Tag: architecture

IS-STUDIO DESIGN

IS- studio design feature

IS-Studio Design สตูดิโอออกแบบงานสถาปัตยกรรมและงานตกแต่งภายในที่แสดงตัวตนของลูกค้าผ่านภาษาและรายละเอียดของสถาปัตยกรรม

Read More

THE DEPARTMENT OF LANDSCAPE ARCHITECTURE, KASETSART UNIVERSITY

degree show2024-landscape feature

degree show2024-landscape

วิทยานิพนธ์ 7 เรื่อง จากนิสิตภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Read More

PHOTO ESSAY : CLUSTERED OF PATTERNS

TEXT & PHOTO: JUTI KLIPBUA

(For English, press here

กลุ่มมวลของลวดลาย

การตกแต่งในสถาปัตยกรรมไทยและประเทศเพื่อนบ้านนั้น การใส่รายละเอียดอาจมองเป็นเพียงงานตกแต่งเพื่อแสดงความวิจิตรงดงาม แต่ส่วนตัวของผมนั้นการสนใจรายละเอียดเหล่านี้ ในฐานะที่ทำหน้าที่ลดทอนสัดส่วนของอาคาร ลดความแข็งทื่อของจังหวะการปะทะกันของส่วนประกอบต่างๆ ผมเริ่มสนใจถ่ายภาพรายละเอียดส่วนต่างๆของอาคารเหล่านี้เก็บไว้เมื่อมีโอกาส ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสมัยเรียนสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในยุคนั้นช่างน่าตื่นตาตื่นใจสำหรับนักศึกษาอย่างเรา สถาปัตยกรรมไทยที่เห็นตามวัดวาที่ผ่านตามาตั้งแต่เด็กจนโตไม่อยู่ในความสนใจเท่าไรนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป จากประสบการณ์การทำงานและการเดินทาง ได้ขัดเกลาส่งผลต่อความเข้าใจในความงามและเชิงการช่างและงานฝีมือมีมากขึ้น ยอมรับเลยว่ากล้องของผมก็เต็มไปด้วยภาพถ่ายการย่อมุม ขอบหน้าต่าง การติดกระจกสี และรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมไทยและจนขยายไปถึงของประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ที่ได้มีโอกาสไปเยือนมากมาย

ผมชอบที่วิธีการถ่ายเจาะและอัดจังหวะให้รายละเอียดเหล่านี้อยู่ในเฟรมเดียวกันโดยไม่ได้เสนอให้เห็นภาพใหญ่ของอาคารมากนัก หลายๆ ครั้งรายละเอียดเหล่านี้ก็กลายเป็นรูปทรงของสถาปัตยกรรมด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างเช่นเหมือนขอบของแถวอาคารวัดวาโบราณต่อเนื่องกันเป็นแถวๆ และให้มุมมองคล้ายกับลวดลายผ้าหรือ graphic design ที่เป็นเอกลักษณ์ของช่วงยุคนั้นๆ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลต่องานออกแบบของผมเอง ไม่ว่าจะการใช้ pattern หรือ scale ต่างๆ กันอย่างตรงไปตรงมาหรือลดทอนนำเฉพาะสันหรือเส้นขอบบางส่วนไปใช้ทั้งในงานสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน และงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของ JUTI architects สิ่งที่เห็นจนชินตาตั้งแต่เด็ก กลายเป็นสิ่งที่เราอยากจะสานต่อ ถ่ายทอดลงไปในสถาปัตยกรรมในยุคสมัยปัจจุบัน รายละเอียดที่เมื่อก่อนในความคิดว่าเป็นเพียงความวิจิตร ปัจจุบันสำหรับผม คือ จังหวะสัดส่วน และคุณค่าเชิงการช่างและศิลปะที่ร่วมสมัยอันงดงาม

___________________

จุติ กลีบบัว ผู้ก่อตั้งและ design director ของบริษัท จุติ อาร์คิเท็คส์ จำกัด (JUTI architects) นอกเหนือจากความสนใจในงานสถาปัตยกรรมตามสายงานอาชีพแล้วยังมีความสนใจในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบรถยนต์ และภาพถ่าย ปัจจุบันงานอดิเรกที่ใช้เวลาส่วนใหญ่คือการถ่ายภาพ และกำลังฝึกฝนให้งานภาพถ่ายออกมาในรูปแบบ abstract photography จากสิ่งแวดล้อมที่คุ้นชินในวันทำงานทั่วไปของเขา เช่น ไซต์งานก่อสร้าง เมืองระหว่างรถติด ธรรมชาติรอบตัวในไซต์งานต่างจังหวัด

instagram.com/nackandm

TENJINCHO PLACE

Tenjincho Place อพาร์ตเมนต์ในญี่ปุ่นที่ได้รับการออกแบบด้วยรูปลักษณ์ที่ลื่นไหล เพื่อลดทอนความอึดอัดจากพื้นที่ที่จำกัดและสร้างบรรยากาศชีวิตชีวา
Read More

THE SCHOOL OF ARCHITECTURE AND DESIGN, ASSUMPTION UNIVERSITY (AAU)

degree show2024-AAU

degree show -AAU

วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรม 5 เรื่อง จากนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (AAU)

Read More

STUDIO PHASARN

Studio Phasarn

รู้จัก Studio PhaSarn ที่มีแนวคิดออกแบบว่าด้วยการผสานความแตกต่างให้ไปด้วยกัน โดยปรับสัดส่วนตามความเหมาะสมและความต้องการของโครงการ

Read More

CO TEMPORARY ARCHITECTS

co temporary-feature

ความร่วมมือกันระหว่างมนุษย์เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย คือแนวคิดการทำงานของสตูดิโอ CO Temporary ในการออกแบบงานสถาปัตยกรรม

Read More

ARCHIDEX 2024

ARCHIDEX2024

สำรวจงาน ARCHIDEX 2024 มหกรรมแสดงสินค้าและกิจกรรมวิชาการด้านสถาปัตยกรรมโดย PAM และ C.I.S ซึ่งกลับมาอย่างยิ่งใหญ่กว่าเดิม

Read More

THAI ARCHITECTURE INFOGRAPHIC

TEXT & IMAGE: KIDYANG ARCHITECTURE & RESEARCH

(For English, press here)

ซีรีส์ Thai Architecture Infographic เป็นการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับโบราณสถานและอาคารประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ที่เราเห็นว่ามีจุดน่าสนใจทั้งสถานที่ที่สูญหายไปแล้ว สถานที่ที่เข้าถึงยากหรือถูกสงวนการเข้าถึง และเป็นสถานที่ที่ไม่เคยได้สร้างจริง เช่นในการสันนิษฐานพระบรมบรรพต ที่แต่แรกสร้างนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ (King Nangklao) เคยมีพระราชประสงค์จะสร้างเป็นพระปรางค์ที่สูงที่สุดเทียบเท่ากับภูเขาทองอยุธยาและพระปรางค์วัดอรุณ แต่ก็ล้มเลิกไปด้วยปัญหาฐานรากทรุด

ทั้งหมดนี้ เรามีการนำเสนอผ่านการผสมเครื่องมือระหว่างการวาดมือและการปั้นโมเดลสามมิติเพื่อช่วยทุ่นแรงและเวลาในการผลิตผลงานโดยที่ infographic และ illustration ทั้งหมดของซีรีส์นี้ก็ยังคงจุดมุ่งหมายแรกของเราไว้คือการทำให้ข้อมูลที่เข้าถึงได้ยากถูกนำเสนอให้เข้าใจง่าย และมีความน่าดึงดูดสำหรับบุคคลทั่วไปให้มีความสนใจต่ออาคารทางประวัติศาสตร์ในมิติที่แปลกใหม่ยิ่งขึ้น และเป็นโชคดีที่ในการทำงานชุดดังกล่าวนี้ ทำให้เราได้รู้จักกับกองบรรณาธิการและทีมของ National Geographic Thailand เกิดเป็นการร่วมกันสร้างสรรค์บทความและภาพประกอบสำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในประเทศไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา

กลุ่ม ‘คิดอย่าง’ เกิดจากการรวมตัวของคนจากหลายสาขาวิชาและความถนัดที่มีความสนใจร่วมกับเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสุรเชษฐ์ แก้วสกุล และ พัชรพงศ์ กุลกาญจนาชีวิน เป็นทีมหลักในซีรีส์ Thai Architecture Infographic

facebook.com/Arch.kidyang
facebook.com/Maewsow
instagram.com/p.kulkan

ARCHITECTURE PROGRAM, KASETSART UNIVERSITY

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท้าทายให้นิสิตตั้งคำถามและแสดงทักษะการคิดวิเคราะห์ แล้วถ่ายทอดมุมมองทางสถาปัตยกรรม

Read More