Category: DESIGN

THE DEPARTMENT OF INTERIOR DESIGN, FACULTY OF DECORATIVE ARTS, SILPAKORN UNIVERSITY

degree show -su interior feature

degree show-su interior

ศิลปนิพนธ์ 8 เรื่อง จากนักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Read More

AMERICAN STANDARD DESIGN AWARD THAILAND 2024

ASDA 2024

ชมแนวคิดของผู้ชนะรางวัลระดับประเทศไทยทั้ง 3 คน จาก ASDA 2024 ที่ตีความคำว่า ‘บ้าน’ ในธีม ‘Home Away From Home’ ตามแบบของตัวเอง และนำมาปรับให้เข้ากับการออกแบบห้องน้ำโรงแรมเป็นอย่างดี

Read More

THE DEPARTMENT OF JEWELRY DESIGN, FACULTY OF DECORATIVE ARTS, SILPAKORN UNIVERSITY

degree show SU jewelry-feat

degree show 2024 jewelry cover

ศิลปนิพนธ์ 7 เรื่อง จากนักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Read More

MEX CRAVE SERIES

MEX CRAVE Series

MEX ร่วมกับ DOTS Design Studio สร้างสรรค์เครื่องทำน้ำอุ่นรุ่นใหม่ซึ่งถูกจับมาประยุกต์รูปลักษณ์ให้เข้ากับการออกแบบภายในได้ง่ายขึ้น โดยมีที่มาไอเดียจากกระเบื้องห้องน้ำ

Read More

AHEC AT CLERKENWELL DESIGN WEEK

AHEC at design week feature

ชื่นชมผลงานดีไซน์ไม้เนื้อแข็งจาก 2 อีเวนต์โดย American Hardwood Export Council ในงาน Clerkenwell Design Week ณ กรุงลอนดอน

Read More

ACUTE AND OBTUSE

TEXT: ADRIENNE LAU
PHOTO: RAQUEL DINIZ

(For English, press here)  

สถาปนิกและนักออกแบบ Adrienne Lau เป็นหัวหอกสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างสรรค์ Acute And Obtuse ชุดเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้งที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล 100% งานชุดนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการออกแบบซึ่งปล่อยให้วัสดุที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะเหล่าชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาตรฐาน ได้เป็นตัวขับเคลื่อนการตัดสินใจว่ามันจะถูกใช้งานอย่างไร มีกระบวนการผลิตแบบไหน และต้องการสื่อสารอะไร

โครงการนี้เริ่มต้นจากความต้องการฟื้นฟูพื้นที่ปลูกพืชเพื่อบริโภคใน Abbey Gardens ซึ่งเป็นทั้งสวนสาธารณะและสวนเพื่อการเก็บเกี่ยวใน Newham, London เมื่อสิบห้าปีที่แล้วสวนชุมชนแห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นจากโครงการศิลปะมีชีวิตที่ประกอบด้วยกระบะปลูกต้นไม้ที่เรียงตัวกันเป็นแนวทแยง ภายหลังเวลาผันผ่าน กระบะรูปสี่เหลี่ยมคางหมูที่ทำจากแผ่นไม้ยึดด้วยปลอกมุมเหล็กชุบสังกะสีก็ถึงเวลาต้องถูกเปลี่ยนใหม่

หลังจากรื้อถอนกระบะ Adrienne พบว่ามุมเหล็กส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาพดีและน่านำกลับมาใช้ใหม่เป็นเฟอร์นิเจอร์ มุมเหล็กที่มีองศาเฉพาะเหมาะสำหรับการเป็นสร้างโครงสร้างของเฟอร์นิเจอร์ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นมุมเหล็กขนาด 150 องศา สำหรับการทำเป็นเก้าอี้เอนหลัง 110 องศา สำหรับการสร้างเก้าอี้ และมุมที่เล็กกว่าที่ถูกนำไปใช้เป็นส่วนรองรับม้านั่ง

การทำงานร่วมกับสวนชุมชนระดับรากหญ้าทำให้การจัดเก็บวัสดุและการทำงานอย่างยืดหยุ่นเกิดขึ้นได้ และด้วยความช่วยเหลือจากชุมชนในท้องถิ่นและเหล่าอาสาสมัคร เหล่ามุมเหล็กก็ถูกถอดสลักเกลียวและแยกออกจากแผ่นไม้เก่า

การเชื่อมเหล็กชุบสังกะสีบางๆ เหล่านี้มีทั้งอันตรายจากสารพิษและความเสี่ยงอื่นๆ ทำให้ต้องมีการใช้วัสดุอื่นเป็นข้อต่อ ผู้ออกแบบจึงจับมือกับสตูดิโอ Rosie Strickland โดยนำคานไม้ดักลาสเฟอร์ (Douglas Fir beam) จากโรงทหารสมัยวิคตอเรียนที่ถูกรื้อถอนมาใช้ในการสร้างชิ้นงานที่สมบูรณ์ และเพื่อสร้างความสมดุลและความแตกต่างระหว่างไม้กับความคมของแผ่นเหล็ก ชิ้นส่วนจากไม้ดักลาสเฟอร์จึงมีรูปทรงโค้งมนสะอาดตา รอยบากและรูตะปูบนไม้ที่ถูกนำมาใช้ถูกปล่อยไว้โดยไม่ผ่านการขัดเกลาเพื่อแสดงถึงร่องรอยทางประวัติศาสตร์และถูกชูให้เป็นองค์ประกอบเด่นของการออกแบบ

หลังจากเป็นส่วนหนึ่งของ Edgy Collective winning installation ในเทศกาลสถาปัตยกรรมลอนดอน 2023 (London Festival of Architecture 2023) Acute And Obtuse ได้ถูกย้ายกลับมาไว้ที่ Abbey Gardens สถานที่อันเป็นต้นกำเนิดของเหล่ามุมเหล็ก ปัจจุบันพวกมันทำหน้าที่เป็นที่นั่งที่สามารถปรับเปลี่ยนโยกย้ายได้อย่างยืดหยุ่นภายในพื้นที่ของชุมชนที่กำลังเติบโต

“แทนที่จะซ่อนความไม่สมบูรณ์แบบ เราควรโอบรับความไม่สมบูรณ์แบบนั้นอย่างสร้างสรรค์เพื่อทำให้การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่เป็นสิ่งน่าดึงดูดใจและเป็นที่สนใจในวงกว้างขึ้น” Adrienne Lau กล่าว “การทำให้เรื่องราวของวัสดุปรากฏชัดเจนจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนดูแลรักษามัน สิ่งของจะไม่กลายเป็นขยะ ถ้าสุดท้ายแล้วตัวมันยังมีคุณค่าในสายตาของผู้ใช้งาน”

_____________

Adrienne Lau เป็นสถาปนิกและนักออกแบบผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสภาสถาปนิกแห่งสหราชอาณาจักร (Architects Registration Board หรือ ARB) ปัจจุบันเธอประจำอยู่ที่มหานครลอนดอนและฮ่องกง ด้วยความเชี่ยวชาญอันหลากหลาย ผลงานของเธอครอบคลุมทั้งด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ การสร้างสรรค์ installation ในพื้นที่เมือง ตลอดจนการออกแบบฉากเวที แนวทางการทำงานของเธอมุ่งเน้นการตอบสนองความจำเป็นทางสังคมและระบบนิเวศ ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์อันล้ำสมัยในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง Edgy Collective กลุ่มนักออกแบบผู้คว้ารางวัลมากมาย Adrienne และทีมงานทุ่มเทให้กับการฟื้นฟูพื้นที่เมือง โดยเชื่อมโยงพื้นที่เหล่านั้นเข้ากับมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม พร้อมทั้งสะท้อนความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน ด้วยประสบการณ์อันยาวนานกว่าทศวรรษในวงการ และเส้นทางอาชีพอันโดดเด่นในบริษัทออกแบบชั้นนำระดับโลกอย่าง Heatherwick Studio และ OMA Adrienne ได้ร่วมงานกับลูกค้าระดับแนวหน้าอย่าง PRADA และ Google นอกจากนี้ เธอยังได้ดำรงตำแหน่งผู้นำระดับอาวุโสของโครงการสถาปัตยกรรมและการออกแบบเมืองระดับนานาชาติขนาดใหญ่หลากหลายโครงการ

adriennelauprojects.com
instagram.com/thinking_out_lau

INTERIOR ARCHITECTURE PROGRAM, RMUTT

Degree Show RMUTT-feature

degree show-RMUTT

วิทยานิพนธ์ 6 เรื่อง จากนักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Read More

KEMPEGOWDA INTERNATIONAL AIRPORT, TERMINAL 2 DEPARTURES

Kempegowda Airport

โครงการต่อเติมสนามบินในประเทศอินเดียซึ่งเป็นผลงานออกแบบภายใต้แนวคิด biophilic design ผ่านความคิดสร้างสรรค์ของสตูดิโอ Enter Projects Asia โดยเลือกใช้หวายเป็นวัสดุหลัก

Read More

ARCHITECTURE ANOMALY

Architecture Anomaly

TEXT & IMAGE: SAUL KIM

(For English, press here)  

จิตใจของเราถูกตั้งโปรแกรมให้ปฏิบัติตามแนวคิดที่สังคมกำหนดไว้ล่วงหน้า และแนวคิดใดๆ ที่ท้าทายข้อกำหนดนั้นมักจะถูกมองว่าเป็น ‘ความผิดปกติ (anomalous)’ Architecture Anomaly เป็นซีรีส์งานวิจัยด้านการออกแบบที่ริเริ่มโดย Saul Kim ซึ่งทดลองกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในวิถีทางที่ผิดแผกไปจากปกติ เพื่อค้นหาวิธีการก่อร่าง ประกอบ และการอยู่อาศัยใหม่ๆ

แรงบันดาลใจของผลงานชุดนี้มาจากแทบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ หากแต่ไม่ใช่สถาปัตยกรรม สิ่งนี้ช่วยให้นักออกแบบสามารถหลีกเลี่ยงการสร้างสรรค์งานตามรอยเดิม การออกแบบนั้นไม่ควรมีกฎเกณฑ์ แต่คนเรามักจะเผลอตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาเองเมื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ และเริ่มเชื่อว่าการทำสิ่งอื่นนอกเหนือจากนี้เป็นสิ่งที่ผิด ตัวอย่างเช่น เราได้รับการสอนในโรงเรียนสถาปัตยกรรมว่าแผ่นพื้นควรถูกวางในทางราบ มีความหนาระดับหนึ่ง และต้องวางอยู่เหนือคานเพื่อสร้างสเปซสำหรับอยู่อาศัย นี่คือความเข้าใจถึง ‘แผ่นพื้น’ ในมุมมองของมนุษย์ เพราะเราได้เรียนรู้มาช้านานผ่านวิวัฒนาการหลายร้อยปีว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสร้างพื้นที่อยู่อาศัย แต่หากเราก้าวถอยออกมา และลองคลายคำจำกัดความที่ตายตัวของแผ่นพื้นดูว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร ถูกสร้างมาเพื่ออะไร ควรนำไปใช้ในอาคารอย่างไร เราจะเริ่มเห็นภาพแผ่นพื้นอย่างที่มันเป็นจริงๆ เพราะโดยพื้นฐานแล้ว มันก็เป็นเพียงชิ้นของพื้นผิวบางๆ ชิ้นหนึ่งที่กลายเป็นสิ่งอื่นได้อีก บางทีพื้นผิวนี้อาจต้องถูกพับ ถูกทำให้ยับย่น หรือถูกตัดบางส่วนออกไปเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ด้วยการตั้งคำถามเชิงอภิปรัชญาต่อองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้ เราจะสามารถหลุดพ้นจากจุดมุ่งหมายแรกเริ่มของการดำรงอยู่ เพื่อค้นพบความหมายใหม่ๆ ได้อย่างเสรี

_____________

Saul Kim เป็นนักออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงโซล เขาเริ่มเส้นทางด้านสถาปัตยกรรมที่สิงคโปร์ ก่อนจะย้ายไปลอสแอนเจลิสเพื่อศึกษาระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่สถาบันสถาปัตยกรรมแห่งเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (Southern California Institute of Architecture หรือ SCI-Arc) และปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ในปี 2563 Saul Kim ได้เปิดตัวซีรีส์งานวิจัยด้านการออกแบบ ‘Architecture Anomaly’ ที่ให้บริการด้านการวางแผนและการออกแบบ นอกจากนี้เขายังสอนที่มหาวิทยาลัยฮงอิก (Hongik University) ในฐานะศาสตราจารย์พิเศษและเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเควอน (Kaywon University of Art and Design)

saulkim.com
instagram.com/saul_kim_

FLEX BY PODIUM

Podium FLEX sub-collection

PODIUM ร่วมกับ THINKK Studio สร้างสรรค์คอลเล็กชันย่อย FLEX ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ความเชี่ยวชาญ และทักษะฝีมือในการผลิตงานไม้ของแบรนด์ ผสานเข้ากับไอเดียในการออกแบบของดีไซเนอร์ที่เล็งเห็นศักยภาพและเสน่ห์ของวัสดุถักสาน

Read More