Tag: Integrated Field (IF)

THAILAND IRRIGATION PARK

Location: Nonthaburi, Thailand
Building Type: Master Plan Design
Architect: IF (Integrated Field)
   / Cloud-floor
Area: 95.5-acre

โครงการอุทยานชลประทานไทย เริ่มต้นขึ้นจากแนวคิดของกรมชลประทานที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการน้ำ และต้องการเปลี่ยนพื้นที่สนามกอล์ฟชลประทาน ปากเกร็ด ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเป็นพื้นที่รับน้ำของจังหวัดนนทบุรีในช่วงที่มีระดับน้ำท่วมสูงได้ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ “น้ำ” ในทุกระดับตามแผนผังเมืองแม่บท ไปพร้อมๆ กับการเป็นพื้นที่สาธารณะที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน

จากโจทย์ข้างต้น IF (Integrated Field) และ Cloud-floor ได้ทำการออกแบบผังแม่บท ปรับปรุงพื้นที่ 239 ไร่ ของสนามกอล์ฟชลประทาน ด้วยการแบ่งพื้นที่ใช้สอยของโครงการออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ โดยส่วนแรกคือ ‘สวนอุทยานชลประทานไทย’ สวนสาธารณะที่ผู้ออกแบบตั้งใจสอดแทรกความรู้เรื่องน้ำที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ผ่าน Water Pavilion ซึ่งรอบล้อมไปด้วยพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ส่วนสันทนาการต่างๆ และแปลงนา โดยผลผลิตที่ได้จากแปลงนาจะถูกนำไปแปรรูปก่อนที่จะนำมาจัดจำหน่ายในตลาดนัดเกษตรกร ส่วนที่สองคือ ‘พิพิธภัณฑ์ชลประทานไทย’ ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับใช้ถ่ายทอดเรื่องราวของการชลประทาน ครอบคลุมตั้งแต่ประวัติศาสตร์การชลประทาน พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับชลประทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ไปจนถึงวิวัฒนาการของการชลประทานในอนาคต

ส่วนที่สามถูกเรียกว่าพื้นที่ ‘อนาคตของการเกษตร’ ซึ่งเป็นเหมือนห้องทดลองกลางแจ้งของโครงการ ประกอบด้วย ส่วนนวัตกรรมการเกษตร ซึ่งใช้เป็นพื้นที่เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตรต่างๆ ตั้งแต่โซลาเซลล์ โดรน ไปจนถึงนวัตกรรมต่างๆ ในอนาคต ในขณะที่ส่วนสุดท้ายซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ด้านในสุดของโครงการอุทยานชลประทานไทย คือ ‘ห้องครัวโครงการเกษตรพอเพียง’ ทำหน้าที่จำลองผลผลิตของระบบนิเวศทางความรู้ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ การชลประทาน และการเกษตร โดยออกแบบให้เกิดระบบนิเวศทางการเกษตรแบบยั่งยืนและพอเพียง

ทุกๆ ส่วนของโครงการถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้ผ่าน 3 เส้นทางคู่ขนาน (main circulation) ได้แก่ เส้นทางศึกษาทางวัฒนธรรม เส้นทางศึกษาน้ำกับชลประทาน และเส้นทางศึกษาทางการเกษตร โดยแต่ละเส้นทางถูกร้อยเรียงและเชื่อมโยงจุดต่างๆ ไว้อย่างกลมกลืนกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการชลประทาน ควบคู่ไปกับการตระหนักและสังเกตเห็นถึงความสำคัญของการจัดการน้ำ ภายในเมืองที่ศักยภาพของการชลประทานยังคงเป็นเครื่องหมายคำถาม และองค์ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่รับน้ำ ชะลอน้ำ และระบายน้ำ ยังต้องการการส่งต่อออกไปให้กับสาธารณชนอยู่อีกมาก

With the vision and acknowledgement in the importance water management, the Royal Irrigation Department initiates Thailand Irrigation Park with the desire to turn the area into a public space whose new program will serve as a learning center that provides a comprehensive knowledge about water. With the geographical location that is the water basin of Nonthaburi province’s Pakkred district, the area, which was once occupied by the Royal Irrigation Golf Course, is developed following the master plan to become a public space that will contribute to the sustainable development of the quality of living of the people in the local community.


From the aforementioned brief,  IF (Integrated Field) and Cloud-floor realize the master plan that encompasses the development of the expansive 95.5-acre land of the golf course by dividing the functional area into 4 sections. The first part houses ‘Thailand Irrigation Park’, a public park that will provide the knowledge about water and human life through the program of Water Pavilion surrounded by public spaces and recreational areas including the project’s organic paddy fields.

The produces harvested from the fields will be processed and sold at the project’s farmers’ market. The second section of the program houses Thailand Irrigation Museum with the permanent exhibition showcasing the history and story of irrigation in Thailand, the royal initiative projects of King Bhumiphol Adulyadej the Great and the evolution of irrigation in Thailand from, past, present to the future.

The third part of the program is called ‘The Future of Agriculture’. This outdoor experimental ground of the project consists of the Agricultural Innovation section that acts as a classroom for different agricultural technologies such as solar cell, drone including other future innovations. The last part is situated further to the farthest end of the program and is referred to as The Kitchen of Self-Sufficient Agricultural Projects with the functional program that simulates the outcomes of the project’s Ecosystem of knowledge, which nurtures comprehensive know-hows about water, irrigation system and agriculture designed to be the simulation of a sustainable and self-sufficient agricultural Ecosystem.

Every part of the program of Thailand Irrigation Park can be accessed via three main circulations; the Cultural Route, Water and Irrigation Study Route and Agricultural Study Route, seamlessly linking different areas of the project together to enable users to participate in different activities. Through this experience, the users are able to participate in different activities taking place inside the project as they learn the importance of water management in the city where the potential of irrigation is still a question unanswered and the body of knowledge about water basin, water flow reduction and drainage are the matters that need to be made realized to the public. 

integratedfield.com
cloud-floor.com