ป้ายกำกับ: photo

PHOTO ESSAY : THE FABRIC OF SOCIETY

The Fabric of Society
The Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of Society

TEXT & PHOTO: BARRY MACDONALD

(For English, press here

‘The Fabric of Society’ หรือ แปลเป็นภาษาไทย ‘ผืนผ้าของสังคม’ เป็นคำที่ใช้เปรียบเปรยในภาษาอังกฤษ หมายถึงโครงสร้างพื้นฐาน ความสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงที่ยึดถือสังคมไว้ด้วยกันเหมือนกับผ้าที่ทำจากเส้นด้ายแต่ละเส้นที่ถูกถักทอเข้าด้วยกันเพื่อสร้างเป็นผืนเดียว ‘ผืนผ้าของสังคม’ ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ เช่น ค่านิยมร่วมกัน บรรทัดฐาน กฎหมาย สถาบัน และวัฒนธรรมที่ผูกพันบุคคลและกลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผืนผ้าผืนเดียวกัน

ผ้าใบ (ผ้าใบพลาสติกแถบสีน้ำเงินขาว) ภาพจำที่ทำให้เรานึกถึงเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นแรงงาน แต่อันที่จริงแล้วชีวิตของทุกคนต่างมีส่วนที่ข้องเกี่ยวกับผ้าใบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในอาหารทุกๆ มื้อที่เราทาน ถูกปลูก ตาก จับ ส่งขาย จนประกอบเป็นอาหาร ต่างล้วนมีผ้าใบเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการไม่มากก็น้อย อาคารที่ปลูกสร้างต่างต้องเคยใช้ผ้าใบมาแล้วไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในงานก่อสร้าง งานประปา และงานไฟฟ้าต้องพึ่งพาวัสดุอเนกประสงค์นี้ หรือแม้กระทั่งสิ่งของทุกอย่างที่เราซื้ออาจใช้ผ้าใบในการขนส่ง, การเก็บรักษา หรือแม้แต่การสร้างแผงขายของตลาด ปูพื้น ทำโต๊ะ มุงหลังคา และอื่นๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของไร้ราคาบนท้องถนน หรือไปจนถึงพระพุทธรูปที่มีค่าที่สุดในวัด ผ้าใบถูกเชื่อถือในการปกป้องรักษา ดูแลสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด

ภาพชุดนี้มองดูแล้วอาจจะเกี่ยวกับผ้าใบ แต่หากมองลึกลงไปแท้จริงแล้วผ้าใบสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับสังคมได้ในหลายมิติ เราจะเห็นถึงมิติแห่งกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ทุกคนต่างใช้ผลิตภัณฑ์เดียวกัน จากแหล่งที่มาเดียวกัน มิติเชิงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของการผลิตพลาสติกจำนวนมาก รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยในการดัดแปลงวัสดุให้เป็นรูปแบบและการใช้งานใหม่ๆ ไปจนถึงการสะท้อนเห็นปัญหาแรงงานข้ามชาติและอาชีพที่พวกเขาทำในประเทศไทย ที่พวกเขาบางคนอาศัยอยู่ในที่ที่สร้างขึ้นด้วยผ้าใบ

ชวนให้ตั้งคำถามว่า หากไม่มีผ้าใบ ประเทศจะยังคงสามารถดำเนินการได้หรือไม่ หรือผ้าใบคือสิ่งที่แสดงออกถึง ‘ผืนผ้าของสังคม’ ในรูปธรรมที่แท้จริง

___________________

แบร์รี แมคโดนัลด์ (เกิดปี 2527) เป็นช่างภาพอิสระจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาเริ่มต้นถ่ายภาพนักดนตรีและค้นพบความสนุกสนานในการเดินทางจากการไปทัวร์กับวงดนตรีทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา งานของเขาพัฒนามาเป็นการผสมผสานระหว่างการถ่ายภาพแนวสตรีทและสารคดี เขาสนใจสังคมวิทยาและพยายามมองวัฒนธรรมและธรรมชาติของมนุษย์ผ่านการถ่ายภาพของเขา เขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2565

barrymacdonald.co.uk
instagram.com/barrymac84

BLOOMS WITH THE WIND BLOWS

นิทรรศการภาพถ่ายของ มาริษา ศรีจันแปลง นำเสนอความทรงจำของเหตุสังหารหมู่โดยเขมรแดง ผ่านภาพกอดอกหญ้าที่ผุดขึ้นกลางพื้นที่รกร้าง แทนที่ภาพความรุนแรงอันประจักษ์ชัด

Read More

PHOTO ESSAY : THE REFLECTIONS OF OUR IMAGINED REALITIES

TEXT & PHOTO: NATTAKORN CHOONHAVAN

(For English, press here

ผมตั้งโจทย์ก่อนการเดินเท้าไปถ่ายภาพตามสถานที่ต่างๆ ว่าจะต้องมีคำว่า ‘สะท้อน‘ และ ‘สองด้าน’ เป็นตัวตั้ง เมื่อบังเอิญเจอภาพเหตุการณ์ที่ตรงกับโจทย์ของผม ผมจึงถ่ายเพื่อบันทึกเก็บเอาไว้ แล้วค่อยนำภาพเหล่านั้นมาวิเคราะห์ถึงความหมายที่ลึกลงไป ตัวอย่างเช่น ภาพสะท้อนจากน้ำซึ่งทำให้โลกบิดเบี้ยว กลับด้านและถูกดัดแปลงไป ทำให้ผมนึกถึงทฤษฎีของโลกคู่ขนาน หรือภาพใบบัวที่ถูกทับซ้อนกับตึกคอนกรีต ทำให้ผมนึกถึงการที่มนุษย์เปรียบเสมือนผู้เสพบัว (Lotus Eater) ในวงจรของระบบทุนนิยม หรือภาพผีเสื้อที่โบยบินอยู่ในกรง ทำให้ผมนึกถึงอิสรภาพของมนุษย์ที่แม้จะติดอยู่ในวงจรของสังสารวัฏ แต่ก็มีจิตใจที่โบยบินและจินตนาการถึงอิสรภาพ โจทย์ตั้งต้นที่กล่าวมา ทำให้ผมนึกถึงปรัชญาต่างๆ ของการมีชีวิต ผ่านภาพของวันธรรมดาของผม

Freedom in The Cage

แม้ร่างกายของผีเสื้อจะถูกขังในกรง แต่จิตใจของมันยังโบยบินไปที่อื่นได้ เปรียบดั่งจินตนาการของมนุษย์ที่ค้นหาอิสรภาพ และความหมายของชีวิต แม้จะติดอยู่ในระบบของสังคม กฎต่างๆ มิติที่เราอยู่ และ สังสารวัฏ เราก็ยังต้องมีจุดหมาย และตามหาความหมายของชีวิตให้ได้

The Reversed World and The Lotus Eater

หมายถึง การที่เรามีชีวิตอยู่ในสังสารวัฏที่ไม่มีวันสิ้นสุด และโลกคู่ขนานที่ขยายออกไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะในโลกไหน เราก็อาจกลายเป็นผู้กินบัว/ผู้เสพบัว (มาจาก Lotus Eater ในเทพนิยายกรีก คือกลุ่มคนที่กินบัวเพื่อให้ ตัวเองมีความสุข แต่จะทำให้ลืมสิ่งต่างๆ ในชีวิต) ที่คอยวิ่งตามกิเลสและความอยากได้อยากมีไม่รู้จบ หากเราไม่ตระหนักถึงแก่นแท้และความหมายของการดำรงอยู่อย่างถ่องแท้

The Other Me (s)

The Dividing between the Two Worlds

The Other Me (s) and The Dividing between the Two Worlds

ทุกครั้งที่เห็นภาพสะท้อนบนน้ำ หรือกระจก ผมจะนึกถึงมิติอื่นๆ ที่เชื่อว่ามีอยู่ในจักรวาลนี้ สองภาพนี้จึงเป็นการ สะท้อนเราในมิติอื่นๆ ซึ่งเชื่อว่ามีหลายมิติมาก แต่ไม่ว่าจะอยู่ในมิติไหน เราก็ยังต้องต่อสู้ในสิ่งที่เราต้องการ และปีนไต่ขึ้นไปเพื่อไปยังจุดหมายที่เราใฝ่ฝัน รวมถึงการพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ เช่นกัน

The Encounter

เป็นภาพที่มองได้หลายมุม บางคนมองว่าเหมือนรูปสมอง บางคนมองว่าเหมือนรูปปอด แต่สำหรับผมมองว่า เหมือนกับภาพคน 2 คนที่ใส่หน้ากากแล้วเผชิญหน้าเข้าหากันและกัน ซึ่งการเผชิญหน้านี้ก็แปลได้สองความหมาย อย่างแรกคือเวลาเราใส่หน้ากากเราจะเป็นใครก็ได้ที่เราอยากจะเป็น และอย่างที่สองคือเมื่อเราใส่หน้ากาก ก็เหมือนกับมีอะไรบางอย่างมากั้นหน้าเรา ทำให้เรามีพื้นที่ที่จะสื่อสัตย์กับสิ่งที่เราเป็น และเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด

_____________

ณัฏฐกรม์ ชุณหะวัณ ปัจจุบันเป็น founder และ designer ของแบรนด์เครื่องประดับ Middle M Jewelry ชื่นชอบการเดินเท้าเพื่อบันทึกภาพด้วยกล้องฟิล์ม เพราะการเดินทำให้สังเกตเรื่องราวของผู้คนที่อยู่ตรงหน้าได้มากขึ้น ณัฏฐกรม์มักใช้แสง เงา หรือการสะท้อน มาเป็นองค์ประกอบในการสร้างมิติ ให้แก่ภาพที่ถ่าย องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ภาพบันทึกของวันธรรมดากลายเป็นสิ่งพิเศษ ในการ บันทึกชีวิตประจำวันของผู้คนด้วยภาพฟิล์ม ณัฏฐกรม์มักจะใส่ความรู้สึกและความหมายที่ตีความ เข้าไปในเทคนิคของมุมกล้อง ระยะ และจังหวะเสมอ

instagram.com/thoughts_of_mick
instagram.com/nattakornch

PHOTO ESSAY : A SHAPE FOR BREATHING

TEXT & PHOTO: CHATCHAWIN THANASANSUB

(For English, press here

ช่องว่างสำหรับหายใจ

ผมได้เห็นโครงการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อดคิดไม่ได้ว่า สภาพแวดล้อมของเมืองยังอึดอัดคับแคบไม่พออีกหรือ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการเบียดเสียดของกลุ่มอาคาร ท้องฟ้าถูกปกคลุมจากแผ่นพื้นและเสาคอนกรีตขนาดใหญ่ของสถานีรถไฟฟ้า บ้างแทรกตัวอยู่บนถนนที่แคบจนใกล้ชิดกับอาคารบ้านเรือน บ้างคาดผ่านเกาะกลางถนนที่ไร้ต้นไม้ให้ความร่มเงา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นหัวใจหลักของคนเมืองที่อำนวยความสะดวกสบายและรวดเร็วกว่าการรอรถประจำทาง หรือหลีกหนีจากการจราจรที่แสนสาหัส แต่ในทางกลับกันความแห้งแล้งของผืนคอนกรีตที่ตั้งตระหง่านบนท้องฟ้ากลับทำให้เกิดความรู้สึกที่กดทับและหนักอึ้ง ซึ่งเปรียบเสมือน ‘เมืองที่หายใจไม่ออก’ โดยภาพถ่ายชุดนี้ผมพยายามที่จะแสดงถึงความรู้สึกอึดอัดผ่านช่องว่างที่ยังสามารถมองลอดผ่านจากการบดบังของสิ่งปลูกสร้างของโครงการรถไฟฟ้า โดยรูปทรงของช่องที่เกิดขึ้นนั้น ต่างเกิดขึ้นจากสภาพบริบทโดยรอบ ของสถานที่นั้นเอง ซึ่งระดับการบดบังและความทึบตันก็จะแสดงออกแตกต่างกันไปตามเส้นทางที่เดินผ่าน

ส่วนตัวผมเองได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ในระยะเวลาหนึ่ง ได้ซึมซับความเป็นระบบระเบียบในการวางแผนและการจัดการเมืองที่ดี รถไฟฟ้าถูกนำลงไปอยู่ใต้ดิน ทำให้ทัศนียภาพของเมืองเปิดออก ถึงแม้จะมีตึกสูงรายล้อมมากมาย แต่ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ถูกจัดวางอย่างตั้งใจ ได้สร้างความร่มรื่นด้วยเงาจากธรรมชาติ อดคิดอิจฉาไม่ได้เลยถ้ากรุงเทพฯ ของเราได้ถูกวางแผนแบบนั้นบ้าง ทัศนียภาพของเมืองจะมีชีวิตชีวามากแค่ไหน มีต้นไม้สูงสองข้างทาง มีท้องฟ้าที่สะอาดตา จริงอยู่เราไม่สามารถเปรียบเทียบได้ขนาดนั้น ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างของประเทศไทย แต่อย่างน้อยรูปถ่ายชุดนี้ขอเป็นพื้นที่ที่จะสะท้อนและแสดงออกถึงความรู้สึกอึดอัดต่อการบดบังทัศนียภาพของเมือง ในฐานะคนที่ชอบเดินในเมืองคนหนึ่ง

_____________

ชัชวินทร์ ธนสารทรัพย์ จบปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ขณะนี้กลับมาศึกษาต่อปริญญาโท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชัชวินทร์เคยทำงานเป็น 3D visualizer และช่างภาพทางสถาปัตยกรรม แต่ผันตัวมาเป็น interior architect ที่ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก มีความสนใจเกี่ยวกับบริบทของเมืองในสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายระหว่าง คน พื้นที่สาธารณะ และสถาปัตยกรรม โดยบันทึกผ่านภาพถ่ายระหว่างทางที่พบเจอ

cargocollective.com/chatchawind
instagram.com/chatchawind

PHOTO ESSAY : TOWARDS EVENING

TEXT & PHOTO: FEDERICO COVRE

(For English, press here

รูปเหล่านี้นำเสนอคอลเล็กชันของโปรเจ็กต์ต่างๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในหลากหลายประเทศแถบยุโรป ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก ทั้งหมดถูกถ่ายในยามเย็นก่อนที่กลางคืนจะคืบคลานมาถึง ทุกภาพล้วนแสดงบรรยากาศที่เงียบสงบ แสงธรรมชาติ โดยมีสถาปัตยกรรมรับบทบาทเป็นตัวเอก
________________

Federico Covre (เกิดปี 1977) เป็นช่างภาพสถาปัตยกรรมและแลนด์สเคปที่ทำงานและพำนักอยู่ในอิตาลีและสวีเดน เขามุ่งสร้างสมดุลระหว่างความเข้มข้นทางแนวคิดและการใช้งานจริงในงานสถาปัตยกรรมผ่านการสื่อสารทางภาพหลากหลายวิธีการ ผลงานของเขาเน้นการถ่ายทอดองค์ประกอบที่เรียบง่ายแต่มีระดับ อธิบายสถาปัตยกรรมในบริบทแวดล้อม พร้อมกับจับภาพความงามของวัตถุ ไปจนถึงสิ่งที่อยู่นอกเหนือมิติทางกายภาพ

federicocovre.com
facebook.com/fedcovre
instagram.com/Federico.Covre

PHOTO ESSAY: SUKHUMVIT- THE THIRD ROAD

TEXT & PHOTO: ADAM BIRKAN

(For English, press here

‘สุขุมวิท’ เป็นการสำรวจสมมติฐานที่ว่าถนนสุขุมวิทเป็นโลกใบย่อมๆ ใบหนึ่งของกรุงเทพมหานคร และก็อาจจะเป็นตัวแทนของสังคมในภาพรวมด้วยก็เป็นได้ แม้ว่าถนนทั้งสายจะทอดยาวจากกรุงเทพฯ ไปสุดที่ชายแดนกัมพูชา (ตามทางหลวงหมายเลข 3) แต่พื้นที่ที่ได้สำรวจในหนังสือเล่มนี้ส่วนใหญ่เน้นไปที่ระยะทาง 14 กิโลเมตร ของช่วงถนนที่ตัดผ่านในเขตกรุงเทพฯ จากจุดเริ่มต้นในใจกลางเมืองที่สถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต ไปจนถึงทางตอนใต้ของตัวเมืองที่สถานีฯ ช้างเอราวัณ ซึ่งเลยเขตเมืองไปไม่ไกลนัก ทั้งนี้ ภาพชุดนี้ไม่ได้ชี้แนะทางออกใดๆ เพียงแต่เผยให้เห็นถึงมิติของชีวิตที่อยู่รวมกันบนถนนสายหนึ่งในเมืองเมืองหนึ่งเท่านั้น สิ่งที่ผู้ชมรับรู้และเข้าใจเป็นการสะท้อนถึงความคิดตนเองและสะท้อนภาพความเป็นจริง ถนนสายนี้ก็เหมือนถนนสายอื่นๆ ที่แสดงประสบการณ์ของมนุษย์ออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม ที่ซึ่งความลำบากและความรุ่งเรือง อุตสาหกรรมและประวัติศาสตร์ เวลาและวัฒนธรรม หลอมรวมถักทอเป็นผืนผ้าที่มีชีวิต ในขณะเดียวกัน แรงขับเคลื่อนที่ไม่อาจหยุดยั้งของคนรุ่นใหม่และสิ่งต่างๆ ซึ่งคงหยุดอยู่กับที่ของคนรุ่นเก่าก็กำลังบดขยี้กันและกันไปจวบจนจุดสิ้นสุดของกาลเวลา

__________________

Adam Birkan เป็นช่างภาพอิสระและนักเล่าเรื่องด้วยภาพ ที่ได้รับการรับเลือกให้เป็นหนึ่งใน Magnum’s 30 Under 30 และ PDN 30 เขาจบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ด้านการสื่อสารด้วยภาพจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ โดยปัจจุบัน Birkan อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และกำลังทำงานทั้งโปรเจ็กต์ระยะยาวและระยะสั้น ผลงานส่วนตัวของเขามักจะมองภาพรวมของปัญหาเชิงสังคมและเศรษฐกิจ และให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการเปรียบเทียบทั้งในความหมายโดยตรงและเชิงอุปมา และการมองหาช่วงเวลาอันละเอียดอ่อนและแทบไม่มีใครสังเกตเห็น ที่เมื่อรวมกันแล้ว เผยให้เห็นภาพกว้างของอุตสาหกรรมอันเร่งรัดและความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ

adambirkan.com
instagram.com/adambirkan

PHOTO ESSAY: GENESIS

TEXT & PHOTO: THANNOP AUTTAPUMSUWAN

(For English, press here

เคยไหม ที่เราเดินทางไปสถานที่หนึ่ง มองออกไปรอบตัวมีแต่สิ่งที่สวยงามถูกจัดวางได้อย่างน่าประหลาดใจ จนเกิดความสงสัยว่า ธรรมชาติเหล่านี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเองใช่ไหม หรือบางทีโลกเราอาจจะถูกออกแบบและสร้างโดยใครบางคนรึเปล่า?

“IN THE BEGINNING GOD CREATED THE HEAVEN AND THE EARTH”

สมัยเด็กเคยสงสัยว่าโลกนี้เกิดขึ้นมายังไง พอโตขึ้นมาหน่อยก็มีทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มากมายที่มาอธิบายการเกิดของโลกใบนี้ แต่ทฤษฎีเหล่านั้นก็ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจริง

แต่มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ที่ขายดีที่สุดในโลกตลอดกาล ถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมายหลายภาษา นั่นคือ ‘พระคัมภีร์ไบเบิล’ ประกอบด้วยหนังสือย่อยทั้งหมด 66 เล่ม และเล่มแรกชื่อว่า ‘ปฐมกาล’

ในบทที่ 1 ข้อ 1 กล่าวว่า “ในปฐมกาล พระเจ้าทรงเนรมิตฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก” กล่าวถึงพระเจ้าทรงเนรมิตสร้างโลกใน 6 วัน พอได้ศึกษาและทำความเข้าใจแต่ละข้อความ จึงเกิดเป็นภาพถ่ายชุดนี้ขึ้น

‘ปฐมกาล’ การสร้างโลกใบนี้ของพระเจ้า

เกิดขึ้น…ตั้งอยู่…ดับไป

_____________

ธัญนพ อัตภูมิสุวรรณ์  จบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันเป็นช่างภาพสถาปัตยกรรม และทำงานส่วนตัวด้วยกล้องฟิล์มขาวดำ และกระบวนการในห้องมืด

facebook.com/gapjaa
instagram.com/gapjaa_naja
instagram.com/whydoyoulovefilm