ป้ายกำกับ: architecture
COLLECTIVE LANGUAGE – ASIAN CONTEMPORARY ARCHITECTURE
หนังสือ Collective Language – Asian Contemporary Architecture รวบรวมผลงานของบริษัทสถาปนิกในเอเชีย ที่สื่อสารภาษาสถาปัตยกรรมออกมาให้สัมผัสในรูปแบบที่ต่างกัน
GODMOTHER STUDIO
สตูดิโอออกแบบที่สนใจดีไซน์หลายแขนง ซึ่งเชื่อว่ากระบวนการออกแบบแต่ละครั้งเปรียบเสมือนการทดลองแนวคิดนามธรรมให้กลายเป็นสิ่งที่ลูกค้าสัมผัสได้
CHAN STUDIO ARCHITECTS
สตูดิโอที่ออกแบบผลงานเรียบง่ายแต่งดงาม และคำนึงถึงชีวิตของผู้อาศัย รวมถึงการคงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
PHOTO ESSAY : THE ARCHITECTURE OF DEMOLITION
TEXT & PHOTO: AKAI CHEW
(For English, press here)
สิงคโปร์เป็นเมืองที่ยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง ตึกรามอาคารถูกสร้างและพัฒนาขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว ถึงขั้นที่ว่าตึกอายุ 30 ปี ก็ถูกมองว่าควรแก่เวลาสำหรับกับการถูกปรับปรุงพัฒนาใหม่ ที่สิงคโปร์ การทำลายและก่อสร้างเกิดขึ้นอยู่ทุกหนแห่ง คล้ายกับเวลาที่นักมายากลโยนผ้าผืนหนึ่งขึ้นบนฟ้าแล้วก็หายตัวไปทันทีที่ผ้าหล่นลงมา เมื่อนั่งร้านถูกเอาออกไป อาคารเก่านั้นก็ราวกับหายวับไปกับตา นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา อัตราการรื้อถอนอาคารของเมืองพุ่งทะยานขึ้นเป็นสัดส่วนที่สูงจนเหลือจะเชื่อ ในปัจจุบัน สี่ในสิบของอาคารที่สูงที่สุดในโลกที่ได้รับการพัฒนาใหม่อยู่ในสิงคโปร์
ในปี 1960 สิงคโปร์ใช้การพัฒนาพื้นที่เมืองเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจยุคใหม่ ตึกระฟ้าที่เพิ่งสร้างเสร็จส่งสัญญาณถึงยุคสมัยใหม่ของประเทศ หากแต่ในวันนี้ บางส่วนของอาคารเหล่านี้ได้ถูกทำลายลงไปแล้วเรียบร้อย
การรื้อถอนและก่อสร้างในสิงคโปร์นั้นเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพอๆ กับการมีอยู่ของอาคารจริงๆ อาคารหนึ่งเลยก็ว่าได้ ในช่วงไม่กี่ทศวรรษให้หลังมานี้ การพัฒนาอาคารเก่าขึ้นใหม่ และการสูญเสียไปซึ่งสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและมนุษย์สร้างนั้น เป็นสิ่งที่พบเห็นและยอมรับได้อย่างไม่ได้มีใครรู้สึกรู้ร้อนรู้หนาวอะไร มันยังถูกมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ วิวัฒนาการของเมือง มันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับการเจริญขึ้นเป็นเมืองที่ดียิ่งกว่าเดิมของสิงคโปร์ ที่ซึ่งความร่วมสมัยอาจหมายความถึงประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในอีกสิบปีข้างหน้า
ในขณะที่สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในยุคหลังประกาศเอกราชของประเทศกำลังถูกลบทิ้งและแทนที่ไปอย่างช้าๆ มันเปิดประตูสู่คำถามต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่แหวกขนบที่เคยเป็นมา
ผมคิดถึงรูปถ่ายเก่าๆ ที่แสดงภาพของสิงคโปร์ในช่วงศตวรรษที่ 19 เรามองกลับไปยังอดีตด้วยความรู้สึกตราตรึงใจ พลางคิดกับตัวเองว่าเมืองสิงคโปร์ได้เปลี่ยนแปลงไปมากมายขนาดไหนนับตั้งแต่นั้นมา บางที ที่สิงคโปร์ อดีตที่ว่าอาจจะย้อนหลังกลับไปแค่เพียงสิบหรือยี่สิบปีเท่านั้น
_____________
Akai Chew เป็นศิลปินที่ทำงานอยู่ในสิงคโปร์ พื้นหลังทางการศึกษาและการทำงานของเขาที่ครอบคลุมทั้งสถาปัตยกรรม การวางผังเมือง และมรดกทางสถาปัตยกรรมช่วยหล่อหลอมการทำงานศิลปะร่วมสมัยของเขา ในฐานะศิลปิน เขาทำงานภาพถ่ายและศิลปะจัดวางเฉพาะที่เป็นหลัก Akai เรียนเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมมนุษย์สร้างที่ University of Tasmania ในออสเตรเลีย เขามีผลงานจัดแสดงมาแล้วในหลากหลายเมืองนับตั้งแต่สิงคโปร์ บันดัง นิวเดลี ไปจนถึงโฮบาร์ท และ ลอนเซสตัน