All posts by admin

LONGER HOUSE

บ้านที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบจากประสบการณ์ทางศิลปะที่ตกตะกอนออกมาสู่พื้นที่ทางสถาปัตยกรรม และยังเป็นเหมือนจุดกึ่งกลางระหว่างฟังก์ชันและ sense of place

Read More

URBAN JOY PLAYGROUND

Urban Joy Palyground by ANANDA
Urban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDAUrban Joy Palyground by ANANDAUrban Joy Playground by ANANDA

TEXT: NATHATAI TANGCHADAKORN
PHOTO COURTESY OF ANANDA DEVELOPMENT

(For English, press here

เมื่อสนามฟุตซอลที่ถูกรีโนเวทโดย ANANDA และพันธมิตร ร่วมกับ กทม. ถูกเติมแต่งลวดลายด้วยกราฟิกสีจัดจ้าน ประกอบกับการใช้เส้นสายที่เลื่อนไหลอย่างอิสระและรูปทรงเรขาคณิต ภาพถ่ายของสนามแห่งนี้จึงมีองค์ประกอบทางศิลปะสอดแทรกอยู่มากมาย

ความสวยงามของภาพชุดนี้ดูไปแล้วใกล้เคียงกับ minimalist photography ที่เรียบง่าย ทว่าความจริงแล้วมีความหมายของแต่ละสีอัดแน่นบนพื้นสนาม เนื่องจากที่นี่ตั้งใจวางตัวเป็นพื้นที่สาธารณะทางศิลปะของคนเมือง นักออกแบบจึงแฝงความหมายและแรงบันดาลใจเอาไว้ในทุกพื้นที่ และไม่ได้คำนึงถึงแต่ความสวยงามเท่านั้น เช่น สีฟ้าที่สร้างความรู้สึกโปร่งสบายและความสดชื่น ก็ถูกนำมาเป็นตัวแทนของคอนเซ็ปต์ ‘Inspire & Urban’ หรือสีแดงที่สร้างความกระตือรือร้น ก็เป็นตัวแทนของคอนเซ็ปต์ ‘Power & Energetic’ เป็นต้น

ความหมายของแพทเทิร์นเหล่านี้มาพร้อมกับความหมายของเส้นที่ถูกตีขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตการใช้งาน บ้างก็เป็นเส้นระบุตำแหน่งกึ่งกลางของสนาม บ้างก็เป็นเส้นรอบนอกที่หากผู้ใช้งานก้าวพ้นไปแล้วจะถูกกีดกันจากเกมด้วยกติกา บ้างก็เป็นที่ทุกคนต้องข้ามผ่านเพื่อทำคะแนนสู่ชัยชนะ แต่ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามหรือการใช้งาน ก็ผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืนออกมาเป็นกราฟิกชิ้นหนึ่ง ซึ่งยังคงเป็นสนามฟุตซอล ยังคงเป็นพื้นที่ทางศิลปะ และยังคงเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนข้างเคียงออกมาทำกิจกรรมได้โดยไม่บกพร่อง ทำให้ทางเลือกในการออกกำลังกายและพบปะสังสรรค์ของคนในย่านมีตัวเลือกมากขึ้นจากเดิม

ananda.co.th

BANGKOK UTOPIA: MODERN ARCHITECTURE AND BUDDHIST FELICITIES, 1910 – 1973

Bangkok Utopia -cover

หนังสือของ Lawrence Chua ได้นำเสนอประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสภาพแวดล้อมเมืองในกรุงเทพฯ ซึ่งอิงจากความเชื่อทางพุทธศาสนาในระยะเวลาหนึ่งช่วงอายุคน

Read More

HOUSE OF BEAVER

house of beaver

จากการออกแบบที่ล้อรับการกัดแทะของตัวบีเวอร์สู่คาเฟ่และร้านอาหารย่านดอนเมือง พื้นที่เสริมสร้างการเรียนรู้และขับเคลื่อนแรงบันดาลใจ โดย vice versa

Read More

SUBJECT SUBJECT

subject subject-feature

สตูดิโอออกแบบประสบการณ์และพื้นที่ภายใน ที่วางเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ที่กลมกล่อมด้วยทุกองค์ประกอบ โดยใช้ความเรียบง่ายซึ่งแฝงลูกเล่นใหม่ๆ ไว้เสมอ

Read More

THE CLOSING EVENT ‘DEPARTED ‹ › REVISITED’

the closing event

บทสรุปของการรำลึกถึง มณเฑียร บุญมา ที่หอสมุดธรรมโฆษณ์ วัดอุโมงค์ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผ่านภาพยนตร์สารคดี งานเสวนา และศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่โดย นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล Read More

TIME STRETCHED

Time StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime StretchedTime Stretched

TEXT & IMAGE: ANTON REPPONEN

(For English, press here)

Time Stretched เป็นการเดินทางสำรวทางทัศนะที่จะพาเราไปค้นหาความเกี่ยวเนื่องอันซับซ้อนของเวลา การเคลื่อนไหว และการรับรู้ของมนุษย์ แต่ละภาพในชุดนี้แช่แข็งช่วงเวลาไว้ในปฏิทรรศน์แห่งเวลา (temporal paradox) สภาพแวดล้อมล้วนถูกบิดเบือนไปในความโกลาหลจากการยืดตัวของเวลา ในขณะที่ตัวละครหลักของภาพกลับไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากโครงสร้างแห่งเวลาที่บิดเบี้ยว ผลลัพธ์ที่ได้คือภูมิทัศน์ที่ยืดออก สถาปัตยกรรมที่ผิดรูป และสภาพแวดล้อมเหนือจริงที่สร้างภาพบรรยากาศอันตราตรึง

ภาพแต่ละภาพถูกบันทึกไว้จากสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ถนนที่วุ่นวายในนิวยอร์กจนถึงภูมิทัศน์ที่เต็มไปด้วยสีสันของโตเกียว บาร์เซโลนา และกรุงเทพฯ แต่ในโลกของ ‘Time Stretched’ ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์จางหายไปจนไม่เหลือความสำคัญ ผู้ชมจะถูกนำไปสู่ช่วงเวลาที่บิดเบี้ยวและเป็นนามธรรม ในโลกแห่งนี้ ตัวละครหลักปรากฏตัวอย่างโดดเดี่ยว หยุดนิ่งไม่ไหวติงภายในห้วงเวลาของตนเอง หลุดพ้นจากข้อจำกัดของสถานที่ และดื่มด่ำในปฏิสัมพันธ์ที่น่าหลงใหลและน่าค้นหาของปฏิทรรศน์เวลา

___________________

Anton Repponen เป็นนักออกแบบปฏิสัมพันธ์ (interaction design) ที่มีสำนักงานอยู่ในนิวยอร์ก เขาร่วมนำทีมสตูดิโอออกแบบชื่อ ‘Anton & Irene’ ที่ดูแลลูกค้าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสถาบันวัฒนธรรมชั้นนำเช่น M+ Museum ในฮ่องกงและ The Met Museum ในนิวยอร์ก ไปจนถึงยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Spotify Netflix และ Google แนวทางการออกแบบของเขาผสมผสานอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบปฏิสัมพันธ์ได้อย่างลงตัว สะท้อนถึงปรัชญาการออกแบบที่เน้นความเป็นมนุษย์และพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมของเขาอย่างชัดเจน

repponen.com
instagram.com/repponen

BACHELOR OF SCIENCE (ARCHITECTURE), FACULTY OF ARCHITECTURE, KASETSART UNIVERSITY (BBIT)

degree show2024-ku bbit

degree show2024-ku bbit

วิทยานิพนธ์ 5 เรื่อง จากนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สถาปัตยกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (BBIT)

Read More

THE ARBOR RAMINTRA – WATCHARAPOL

The Arbor Ramintra - Watcharapol

ความอยู่สบายเป็นปัจจัยที่ทำให้อาคารใดๆ กลายเป็น ‘บ้าน’ ได้อย่างแท้จริง โครงการนี้ตั้งใจชักนำพื้นที่สีเขียวเข้ามาสร้างความผ่อนคลายให้กับทุกคนในทุกจังหวะของการอยู่อาศัย ร่วมกับความเรียบง่ายอย่างโมเดิร์น

Read More

SIMPLE CRAFT COLLECTION

โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ Ligne Roset ในประเทศจีน ซึ่งมาพร้อมแนวคิด ‘Floating Icebergs’ ที่ผนวกบริบทของพื้นที่เข้ากับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำแข็งมาใช้ในสเปซอย่างแนบเนียน

Read More