ป้ายกำกับ: Installation Art
LANDSCAPE OF EMPTINESS
นิทรรศการ Landscape of Emptiness นำเสนอผลงานศิลปะของสนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ ที่แสดงให้เห็นว่าในความว่างเปล่าก็มีตัวตนอยู่
THRU THE STRAITS OF DEMOS
นิทรรศการโดย กรกฤช เจียรพินิจนันท์ ที่ใช้กายภาพแกลเลอรี่ รายละเอียดของการติดตั้งผลงาน หรือแม้แต่ตัวกระดาษที่ใช้อัดรูปเพื่อถ่ายทอดบทกวีในพื้นที่จัดแสดง
Read More
FIELD COLLAPSE
หลังจากคุ้นเคยกับการทำงานสถาปัตยกรรมเป็นอย่างดี สตูดิโอ thingsmatter ก้าวขามารับบทบาทศิลปิน และสร้างผลงานจาก ‘เหล็กข้ออ้อย’ เพื่อนำเสนอประเด็นทางสังคมในวงการออกแบบ
TEXT: NAPAT CHARITBUTRA
PHOTO: KETSIREE WONGWAN EXCEPT AS NOTED
(For English, press here)
เหล็กข้ออ้อย แผ่นไม้อัด ยาง ตะปู สกรู และแสงเสียง คือวัสดุของผลงาน installaion ชิ้นใหญ่ คับพื้นที่ 100 Tonson Foundation ที่ให้ความรู้สึกต่างออกไปจากนิทรรศการศิลปะ นอกไปเหนือจากความ “หนักและดิบ” ของวัสดุ art4d พูดคุยกับ ศาวินี บูรณศิลปิน และ Tom Dannecker แห่ง thingsmatter ถึงประเด็นและความคิดอื่นๆ ที่แฝงอยู่ภายในนิทรรศการ Field Collapse
“Fragments ที่หน้างานก่อสร้าง ไม้แบบ คนงานในไซท์ สำหรับเรามันสวยงามและ conceptual มาก ทั้งในแง่ที่มันเป็น artifact และเป็น happening” ศาวินีมองกระบวนการก่อร่างสร้างตัวของงานสถาปัตยกรรมเป็น performance ที่เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะหายไป
“ตั้งแต่ตอนเรียนแล้ว ผมเป็นพวกที่ไม่ทำงานในสตูดิโอที่คณะ แต่ชอบหมกตัวในหอพักมากกว่า (…) เพื่อนที่หอซึ่งเรียนคณะอื่นก็ชอบถามว่าผมทำอะไร ผมออกแบบโรงเรียนศิลปะ พอบอกไปเพื่อนๆ ก็ตื่นเต้นกันใหญ่และถามต่อว่ามันจะสร้างเมื่อไหร่ ผมก็บอกว่ามันจะไม่ได้สร้างหรอก (หัวเราะ)” Tom พยายามอธิบายกับ art4d ว่าบทสนทนานี้มีความหมายซ่อนอยู่ นั่นคือความต่างระหว่างงานของสถาปนิกกับงานสายอื่นๆ “โมเดลของที่เพื่อนคนอื่นตั้งใจทำเพื่อเป็นแบบสำหรับสร้างงานจริงๆ แต่ไอ้โมเดลที่ผมเดินถือไปส่งอาจารย์ มันไม่ใกล้เคียงกับผลลัพธ์สุดท้ายของงานสถาปัตยกรรมแม้แต่น้อย สำหรับผม สิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่แบบหรือ representation แต่มันเป็นงานศิลปะในตัวมันเอง”
ทั้งสอง narrative นี้ดูเหมือนจะต่างแต่ก็มีจุดร่วมเดียวกันคือการให้ความสำคัญกับ กระบวนการ (process) และผลงานในระหว่างกระบวนการ (work in progress) หรือพูดอีกอย่างคือช่วงเวลาที่มี engagement ของผู้ออกแบบเข้มข้นมากที่สุด (แน่นอนว่ามากกว่าตอนที่งานสร้างเสร็จ) ซึ่งไอเดียที่ว่ามานี้ค่อยๆ สั่งสมจนกระทั่งมาถึงจุดพีคในปีนี้ กับโปรเจ็คต์ที่ 100 Tonson Foundation
thingsmatter ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรม นั่นคือการใช้เหล็กข้ออ้อยไป 5 ตัน กับโครงสร้างที่ไม่ได้มีฟังก์ชันซับซ้อน “เรียกได้ว่า luxury สุดๆ ถ้ามองจากมุมมองงานออกแบบที่ต้องคิดเรื่องความคุ้มค่า กับ Field Collapse เราแค่อยากให้คนมาดูได้ slow down ค่อยๆ เคลื่อนๆ ไปใน space แคบๆ นี้ ท่ามกลางเมืองกรุงที่เร่งรีบและวุ่นวาย”
โครงสร้างถูกวางติดประชิดทางเข้าห้องแกลเลอรี่ ทางเดินแคบๆ ที่ให้ความรู้สึกเหมือนเดินเข้าไปในป่า พาคนเดินขึ้นไปหาจุดกำเนิดแสงเพียงหนึ่งเดียวของของห้องนิทรรศการนั่นคือ skylight และวนลงมาที่พื้นที่ว่างด้านหลัง ที่ถูกถูกเว้นไว้เพื่อให้มีระยะที่สามารถมองย้อนกลับไปมองโครงสร้าง และใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมเวิร์คช็อป และงานเสวนา “เราอยากให้คนมองเห็น movement ของคนอื่นที่ค่อยๆ เคลื่อนไปในความปรุโปร่งของโครงสร้าง ให้คนดูกลายเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน” thingsmatter บอกกับ art4d
แล้วทำไมต้องเหล็กข้ออ้อย? เหตุผลง่ายๆ ตรงๆ ที่ทั้งสองบอกกับ art4d คือว่า ในโลกแห่งความจริงมันคือผู้ปิดทองหลังพระแห่งวงการ (อันต้องถูกปูนเททับทุกครั้งไป) มาในครั้งนี้เขา (เหล็กข้ออ้อย) รับบทเป็นพระเอกหลักในการสื่อสารประเด็นทางสังคมวงการออกแบบหลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือ ชนชั้นของตำแหน่งงานและบุคลากรในงานสถาปัตยกรรม Tom อธิบายต่อว่า “สมมติว่าเราทำงานด้วยกัน คุณเป็นนักออกแบบ แต่ผมดูด้าน business อีกคนทำ shop drawing คนอีกกลุ่มใหญ่ๆ นั่นคือช่างก่อสร้าง มันจะต้องมีคนคิดว่า คนที่ออกแบบเนี่ยมันต้องสำคัญที่สุด แต่ขอโทษเถอะ ถ้าไม่มีคนทำด้าน business มันก็อยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีช่างก่อสร้าง คนงาน ตึกก็สร้างไม่เสร็จ” สรุปออกมาง่ายๆ ว่า stakeholder ทั้งหมดทั้งมวลนั้นต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทุกๆ องค์ประกอบมีหน้าที่ของตัวเองที่จำเป็นต่อการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และธุรกิจองค์รวมของงานสถาปัตยกรรม และพวกเขาหวังว่าการเอา work in progress มาโชว์ในรูปแบบของงานที่เสร็จสมบูรณ์จะทำให้คนดูมองเห็นประเด็นนี้
อีกหนึ่งประเด็นที่ art4d คุยกับ thingsmatter คือการทำงานในบริบทที่ต่างออกไป
Field Collapse ไม่ใช่งาน installation ชิ้นแรกของ thingsmatter พวกเขาทำงานที่ก้ำกึ่ง และสามารถเป็นอะไรได้หลายอย่าง (เช่น ประติมากรรม) นอกเหนือจากการเป็นสถาปัตยกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นผลงานโครงสร้างไม้ไผ่ Ligature ที่ Jim Thompson Farm จังหวัดนครราชสีมา และลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ในปี 2018 (และอันที่จริงเราอาจจะเห็นเค้าโครงของ Field Collapse ตั้งแต่งาน Caged Flower ที่เหมือนเป็นการทดลองสร้างโครงสร้างรับน้ำหนักด้วยเหล็กข้ออ้อยล้วนๆ ในงานสถาปนิกปี 2017) ที่ต่างออกไปคือครั้งนี้เป็นโปรเจ็คต์กับสถาบันศิลปะอย่าง 100 Tonson Foundation
“ที่ผ่านมา thingsmatter ทำงานที่มีความคาบเกี่ยวมาตลอดนะ ภาพลักษณ์ในวงการสถาปัตยกรรม thingsmatter มีความศิลปะมากๆ แต่พอก้าวเข้ามาในแกลเลอรี่เราเป็น ‘คนนอก’ ทันที” ศาวินี บอกกับ art4d ว่า หนึ่งในเหตุผลสำคัญๆ ที่ thingsmatter พัฒนาโปรเจ็คต์ และตัดสินใจส่ง proposal ไปยัง 100 Tonson Foundation ที่เปิด open call โปรเจ็คต์ศิลปะเมื่อปีที่แล้ว คือพวกเขาต้องการทะลุไปยังพื้นที่การทำงานศิลปะ
“เราต้องการสิ่งนี้ เราต้องการ 100 Tonson Foundation ในฐานะ established art institution ที่จะมาบอกว่างานที่เราทำมันเป็นศิลปะ” ศาวินี กำลังพูดถึง authority ของสถาบันศิลปะในการสถาปนาว่าอะไรเป็นศิลปะหรือไม่เป็นศิลปะ ดังนั้นสำหรับพวกเขา ถ้าถามว่าความท้าทายของการทำงานกับบริบท white cube คืออะไร? มันจึงไม่ใช่แค่ความ craft ในการเขียนแบบเป็นร้อยๆ แผ่น ขั้นตอนการติดตั้งที่ยุ่งยากและข้อจำกัดในการทำงานกับพื้นที่ แต่เป็นช่วงเวลาก่อนที่จะเริ่มทำงานจริงซึ่งก็คือขั้นตอนการพัฒนาไอเดียเพื่อ pitch โปรเจ็คต์แข่งกับศิลปินและคิวเรเตอร์
อีกองค์ประกอบในนิทรรศการที่ต่างออกไปจากงานของ thingsmatter ชิ้นก่อนๆ คือวิธีการกำหนดปฏิสัมพันธ์ที่คนดูจะมีต่อแบบก่อสร้าง
“เรามานั่งคิดกันว่าจะใช้พื้นที่ห้องนิทรรศการห้องเล็กยังไงดี โดยรวมๆ แล้วไอเดียคือเราอยากเอาทุกอย่างมากางบนโต๊ะในวิธีที่ต่างออกไป” ศาวินี กล่าวก่อนที่ Tom จะเสริมว่า “ถ้าเราเอาแบบก่อสร้าง 100 แผ่น มาโชว์ คนดูจะอ่านมันในแบบที่อ่านแบบสถาปัตยกรรม แต่ครั้งนี้เราอยากให้คน appreciate แบบก่อสร้างในฐานะ artifact มากกว่า” สำหรับพวกเขา การเอาแบบก่อสร้างมาใส่กรอบจะเปลี่ยนฟังก์ชั่นของแบบก่อสร้างไปจากฟังก์ชันเดิม หรือพูดอีกแบบก็คือ ทำให้แบบก่อสร้างไม่มีฟังก์ชันสำหรับสร้างแต่กลายเป็นภาพคอลลาจชิ้นนึงไป ไอเดียนี้ยังต่อเนื่องไปเป็นผ้าพันคอที่เป็น exhibition merchandise ของนิทรรศการนี้
ท้ายที่สุดแล้ว Field Collapse จะเป็นสถาปัตยกรรม หรือศิลปะ เหนือไปกว่า authority ของสถาบันศิลปะคือเป็นอำนาจของคนดูเองว่าจะรับรู้ installation ชิ้นนี้ในฐานะอะไร แต่ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า Field Collapse ให้ความรู้สึกที่ต่างออกไปจากนิทรรศการศิลปะที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานกับพื้นที่แกลเลอรี่ในเชิงปริมาตร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนดูกับชิ้นงานที่ดูจะใกล้ชิดกว่าศิลปะทั่วๆ ไป การเปลือยให้เห็นสัจจะของวัสดุ รวมถึงความหลากหลายของกิจกรรมที่จัดขึ้นในตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา Field Collapse เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในฐานะสถานการณ์ใหม่ของห้องจัดแสดงศิลปะเมื่อมันตกอยู่ในมือของสถาปนิก
Field Collapse โดย thingsmatter จัดแสดงถึงวันที่ 28 พฤษภาคมนี้ ที่ 100 Tonson Foundation เวลาทำการ วันพฤหัสบดี – วันศุกร์ เวลา 10.00 – 18.00 น. และ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 11.00 – 19.00 น.
instagram.com/thingsmatterbkk
thingsmatter.com
facebook.com/100TonsonFoundation
WAREHOUSE
นิทรรศการที่พาไปดูเบื้องหลังของแกลเลอรี่ และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างชิ้นงานต่างๆ ที่ไม่ได้อยู่ในสภาวะจัดแสดง พนักงานที่ทำงานอยู่จริงๆ รวมถึงผู้ชมที่เข้ามายังนิทรรศการ
DREAMDAY
มิตร ใจอินทร์ แฝงเรื่องราวของพุทธศาสนา ความผูกพันของเขาต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นในภาคเหนือของประเทศไทย รวมถึงพื้นหลังทางการเมืองของประเทศไทยที่ยังไม่ไปไหนเสียที ผ่านนิทรรศการที่เต็มไปด้วยงานศิลปะหลากสีสัน
MOK PANWA CHRISTMAS TREE
ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย สร้างสีสันส่งท้ายปี ด้วยต้นคริสต์มาสที่ประดับประดาด้วยลูกบอลอันรวมอัตลักษณ์ของ 6 ชนเผ่าในเชียงรายไว้ด้วยกัน ทั้งยังสร้างขึ้นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น สะท้อนวิถีชีวิตของแต่ละชนเผ่าที่เรียบง่ายและผูกพันกับธรรมชาติ
TIMIRBHU: THE NEW WORLD ORDER
นิทรรศการของนักรบ มูลมานัสที่นำวิธีการทางภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์เข้ามาตัดปะตัวบทวรรณคดีเรื่อง ‘ไตรภูมิพระร่วง’ เพื่อสร้างเรื่องราวใหม่ที่ไม่ผูกติดกับผู้ประพันธ์และตัวบทเดิม
LESS PAVILION
ผลงานใหม่ล่าสุดจาก Pezo von Ellrichshausen ที่ทดลองกับภาษาอันกำกวม การเล่นกับประสบการณ์การรับรู้ของคน และการจับคู่ระหว่างอาคารที่คงทนกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
‘WHY’ A SOLO EXHIBITION BY ADITYA NOVALI
นิทรรศการเดี่ยวครั้งล่าสุดของ Aditya Novali ที่ตั้งคำถามถึง ‘ความจริง’ ในโลกดิจิทัล และความเป็นไปในโลกปัจจุบันผ่านสายตาของคน Gen-X
Read More