All posts by admin

KITTIYA ARCHITECTS

PHOTO COURTESY OF KITTIYA ARCHITECTS EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

WHO
สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม

WHAT
Kittiya Architects เป็นบริษัทสถาปนิกที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ที่ทำงานครอบคลุมรูปแบบและขนาดที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม งานออกแบบภายใน งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ งานออกแบบภูมิทัศน์ และงานออกแบบสิ่งแวดล้อม จุดประสงค์ของการออกแบบของเราคือสร้างให้โปรเจ็คต์แต่ละชิ้นนั้นมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นผ่านการควบรวมวิธีการทำงานเชิงสถาปัตยกรรมและการวิจัยนิเวศน์วิทยาวัฒนธรรมเพื่อขยายขอบเขตของความเป็นไปได้ในการสร้างความยั่งยืน เราทำงานใกล้ชิดกับทีมนักสร้างสรรค์ ลูกค้า และผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาด้านต่างๆ ในการพัฒนาโปรแกรมและโซลูชั่นที่เป็นไปได้จริงพร้อมทั้งมีความเป็นนวัตกรรม ที่ให้ความสำคัญกับผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

Kittiya Architects ก่อตั้งโดย กิตติยา ชูวรรธนะปกรณ์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ ที่มีประสบการณ์ทำงานกับ Robert G. Boughey and Associates Co., Ltd และ บริษัท สถาปนิก จิรากร ประสงค์กิจ จำกัด ก่อนที่จะเดินทางไปเรียนต่อปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมที่ Stuart Weitzman School of Design, University of Pennsylvania school of Design  ในปี 2010 ปัจจุบันเธอเป็นสถาปนิกขึ้นทะเบียนเพื่อการปฏิบัติวิชาชีพรับรองโดยสภาสถาปนิกแห่งประเทศไทย

Read More

NAKROB MOONMANAS

art4d สนทนากับ นักรบ มูลมานัส ว่าด้วยการไปเป็นศิลปินในพำนัก 1 ปีในกรุงปารีส และการสำรวจอาณาบริเวณใหม่ทั้งในตัวงานและในตัวเอง

Read More

GOLDEN PIN DESIGN AWARD 2021

กลับมาอีกครั้งกับการประกาศรางวัลของเวทีประกวดระดับนานาชาติอย่าง Golden Pin Design Award 2021 ที่มาในธีม UPLOAD มาติดตามผลงานส่วนหนึ่งที่น่าสนใจในหมวดหมู่ ‘Golden Pin Design Award Best Design’ ที่ได้รับคัดเลือกจากผลงานออกแบบกว่า 8,000 รายการใน 28 ประเทศทั่วโลก

Read More

SUQ AL-QAYSARIYA

รอยเว้าแหว่งในผลงานนี้จาก Studio Anne Holtrop ไม่ได้เกิดจากการโดนทุบหรือการผุพังไปตามกาลเวลาแต่อย่างใด แต่เป็นร่องรอยจากความตั้งใจ ตามแนวคิด ‘material gesture’ ของสตูดิโอที่นำวัสดุมาใช้ในรูปแบบใหม่ที่สร้างสรรค์

Read More

SPLENDOUR SOLIS

PHOTO COURTESY OF SPLENDOUR SOLIS

(For English, press here)

WHO
สเปลนเดอร์ โซลิส จำกัด

WHAT
เราเป็นทั้งสถาปนิก ครีเอทีฟและนักออกแบบ เปลี่ยนไปตามที่โจทย์ต้องการให้เราเป็น ถนัดคิดและสร้างคำตอบด้วยงานออกแบบ และบางครั้งก็มากกว่างานออกแบบ

Read More

SERPENTINE PAVILION 2021

SPEAKS WITH OUR SPECIAL REPORTERS THONGCHAI BUSARAPAN AND NUNE TAWEESRI WHO HAD THE SPECIAL OPPORTUNITY TO VISIT THIS YEAR ITERATION OF SERPENTINE PAVILION DESIGNED BY COUNTERSPACE UNDER THE CONCEPT OF ‘PAST AND PRESENT PLACES OF MEETING, ORGANIZING AND BELONGING ACROSS LONDON’ Read More

SMG | GUARDIAN GLASS

SMG | GUARDIAN GLASS

LEARN MORE ABOUT SMG (SOLAR MANAGEMENT GLASS), ARCHITECTURAL GLASS FOR SOLAR HEAT FILTRATION AND ENERGY EFFICIENCY IN THE BUILDING FROM GUARDIAN GLASS

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART

(For English, press here)

กระจกที่พบเห็นนั้นมีอยู่หลายประเภทและหลากหลายรูปแบบที่รองรับการใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งในหลายๆ ครั้ง งานออกแบบก็ขึ้นอยู่กับความสวยงามและคุณภาพของวัสดุที่เลือกใช้ เรามักจะเห็นอาคารสูงมากมายในเมืองใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นเปลือกอาคาร คอยบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ภายใน และในหลายๆ ครั้ง กระจกก็เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่สื่อถึงแนวความคิดของงานสถาปัตยกรรมได้เช่นกัน

Photo courtesy of Shigeru Ban Architects

Tainan Art Museum ที่ออกแบบโดยสถาปนิกระดับโลก Shigeru Ban เป็นหนึ่งในโปรเจ็คต์ที่ออกแบบให้มีคอร์ตกลางอาคารเพื่อรับแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายใน ด้วยโครงสร้างที่น่าสนใจและการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อให้วัสดุต่างๆ สื่อสารออกมาได้ดีที่สุด กระจก SMG (Solar Management Glass) จาก Guardian Glass กระจกโฟลตประหยัดพลังงานถูกเลือกให้เป็นส่วนประกอบหลักของงานชิ้นนี้ ที่คอยเปิดรับแสงธรรมชาติ แต่ยังคงช่วยสร้างสมดุลเรื่องของการใช้พลังงานและควบคุมอุณหภูมิภายในได้

Photo courtesy of Shigeru Ban Architects

ด้วยคุณสมบัติในการกรองความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้สูง ที่ยืนยันได้ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์ (SHGC) เท่ากับ 0.54 หมายถึงความร้อนจากแสงอาทิตย์สามารถผ่านได้เพียง 54% เท่านั้น ซึ่งดีกว่ากระจกโฟลตเขียวที่เราพบเห็นกันทั่วไป นอกจากนี้ยังกรองรังสี UV ให้ผ่านเข้าสู่ตัวอาคารได้เพียง 22 % ทำให้ป้องกันความเสียหาย ความเสื่อมของวัสดุต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเฟอร์นิเจอร์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงการลดการใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลงเมื่ออุณหภูมิภายในไม่สูงจนเกินไป ในขณะเดียวกันก็ยังคงให้แสงสว่างส่องเข้ามาภายในอาคารได้ถึง 70% ไม่เหมือนกับการติดฟิลม์แบบที่พบเห็นได้ทั่วไป ทำให้ยังคงมองเห็นทิวทัศน์ได้ชัดเจนมากกว่าการติดฟิล์มกันความร้อนและทดแทนการใช้กระจกโฟลตใสแบบปกติได้

*หมายเหตุ: ตัวเลขแสดงประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนข้างต้น เป็นคุณสมบัติของกระจก SMG 6 มิลลิเมตร

นอกจากนี้บางประเภทอาคารที่ต้องการความปลอดภัยพิเศษ เช่น อาคารสำนักงาน อาคารสูงสำหรับพักอาศัย กระจก SMG นั้น สามารถนำไปทำเป็นกระจกนิรภัยแบบลามิเนต (Laminated Glass) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในกรณีที่กระจกแตกได้รับความเสียหาย หรือสามารถทำเป็นกระจกเทมเปอร์ (Temper Glass) หรือฮีทสเตรงเทน (Heat Strengthened Glass) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวกระจกได้ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในกรณีอาคารสูงที่มีกฎหมายควบคุมได้เป็นอย่างดี

จากคุณสมบัติที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ด้วยมาตรฐานของค่า LSG (Light to Solar Gain) และ SHGC (Solar Heat Gain Coefficient) ทำให้กระจก SMG ผ่านการรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ด้านการประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง (ฉลากเบอร์ 5) ทำให้มั่นใจได้ว่าอาคารที่เราออกแบบนั้น หากเลือกใช้กระจกที่มีคุณสมบัติอย่าง SMG แล้ว จะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากกว่าเดิม และนี่เป็นเพียงหนึ่งในผลิตภัณฑ์คุณภาพจาก Guardian Glass ที่ยังคงมีกระจกหลากหลายรูปแบบที่น่าสนใจให้ติดตามในบทความถัดๆ ไป

และในบทความฉบับหน้าจะพาทุกท่านเจาะลึกการสัมภาษณ์สถาปนิกชาวญี่ปุ่น ผู้ออกแบบโปรเจ็คต์ Tainan Art Museum ในไต้หวัน พร้อมพาชมส่วนต่างๆ ในอาคารอีกมากมายที่น่าสนใจ

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.guardianglass.com

BBWORKSPACE

PHOTO CREDIT AS NOTED

(For English, press here)

WHO
BBWORKSPACE ก่อตั้งโดย จรัสพงศ์ เชื้อพูล (บอม) และ กชกร ภิระบรรณ (บลู)

WHAT
ให้บริการด้านงานออกแบบสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายใน โดยออกแบบบนพื้นฐานความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก และเราจะเสริมส่วนต่างๆ บนพื้นฐานด้านการออกแบบ รายละเอียดที่น่าสนใจ เพื่อให้งานนั้นๆ ลงตัวและกลายเป็นงานที่บ่งบอกตัวตนของลูกค้า

Read More