ป้ายกำกับ: pavilion

VERT

Vert

ผลงานของ Diez Office และ OMC°C จากเยอรมนีที่ใช้ glulam (glue-laminated timber: ไม้ลามิเนตประสานด้วยกาว) มาสร้างสรรค์ ‘โครงสร้างเพิ่มความเย็นให้กับเมือง’ Read More

THEMATIC PAVILION: SKI X ANONYM STUDIO

SKI x ANONYM pavilion

SKI ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์งานช่าง ร่วมแสดง Thematic Pavilion ในงานสถาปนิก’ 67 ด้วยพาวิลเลียนรูปแบบ warehouse ออกแบบโดย Anonym Studio

Read More

THEMATIC PAVILION: WILSONART X PBM

Wilsonart x pbm thematic pavilion

บูธ Thematic Pavilion ของ Wilsonart ที่ได้ pbm มาออกแบบ ถือเป็นหนึ่งในไฮไลต์ของงานสถาปนิก’ 67 โดยมีวัตถุประสงค์คือการนำเสนอความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ผ่านผลงานรูปลักษณ์คล้ายเกลียวเคลื่อน

Read More

THEMATIC PAVILION: S-ONE X HAS DESIGN AND RESEARCH

S-ONE x HAS
S-ONE x HAS

Photo courtesy HAS design and research

หนึ่งใน Thematic Pavilion ในงานสถาปนิก’ 67 โดย HAS design and research ผสานความทันสมัยของแบรนด์ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม S-ONE และการประยุกต์ใช้วัสดุอย่างชาญฉลาดเพื่อสร้างสเปซที่ผู้ออกแบบต้องการ

Read More

SKY MOUNTAIN

Sky Mountain Sou Fujimoto

เกลียวคลื่น ทิวเขา และมนุษย์ คือ 3 สิ่งที่ ‘Sky Mountain’ แห่งนี้ชักนำมาเชื่อมสัมพันธ์กัน นี่เป็นงานออกแบบจาก Sou Fujimoto ในโปรเจ็กต์ Pavilions by the Seaside ที่เปลี่ยนอ่าวไหโข่วเป็นจุดหมายปลายทางทางวัฒนธรรมแห่งใหม่

Read More

SC ASSET x BANGKOK DESIGN WEEK 2024

SC Asset x BKKDW 2024

ย้อนกลับไปดูกิจกรรมจาก SC ASSET และผลงาน Bamboo Mache Modular จาก ธ.ไก่ชน ที่สร้างสีสันและความคึกคักให้ย่านเกษตรฯ-บางบัว เป็นอย่างดีในงาน Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา

Read More

PLERN-PHLIO-TIL-CHAN

Volunteer camp by Silpakorn, Plern-Phlio-Til-Chan

ภายใต้เงื่อนไขอันจำกัด ทั้งงบประมาณ ระยะเวลา และจำนวนคน art4d ชวนไปสำรวจกันว่า กว่าจะออกมาเป็นผลลัพธ์อย่างที่เห็นกันนี้ ผลงานจากโครงการค่ายอาสาสถาปัตย์ศิลปากร ‘เพลินพลิ้วทิวจัน’ นั้นมีที่มาอย่างไรบ้าง

Read More

MEDITERRÁNEO

Mediterráneo by Manuel Bouzas

Manuel Bouzas ดีไซน์พาวิลเลียน Mediterráneo ด้วยการใช้ มู่ลี่ เป็นหลังคาบังแดด สร้างสีสันให้กับเมือง Valencia ในประเทศสเปน ในระหว่างเทศกาล TAC! Urban Architecture Festival 2023

Read More

PHOTO ESSAY : EXPO DISMANTLING

TEXT & PHOTO: FILIPPO POLI

(For English, press here

ผมไปงาน Expo Milano ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015  ไม่ถึง 3 เดือนก่อนที่งานจะเริ่มขึ้น พื้นที่ทั้งหมดดูราวกับรังมดขนาดมหึมาที่ถูกรายล้อมไปด้วยมวลหมู่รถบรรทุกเป็นแถวยาวเหยียดและเหล่าคนทำงานนับพัน ผมไม่เคยเห็นไซต์ก่อสร้างไหนที่ใหญ่โตและซับซ้อนขนาดนั้นมาก่อน ด้วยจำนวนโปรเจ็คต์ที่กำลังถูกดำเนินการไปพร้อมๆ กันในคราวเดียว 

หลังคายักษ์บนทางเดินหลักของงานถูกนำเข้ามาในไซต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พาวิลเลียนต่างๆก็เริ่มจะเป็นรูปเป็นร่าง เกือบทั้งหมดถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการก่อสร้างแบบแห้งเพื่อร่นเวลาของกระบวนการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ทีมงานจากบางประเทศก็เริ่มขึ้นโครงสร้างกันอย่างรวดเร็วในขณะที่บางทีมก็ดูเหมือนว่าจะต้องใช้ปาฏิหารย์ช่วยถ้าอยากจะทำทุกอย่างให้เสร็จทันเวลา

พื้นที่ทั้งไซต์อยู่ภายใต้การดูแลควบคุมของตำรวจด้วย เพราะมีคำขู่ว่าจะเกิดการก่อจลาจลโดยกลุ่มผู้ประท้วงชุดดำที่ชื่อเสียงไม่ค่อยจะดีสักไหร่ ระหว่างทางเดินไปยังทางเข้างาน มีโซนที่เรียกว่าโซนเอื้ออาทร’ (zones of condescension) ที่จะมีผู้อพยพมายืนรอต่อคิวที่ด้านนอกรั้วกันทุกเช้าเพื่อรอการถูกว่าจ้างให้เข้าไปทำงานในไซต์ในแต่ละวัน ระบบการจัดการอันล่มสลายและขั้นตอนการว่าจ้างแรงงานแบบไม่เป็นทางการได้กลายมาเป็นทางเลือกเดียวในการทำงานให้สำเร็จลุล่วง ในช่วงท้ายๆ ก่อนวันเปิดงาน เหล่าทีมนักเก็บรายละเอียดมืออาชีพ บริษัทจัดงานแสดงสินค้า และติดตั้งระบบโทรทัศน์ต่างๆ เข้ามาร่วมขบวนกับบริษัทก่อสร้าง เพื่อช่วยพรางอะไรก็แล้วแต่ที่เสร็จไม่ทันการ และเตรียมทุกอย่างให้พร้อมสำหรับการเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2015

ผู้เข้าร่วมงานสิริรวมราว 21 ล้านคน คือสิ่งที่ตามมา และสื่อก็เฉลิมฉลองความสำเร็จนี้ด้วยบทความประกาศศักดาถึงการฟื้นคืนชีพของมิลานและอิตาลี

กฎของ BIE กำหนดว่า14 เดือนหลังจากงานจบลง ประเทศที่เข้าร่วมต้องรื้อถอนทุกอย่างให้อยู่ในสภาพเดิม และควรพยายามนำเอาพาวิลเลียนไปใช้งานที่อื่น มีอยู่ไม่กี่ประเทศที่พอจะจัดการหาที่ลงให้กับพาวิลเลียนของตัวเองได้ เป็นที่น่าเสียดายว่า รายชื่อของกลุ่มที่เอาพาวิลเลียนไปทำลายทิ้งนั้นยาวกว่ากลุ่มที่เลือกที่จะถอดชิ้นส่วนแล้วนำไปใช้ใหม่ อย่างไรก็ดี งาน Expo ก็กำลังปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยอย่างช้าๆ ขยะที่เกิดจากงานแสดงสินค้าในสเกลใหญ่โตขนาดนี้นั้นอยู่ในระดับที่นับว่ารับไม่ได้ และกลยุทธที่จะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้การผลิตขยะมหาศาลขึ้นมาอีกก็เป็นสิ่งที่กำลังถูกหยิบยกมาพิจารณา

Expo Milano สิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม 2015 และในช่วงปลายปี ประตูของมันถูกเปิดขึ้นเพื่อให้เหล่ารถบรรทุกและคนงานได้เข้าไปรื้อถอนพาวิลเลียนออกมาราวกับชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ขนาดมหึมา ผมได้เข้าไปที่งานอีกสองครั้งนับแต่ตั้งมันถูกปิดลงไม่ให้สาธารณชนเข้าถึงได้อีกต่อไป หลังจากได้เห็นกระบวนการก่อสร้างตลอดเวลาหลายเดือนที่งานดำเนินไป วงจรหนึ่งปิดตัวลง ก่อนจะบันทึกร่องรอยของสิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ตรงนั้น รวมไปถึงเหล่าเครื่องจักรที่รื้อถอนเหล็ก เลื่อย และแรงงานของเหล่าคนงานผู้อดทนไปกับการคัดแยกวัสดุทั้งหลายแหล่

พาวิลเลียนบางหลังหายไปราวกับว่ามันระเหยไปกับอากาศ บนพื้นปรากฏร่องรอยของฐานรากและโคลนดิน บางชิ้นส่วนก็ถูกรื้อจนฉีกขาด บางหลังดูราวกับว่ามันถูกทำลายด้วยระเบิดลูกยักษ์ แต่ก็ยังคงยืนอยู่อย่างสงบนิ่ง

หลังจากที่เมื่อไม่กี่เดือนก่อนผมเที่ยวตามหาจุดถ่ายรูปดีๆ ตอนนี้ผมเดินอยู่คนเดียวไปตามทางเดินหลักที่รายล้อมไปด้วยภูมิทัศน์ที่ดูราวกับโลกในวันหลังระเบิดปรมาณูลง เหล่าอาสาสมัครเข้ามาช่วยชีวิตพืชพรรณ แต่ต้นที่ไม่สามารถมีชีวิตรอดหากขาดระบบน้ำที่มนุษย์สร้างมาช่วยหล่อเลี้ยงก็ได้ล้มตายไป ในขณะเดียวกัน the third landscape ตามแนวคิดของ Gilles Clement ก็เพิ่มพื้นที่ขึ้นท่ามกลางกองโครงกระดูกของโครงสร้างและพื้นที่สวนที่ถูกทิ้งรกร้าง ในแง่มุมนี้ Expo ก็มีเสน่ห์ในแบบของมัน

ผลงานภาพถ่ายที่ถูกนำเสนอในที่นี้ต้องการที่จะตั้งคำถามที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องแต่กับเพียงสถาปัตยกรรม แต่เกี่ยวพันไปถึงสังคมของเราและความหมายของงานนิทรรศการเหล่านี้

_____________

Filippo Poli เป็นช่างภาพที่เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพงานสถาปัตยกรรม เขาทำงานอยู่ในยุโรปและร่วมงานกับบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมหลายแห่งรวมไปถึงสถาบันและสำนักพิมพ์มากมาย

ผลงานส่วนตัวของเขามุ่งความสนใจไปที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ และผลลัพธ์ที่มันก่อให้เกิดต่อพื้นที่

ภาพถ่ายของเขาได้รับเลือกให้ถูกจัดแสดงเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นถาวรของ Art Centre of Santander of public Enaire Foundation แห่งใหม่ งานของเขายังได้ถูกนำเสนอในสถานที่และงานต่างๆในยุโรป เช่น Climate Summit (COP25) ที่มาดริด งาน Venice Biennale, Arco Madrid, Photo España, Deutsches Architekturmuseum และในสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงงานที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชันส่วนตัวและสาธารณะหลายต่อหลายคอลเลคชัน

เขามีผลงานถูกตีพิมพ์ในนิตยสารสถาปัตยกรรมสำคัญๆหลายฉบับ รวมไปถึงงานที่ได้รับรางวัลโดย Fundación Enaire, PX3, European Architectural Photography, Architekturbild, IPA, Photography Master Cup, Philadelphia Basho, ArchTriumph และอื่นๆ

Filippopoli.com
facebook.com/filippopoliphotography
instagram.com/filippo.poli

FREEING FRAMEYARD

พาวิลเลียนสีฟ้าอ่อนจาก HAS Design and Research ท่ามกลางสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ของชาวจีนฮากกา ที่เชื่อมโยงเข้ากับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและผู้คนในพื้นที่เข้าด้วยกัน
Read More