ป้ายกำกับ: people

PHOTO ESSAY : SPECTRUM OF SOLITUDE: A TAPESTRY OF URBAN LIFE

TEXT & PHOTO: CHEVAN LIKITBANNAKON 

(For English, press here

ในผลงาน ‘Spectrum of Solitude’ ซีรีส์ภาพถ่ายสะกดสายตา เลนส์กล้องส่องลึกลงไปยังพลวัตรอันซับซ้อนของเมือง จับภาพช่วงเวลาแห่งความสัมพันธ์ การใคร่ครวญ และการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ท่ามกลางพื้นหลังอย่างสวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ ไปจนถึงถนนหนทางอันจอแจ ภาพแต่ละภาพเป็นดั่งฝีแปรงที่ปรากฏบนผืนผ้าใบอันกว้างใหญ่ของชีวิตเมือง เผยความสอดคล้องระหว่างความโดดเดี่ยวกับการมีใครสักคนอยู่ข้างๆ ความเกี่ยวโยงระหว่างวัฒนธรรมและศิลปะ

ชุดภาพภ่ายนี้เปิดด้วยฉากทัศน์ของผู้คนที่รายล้อมไปด้วยมิตรภาพอันอบอุ่น พวกเขาหัวเราะ แลกเปลี่ยนเรื่องราวในอ้อมกอดอันเขียวชอุ่มของสวนสาธารณะและคาเฟ่หน้าตาสวยงามน่านั่ง เพื่อนฝูง คนรัก ปลอบประโลมซึ่งกันและกัน ความสุขของพวกเขานั้นมองเห็นได้ชัดเจนโดยมีเมืองอันงดงามเป็นพื้นหลัง อย่างไรก็ดี สิ่งที่แทรกตัวอยู่ระหว่างช่วงเวลาแห่งความเป็นมิตรเหล่านี้ คือผู้คนที่โดดเดี่ยวซึ่งเหม่อลอยอยู่ท่ามกลางความเร่งรีบวุ่นวายของชีวิตเมือง ช่วงขณะอันเปลี่ยวเหงานี้นำเสนอภาพตรงข้ามกับพลังงานอันสดใสที่เกิดจากการพบปะของผู้คน มันชักชวนให้ผู้ชมละเมียดละไมกับความงามของการสำรวจตัวเองและการค้นพบตัวตน

ภาพถ่ายในซีรีส์ค่อยๆ เผยแง่มุมการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ผ่านรูปถ่ายที่จับภาพการทับซ้อนของธรรมเนียม และการแสดงออกหลากหลายที่บ่งบอกตัวตนของเมือง จากโถงอันเงียบงันของพิพิธภัณฑ์ที่ศิลปะกับประวัติศาสตร์สัมพันธ์เชื่อมโยง ไปจนถึงถนนอันครึกครื้นซึ่งเต็มไปด้วยชีวิตหลากวัฒนธรรม แต่ละภาพคือหลักฐานของความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายของประสบการณ์ของมนุษย์ที่ปรากฏพบเจอในพื้นที่และอ้อมกอดของเมือง

‘Spectrum of Solitude’ นั้นเป็นมากกว่าชุดภาพถ่าย มันคือซิมโฟนีเฉลิมฉลองชีวิตเมืองที่มีมิติแง่มุมมากมาย ผ่านเลนส์ของการถ่ายภาพเเนวสตรีท ผู้ชมจะได้ร่วมค้นหาความสมดุลอันเปราะบางระหว่างความโดดเดี่ยวและความสัมพันธ์ วัฒนธรรมและศิลปะ เพื่อค้นพบความงามในช่วงเวลาต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่ช่วยก่อร่างสร้างประสบการณ์ในเมืองขึ้นมา

_____________

ด้วยพื้นหลังด้านการทำภาพยนตร์ Chevan Likitbannakon คือช่างภาพลูกครึ่งไทยอียิปต์ผู้ที่หลงใหลในการเล่าเรื่องด้วยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันเป็นการเล่าเรื่องผ่านรูปแบบทางทัศนศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพถ่าย มิวสิควีดีโอ หรือการทำหนัง มันจะมีช่วงเวลาที่ปรากฏขึ้นเพียงชั่วขณะที่ทำให้ผมได้เห็นเสี้ยวหนึ่งของแก่นของคนหรือเรื่องราวที่ถูกผมจับภาพ นั่นคือเรื่องราวที่ผมเล่า การเป็นคนที่อยู่หลังกล้องที่บันทึกเขาช่วงเวลานั้นเอาไว้ พาตัวผมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวเหล่านั้น มันอาจจะเป็นความรู้สึก หรือความคิด หรือสายตา ที่ถูกเผยออกมาระหว่างห้วงขณะที่ถูกจับภาพเอาไว้  และมันก็อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครได้เห็นมาก่อนเลยก็เป็นได้

chevan.myportfolio.com

 

PHOTO ESSAY : BANGKOK URBAN STORIES

TEXT & PHOTO: HIROTARO SONO

(For English, press here)

ผมมักพยายามมองหาเรื่องราว เวลาที่ผมเดินผ่านพื้นที่ต่างๆ ในเมืองอยู่เสมอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และผู้คน

“ทำไมพื้นที่นี้ถึงดูน่าสบายจัง?” “อะไรคือองค์ประกอบที่ทำให้บรรยากาศของพื้นที่เป็นแบบนี้กันนะ?”

พื้นที่เมืองถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ มันจึงเต็มไปด้วยความคิดของผู้คนหลากหลาย
และปริมาณที่มากมายของความคิดนั้นก็เป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจในทันทีทันใด
ดังนั้นแล้ว หากเราต้องการที่จะรู้สึกสนุกไปกับการเดินเล่นภายในเมือง เราต้องตั้งใจมองหาและจับความคิดและเรื่องราวอันแตกต่างกันไปของพื้นที่เมือง

ผมถ่ายภาพเวลาที่ผมสังเกตเห็นเรื่องราวบางอย่าง
เพื่อเป็นแรงบันดาลใจการออกแบบสถาปัตยกรรม
เพื่อความสุขของตัวผมเองที่จะได้ร่วมแบ่งปันมันกับผู้อื่น

นี่คือมุมมองของผม
และนี่ก็คือกรุงเทพฯ ของผม

_____________

Hirotaro Sono (Hiro) คือช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่จับภาพและแบ่งปันอารมณ์ของพื้นที่และผู้คน เขายังเป็นสถาปนิกที่ออกแบบความรู้สึกของพื้นที่และผู้คนด้วยเช่นกัน

hirotarosono.com
instagram.com/sono_thai.jp

AWAKEN DESIGN STUDIO

PHOTO CREDIT AS NOTED

(For English, press here)

WHO
เราเรียกตัวเองด้วยภาษาไทยว่า “ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ” แต่ตั้งชื่อทีมเป็นภาษาอังกฤษว่า “AWAKEN DESIGN STUDIO” เหตุผลที่พวกเรามีชื่อแตกต่างกันในหลายภาษา เป็นเพราะส่วนหนึ่งของคำแนะนำจากอาจารย์แบน ธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติที่เราให้ความเคารพ ได้บอกกับเราว่า “ใครที่ไหนบนโลกจะไปออกเสียง ‘ตื่น’ เป็นภาษาอังกฤษได้ถูกต้องกันล่ะ”

WHAT
“อะไรนะครับ/คะ” คือคำถามที่พวกเราโดนถามบ่อยที่สุดหลังจากแนะนำชื่อสตูดิโอ “ตื่น” ของพวกเรา เพราะลูกค้าและซัพพลายเออร์อาจไม่มั่นใจเท่าไรว่าได้ยินชื่อเราถูกต้องหรือเปล่า 

Read More