โครงการศาสนสถานโดย Adjaye Associates ที่เชื่อมโยงคนจากสามศาสนา ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนายิว เพื่อร้อยเรียงความแตกต่างของความเชื่อเข้าไว้ด้วยกัน
ป้ายกำกับ: religion
PHOTO ESSAY : CONTEMPLATING IN RAMADAN1444
TEXT & PHOTO: TEECHALIT CHULARAT
(For English, press here)
พินิจในรอมฎอน 1444
หากจะถามว่าช่วงเวลาพิเศษแห่งปีที่มุสลิมผู้ศรัทธารอคอยคือช่วงเวลาไหน เราตอบได้ในทันทีว่าคือช่วงเดือนรอมฎอน แม้ช่วงเวลานี้ชาวมุสลิมจะต้องอดทนกับความหิวกระหายในช่วงเวลากลางวันเพื่อบำเพ็ญจิตให้มีสติในการรำลึก นอบน้อมและขอบคุณพระผู้เป็นเจ้า สำรวมจิตใจให้ห่างไกลจากสิ่งบันเทิง รวมถึงมีการประกอบศาสนกิจที่มากกว่าเดือนอื่นๆ แต่ชาวมุสลิมที่มีศรัทธาสามารถปฏิบัติได้อย่างมีความสุข และรู้สึกได้รับความจำเริญ เพราะเดือนนี้มีผลบุญมากกว่าเดือนอื่นๆ
สิ่งหนึ่งที่ผมมีความสุขในเดือนนี้ คือการมองเห็นชีวิตผู้คนชาวมุสลิมที่พิเศษกว่าเดือนไหนๆ ในกิจกรรม วิถีชีวิตต่างๆ ซึ่งได้รวบรวมภาพถ่ายชุดนี้ไว้ในช่วงต้นเดือนรอมฎอนของปีนี้ (เป็นปีที่ศาสนาอิสลาม ได้ครบรอบ 1,444 ปีพอดี) ผมได้ใช้เวลาในการถ่ายภาพช่วงขณะเวลาทำงาน หรือ เดินทางไปประกอบศาสนกิจที่มัสยิด รวมถึง การแวะเวียนซื้ออาหารในช่วงบ่ายเพื่อเตรียมละศีลอดในตอนพลบค่ำ โดยช่วงเวลาต่างๆ ผมสังเกต เห็นสีสันบรรยากาศและชีวิตผู้คนที่แตกต่างจากเดือนอื่นอย่างสิ้นเชิง
ปีนี้จึงเป็นปีแรกที่ผมได้ทดลองการถ่ายภาพ พินิจวิถีในเดือนรอมฎอนด้วยมุมมองที่เรียบง่ายแต่ซ่อนความรู้สึกส่วนลึกที่มีอยู่ในภาพ ให้ทุกคนที่ชมร่วมรู้สึกเดินทางไปกับผม เห็นมิติชีวิตมุมมองแบบใหม่ๆ เปี่ยมไปด้วยศรัทธาในเดือนอันประเสริฐนี้
_____________
ทีป์ชลิต จุฬารัตน์ จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปัจจุบันเป็นสถาปนิกอิสระสตูดิโอ TEECHALIT ARCHITECT ออกแบบงานมัสยิดมาแล้วกว่า 4 หลัง เป็นช่างภาพ และเป็นแอดมินกลุ่ม จุลภาพ minimal
FORMS OF BELIEF
ลองดูกันกับ 4 ผลงานดีไซน์ที่ได้อิทธิพลจากความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อตอบโจทย์คนรักดีไซน์สายมู
BUDDHAANDZ
PHOTO: PURIN CHAWARATTANAWONG
(For English, press here)
WHO
Buddhaandz
WHAT
คืองานศิลปะสมัยใหม่ที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องราวทางพุทธศาสนา และถ่ายทอดออกมาด้วยเทคนิคที่หลากหลายทั้งสมัยใหม่สมัยเก่า เพื่อก่อให้เกิดงานศิลปะและการเรียนรู้ธรรมะไปพร้อมกัน
WHEN
Senior Project ในภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรมคณะสถาปัตย์ จุฬา ในสาขา Material and Context base ตอนนั้นได้ทำผลงานที่ต่อยอดจากงานทดลองวัสดุ ด้วยการผลักดันของเหล่าปรามาจารย์ ทั้งอาจารย์บี (ผศ. ดร. เถกิง พัฒโนภาษ) อาจารย์พิม (ผศ. พิม สุทธิคำ) อาจารย์แป๊ป (ผศ. ดร. จุฑามาศ ตั้งสันติกุล) โดยเริ่มจากการลงผลงานใน social media ส่วนตัว แล้วมีผลตอบรับค่อนข้างดี จึงพัฒนาผลงานต่อในเส้นทางนี้
WHERE
ทำงานที่บ้าน ที่วัดบ้าง(คิดงาน) และอาจได้มีผลงานไปแสดงในที่ต่างๆ
WHY
พุทธศาสนา เป็นเรื่องที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกต้ังแต่สมัยเด็กๆ แวดล้อมอยู่รอบตัว เราโชคดีที่ได้มีโอกาสได้ไปเรียนธรรมะพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตั้งแต่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนิทานชาดกหรือหลักธรรมต่างๆ (ตอนเด็กๆ เวลาเพื่อนพูดถึง การ์ตูนโคนัน ภาพในหัวเราจะลอยมาเป็น นิทานชาดกโคนันทิวิศาลเลย)
ช่วงต่อมาดูยูทูปเยอะจึงได้แรงบันดาลใจจากคนนั้นคนนี้ เราก็หาหนังสืออ่านตามเรื่อยๆ แกะออกมาประยุกต์ใช้ได้ อีกทั้งพ่อเราสะสมพระ แต่เราไม่ค่อยอินกับรูปแบบเดิมๆ เท่าไหร่ เราชอบ art toys จึงอยากนำมาผสมพระพุทธศาสนา จึงเกิดงานแนวนี้ขึ้นมา
คุณนิยามคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ อย่างไร
คือการประยุกต์ใช้ของที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ และได้ฝึกฝนตนเองเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ระหว่างเดียวกันก็ฝึกสมาธิระหว่างทำชิ้นงานพร้อมกับรับการเปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อลงมือทำชิ้นงานจริงจะคลาดเคลื่อนกับที่คิดไว้แน่นอน ที่สำคัญคือต้องควบคุมให้ตัวเองอารมณ์ดีตลอดเวลา มันจะส่งผลกระทบออกมาให้งานออกมาดี
อธิบายหลักการทำงานของคุณด้วยคำ 3 คำ
ธรรมะ l ป๊อป l กระบวนการโบราณ (จริงๆ ก็เหมือนคนทำไอติมโบราณ ที่เราก็ไม่รู้หรอกว่าโบราณจริงๆ เขากันยังไง)
คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
เวลาคิดงานไม่ออก ก็จะไปทำอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงาน แต่ถ้าอยากให้คิดออกอย่างต่อเนื่องต้องเดิน ออกไปเดินข้างนอกแล้วสังเกตุสิ่งรอบข้าง การฟังเพลง hip-hop จะทำให้คิดงานออกได้สุดยอดมาก การออกไปทำบุญก็ช่วยให้คิดออก ถ้าขี้เกียจเดินก็อ่านหนังสือ อ่านกวี ส่วนใหญ่จะคิดอะไรออกมาตอนกำลังเพลินๆ แล้วจดเอาไว้ เจอโปรเจคที่เหมาะก็นำมา match กัน
โปรเจ็คต์ใดที่คุณภูมิใจมากที่สุด
ชิ้นงาน Still Buddha and Cloud Robe ตอนที่พบกับชิ้นส่วนพระพุทธรูปนี้รู้สึกมหัศจรรย์มาก แล้วเราเหมือนเห็นนิมิตเป็นภาพคลื่นนี้ขึ้นมา ว่าต้องเอามาปั้นต่อนะ แล้วก็ทำออกมาต่อยอดได้กับอีกหลายๆ ชิ้น
ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
Daniel Arsham เพราะเรากรี๊ดคนนี้มาก ติดตามมานานมากตั้งแต่สมัยแกยังไม่ค่อยมีชื่อเสียง งานของเขา inspire เรามากทั้งในแง่กระบวนการทำงาน วิธีคิดงาน ความเท่ ความรวย ครั้งนึงมีโอกาสได้ไปเนเธอร์แลนด์ แล้วบังเอิญเจองานเขาจัดแสดงคู่กับงาน Banksy พอดี เข้าไปเห็นของจริงคือประทับใจมาก เขาเล่นกับเรื่องเวลาวัตถุในประวัติศาสตร์ ปัจจุบันคืออดีตของอนาคต เขาจะเซ้นลายเซ็นบวกไปอีกพันปี เช่นปีนี้ 2022 เขาจะเขียนเป็น 3022 จริงๆยังมีครีเอทีฟอีกหลายท่านที่อยากมีโอกาสได้สนทนาจิบชาจิบกาแฟ มีเรื่องให้คนเราได้เรียนรู้อีกเยอะ
fb.com/Buddhaandz
DÉJÀ VU: WHEN THE SUN RISES IN THE WEST
ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก พระพุทธเจ้าปรากฏตัวในวัฒนธรรมกรีกโบราณ นที อุตฤทธิ์ ร้อยเรียงวัฒนธรรมและความทรงจำขึ้นใหม่ในนิทรรศการ Déjà vu: When the Sun Rises in the West ที่ตั้งคำถามสำคัญว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากอารยธรรมและความเจริญของโลกมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เอเชีย แทนที่โลกตะวันตกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน”