ป้ายกำกับ: bangkok

4TH WALL

4thWall bar

Taste Space ออกแบบบาร์ให้สอดคล้องกับแนวคิด retro-futurism ซึ่งประยุกต์จากองค์ประกอบของภาพยนตร์ช่วง 1960s ตามความหลงใหลของเจ้าของโครงการ

Read More

PHOTO ESSAY : WAT ARUN

TEXT & PHOTO: TANAGON TIPPRASERT

(For English, press here

ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน วัดอรุณราชวรารามหรือวัดอรุณฯ เป็นวัดสำคัญที่คนไทยหรือชาวต่างชาติคุ้นเคยกับภาพความสวยงามของพระปรางค์วัดอรุณฯ กันเป็นอย่างดี แต่จริงๆ แล้วมุมมองแปลกใหม่ยังคงมีซ่อนอยู่ให้ได้ค้นหาในทุกๆ ครั้งที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม รวมไปถึงบริเวณรอบๆ ที่ยังน่าสนใจและรู้สึกประทับใจทุกครั้งที่ได้มา สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ทำให้การเดินชมวัดอรุณฯ เต็มไปด้วยความสนุก น่าจะเป็นนักท่องเที่ยวจากชาติต่างๆ เป็นมุมมองจากเขาสู่เรา เพราะจะมีทั้งการบริการแต่งกายชุดไทยเพื่อให้ความรู้สึกสมจริงเหมือนย้อนเวลากลับไปในยุคเก่า เพิ่มความสนุกสนานในการเดิมชมวัด ถึงแม้ในบางวันที่อากาศอาจจะร้อนมากเป็นพิเศษ แต่นักท่องเที่ยวทุกคนยังดูมีความเพลิดเพลิน รวมไปถึงการเดินทางมายังวัดอรุณฯ ก็มีทั้งทางรถและทางเรือที่บริการให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมได้อย่างสะดวก ภาพชุดนี้เลยอยากนำเสนอมุมมองและจังหวะที่พิเศษดูแปลกใหม่ ให้ผู้ชมภาพได้จินตนาการต่อ และอยากให้ความเป็นวัดอรุณฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังคงอยู่ตลอดไป

__________

ธนากร ทิพย์ประเสริฐ เป็นช่างภาพอิสระและรับถ่ายภาพ wedding มีความสนใจชื่นชอบการถ่ายภาพสตรีทและสารคดี

facebook.com/Tanagon56
instagram.com/tana_gon

EARLY YEARS PROJECT #7: A CHANGE IN THE PARADIGM

BACC จัดแสดงนิทรรศการ Early Years Project #7 ที่รวบรวมศิลปินรุ่นใหม่มาแสดงผลงานที่สะท้อนสังคมไทยในปัจจุบันผ่านมุมมองของแต่ละคน

Read More

PHOTO ESSAY : BANGKOK ARCHIVE

TEXT & PHOTO: ULF SVANE

(For English, press here

บางกอกรำลึก เป็นชุดภาพถ่ายที่เล่าเรื่องราวของกรุงเทพมหานคร ความสงสัยและความรักต่อเมืองหลวงแห่งนี้ที่ นำพาเราไปสถานที่อันเก่าแก่เพื่อพูดคุยกับผู้คนที่ดูแลรักษาสถานที่เหล่านั้นให้มีชีวิตชีวาจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่เมืองกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะการเติบโตของเศรษฐกิจ บางครั้งกิจการร้านค้าและสถานที่เหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านของเมืองโดยเลี่ยงไม่ได้ บางแห่งต้องถูกย้าย บางแห่งอาจต้องปิดตัวลง การเก็บเรื่องราวเหล่านี้ผ่านภาพถ่ายนั้นจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง

ในขณะที่กรุงเทพฯ เริ่มมีการย้ายเข้ามาของผู้อยู่อาศัยมากหน้าหลายตา ส่งผลให้ความทรงจำบางส่วนของสถานที่ ต่างๆ ได้ถูกกลืนหายไป ในเวลาเดียวกัน ราคาบ้านที่สูงขึ้นใจกลางเมืองก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ผลักดันให้ประชากรส่วนใหญ่เริ่มออกไปอยู่ชานเมืองหรือส่วนอื่นๆ ของประเทศควบคู่ไปกับการย้ายถิ่นฐานของกิจการเล็กๆ หรือกิจการที่เคยมีมาตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ๆ ครอบครัว เพื่อนฝูงใช้เป็นที่พบปะพูดคุย ร้านอาหาร หรือแม้แต่ร้านซักรีดเล็กๆ ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองมาก่อน ก็ค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยกิจการร้านค้ารูปแบบใหม่ซึ่งเข้ามากำหนดบรรทัดฐานและวิถีชีวิตของเมือง ณ ปัจจุบัน

บางกอกรำลึกมีความตั้งใจที่จะรักษาความทรงจำและเผยแพร่เรื่องราวของผู้คนในสถานที่ๆ น่าสนใจเหล่านี้ เพื่อที่จะทำให้เราตระหนักได้ว่าเมืองในอดีตเคยเป็นเช่นไรและเราต้องการเห็นเมืองเป็นแบบใดในอนาคต ผ่านการตั้งคำถามว่าเมืองนี้เติบโตอย่างไร โดยเฉพาะในบริบทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางรัฐ เพื่อทำความเข้าใจถึงเบื้องหลังในการเปลี่ยนแปลง เพราะเสน่ห์ของกรุงเทพฯ คือส่วนผสมของความหลากหลายเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งต่อให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจเมืองแห่งนี้มากขึ้น และสะท้อนถึงอนาคต ของกรุงเทพมหานคร เมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง

_____________

Ulf Svane เป็นช่างภาพมือรางวัลชาวกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ผู้สร้างชื่อเสียงในวงกว้างด้วยผลงานอันโดดเด่น มีความชำนาญในการบันทึกภาพวัฒนธรรม ผู้คน และประสบการณ์เรื่องอาหารการกินออกมาร้อยเรียงเป็นภาพถ่าย ณ ขณะนี้ เขาใช้ชีวิตอยู่ทั้งโคเปนเฮเกน และกรุงเทพมหานคร ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์โดยสื่อชั้นนำที่ได้รับการยอมรับ อาทิ Travel + Leisure, National Geographic, Financial Times และ The Washington Post

bkkarchive.com
ulfsvane.com
instagram.com/ulfsvane

 

LIGHT ROAST

Light Roast

พบ Virtual media creator ที่ช่ำชองการถ่ายทอดงานดีไซน์ในรูปแบบ 3 มิติ รูปแบบการสร้างผลงานของพวกเขาไม่ได้จำกัดอยู่แค่เทคนิคใดเทคนิคหนึ่ง เพื่อสร้างคุณค่าพิเศษให้งานแต่และชิ้น

Read More

THAI-PAKISTAN FRIENDSHIP MOSQUE

‘มัสยิดมิตรภาพไทย-ปากีสตาน’ เป็นอาคาร 5 ชั้นโดย Teechalit Architect ที่นำเสนอความเรียบง่าย ทว่ายังคงคาแร็กเตอร์ของสถาปัตยกรรมอิสลามเอาไว้

Read More

ATELIER01

BANNPRU RESIDENCE by A01
BANNPRU RESIDENCE by A01

BANNPRU RESIDENCE

Atelier01 เป็นออฟฟิศออกแบบในสิงคโปร์ที่มีสาขาอยู่ทั่วภูมิภาคอาเซียน พวกเขายึดภาษาการออกแบบที่เรียบง่ายแต่ลุ่มลึก เลือกใช้องค์ประกอบต่างๆ มาจัดวางให้สเปซเกิดความสมดุล

Read More

BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION’S IDENTITY SYSTEM

Bangkok Metropolitan Administration's identity system

Farmgroup ปล่อยภาพตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร รวมถึงระบบอัตลักษณ์ของเมืองโฉมใหม่ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา วันนี้อยากชวนมาย้อนดูว่า กระบวนการดีไซน์ผลงานของพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง

Read More

BAAN TROK TUA NGORK

อาคารตึกแถวอายุ 90 ปีที่ได้ Stu/D/O Architects มาช่วยปรับเปลี่ยนพื้นที่และโครงสร้างให้เหมาะสมกับการใช้งาน ในฐานะพื้นที่อิสระสำหรับปล่อยเช่าทั้งยังรักษาจิตวิญญาณและร่องรอยของชีวิตภายในอย่างสมบูรณ์

TEXT: PRATCHAYAPOL LERTWICHA
PHOTO: STU/D/O ARCHITECTS AND KUKKONG THIRATHOMRONGKIAT

(For English, press here)

ช่วงอายุ 90 ปี ถ้านับในแง่ชีวิตคงต้องเรียกว่าเป็นวัยชรา แต่สำหรับ ‘บ้านตรอกถั่วงอก’ อาคารเก่าอายุกว่า 90 ปีในละแวก ตรอกถั่วงอกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ช่วงนี้คือช่วงที่ชีวิตกำลังก้าวเข้าสู่บันทึกบทใหม่ 

ตั้งแต่การเป็นบ้าน โรงงานผลิตน้ำพริก ออฟฟิศ ไปจนถึงอาคารที่พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปิดร้างเอาไว้เปล่าๆ บ้านตรอกถั่วงอกเป็นอาคารที่ผ่านร้อนผ่านหนาว และผ่านการใช้งานโดยคนหลายชั่วอายุคน ตอนนี้บ้านตรอกถั่วงอกกำลังถูกชุบชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยการเป็นพื้นที่ให้เช่าสำหรับจัดนิทรรศการ จัดกิจกรรม และอาจต่อยอดไปเป็นฟังก์ชันอื่นๆ ด้วยในอนาคต โดยได้ Stu/D/O Architects มาเป็นผู้ออกแบบปรับปรุงอาคาร

บ้านตรอกถั่วงอกเป็นอาคารตึกแถวยาว 5 คูหาติดกัน ด้านหลังอาคารมีคอร์ทรูปสี่เหลี่ยมคางหมูที่มีด้านกว้างที่สุดกว้างเพียง 5 เมตร หลังคอร์ทก็มีอาคารเล็กๆ อีกหลังหนึ่งที่เคยทำหน้าที่เป็นบ้านพักของคนงานมาก่อน เดิมทีอาคารด้านหน้ามีความสูง 4 ชั้น แต่ภายหลังมีการต่อเติมห้องดาดฟ้าของอาคารเพิ่มเติมขึ้นไปอีกชั้นเพื่อใช้เป็นห้องทำพิธีไหว้บรรพบุรุษ 

“เมื่อก่อนอาคารนี้เป็นบ้านของบรรพบุรุษครอบครัวเจ้าของตึกที่ย้ายมาตั้งรกรากจากเมืองจีน” อภิชาติ ศรีโรจนภิญโญ สถาปนิกจาก Stu/D/O Architects เท้าความที่มาของอาคารให้เราฟัง “อาคารนี้เคยรองรับคนในครอบครัวเขามากถึง 5 ครอบครัว และเมื่อก่อนตึกก็เคยเป็นทั้งร้านขายน้ำพริกเผา และเป็นออฟฟิศบริษัทประกันชีวิตซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว พอเวลาผ่านไปเมื่อพื้นที่ไม่เพียงพอ แต่ละครอบครัวขยายจึงย้ายออกไปอยู่ข้างนอก ตึกเลยถูกทิ้งไว้เฉยๆ ยกเว้นเวลามีพิธีเคารพบรรพบุรุษตามประเพณีคนจีน สมาชิกครอบครัวก็จะแวะเวียนมาทีนึงที่ห้องบรรพบุรุษที่ชั้นบนสุดของตึกเพียงเท่านั้น”

ห้องไหว้บรรพบุรุษก่อนการปรับปรุง

ห้องไหว้บรรพบุรุษหลังปรับปรุง

หลังจากเห็นอาคารถูกปล่อยไว้ให้รกร้างเดียวดายมานาน สมาชิกครอบครัวรุ่นเหลนจึงเสาะหาไอเดียที่จะทำให้อาคารกลับมามีชีวิตอีกครั้ง ไอเดียแรกเริ่มคือการทำร้านกาแฟ ร้านอาหาร และโรงแรมเล็กๆ แต่เมื่อขบคิดกันอีกที ไอเดียก็ลงเอยที่การทำพื้นที่ให้เช่า พร้อมการเตรียมงานระบบเผื่อไว้สำหรับการขยับขยายฟังก์ชันในอนาคต

ถึงการเปลี่ยนอาคารเป็นพื้นที่ให้เช่าจะดูไม่ได้ยากเย็นอะไร เพราะมันคือการเตรียมพื้นที่โล่งๆ เอาไว้ให้คนมาผลัดเปลี่ยนใช้สอย แต่กลายเป็นว่าสิ่งนี้คือโจทย์อันยิ่งใหญ่ของทีมออกแบบ เพราะการเป็นพื้นที่ให้เช่าจัดกิจกรรม หมายความว่าอาคารจะต้องรองรับน้ำหนักคนจำนวนมากเป็นหลักร้อยได้ และถ้าจะแทรกสอดฟังก์ชันเพิ่มเติมในอนาคต น้ำหนักก็จะมีมากขึ้นตามมาด้วย ปัญหาก็คือ อาคารเดิมมีข้อจำกัดเรื่องการรองรับน้ำหนัก Stu/D/O Architects และทีมวิศวกร เลยต้องระดมสมองกันว่าจะทำอย่างไรให้อาคารรับน้ำหนักคนเพิ่มได้

“ทางออกแรกที่เราคิดกันคือการใส่โครงเหล็กเสริมไปกับโครงสร้างอาคาร” ชนาสิต ชลศึกษ์ อีกหนึ่งสถาปนิกจาก Stu/D/O Architects เผย “เราทดลองดีไซน์โครงเหล็กหลายรูปแบบ ทั้งแบบพยายามให้มันดูกลืนหายไป และแบบโชว์ความแตกต่างชัดเจนระหว่างโครงสร้างเก่ากับโครงสร้างใหม่ ดีไซน์ที่ออกมามันก็ดูสวยดี แต่เราคิดว่าวิธีนี้มันจะทำให้สปิริตดั้งเดิมของตึกหายไปเลย” 

เมื่อการใช้โครงสร้างเหล็กประกับเสริมไปกับโครงสร้างเก่าไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ใจคาด Stu/D/O Architects และทีมวิศวกรจึงสุมหัวกันอีกรอบว่าจะทำอย่างไร จนในที่สุดก็ได้วิธีการที่น่าพอใจ นั่นคือการรื้อโครงสร้างพื้นชั้นหนึ่งของอาคารเก่าออกเพื่อลดน้ำหนักที่ถ่ายลงฐานรากเดิม และสร้างพื้นชั้นหนึ่งบนฐานรากและเสาเข็มชุดใหม่เข้าไปแทนที่ “เราขุดโครงสร้างพื้นชั้นหนึ่งของอาคารเก่าออกหมด ทำให้อาคารส่วนที่เหลือรองรับน้ำหนักได้มากขึ้น เท่ากับน้ำหนักของพื้นชั้นหนึ่งที่หายไป” อภิชาติเล่า “แล้วเราก็ทำโครงสร้างใหม่สำหรับพื้นชั้นหนึ่งแทรกเข้าไปในตึกเดิม พร้อมกับการใส่โครงสร้างของลิฟต์และบันไดใหม่ข้างใน”

สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาแน่ๆ เมื่อโครงสร้างเก่าและใหม่มาอยู่ด้วยกันคือระยะการทรุดตัวที่ต่างกัน นอกจากการเว้นช่องว่างตามรอยต่อระหว่างโครงสร้างใหม่และเก่า อย่างเช่น ผนังกระจกบริเวณคอร์ตกลาง ที่สถาปนิกวางผนังที่ติดกับโครงสร้างเก่า ให้เหลื่อมมาข้างหน้าผนังที่ติดกับโครงสร้างใหม่ พวกเขาก็ออกแบบให้ผนังกระจกด้านหน้ามีรอยการไล่สี gradient สีแดงเหมือนสีกระเบื้องพื้นชั้นหนึ่ง ซึ่งหากในอนาคตพื้นชั้นหนึ่งทรุดตัวลง ส่วนสี gradient นี้ก็จะช่วยพรางระยะที่อาคารทรุดตัวไม่ให้เห็นจากภายนอกได้

ในส่วนรายละเอียดงานออกแบบอาคาร สถาปนิกเลือกเก็บหน้าตา façade อาคารเอาไว้ให้เหมือนเดิมมากที่สุด สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือการกรุกระจกใสที่ชั้นหนึ่ง เพื่อเชื่อมต่อชั้นแรกของอาคารเข้ากับโลกภายนอก สำหรับตัวอาคารข้างใน สถาปนิกตัดสินใจรื้อกำแพงที่กั้นห้องแถวแต่ละห้องออก เพื่อเชื่อมสเปซเข้าด้วยกัน แนวไม้ใหม่บนพื้นคือสิ่งที่บ่งบอกว่ากำแพงเหล่านั้นเคยอยู่ตรงไหนบ้าง บันไดและราวกันตกของห้องแถวแต่ละห้องถูกรื้อออกมา และนำขั้นบันไดแต่ละขั้นมาทำเป็นแผ่นพื้นประกอบใส่ในช่องบันไดเดิม ซึ่งเป็นอีกร่องรอยที่แสดงความทรงจำของอาคารเก่า ส่วนดีเทลอื่นๆ ของอาคารยังถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี อย่างเช่น เสาบากมุม คานปูน กระเบื้องพื้น ซึ่งเผยให้เราเห็นลีลาและฝีไม้ลายมือของช่างสมัยก่อน

คอร์ทภายในคือหัวใจของตึกเลยก็ว่าได้ ถึงคอร์ทจะไม่ได้มีขนาดใหญ่โตเท่าไหร่ (ด้านกว้างสุดกว้าง 5 เมตร ด้านแคบสุดกว้างแค่ 3 เมตร) แต่แสงสว่างที่ส่องผ่านลงมาและพร้อมด้วยกระจกเงาและกระจกใสที่กรุรอบห้องต่างๆ กลับทำให้คอร์ทดูโอ่โถงขึ้นถนัดตา ต่างกันอย่างลิบลับกับคอร์ทสมัยก่อนที่มืดทะมึน เหมือนเป็นแค่พื้นที่เศษเหลือหลังอาคาร

คอร์ทกลางก่อนการปรับปรุง

คอร์ทใหม่ยังสวมบทบาทเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่เราจะได้เห็นชีพจรความเป็นไปในอาคารผ่านการมองทะลุกระจกใสรอบห้องต่างๆ ตามแนวกระจกมีบานหน้าต่างและบานประตูเก่าหลากสีหลายรูปแบบที่ถูกติดตั้งตามตำแหน่งเดิมที่มันเคยอยู่ในสมัยก่อน กระจกใสเป็นกระจกเทมเปอร์ลามิเนตที่สามารถรองรับน้ำหนักได้ บานหน้าต่างและประตูจึงสามารถยึดตัวอยู่ได้บนบานกระจก จากบานหน้าต่างที่เคยทำหน้าที่เปิดรับแสงและลม ตอนนี้ บานหน้าต่างกลายเป็นองค์ประกอบที่นำพาผู้คนย้อนไปสู่ห้วงความทรงจำของอาคารในอดีต 

นอกจากการสื่อถึงอารมณ์และกลิ่นอายของอดีต Stu/D/O Architects ก็ยังใส่องค์ประกอบใหม่เข้าไป เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานใช้อาคารได้สะดวกสบายและปลอดภัยขึ้น อย่างเช่น ลิฟต์และบันไดหนีไฟใหม่ ที่ช่วยรองรับการสัญจรในอาคาร การติดตั้งหลังคาโปร่งแสงบนชั้น 4 ที่เปลี่ยนพื้นที่ดาดฟ้า ให้กลายเป็นระเบียงนั่งเล่นในร่มที่ผู้คนใช้งานได้โดยไม่ต้องเปียกฝน หรือการสร้างทางเดินเชื่อมอีกอันระหว่าง core ลิฟต์เก่าและ core ลิฟต์ใหม่ที่ชั้น 5 

ถึงบ้านตรอกถั่วงอกโฉมใหม่จะเพิ่งเปิดตัวไปได้ไม่นาน แต่อาคารก็ผ่านการจัดกิจกรรมมาแล้วหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น นิทรรศการศิลปะ Ghost 2565: อยู่ยังไงให้ไม่ตาย, Baan Soho พื้นที่ทดลองของ Soho House ก่อนที่คลับเฮ้าส์จริงจะเปิดตัว หรืองานดินเนอร์ส่วนตัวของแบรนด์ LOUIS VUITTON ในวันนี้ ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของบ้านตรอกถั่วงอกก็ได้เริ่มต้นขึ้น พร้อมเปิดให้ผู้คนที่แวะเวียนได้มาจารึกเรื่องราวและร่องรอยใหม่ๆ และทิ้งให้มันเป็นมรดกที่ตกทอดในกาลเวลา เช่นเดียวกับที่รอยขีดข่วนบนบานหน้าต่าง หรือคราบไคลจากการเผากระดาษกงเต็กบนพื้นกระเบื้อง ได้เคยฝากฝังไว้ 

facebook.com/Studio.Architects

BANGKOK STREET ART AND GRAFFITI

หนังสือจาก Rupert Mann ที่รวบรวมผลงานกราฟฟิตีกว่า 140 ชิ้นที่เปิดประวัติศาสตร์สตรีทอาร์ทในกรุงเทพฯ ที่ดำเนินควบคู่ไปกับความฟอนเฟะของการพัฒนาเมือง โดยเฉพาะโครงการโฮปเวลล์ Read More