมีองค์ประกอบทางศิลปะสอดแทรกอยู่มากมาย

ความสวยงามของภาพชุดนี้ดูไปแล้วใกล้เคียงกับ minimalist photography ที่เรียบง่าย ทว่าความจริงแล้วมีความหมายของแต่ละสีอัดแน่นบนพื้นสนาม เนื่องจากที่นี่ตั้งใจวางตัวเป็นพื้นที่สาธารณะทางศิลปะของคนเมือง นักออกแบบจึงแฝงความหมายและแรงบันดาลใจเอาไว้ในทุกพื้นที่ และไม่ได้คำนึงถึงแต่ความสวยงามเท่านั้น เช่น สีฟ้าที่สร้างความรู้สึกโปร่งสบายและความสดชื่น ก็ถูกนำมาเป็นตัวแทนของคอนเซ็ปต์ ‘Inspire & Urban’ หรือสีแดงที่สร้างความกระตือรือร้น ก็เป็นตัวแทนของคอนเซ็ปต์ ‘Power & Energetic’ เป็นต้น

ความหมายของแพทเทิร์นเหล่านี้มาพร้อมกับความหมายของเส้นที่ถูกตีขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตการใช้งาน บ้างก็เป็นเส้นระบุตำแหน่งกึ่งกลางของสนาม บ้างก็เป็นเส้นรอบนอกที่หากผู้ใช้งานก้าวพ้นไปแล้วจะถูกกีดกันจากเกมด้วยกติกา บ้างก็เป็นที่ทุกคนต้องข้ามผ่านเพื่อทำคะแนนสู่ชัยชนะ แต่ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามหรือการใช้งาน ก็ผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืนออกมาเป็นกราฟิกชิ้นหนึ่ง ซึ่งยังคงเป็นสนามฟุตซอล ยังคงเป็นพื้นที่ทางศิลปะ และยังคงเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนข้างเคียงออกมาทำกิจกรรมได้โดยไม่บกพร่อง ทำให้ทางเลือกในการออกกำลังกายและพบปะสังสรรค์ของคนในย่านมีตัวเลือกมากขึ้นจากเดิม

ananda.co.th

HEITO 1909

สตูดิโอ ECG International Landscape Consultants จากไต้หวันพลิกพื้นที่โรงงานน้ำตาลเก่าให้กลายเป็น HEITO 1909 สวนสาธารณะที่แสดงแนวความคิดการพัฒนาเมืองและเก็บรักษาอาคารเก่าไว้พร้อมกัน

Read More

PHOTO ESSAY : GREENERY IN BANGKOK, DREAM OR ILLUSION?

TEXT & PHOTO: PUVADOL SAENGVICHIEN

(For English, please scroll down)

พื้นที่สีเขียวในเมืองกรุง, ความฝันหรือภาพลวง

ความฝันของคนจำนวนมากที่พักอาศัยกันอยู่อย่างแออัดในกรุงเทพมหานคร คือการที่ได้มีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ในขณะที่พื้นที่สวนสาธารณะในเมืองหลวงของเรานั้น มีขนาดเพียงน้อยนิด เมื่อเทียบสัดส่วนกับขนาดพื้นที่ของอาคารบ้านเรือน ถนน และอาคารพาณิชย์ในรูปแบบต่างๆ ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกวัน

สิ่งที่เราพบเห็นในเมืองกรุงกันจนชินตาก็คือ ภาพจำลองของการได้มีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่สีเขียวที่ใช้ในการโฆษณาแข่งขันการขายโครงการที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ รวมไปถึงการตกแต่งรั้วผนังของพื้นที่ก่อสร้าง อาคาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆ บนถนนหนทาง ที่นำเอาภาพจำลองของธรรมชาติมาแปะประกอบกันเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของโครงการและเขตพื้นที่ของตนให้ตรงกับภาพเมืองในฝันของคนส่วนใหญ่

หากเราสังเกตให้ดีจะเห็นได้ว่า ภาพของการตกแต่งแบบฉาบฉวยเหล่านี้ค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา พวกมันเริ่มสื่อสารข้อความที่แตกต่างไปจากสิ่งที่ผู้สร้างตั้งใจ ผลลัพธ์ที่ได้กลับกลายเป็นการสะท้อนถึงความรู้สึกโหยหาธรรมชาติของชีวิตคนเมืองอันเต็มไปด้วยความฉาบฉวย เปรียบเสมือนเป็นภาพลวงของความฝันของคนเมืองที่ยังห่างไกลจากสภาพความเป็นจริงยิ่งนัก

_____________

ภูวดล แสงวิเชียร เกิดและเติบโตในจังหวัดสมุทรปราการ จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และปริญญาโทสาขาธุรกิจด้านการตลาด มีประสบการณ์การทํางานในบริษัทต่างๆ ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม ออกแบบร้านค้าและผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการวางแผนทางการตลาดให้กับธุรกิจการค้าปลีกเป็นเวลารวม 18 ปี ปัจจุบันภูวดลได้ตัดสินใจทิ้งโลกทางธุรกิจไว้เบื้องหลังเพื่อให้เวลากับตัวเองอย่างเต็มที่ในการถ่ายภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตัวเองรัก

Packed in the concrete residences, Bangkokians have been sought for a dream of getting access to nature. However, there is a lack of parks in urban areas when compared with the ratio size of residences, roads, and commercial buildings that have been deliberately increasing nowadays.

What Bangkok has always been portrayed to us is the illustration of a green city fantasizing the chance of community getting closer to the environment. Those images were consistently used for promoting in several real estate advertisements. Moreover, many construction sites were decorated with vinyl posters simulating the green ambience in order to highlight their image towards the projects in a district and connect the individuals’ utopia dream of the city.

If we take a closer look, we will be able to steadily observe the transformation of the green decorations throughout the time. The messages included inside those images will appear to change differently from the beginning. The result seems to be a reflection of the city people’s intense desire for the true nature in order to recompense their shallow life. This reveals the illusion dream of city people that is still quite far away from reality.

_____________

Puvadol Saengvichien was born and raised in Samut Prakan Province. He holds a  Bachelor’s degree in Architecture and a Master’s degree in Business Administration (Marketing). For 18 years, he had been working in the field of architecture, retail and product management. He left the corporate world behind and devote most of the time to pursue his passion for Photography.

puvadolsaengvichien.com
instagram.com/pudols