Category: DESIGN

MEX CRAVE SERIES

MEX CRAVE Series

MEX ร่วมกับ DOTS Design Studio สร้างสรรค์เครื่องทำน้ำอุ่นรุ่นใหม่ซึ่งถูกจับมาประยุกต์รูปลักษณ์ให้เข้ากับการออกแบบภายในได้ง่ายขึ้น โดยมีที่มาไอเดียจากกระเบื้องห้องน้ำ

Read More

AHEC AT CLERKENWELL DESIGN WEEK

AHEC at design week feature

ชื่นชมผลงานดีไซน์ไม้เนื้อแข็งจาก 2 อีเวนต์โดย American Hardwood Export Council ในงาน Clerkenwell Design Week ณ กรุงลอนดอน

Read More

ACUTE AND OBTUSE

TEXT: ADRIENNE LAU
PHOTO: RAQUEL DINIZ

(For English, press here)  

สถาปนิกและนักออกแบบ Adrienne Lau เป็นหัวหอกสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างสรรค์ Acute And Obtuse ชุดเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้งที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล 100% งานชุดนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการออกแบบซึ่งปล่อยให้วัสดุที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะเหล่าชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาตรฐาน ได้เป็นตัวขับเคลื่อนการตัดสินใจว่ามันจะถูกใช้งานอย่างไร มีกระบวนการผลิตแบบไหน และต้องการสื่อสารอะไร

โครงการนี้เริ่มต้นจากความต้องการฟื้นฟูพื้นที่ปลูกพืชเพื่อบริโภคใน Abbey Gardens ซึ่งเป็นทั้งสวนสาธารณะและสวนเพื่อการเก็บเกี่ยวใน Newham, London เมื่อสิบห้าปีที่แล้วสวนชุมชนแห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นจากโครงการศิลปะมีชีวิตที่ประกอบด้วยกระบะปลูกต้นไม้ที่เรียงตัวกันเป็นแนวทแยง ภายหลังเวลาผันผ่าน กระบะรูปสี่เหลี่ยมคางหมูที่ทำจากแผ่นไม้ยึดด้วยปลอกมุมเหล็กชุบสังกะสีก็ถึงเวลาต้องถูกเปลี่ยนใหม่

หลังจากรื้อถอนกระบะ Adrienne พบว่ามุมเหล็กส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาพดีและน่านำกลับมาใช้ใหม่เป็นเฟอร์นิเจอร์ มุมเหล็กที่มีองศาเฉพาะเหมาะสำหรับการเป็นสร้างโครงสร้างของเฟอร์นิเจอร์ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นมุมเหล็กขนาด 150 องศา สำหรับการทำเป็นเก้าอี้เอนหลัง 110 องศา สำหรับการสร้างเก้าอี้ และมุมที่เล็กกว่าที่ถูกนำไปใช้เป็นส่วนรองรับม้านั่ง

การทำงานร่วมกับสวนชุมชนระดับรากหญ้าทำให้การจัดเก็บวัสดุและการทำงานอย่างยืดหยุ่นเกิดขึ้นได้ และด้วยความช่วยเหลือจากชุมชนในท้องถิ่นและเหล่าอาสาสมัคร เหล่ามุมเหล็กก็ถูกถอดสลักเกลียวและแยกออกจากแผ่นไม้เก่า

การเชื่อมเหล็กชุบสังกะสีบางๆ เหล่านี้มีทั้งอันตรายจากสารพิษและความเสี่ยงอื่นๆ ทำให้ต้องมีการใช้วัสดุอื่นเป็นข้อต่อ ผู้ออกแบบจึงจับมือกับสตูดิโอ Rosie Strickland โดยนำคานไม้ดักลาสเฟอร์ (Douglas Fir beam) จากโรงทหารสมัยวิคตอเรียนที่ถูกรื้อถอนมาใช้ในการสร้างชิ้นงานที่สมบูรณ์ และเพื่อสร้างความสมดุลและความแตกต่างระหว่างไม้กับความคมของแผ่นเหล็ก ชิ้นส่วนจากไม้ดักลาสเฟอร์จึงมีรูปทรงโค้งมนสะอาดตา รอยบากและรูตะปูบนไม้ที่ถูกนำมาใช้ถูกปล่อยไว้โดยไม่ผ่านการขัดเกลาเพื่อแสดงถึงร่องรอยทางประวัติศาสตร์และถูกชูให้เป็นองค์ประกอบเด่นของการออกแบบ

หลังจากเป็นส่วนหนึ่งของ Edgy Collective winning installation ในเทศกาลสถาปัตยกรรมลอนดอน 2023 (London Festival of Architecture 2023) Acute And Obtuse ได้ถูกย้ายกลับมาไว้ที่ Abbey Gardens สถานที่อันเป็นต้นกำเนิดของเหล่ามุมเหล็ก ปัจจุบันพวกมันทำหน้าที่เป็นที่นั่งที่สามารถปรับเปลี่ยนโยกย้ายได้อย่างยืดหยุ่นภายในพื้นที่ของชุมชนที่กำลังเติบโต

“แทนที่จะซ่อนความไม่สมบูรณ์แบบ เราควรโอบรับความไม่สมบูรณ์แบบนั้นอย่างสร้างสรรค์เพื่อทำให้การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่เป็นสิ่งน่าดึงดูดใจและเป็นที่สนใจในวงกว้างขึ้น” Adrienne Lau กล่าว “การทำให้เรื่องราวของวัสดุปรากฏชัดเจนจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนดูแลรักษามัน สิ่งของจะไม่กลายเป็นขยะ ถ้าสุดท้ายแล้วตัวมันยังมีคุณค่าในสายตาของผู้ใช้งาน”

_____________

Adrienne Lau เป็นสถาปนิกและนักออกแบบผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสภาสถาปนิกแห่งสหราชอาณาจักร (Architects Registration Board หรือ ARB) ปัจจุบันเธอประจำอยู่ที่มหานครลอนดอนและฮ่องกง ด้วยความเชี่ยวชาญอันหลากหลาย ผลงานของเธอครอบคลุมทั้งด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ การสร้างสรรค์ installation ในพื้นที่เมือง ตลอดจนการออกแบบฉากเวที แนวทางการทำงานของเธอมุ่งเน้นการตอบสนองความจำเป็นทางสังคมและระบบนิเวศ ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์อันล้ำสมัยในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง Edgy Collective กลุ่มนักออกแบบผู้คว้ารางวัลมากมาย Adrienne และทีมงานทุ่มเทให้กับการฟื้นฟูพื้นที่เมือง โดยเชื่อมโยงพื้นที่เหล่านั้นเข้ากับมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม พร้อมทั้งสะท้อนความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน ด้วยประสบการณ์อันยาวนานกว่าทศวรรษในวงการ และเส้นทางอาชีพอันโดดเด่นในบริษัทออกแบบชั้นนำระดับโลกอย่าง Heatherwick Studio และ OMA Adrienne ได้ร่วมงานกับลูกค้าระดับแนวหน้าอย่าง PRADA และ Google นอกจากนี้ เธอยังได้ดำรงตำแหน่งผู้นำระดับอาวุโสของโครงการสถาปัตยกรรมและการออกแบบเมืองระดับนานาชาติขนาดใหญ่หลากหลายโครงการ

adriennelauprojects.com
instagram.com/thinking_out_lau

INTERIOR ARCHITECTURE PROGRAM, RMUTT

Degree Show RMUTT-feature

degree show-RMUTT

วิทยานิพนธ์ 6 เรื่อง จากนักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Read More

KEMPEGOWDA INTERNATIONAL AIRPORT, TERMINAL 2 DEPARTURES

Kempegowda Airport

โครงการต่อเติมสนามบินในประเทศอินเดียซึ่งเป็นผลงานออกแบบภายใต้แนวคิด biophilic design ผ่านความคิดสร้างสรรค์ของสตูดิโอ Enter Projects Asia โดยเลือกใช้หวายเป็นวัสดุหลัก

Read More

ARCHITECTURE ANOMALY

Architecture Anomaly
Architecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture AnomalyArchitecture Anomaly

TEXT & IMAGE: SAUL KIM

(For English, press here)  

จิตใจของเราถูกตั้งโปรแกรมให้ปฏิบัติตามแนวคิดที่สังคมกำหนดไว้ล่วงหน้า และแนวคิดใดๆ ที่ท้าทายข้อกำหนดนั้นมักจะถูกมองว่าเป็น ‘ความผิดปกติ (anomalous)’ Architecture Anomaly เป็นซีรีส์งานวิจัยด้านการออกแบบที่ริเริ่มโดย Saul Kim ซึ่งทดลองกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในวิถีทางที่ผิดแผกไปจากปกติ เพื่อค้นหาวิธีการก่อร่าง ประกอบ และการอยู่อาศัยใหม่ๆ

แรงบันดาลใจของผลงานชุดนี้มาจากแทบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ หากแต่ไม่ใช่สถาปัตยกรรม สิ่งนี้ช่วยให้นักออกแบบสามารถหลีกเลี่ยงการสร้างสรรค์งานตามรอยเดิม การออกแบบนั้นไม่ควรมีกฎเกณฑ์ แต่คนเรามักจะเผลอตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาเองเมื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ และเริ่มเชื่อว่าการทำสิ่งอื่นนอกเหนือจากนี้เป็นสิ่งที่ผิด ตัวอย่างเช่น เราได้รับการสอนในโรงเรียนสถาปัตยกรรมว่าแผ่นพื้นควรถูกวางในทางราบ มีความหนาระดับหนึ่ง และต้องวางอยู่เหนือคานเพื่อสร้างสเปซสำหรับอยู่อาศัย นี่คือความเข้าใจถึง ‘แผ่นพื้น’ ในมุมมองของมนุษย์ เพราะเราได้เรียนรู้มาช้านานผ่านวิวัฒนาการหลายร้อยปีว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสร้างพื้นที่อยู่อาศัย แต่หากเราก้าวถอยออกมา และลองคลายคำจำกัดความที่ตายตัวของแผ่นพื้นดูว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร ถูกสร้างมาเพื่ออะไร ควรนำไปใช้ในอาคารอย่างไร เราจะเริ่มเห็นภาพแผ่นพื้นอย่างที่มันเป็นจริงๆ เพราะโดยพื้นฐานแล้ว มันก็เป็นเพียงชิ้นของพื้นผิวบางๆ ชิ้นหนึ่งที่กลายเป็นสิ่งอื่นได้อีก บางทีพื้นผิวนี้อาจต้องถูกพับ ถูกทำให้ยับย่น หรือถูกตัดบางส่วนออกไปเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ด้วยการตั้งคำถามเชิงอภิปรัชญาต่อองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้ เราจะสามารถหลุดพ้นจากจุดมุ่งหมายแรกเริ่มของการดำรงอยู่ เพื่อค้นพบความหมายใหม่ๆ ได้อย่างเสรี

_____________

Saul Kim เป็นนักออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงโซล เขาเริ่มเส้นทางด้านสถาปัตยกรรมที่สิงคโปร์ ก่อนจะย้ายไปลอสแอนเจลิสเพื่อศึกษาระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่สถาบันสถาปัตยกรรมแห่งเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (Southern California Institute of Architecture หรือ SCI-Arc) และปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ในปี 2563 Saul Kim ได้เปิดตัวซีรีส์งานวิจัยด้านการออกแบบ ‘Architecture Anomaly’ ที่ให้บริการด้านการวางแผนและการออกแบบ นอกจากนี้เขายังสอนที่มหาวิทยาลัยฮงอิก (Hongik University) ในฐานะศาสตราจารย์พิเศษและเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเควอน (Kaywon University of Art and Design)

saulkim.com
instagram.com/saul_kim_

FLEX BY PODIUM

Podium FLEX sub-collection

PODIUM ร่วมกับ THINKK Studio สร้างสรรค์คอลเล็กชันย่อย FLEX ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ความเชี่ยวชาญ และทักษะฝีมือในการผลิตงานไม้ของแบรนด์ ผสานเข้ากับไอเดียในการออกแบบของดีไซเนอร์ที่เล็งเห็นศักยภาพและเสน่ห์ของวัสดุถักสาน

Read More

THE RECYCLING CENTER IN GUANG WU PRIMARY SCHOOL

the recycling center-feature

Meta House ปรับปรุงศูนย์รวบรวมขยะประจำโรงเรียนประถมศึกษากวางอู่ในไต้หวัน ซึ่งถูกทิ้งให้ทรุดโทรมให้กลายเป็นสเปซเปิดโล่งที่ระบายอากาศได้ สร้างความสะดวกต่อการรีไซเคิลขยะ
Read More

‘O’ IN SUVARNABHUMI

Hole in Suvarnabhumbi- feature

งานออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัยโดย สุภาวี ศิรินคราภรณ์ ว่าด้วย ‘รู’ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานแนวคิดของรูปแบบเครื่องประดับในดินแดนสุวรรณภูมิยุคโบราณ ทฤษฎีทางปรัชญา และวิทยาศาสตร์
Read More

THE HOA MAI FURNITURE DESIGN COMPETITION 2024

hoa mai

ยลโฉมผลงานที่ได้รับรางวัลจาก The Hoa Mai Furniture Design Competition ครั้งที่ 20 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Handicraft and Wood Industry Association of Ho Chi Minh City (HAWA) และ American Hardwood Export Council (AHEC) Read More