Tag: Photographer

PHOTO ESSAY : EVERYTHING JINGLE BELL


TEXT & PHOTO: BARRY MACDONALD 

(For English, press here) 

เทศกาลคริสต์มาสในประเทศอังกฤษ เป็นวันหยุดและเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่สำคัญที่สุดของปี ในช่วงฤดูหนาวที่มืดมน เทศกาลนี้จึงเป็นเทศกาลที่เรารอคอย เป็นโอกาสดีที่จะได้ใช้เวลารร่วมกับครอบครัวและคนที่เรารัก เป็นโอกาสที่ผู้คนได้เฉลิมฉลอง พักผ่อน ได้ทบทวนปีที่ผ่านไป และรวมถึงวางแผนปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง

ในช่วงปี 2022 และ 2023 ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เฉลิมฉลองคริสต์มาสในประเทศไทย และรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับความกระตือรือร้นของคนไทยเกี่ยวกับวันคริสต์มาส ตั้งแต่การตกแต่งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ไปจนถึงงานปาร์ตี้คริสต์มาสของแต่ละออฟฟิศ การแลกของขวัญระหว่างเพื่อนๆ หลายๆ ประเพณีที่ผมรู้จักเกี่ยวกับวันคริสมาสต์ได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่ หรือมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย การได้เห็นคริสต์มาสผ่านวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก โปรเจกต์ของผมต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของคริสต์มาสในประเทศไทย

ในประเทศไทย ‘Everything jingle bell’ เป็นภาษาพูดที่หมายถึง ‘ของเยอะแยะไปหมด’ หรือ ‘ทุกอย่าง’ ซึ่งคนใช้กันเพราะเสียงของคำว่า ‘ติง’ กับ ‘จิง’ คล้องจองกันเฉยๆ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับเทศกาลคริสต์มาสเลย วลีนี้สามารถใช้ได้ทั้งปี เป็นการแสดงถึงการรับวัฒธรรมเข้ามาแบบไทยๆ ในอีกรูปแบบหนึ่ง

___________________

แบร์รี่ แมคโดนัลด์ (เกิดปี 1984) เป็นช่างภาพจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาเริ่มต้นจากการ ถ่ายภาพนักดนตรี และได้ค้นพบความสนุกจากการเดินทางในขณะที่ออกทัวร์กับวงดนตรีต่างๆ ทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา ต่อมาเขาได้พัฒนาสู่การถ่ายภาพที่ผสมผสานระหว่างแนวสตรีท และสารคดี เขาสนใจในสังคมวิทยาและพยายามแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและธรรมชาติของ มนุษย์ผ่านการถ่ายภาพของเขา เขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2022

barrymacdonald.co.uk
instagram.com/barrymac84

PHOTO ESSAY : TRANSFORMATION THEORY

TEXT & PHOTO: SIRAWIT KUWAWATTANANONT

(For English, press here

‘Gain in entropy always means loss of information and nothing more.’ – G. N. Lewis 1930

สิ่งมีชีวิตต่างล้วนต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด การเปลี่ยนแปลงในวงจรชีวิตของธรรมชาติเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในทุกช่วงเวลาของประวัติศาสตร์อยู่เสมอ แต่หากเราต้องเอาตัวรอดจากการคัดสรรของมนุษย์ด้วยกันเอง เราจะต้องทำเช่นใด

ทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อบูชาความฝัน เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ของคนอื่น หรือเพื่อแสวงหากำไร เมื่อเวลาผ่านไปการดำรงอยู่ในสภาพเดิมย่อมเป็นเรื่องที่ยากอยู่เสมอ ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ความฝันใดๆ ที่เราได้ร่างไว้สำหรับอนาคต ล้วนไม่สามารถซ้อนทับกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงได้อย่างลงตัวแทบจะทุกครั้ง เราจึงเริ่มทำลายสิ่งเดิมและสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาทดแทน เพื่อให้กำเนิดอนาคตในอุดมคติ แม้จะรู้ว่าอนาคตก็ยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างคาดการณ์ไม่ได้อยู่เสมอ

ในทางกลับกันอีกหลายสิ่งที่มนุษย์สร้างไปแล้วจำนวนมาก ในวันหนึ่งปัจจัยจำนวนนับไม่ถ้วนจะพยายามทำทุกอย่างให้มันต้องพังทลายลง แต่ไม่ว่าจะผุพังแค่ไหน หากมีความผูกพันกับสิ่งเหล่านั้นแล้ว มนุษย์ก็ฝืนปกป้องรักษามันไว้ ไม่ว่าจะต้องยอมสูญเสียอนาคตไปมากเท่าใดหรือฉุดรั้งมันเอาไว้ได้ชั่วคราวเพียงแค่ไหนก็ตาม ขอเพียงให้บางอย่างเป็นตัวแทนของอดีตที่เคยงดงามได้นั้นก็เพียงพอแล้ว

ทฤษฎีสารสนเทศ หรือกฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์ได้อธิบายว่าการเข้าใจข้อมูลของเรื่องต่างๆ ในอนาคต มีแนวโน้มที่จะซับซ้อนขึ้นตามกาลเวลา หากเราอยากกำหนดอนาคตหรือระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราต้องใช้อัลกอริทึมที่ทรงพลังยิ่งขึ้นตามไป บางสิ่งยิ่งเป็นระเบียบ ทำให้เรารับรู้ข้อมูลของมันได้น้อยลง บางอย่างยิ่งยุ่งเหยิง เราก็กลับรู้ข้อมูลของมันน้อยลงเช่นกัน สองสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่สามารถบรรจบกันได้นี้ กลับมีปลายทางร่วมกันอย่างน่าประหลาด 

Transformation Theory จึงเป็นการสำรวจสถานที่สองแห่ง ระหว่างเชียงใหม่และกรุงเทพฯ ระหว่างการพยายามฉุดรั้งอดีตและพัฒนาสู่อนาคต ผ่านการประกอบสร้างเศษเสี้ยวของภาพถ่ายขึ้นมาใหม่อีกครั้ง รวมถึงเป็นการตั้งคำถามถึงการพัฒนาของมนุษย์ว่าจะนำพาเราไปสู่อุดมคติอย่างที่เราวาดฝันไว้ได้จริงหรือไม่กันแน่

___________________

ศิรวิทย์ คุววัฒนานนท์ ติวเตอร์สอนฟิสิกส์ที่เริ่มต้นเส้นทางนี้ด้วยการที่พยายามถ่ายภาพเพื่อสอนนักเรียนเกี่ยวกับเมฆและดวงดาวเมื่อ 8 ปีก่อน การถ่ายภาพได้พาศิรวิทย์ไปถึงการจัดนิทรรศการเพื่อเล่าหลายเรื่องที่เขาค้างคาใจ ทั้งเทคนิคการถ่ายภาพ วิทยาศาสตร์ ความรัก ตราบจนถึงความสัมพันธ์ของสังคม มนุษย์ และธรรมชาติ

sirawitkittikorn.com
instagram.com/titi.kittikorn

PHOTO ESSAY : ORDINARY

TEXT & PHOTO: KROEKRIT NOPPHAGAO

(For English, press here

ในทุกวันที่ผมออกไปถ่ายรูป ผมเลือกมองหาความธรรมดาแต่ให้ความรู้สึกพิเศษ ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านมุมมองแบบ street minimalist เปลี่ยนสิ่งที่เราเห็นจนชินตา มองเมืองที่กว้างใหญ่ในมุมเล็กๆ เราอาจพบความสวยงามที่ซ่อนอยู่ตามซอกมุมของตึก ตรอกซอกซอย หรือท้องถนน นั่นเพราะความสวยงามมันอาจไม่ได้ซ่อนอยู่ เพียงแต่ว่าเราเองที่เป็นฝ่ายมองข้ามมันไปต่างหาก

___________________

เกริกฤทธิ์ นพเก้า เป็นช่างภาพ wedding ผู้มีความสนใจภาพสตรีทและภาพถ่าย contemporary

facebook.com/Cherbellphoto
instagram.com/bell_kroekrit

PHOTO ESSAY : THE ARCHITECTURE STUDIO ATLAS

Marc Goodwin
Marc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc GoodwinMarc Goodwin

TEXT & PHOTO: MARC GOODWIN / ARCHMOSPHERES

(For English, press here

‘The Architecture Studio Atlas’ เป็นเสมือนการเข้าไปสำรวจโลกของแต่ละสตูดิโอออกแบบที่มักซ่อนตัวอยู่หลังม่าน ซึ่งเผยให้เห็นถึงกระบวนการและหลักการทำงานของพวกเขา ผ่านเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่าง 20 เมืองในยุโรป รวมไปถึงมหานครทั่วโลกอย่าง โตเกียว โซล ไทเป ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ลอสแองเจลิส ปานามาซิตี เม็กซิโกซิตี และเซาเปาโล โดยให้ความสำคัญกับแนวทางการทำงานในแต่ละสตูดิโอ ตั้งแต่สตาร์ทอัพเฉพาะทางไปจนถึงสตูดิโอสถาปนิกที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง พร้อมกับภาพของผู้คนและบรรยากาศการทำงานที่สะท้อนทั้งแง่มุมที่จริงจังและสนุกสนาน ‘The Architecture Studio Atlas’ ทำให้เรื่องของสถาปัตยกรรมนั้นเปิดกว้าง สามารถเข้าถึงได้ง่าย และเสมอภาคมากขึ้น

___________________

Marc Goodwin เป็นช่างภาพสถาปัตยกรรมผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Archmospheres นักเขียน และอาจารย์ เขาเกิดในลอนดอนและปัจจุบันแบ่งเวลาใช้ชีวิตในยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของเขาในหัวข้อ ‘การถ่ายภาพ, พื้นที่สนทนาของสถาปัตยกรรม’ (architecture’s discursive space, photography) ได้ศึกษาองค์ประกอบของการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมผ่านการเปรียบเทียบกับระบบของบรรยากาศ หลังจบปริญญาเขาเดินทางไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำงานให้ลูกค้าและทำหนังสือ The Architecture Studio Atlas

archmospheres.com
instagram.com/archmospheres

PHOTO ESSAY : TOWARDS EVENING

TEXT & PHOTO: FEDERICO COVRE

(For English, press here

รูปเหล่านี้นำเสนอคอลเล็กชันของโปรเจ็กต์ต่างๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในหลากหลายประเทศแถบยุโรป ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก ทั้งหมดถูกถ่ายในยามเย็นก่อนที่กลางคืนจะคืบคลานมาถึง ทุกภาพล้วนแสดงบรรยากาศที่เงียบสงบ แสงธรรมชาติ โดยมีสถาปัตยกรรมรับบทบาทเป็นตัวเอก
________________

Federico Covre (เกิดปี 1977) เป็นช่างภาพสถาปัตยกรรมและแลนด์สเคปที่ทำงานและพำนักอยู่ในอิตาลีและสวีเดน เขามุ่งสร้างสมดุลระหว่างความเข้มข้นทางแนวคิดและการใช้งานจริงในงานสถาปัตยกรรมผ่านการสื่อสารทางภาพหลากหลายวิธีการ ผลงานของเขาเน้นการถ่ายทอดองค์ประกอบที่เรียบง่ายแต่มีระดับ อธิบายสถาปัตยกรรมในบริบทแวดล้อม พร้อมกับจับภาพความงามของวัตถุ ไปจนถึงสิ่งที่อยู่นอกเหนือมิติทางกายภาพ

federicocovre.com
facebook.com/fedcovre
instagram.com/Federico.Covre

SAWITA POONSATIEN

ทำความรู้จักการทำงานของ ศวิตา พูลเสถียร ในฐานะช่างภาพข่าว ที่เดินตามความสนใจของตัวเองจนกลายเป็นผู้บันทึกเสี้ยววินาทีของเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองต่างๆ ในประเทศไทย

Read More

PHOTO ESSAY: SUKHUMVIT- THE THIRD ROAD

TEXT & PHOTO: ADAM BIRKAN

(For English, press here

‘สุขุมวิท’ เป็นการสำรวจสมมติฐานที่ว่าถนนสุขุมวิทเป็นโลกใบย่อมๆ ใบหนึ่งของกรุงเทพมหานคร และก็อาจจะเป็นตัวแทนของสังคมในภาพรวมด้วยก็เป็นได้ แม้ว่าถนนทั้งสายจะทอดยาวจากกรุงเทพฯ ไปสุดที่ชายแดนกัมพูชา (ตามทางหลวงหมายเลข 3) แต่พื้นที่ที่ได้สำรวจในหนังสือเล่มนี้ส่วนใหญ่เน้นไปที่ระยะทาง 14 กิโลเมตร ของช่วงถนนที่ตัดผ่านในเขตกรุงเทพฯ จากจุดเริ่มต้นในใจกลางเมืองที่สถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต ไปจนถึงทางตอนใต้ของตัวเมืองที่สถานีฯ ช้างเอราวัณ ซึ่งเลยเขตเมืองไปไม่ไกลนัก ทั้งนี้ ภาพชุดนี้ไม่ได้ชี้แนะทางออกใดๆ เพียงแต่เผยให้เห็นถึงมิติของชีวิตที่อยู่รวมกันบนถนนสายหนึ่งในเมืองเมืองหนึ่งเท่านั้น สิ่งที่ผู้ชมรับรู้และเข้าใจเป็นการสะท้อนถึงความคิดตนเองและสะท้อนภาพความเป็นจริง ถนนสายนี้ก็เหมือนถนนสายอื่นๆ ที่แสดงประสบการณ์ของมนุษย์ออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม ที่ซึ่งความลำบากและความรุ่งเรือง อุตสาหกรรมและประวัติศาสตร์ เวลาและวัฒนธรรม หลอมรวมถักทอเป็นผืนผ้าที่มีชีวิต ในขณะเดียวกัน แรงขับเคลื่อนที่ไม่อาจหยุดยั้งของคนรุ่นใหม่และสิ่งต่างๆ ซึ่งคงหยุดอยู่กับที่ของคนรุ่นเก่าก็กำลังบดขยี้กันและกันไปจวบจนจุดสิ้นสุดของกาลเวลา

__________________

Adam Birkan เป็นช่างภาพอิสระและนักเล่าเรื่องด้วยภาพ ที่ได้รับการรับเลือกให้เป็นหนึ่งใน Magnum’s 30 Under 30 และ PDN 30 เขาจบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ด้านการสื่อสารด้วยภาพจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ โดยปัจจุบัน Birkan อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และกำลังทำงานทั้งโปรเจ็กต์ระยะยาวและระยะสั้น ผลงานส่วนตัวของเขามักจะมองภาพรวมของปัญหาเชิงสังคมและเศรษฐกิจ และให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการเปรียบเทียบทั้งในความหมายโดยตรงและเชิงอุปมา และการมองหาช่วงเวลาอันละเอียดอ่อนและแทบไม่มีใครสังเกตเห็น ที่เมื่อรวมกันแล้ว เผยให้เห็นภาพกว้างของอุตสาหกรรมอันเร่งรัดและความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ

adambirkan.com
instagram.com/adambirkan

PHOTO ESSAY: GENESIS

TEXT & PHOTO: THANNOP AUTTAPUMSUWAN

(For English, press here

เคยไหม ที่เราเดินทางไปสถานที่หนึ่ง มองออกไปรอบตัวมีแต่สิ่งที่สวยงามถูกจัดวางได้อย่างน่าประหลาดใจ จนเกิดความสงสัยว่า ธรรมชาติเหล่านี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเองใช่ไหม หรือบางทีโลกเราอาจจะถูกออกแบบและสร้างโดยใครบางคนรึเปล่า?

“IN THE BEGINNING GOD CREATED THE HEAVEN AND THE EARTH”

สมัยเด็กเคยสงสัยว่าโลกนี้เกิดขึ้นมายังไง พอโตขึ้นมาหน่อยก็มีทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มากมายที่มาอธิบายการเกิดของโลกใบนี้ แต่ทฤษฎีเหล่านั้นก็ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจริง

แต่มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ที่ขายดีที่สุดในโลกตลอดกาล ถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมายหลายภาษา นั่นคือ ‘พระคัมภีร์ไบเบิล’ ประกอบด้วยหนังสือย่อยทั้งหมด 66 เล่ม และเล่มแรกชื่อว่า ‘ปฐมกาล’

ในบทที่ 1 ข้อ 1 กล่าวว่า “ในปฐมกาล พระเจ้าทรงเนรมิตฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก” กล่าวถึงพระเจ้าทรงเนรมิตสร้างโลกใน 6 วัน พอได้ศึกษาและทำความเข้าใจแต่ละข้อความ จึงเกิดเป็นภาพถ่ายชุดนี้ขึ้น

‘ปฐมกาล’ การสร้างโลกใบนี้ของพระเจ้า

เกิดขึ้น…ตั้งอยู่…ดับไป

_____________

ธัญนพ อัตภูมิสุวรรณ์  จบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันเป็นช่างภาพสถาปัตยกรรม และทำงานส่วนตัวด้วยกล้องฟิล์มขาวดำ และกระบวนการในห้องมืด

facebook.com/gapjaa
instagram.com/gapjaa_naja
instagram.com/whydoyoulovefilm

PHOTO ESSAY : SPECTRUM OF SOLITUDE: A TAPESTRY OF URBAN LIFE

TEXT & PHOTO: CHEVAN LIKITBANNAKON 

(For English, press here

ในผลงาน ‘Spectrum of Solitude’ ซีรีส์ภาพถ่ายสะกดสายตา เลนส์กล้องส่องลึกลงไปยังพลวัตรอันซับซ้อนของเมือง จับภาพช่วงเวลาแห่งความสัมพันธ์ การใคร่ครวญ และการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ท่ามกลางพื้นหลังอย่างสวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ ไปจนถึงถนนหนทางอันจอแจ ภาพแต่ละภาพเป็นดั่งฝีแปรงที่ปรากฏบนผืนผ้าใบอันกว้างใหญ่ของชีวิตเมือง เผยความสอดคล้องระหว่างความโดดเดี่ยวกับการมีใครสักคนอยู่ข้างๆ ความเกี่ยวโยงระหว่างวัฒนธรรมและศิลปะ

ชุดภาพภ่ายนี้เปิดด้วยฉากทัศน์ของผู้คนที่รายล้อมไปด้วยมิตรภาพอันอบอุ่น พวกเขาหัวเราะ แลกเปลี่ยนเรื่องราวในอ้อมกอดอันเขียวชอุ่มของสวนสาธารณะและคาเฟ่หน้าตาสวยงามน่านั่ง เพื่อนฝูง คนรัก ปลอบประโลมซึ่งกันและกัน ความสุขของพวกเขานั้นมองเห็นได้ชัดเจนโดยมีเมืองอันงดงามเป็นพื้นหลัง อย่างไรก็ดี สิ่งที่แทรกตัวอยู่ระหว่างช่วงเวลาแห่งความเป็นมิตรเหล่านี้ คือผู้คนที่โดดเดี่ยวซึ่งเหม่อลอยอยู่ท่ามกลางความเร่งรีบวุ่นวายของชีวิตเมือง ช่วงขณะอันเปลี่ยวเหงานี้นำเสนอภาพตรงข้ามกับพลังงานอันสดใสที่เกิดจากการพบปะของผู้คน มันชักชวนให้ผู้ชมละเมียดละไมกับความงามของการสำรวจตัวเองและการค้นพบตัวตน

ภาพถ่ายในซีรีส์ค่อยๆ เผยแง่มุมการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ผ่านรูปถ่ายที่จับภาพการทับซ้อนของธรรมเนียม และการแสดงออกหลากหลายที่บ่งบอกตัวตนของเมือง จากโถงอันเงียบงันของพิพิธภัณฑ์ที่ศิลปะกับประวัติศาสตร์สัมพันธ์เชื่อมโยง ไปจนถึงถนนอันครึกครื้นซึ่งเต็มไปด้วยชีวิตหลากวัฒนธรรม แต่ละภาพคือหลักฐานของความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายของประสบการณ์ของมนุษย์ที่ปรากฏพบเจอในพื้นที่และอ้อมกอดของเมือง

‘Spectrum of Solitude’ นั้นเป็นมากกว่าชุดภาพถ่าย มันคือซิมโฟนีเฉลิมฉลองชีวิตเมืองที่มีมิติแง่มุมมากมาย ผ่านเลนส์ของการถ่ายภาพเเนวสตรีท ผู้ชมจะได้ร่วมค้นหาความสมดุลอันเปราะบางระหว่างความโดดเดี่ยวและความสัมพันธ์ วัฒนธรรมและศิลปะ เพื่อค้นพบความงามในช่วงเวลาต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่ช่วยก่อร่างสร้างประสบการณ์ในเมืองขึ้นมา

_____________

ด้วยพื้นหลังด้านการทำภาพยนตร์ Chevan Likitbannakon คือช่างภาพลูกครึ่งไทยอียิปต์ผู้ที่หลงใหลในการเล่าเรื่องด้วยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันเป็นการเล่าเรื่องผ่านรูปแบบทางทัศนศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพถ่าย มิวสิควีดีโอ หรือการทำหนัง มันจะมีช่วงเวลาที่ปรากฏขึ้นเพียงชั่วขณะที่ทำให้ผมได้เห็นเสี้ยวหนึ่งของแก่นของคนหรือเรื่องราวที่ถูกผมจับภาพ นั่นคือเรื่องราวที่ผมเล่า การเป็นคนที่อยู่หลังกล้องที่บันทึกเขาช่วงเวลานั้นเอาไว้ พาตัวผมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวเหล่านั้น มันอาจจะเป็นความรู้สึก หรือความคิด หรือสายตา ที่ถูกเผยออกมาระหว่างห้วงขณะที่ถูกจับภาพเอาไว้  และมันก็อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครได้เห็นมาก่อนเลยก็เป็นได้

chevan.myportfolio.com

 

PHOTO ESSAY : LATE WINTER RAIN

TEXT & PHOTO: CHANAPONG SRIWEERAPONG

(For English, press here)

เส้นทางขึ้นเขาภูกระดึง เป็นเส้นทางที่ลำบาก ต้องใช้ความอดทนอยู่พอสมควร แต่พอถึงจุดหมายแล้วก็รู้สึกว่าคุ้มเหนื่อยอยู่เหมือนกัน ที่ได้ขึ้นมาเจอธรรมชาติที่เปลี่ยนไปทุกฤดูกาล ซึ่งแต่ละฤดูก็มีความสวยงามที่แตกต่างกันไปไม่เหมือนกัน

_____________

ชนะพงษ์ ศรีวีรพงศ์ ทำงานเป็น video editor และ photographer อยู่ที่บริษัทออกแบบภายใน DUDE DECORATE ชอบงานศิลปะ ชอบธรรมชาติ

instagram.com/best.sri6