ป้ายกำกับ: graphic
TIME STRETCHED
TEXT & IMAGE: ANTON REPPONEN
(For English, press here)
Time Stretched เป็นการเดินทางสำรวทางทัศนะที่จะพาเราไปค้นหาความเกี่ยวเนื่องอันซับซ้อนของเวลา การเคลื่อนไหว และการรับรู้ของมนุษย์ แต่ละภาพในชุดนี้แช่แข็งช่วงเวลาไว้ในปฏิทรรศน์แห่งเวลา (temporal paradox) สภาพแวดล้อมล้วนถูกบิดเบือนไปในความโกลาหลจากการยืดตัวของเวลา ในขณะที่ตัวละครหลักของภาพกลับไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากโครงสร้างแห่งเวลาที่บิดเบี้ยว ผลลัพธ์ที่ได้คือภูมิทัศน์ที่ยืดออก สถาปัตยกรรมที่ผิดรูป และสภาพแวดล้อมเหนือจริงที่สร้างภาพบรรยากาศอันตราตรึง
ภาพแต่ละภาพถูกบันทึกไว้จากสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ถนนที่วุ่นวายในนิวยอร์กจนถึงภูมิทัศน์ที่เต็มไปด้วยสีสันของโตเกียว บาร์เซโลนา และกรุงเทพฯ แต่ในโลกของ ‘Time Stretched’ ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์จางหายไปจนไม่เหลือความสำคัญ ผู้ชมจะถูกนำไปสู่ช่วงเวลาที่บิดเบี้ยวและเป็นนามธรรม ในโลกแห่งนี้ ตัวละครหลักปรากฏตัวอย่างโดดเดี่ยว หยุดนิ่งไม่ไหวติงภายในห้วงเวลาของตนเอง หลุดพ้นจากข้อจำกัดของสถานที่ และดื่มด่ำในปฏิสัมพันธ์ที่น่าหลงใหลและน่าค้นหาของปฏิทรรศน์เวลา
___________________
Anton Repponen เป็นนักออกแบบปฏิสัมพันธ์ (interaction design) ที่มีสำนักงานอยู่ในนิวยอร์ก เขาร่วมนำทีมสตูดิโอออกแบบชื่อ ‘Anton & Irene’ ที่ดูแลลูกค้าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสถาบันวัฒนธรรมชั้นนำเช่น M+ Museum ในฮ่องกงและ The Met Museum ในนิวยอร์ก ไปจนถึงยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Spotify Netflix และ Google แนวทางการออกแบบของเขาผสมผสานอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบปฏิสัมพันธ์ได้อย่างลงตัว สะท้อนถึงปรัชญาการออกแบบที่เน้นความเป็นมนุษย์และพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมของเขาอย่างชัดเจน
PAT YINGCHAROEN: COLLECTIVE CONVALESCENCE
หนังสือ Collective Convalescence รวบรวมผลงานของ พัทธ์ ยิ่งเจริญ ที่นำภาพเขียนมาจำกัดความใหม่ด้วยการผนวกกับภาพถ่าย เพื่อให้ผู้อ่านขบคิดถึงข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
MODES AND CHARACTERS: POETICS OF GRAPHIC DESIGN
เยี่ยมชมนิทรรศการเกี่ยวกับอักษร-ภาพ-กราฟิก ที่ 21_21 DESIGN SIGHT ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรวบรวมผลงานออกแบบกราฟิกร่วมสมัยตั้งแต่ปลายยุค 1980 มาจนถึงยุคดิจิทัล
SHONE PUIPIA HANDS
สิ่งพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปีของคอลเล็กชันโดยแบรนด์เสื้อผ้า Shone Puipia ซึ่ง นภิษา ลีละศุภพงษ์ สร้างจากคอนเซ็ปต์ ‘(หลาย) มือ’ ที่สะท้อนกระบวนการตัดเย็บเสื้อผ้าในแบรนด์
THIS IS MY VOICE ONE DAY IN THAILAND
TEXT & IMAGE: PIRUTCH MOMEEPHET
(For English, press here)
งานชุดนี้เกิดจากแนวคิดที่ว่า ทำไมเวลาที่เราไปต่างประเทศ ต่างจังหวัด หรือแค่ต่างสถานที่ เรามักจะมีมวลความรู้สึกที่ตื่นเต้นในการไปสถานที่เหล่านั้น มันมักจะเป็นความรู้สึกที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าสิ่งใดกันแน่ที่ทำให้เราเกิดความประทับใจ มันก็คงจะเป็นทุกสิ่งอย่างที่เพิ่งได้มาเจอนี้ที่ประกอบกันให้เกิดความรู้สึก ถ้าจะต้องให้อธิบายก็คงจะเป็นคำว่า ‘mood’ หรือ ‘vibe’ จริงๆ แล้วเราไม่ได้สงสัยด้วยซ้ำว่าเราตื่นเต้นเพราะมันเป็นสิ่งที่แปลกใหม่จริงๆ หรือเป็นเพียงแค่สิ่งเดิมที่ใหม่เพราะมุมมองของเรา
ถ้าหากเราสามารถมองในมุมนั้นได้ ในบางทีสิ่งที่ทำให้เราเกิดความประทับใจ มันอาจจะไม่ได้เป็นสถานที่ที่มีเรื่องราวสำคัญ เป็น iconic places หรือการแนะนำจากบุคคลอื่นด้วยซ้ำไป บางทีมันอาจจะเป็นสถานที่ข้างทางที่เราต้องผ่านตอนไปทำงานทุกเช้า หรือเป็นเพียงตึกข้างทางที่เราเห็นในเวลารถติด
งานชุดนี้จึงเป็นเหมือนการจำลองภาพผ่านมุมมองเป็นบุคคลที่พึ่งเคยมายังประเทศไทย หากเราสามารถมองด้วยมุมมองนั้นได้เหมือนกัน แล้วสิ่งใดล่ะที่จะทำให้เรารู้สึกแบบนั้นได้
_____________
พิรัชย์ โมมีเพชร : BBep.o (เบพ – โป้) กราฟิกดีไซน์เนอร์จากกรุงเทพมหานคร ผู้หลงใหลในศิลปะสไตล์ Retro, Citypop และ สถาปัตยกรรมร่วมสมัย
SUSPENDED HOUSE
Fala Atelier กลับมาอีกครั้งพร้อมกับบ้านสามชั้นที่เต็มไปองค์ประกอบทางกราฟฟิค รูปทรง และสีสันคล้ายงานคอลลาจ พร้อมทีเด็ดอย่างเสาลอยเท้งเต้งอยู่กลางบ้าน ที่เกิดจากการปลดปล่อยสัญชาตญาณของสถาปนิก
TEXT: PRATCHAYAPOL LERTWICHA
PHOTO CREDIT AS NOTED
(For English, press here)
หากให้นึกถึงสตูดิโอสถาปัตยกรรมที่ทำงานดีไซน์แบบยียวนกวนบาทา ชื่อของ Fala Atelier สตูดิโอสถาปัตยกรรมจากโปรตุเกสจะเป็นหนึ่งชื่อที่ติดอยู่ในโผ เพราะสตูดิโอนี้ทำงานสถาปัตยกรรมเหมือนการทำคอลลาจ องค์ประกอบ รูปทรง และสีสัน ถูกนำมาตัดแปะตามที่ต่างๆ บนอาคารอย่างเมามัน โดยไม่มีหลักเกณฑ์อะไรมากไปกว่าใจที่สั่งมา
และ Suspended House ผลงานออกแบบบ้านในเมือง Porto ประเทศโปรตุเกส ก็เป็นผลงานที่แสดงความยียวนของ Fala Atelier ไปอีกเลเวล เพราะสิ่งที่อยู่กลางบ้านคือเสาคอนกรีตหน้าตาประหลาดที่ไม่ได้ทำหน้าที่รับโครงสร้างใดๆ เป็นเพียงแค่เสาตกแต่งและเป็นวงกบให้กับประตูรอบๆ
แล้วรู้ได้อย่างไรว่าไม่ใช่เสารับโครงสร้าง ก็เพราะว่าที่ชั้น 1 เสามันลอยตัวอยู่เหนือพื้นดิน!
เราอาจจะคิดว่าเจ้าของบ้านคือคนผู้คลั่งไคล้ในงานดีไซน์ และอยากได้บ้านที่จี๊ดจ๊าดไม่เหมือนใคร แต่เปล่าเลย เจ้าของบ้านเป็นแค่คนธรรมดาที่อยากให้สถาปนิกมาเซ็นแบบและสร้างบ้านให้เสร็จๆ ไป สถาปนิกอยากทำดีไซน์อย่างไรก็แล้วแต่ เป็นการเข้าหาสถาปนิก เพราะความจำเป็น มากกว่าความสนใจเรื่องดีไซน์
“บ้านหลังนี้เป็นบ้านสำหรับเพื่อนของเรา ซึ่งเขาไม่สนใจเรื่องสถาปัตยกรรมเลยซักนิด ความต้องการส่วนมากที่เขาให้มาก็ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องดีไซน์ ทำให้เรามีพื้นที่ได้ทำตามความตั้งใจ” Fala Atelier ว่า
Suspended House เป็นบ้านสามชั้น ที่มีทางเข้าหลักอยู่ชั้น 2 ตามระดับถนนด้านหน้า façade ด้านหลังบ้านตกแต่งด้วยม่านกันแดดสีสันแฟนซี รางน้ำทิ้งสีเงินกลมวางอย่างสง่าผ่าเผยกลาง façade ขอบหน้าต่างด้านบนสุดขลิบด้วยแถบหินอ่อนสีขาวดำที่ดูไม่มีตรรกะอะไรเบื้องหลังแพทเทิร์น และสิ่งที่แสนจะแรนด้อมที่สุดของ façade ด้านนี้ก็คือ แผ่นหินอ่อนกลมสีชมพูที่ยืนเด่นเป็นสง่าข้างบน
พื้นที่ชั้น 2 และ 3 ของบ้านถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยแนวกำแพงที่เชื่อมต่อกับเสาตรงกลาง เสาทำหน้าที่เป็นวงกบให้ประตูสีน้ำเงินเข้มที่เกาะเกี่ยวรอบๆ สถาปนิกไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าแต่ละห้องจะเป็นห้องอะไร แต่ปล่อยให้เจ้าของบ้านมอบชีวิตให้กับมันเอง ชั้น 1 ไม่ได้มีกำแพงแบ่งสเปซเหมือนชั้นอื่นๆ แต่ยังมีเสาตรงกลางที่ห้อยต่องแต่งเหนือพื้นดิน เสาต้นนี้เป็นเสาหล่อคอนกรีตที่หอบหิ้วด้วยโครงสร้างคานข้างบน ตอนก่อสร้าง เสานี้ก็หล่อคอนกรีตเต็มจนถึงพื้น แต่เมื่อคอนกรีตแห้งตัว สถาปนิกก็ตัดส่วนล่างออก เหลือเป็นเสาลอยอย่างที่เห็น ชั้นหนึ่งก็มีฝ้าแนวโค้งที่ปูดออกมา ทำให้สเปซชั้นนี้ ดูเป็นการคอลลาจในเชิงสามมิติ มากกว่าเป็นการเล่นกับองค์ประกอบในระนาบแบนๆ เพียงอย่างเดียว
งานนี้เป็นเหมือนกับหลายๆ งานของ Fala Atelier ที่เริ่มต้นจากข้อกำหนดธรรมดา และการเข้าหาสถาปนิกด้วยความจำเป็น โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ ที่อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในโปรตุเกสกลับมาคึกคักเฟื่องฟู หลังเคยซบเซาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกปี 2008 งานออกแบบที่มีคาแรกเตอร์อันเจนจัด เลยเป็นช่องทางที่สตูดิโอจะได้ปลดปล่อยตัวเองออกจากบรีฟซ้ำๆ หรือข้อจำกัดต่างๆ ที่พวกเขาเจอ โดยไม่ได้หวังว่ามันจะมี function หรือมีความหมายอะไรให้ตีความ