หมวดหมู่: BITES
NAKORNSANG STUDIO
โฮมสตูดิโอซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากบ้านธรรมดา สู่บ้านของ ‘ช่างไม้’ ที่มีความใส่ใจในพื้นที่ การใช้สอย และดีเทลของชิ้นงานไม้ตามฉบับ custom-made
TAWEECHOB DESIGN
ศิลปินนักวาดภาพประกอบและดีไซเนอร์ที่ชื่นชอบในการทดลองทำงานหลากแขนง บนเป้าหมายของการเป็น node ที่พร้อมเชื่อมโยง ช่วยเหลือ และแบ่งปันผู้อื่นให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
VIRADASTUDIO
TEXT COURTESY OF VIRADASTUDIO
PHOTO CREDIT AS NOTED
(For English, press here)
WHO
Viradastudio บริษัทออกแบบที่เน้นงานออกแบบตกแต่งภายใน
WHAT
ผู้ให้บริการ ด้านการตกแต่งภายใน ตั้งแต่บ้านพักอาศัย แรกเริ่มเราเน้นงานที่อยู่อาศัยเพราะอยากให้ความสุขของผู้คน เริ่มต้นที่บ้านของเขา แต่ต่อมาได้ขยายงานออกแบบด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ รีสอร์ต Retails Cafe ร้านอาหาร สำนักงาน โรงแรม
WHEN
เริ่มจัดตั้งบริษัทเมื่อ 2019
WHERE
ตอนนี้เราตั้งออฟฟิศอยู่ที่กรุงเทพฯ
WHY
เราเชื่อว่าเรามีส่วนช่วยทำให้ผู้คนมีความสุขจากพื้นที่ส่วนตัวไปถึงพื้นที่ส่วนรวม
คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
“ความคิดสร้างสรรค์” ในมุมมองของเราคือ การหาทางออก การสร้างความเป็นไปได้ให้เกิดขึ้น
ขอสามคำให้กับหลักการในการทำงานแต่ละครั้งของคุณ
ความสุข | ความเข้าใจ | ความเป็นไปได้
คุณคิดว่าอะไรคือความสนุกที่สุดของการทำงานออกแบบภายใน
การแก้ปัญหา การแก้โจทย์ในแต่ละงาน เพื่อตอบความต้องการของแต่ละงานนั้นๆ
โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
ทุกงานที่เมื่อจบเราได้สร้างคุณค่าอะไรบางอย่าง และความสุขให้แก่เจ้าของงานและทีมงาน
คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
ไปวิ่ง โดยเฉพาะการไปวิ่งในสวน
ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
ถ้าเป็นไปได้ คงเป็น Christian Liaigre เพราะชื่นชมในผลงานและสไตล์
STUDIO FINE ART
TEXT & PHOTO COURTESY OF STUDIO FINE ART
(For English, press here)
WHO
STUDIO FINE ART เป็นบริษัทออกแบบบริษัทเล็กๆ บริษัทหนึ่ง
WHAT
เราให้บริการงานออกแบบตกแต่งภายใน และกำลังเริ่มรับงานสถาปัตย์
WHEN
บริษัทเราเปิดมาได้ 5 ปี
WHERE
เราอยู่กันที่ ประดิพัทธ์ 17 โครงการ 33 Space
คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
สำหรับเรา “ความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดเพื่อแก้ปัญหา”
อะไรคือแรงบันดาลใจและหลักการในการทำงานแต่ละครั้งของคุณ
แรงบันดาลใจตอนนี้ คือการเห็นงานทุกงานที่ส่งมอบลูกค้าแล้ว ลูกค้ามีความพึงพอใจ ทำให้อยากพัฒนางานต่อๆไปให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
ขอสามคำเพื่ออธิบายหลักการในการทำงานของคุณ
Do Less But Do Good
โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
ถ้าพูดถึงความภูมิใจแล้ว ทุกๆ งานให้ความรู้สึกภูมิใจแตกต่างกันไปครับ บางงานเราเองก็ได้ความรู้ใหม่ๆ จากลูกค้า รวมถึงมิตรภาพดีๆ บางงานเราได้บทเรียนและความรู้เพิ่มเติมจากทีมช่าง ทำให้ในทุกๆ งานมีความประทับใจ และความภูมิใจแตกต่างกันไปครับ สุดท้ายแล้ว เมื่อลูกค้าถือกระเป๋าเดินเข้าบ้านด้วยรอยยิ้ม ทุกหลังคือความภูมิใจของผมที่สุดแล้ว
คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
นั่งดื่มกาแฟ หรือขับรถไปเรื่อยๆ
มีสตูดิโอ ดีไซเนอร์ ครีเอทีพไหนที่คุณชื่นชอบผลงานเป็นพิเศษบ้างหรือเปล่า
พี่ด้วง ดวงฤทธิ์ บุนนาค DUANGRIT BUNNAG ARCHITECT LIMITED (DBALP) ติดตามผลงานของพี่ด้วงมาตั้งแต่เริ่มทำงานออกแบบในปีแรกเลย เพราะชอบความเรียบง่ายแต่ดูดี เส้นสายและการใช้สีในงานออกแบบเรียบง่ายดูสะอาดตาดี อีกคนหนึ่งคือ พี่จูน Jun Sekino Junsekino Architect and Design งานพี่จูนให้แรงบันดาลใจ เรื่องการใช้วัสดุ และการนำเสนอ ด้วยความเรียบง่าย แต่มีเสน่ห์ด้วยการสร้าง contrast ระหว่างวัสดุ ทำให้งานดูน่าสนใจมากขึ้น รวมถึงการนำเสนอภาพ 3Dที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ดูแล้วเคลียร์เลยในภาพเดียวเลย
SEAM DESIGN & ARCHITECTS
TEXT & PHOTO COURTESY OF SEAM DESIGN & ARCHITECTS EXCEPT AS NOTED
(For English, press here)
WHO
Seam Design & Architects
WHAT
บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและบริบท ทั้งภายนอกและภายใน Seam หรือที่แปลว่า ‘รอยต่อ’ นี้ สำหรับเราเชื่อว่าไม่ใช่เพียงรอยต่อของสิ่งที่จำต้องได้ในงานสถาปัตยกรรม เช่น วัสดุ หรือ พื้นที่อย่างเดียว แต่เชื่อว่ายังหมายถึงรอยต่อของสิ่งที่จับต้องไม่ได้อื่นๆ ที่สำคัญต่องานสถาปัตยกรรมด้วย
WHEN
เริ่มทำงานสถาปนิกมาตั้งแต่ปี 2014 จนปี 2020 ที่ก่อตั้งบริษัทด้วยชื่อ Seam อย่างเป็นทางการ
WHERE
กรุงเทพฯ ประเทศไทย
WHY
เพราะเชื่อว่าสถาปัตยกรรม เป็นสิ่งที่ออกแบบโดยมนุษย์ สร้างมาเพื่อมนุษย์ และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ด้วยกัน
คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
ความคิดสร้างสรรค์ คือจุดสูงสุดและการตกผลึกจากกระบวนการของความรู้ การเป็นจุดเริ่มต้นของความใหม่บางอย่าง และความเป็นต้นแบบ
อะไรคือแรงบันดาลใจและหลักการในการทำงานแต่ละครั้งของคุณ
อาจารย์ที่เคารพสมัยเรียนท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า สถาปัตยกรรม เป็นมากกว่าแค่งานที่เห็นเป็นรูปธรรม แต่มีมิติอื่นที่เป็นนามธรรมร่วมอยู่ด้วยเสมอ และอาชีพสถาปนิกเป็นวิชาชีพที่ได้สิทธิที่ในการเริ่มต้นสร้างสิ่งดังกล่าวนี้ ซึ่งสำหรับผมคิดว่า เป็นแรงบันดาลใจอย่างมากที่ได้รับเกียรตินั้น คือ เกียรติของการเป็นผู้สร้าง
ขอสามคำเพื่ออธิบายหลักการในการทำงานของคุณ
คน I ธรรมชาติ I สิ่งที่อยู่ตรงกลาง
โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
ภูมิใจทุกงาน แต่อาจจะเป็นในจุดต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน ด้วยประเด็นที่น่าสนใจแตกต่างกัน
คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
เปิดหนังสือที่สะสมไว้ ตีเทนนิส ท่องเที่ยว พูดคุยกับผู้คน เพราะบางครั้ง การที่ได้ถอยห่างจากงานบ้าง อาจจะช่วยทำให้เห็น ภาพกว้างหรือมุมของงานที่กำลังทำอยู่ด้วยหัวสมองที่ปลอดโปร่งมากขึ้น
มีสตูดิโอ ดีไซเนอร์ ครีเอทีพไหนที่คุณชื่นชอบผลงานเป็นพิเศษบ้างหรือเปล่า
Louis Kahn และ Kerry Hill เป็นสองท่านที่มีอิทธิพลทางความคิด และงานออกแบบสถาปัตยกรรมของเราอย่างมาก
สำหรับคำถามข้อสุดท้าย เราเปิดพื้นที่ให้คุณได้แนะนำตัวกับคนที่อยากรู้จักคุณมากขึ้น
พวกเราเป็นกลุ่มสถาปนิกขนาดย่อม ที่พยายามสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ตอบรับความต้องการของผู้คน จากความถนัด ความสามารถและประสบการณ์ มาปรับใช้ให้ได้เหมาะสมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเชื่ออย่างยิ่งว่า สถาปัตยกรรม จะเป็นรอยต่อ เชื่อมประสาน และสร้าง คุณค่าบางอย่างสำหรับคนไม่มากก็น้อย
LANA DESIGN STUDIO
TEXT & PHOTO COURTESY OF LANA DESIGN STUDIO
(For English, press here)
WHO
กลุ่มคนเล็กๆ ที่ตั้งใจทำงานออกแบบเพื่อการเติบโตของงานและภายในตัวเอง
WHAT
เริ่มต้นจากแลนด์สเคปงานเล็กจิ๋วจนต้องทำรับเหมาเองและไหลมามีโอกาสได้ทำพร้อพอินทีเรียบ้าง แลนด์สเคปกึ่งอินทีเรียบ้าง แลนด์สเคปร่วมกับ sculpture team บ้าง หรือจะเรียกว่าเราขายสไตล์กับงานได้มั๊ยนะ
WHEN
เริ่มรับงานตั้งแต่ปี 2014 ก่อนที่จะมีชื่อว่า ลาน่า
WHERE
เราอยู่กันคนละที่แต่ทำงานออนไลน์และออนไซท์งาน
WHY
มันอาจจะมาตั้งแต่ที่เด็กๆ ดูหนังอวกาศแล้วอยากออกแบบสเปซกับของเจ๋งๆเหมือนในหนัง และโตมากับพี่เลี้ยงที่รักการปลูกต้นไม้ แม่ที่ชอบนั่งกินไวน์ที่สนาม มันอาจจะเป็นส่วนผสมนี้ที่ทำให้เรากลายเป็นแลนด์สเคปดีไซเนอร์แล้วกลายมาเป็นลาน่าก็ได้
ส่วนความโตมาอย่างอิสระของเรา ก็เลยทำให้ลาน่าเป็นสตูดิโอในรูปแบบที่อิสระ ทั้งวิถีการทำงานและการค่อนข้างไร้รูปแบบของการรับงาน คือเราสนุกที่จะทำหมด
คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
การปล่อยความคิดไหลเข้าสู่ flow แบบลืมข้อจำกัดไปก่อน
อะไรคือแรงบันดาลใจและหลักการในการทำงานแต่ละครั้งของคุณ
แรงบันดาลใจมันมาได้จากทุกอย่าง จากการใช้ชีวิต จากเสื้อผ้า จากเพื่อนที่เจอ หนังที่ไปดู อาจจะโผล่เข้ามาตอนขับรถ หรือแค่ตอนว่างๆ ซึ่งมันไร้ข้อจำกัด แค่เราอาจต้องใช้ชีวิตเพื่อพบเจอสิ่งต่างๆและอยู่กับตัวเองให้พอ … เพื่อให้มีช่องว่างให้มันโผล่เข้ามาได้ด้วย
โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
อะไรที่พามันมาถึงจุดที่ได้ออกแบบ หรือจนสร้างเสร็จ ซึ่งใช้ทั้งทีมเรา ทีมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ลูกค้าที่ลุยมาด้วยกันจนได้ออกมาเป็นผลงาน มันน่าภูมิใจที่มันส่งผ่านออกมาได้ ไม่ว่ามันเหมือนจุดเริ่มต้นหรือมันกลายร่างมาไกลแล้วก็ตาม แต่มันก็คือผลงานร่วมกันของทุกคน ซึ่งมันเจ๋งมากแล้ว
ต้นไม้อะไรที่คุณชอบที่สุด เพราะอะไร?
เปลี่ยนไปตลอดเลยค่ะ ตอบข้อนี้ไม่ได้ 555
มีสตูดิโอ ดีไซเนอร์ ครีเอทีพไหนที่คุณชื่นชอบผลงานเป็นพิเศษบ้างหรือเปล่า
พี่ โน้ส อุดม ค่ะ แกเหมือนมีสีทุกสีอยู่ในตัวผสมกันจนเท่และลึกไปหมด เหมือนกล่องที่อัดแน่นและเรียนรู้ได้ไม่สิ้นสุด และตอนนี้แกก็ดูผ่อนคลายเหมือนมีบทใหม่ของชีวิตที่น่าจะเป็นเหมือนหนังสือเล่มที่คงโชคดีจังถ้าเราได้อ่าน และถ้าย้อนกลับไปคำถามว่า แรงบันดาลใจจากไหน ตอนไปดูงานนิทรรศการแก ก็เหมือนได้สิ่งนี้มาแบบท่วมท้นเลยวันนั้น พี่โน้สคงเป็นคำตอบนี่ค่ะ
LIGHT IS
TEXT & PHOTO COURTESY OF LIGHT IS EXCEPT AS NOTED
(For English, press here)
WHO
LIGHT IS ถือกำเนิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของเราที่จะสร้างผลงานที่ขับเน้นองค์ประกอบเชิงทัศนะ และยกระดับประสบการณ์การรับรู้ของผู้ใช้ผ่านการใช้แสงสว่างและความมืด
WHAT
ที่ปรึกษาด้านการออกแบบแสงที่ทำงานทุกสเกล ตั้งแต่พื้นที่ภายในของที่พักอาศัย พื้นที่ค้าปลีก โรงแรม รีสอร์ท ไปจนถึงโครงการขนาดใหญ่เช่นอาคารสูง ภูมิสถาปัตยกรรม และพื้นที่เมืองต่างๆ
WHEN
LIGHT ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2019
WHERE
เราเป็นทีมนักออกแบบที่ทำงานจากกรุงเทพฯ ที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการออกแบบกับโปรเจ็คต์ในหลากหลายประเทศ
WHY
เราเชื่อในความมหัศจรรย์ของแสง พลังของมวลสารที่อาจจะจับต้องไม่ได้ แต่สามารถแปรเปลี่ยนพื้นที่ธรรมดาๆ ให้เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ รังสรรค์การเดินทางแห่งความรู้สึกผ่านสถาปัตยกรรม
คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่นิยามไม่ได้ ทันทีที่เราไปให้คำนิยาม มันก็คือการไปสร้างกรอบให้มัน
อธิบายการทำงานของคุณด้วยคำสามคำ
ความรู้สึกตื่นเต้น I ความเรียบง่าย I ความพึงพอใจ
เวลาคิดงานไม่ออก คุณไปไหน หรือทำอะไร
ไปหาอะไรดื่ม
โปรเจ็คต์ใดที่คุณภูมิใจมากที่สุด
ทุกงานที่ทำให้คนยิ้มได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกในทีมที่ผ่านอะไรต่างๆ มาด้วยกัน
ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
Thomas Alva Edison กับ Nikola Tesla ที่แข่งขันกันพัฒนาและทำให้แสงประดิษฐ์เป็นนวัตกรรมแห่งยุคสมัยใหม่ที่เปลี่ยนโลกไปตลอดกาล เราอยากจะชวนพวกเขามากินกาแฟบนฟ้า ทั้งสองคนจะได้มองลงไปยังผืนดาวระยิบระยับจากแสงไฟบนโลกเบื้องล่าง แล้วเราก็อยากจะขอบคุณพวกเขาที่ทำให้เราได้ทำอาชีพนี้
EVERYDAY STUDIO
TEXT & PHOTO COURTESY OF EVERYDAY STUDIO
(For English, press here)
WHO
everyday studio เป็นทีมนักออกแบบที่สนใจการออกแบบพื้นที่ภายในและเฟอร์นิเจอร์เป็นหลัก ถ้าจะให้อธิบายว่า everyday studio เป็นใคร เราจะตอบว่า … เราเป็นทีมนักออกแบบที่ทำงานออกแบบภายใน ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และมีแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบเองภายใต้ชื่อ everyday
WHAT
เราตั้งใจสร้างสรรค์ผลงาน ให้เป็นงานที่ “ดี (Good)” เป็นงานที่มี “คุณภาพ (Qualified)” และเรียกได้ว่าเป็นงานที่ “สร้างสรรค์ (Creative)” … เราไม่ขีดเส้นจำกัดขอบเขตรูปแบบผลงานของเรา แต่เรารู้ตัวว่าเราถนัดออกแบบงานพื้นที่ภายในและเฟอร์นิเจอร์
WHEN
everyday studio ก่อตั้งในปี 2014 จนถึงปัจจุบันนี้ เรายังสนุกและรู้สึกว่ามีอะไรให้เรียนรู้ใหม่ๆ ได้ทุกวัน โจทย์ในการออกแบบก็เปลี่ยนแปลงไปทุกปี … เราจึงเชื่อว่า เรายังคงเป็นทีมนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมจะเรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานอยู่เสมอ
WHERE
ปัจจุบันนี้ everyday studio มีพื้นที่ทำงานและพื้นที่โชว์ผลงาน อยู่ในซอยสาธุประดิษฐ์ 21 การเข้าถึงไม่ได้สะดวกมากนัก แต่ก็ไม่ได้ลำบากมากเกินไป … นักออกแบบในทีมและลูกค้าของเราจึงต้องมีความตั้งใจระดับหนึ่งในการเข้าถึงพื้นที่ของเรา ::))
WHY
ทำไมเราถึงไม่เลือกการออกแบบภายใน หรือ การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้มีจุดขายและเป้าหมายที่ชัดเจน? เพราะเราเชื่อในความสัมพันธ์และความสำคัญของพื้นที่ภายในและเฟอร์นิเจอร์ … เราจะออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ดีได้ ถ้าเราเข้าใจบริบทของเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้น … และเราจะออกแบบพื้นที่ภายในที่ดีได้ ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจองค์ประกอบสำคัญในพื้นที่นั้นๆ
คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
ความคิดสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของงานออกแบบที่ดี … ทุกๆ งานออกแบบที่ดีเกิดจากความคิดสร้างสรรค์
อะไรคือแรงบันดาลใจและหลักการในการทำงานแต่ละครั้งของคุณ
แรงบันดาลใจในการทำงานแต่ละครั้งของเราจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรากำลังออกแบบและช่วงจังหวะเวลานั้นๆ แรงบันดาลใจของเรามีหลากหลายประเภท หลากหลายลักษณะ เช่น แรงบันดาลใจในการประยุกต์ใช้วัสดุในรูปแบบต่างๆ แรงบันดาลใจจากบริบทที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบ แรงบันดาลใจจากผู้ใช้งาน เป็นต้น
หลักการทำงานของเรา คือ ตั้งใจสร้างสรรค์งานออกแบบที่ดี โดยใส่ใจรายละเอียด และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานแบบเกินความคาดหวังเสมอ
โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
เราไม่สามารถเลือกโปรเจ็คต์ที่ภูมิใจมากที่สุดออกมาได้ เพราะเราภูมิใจในทุกโปรเจ็คต์ ในช่วงเวลาที่เราได้เข้าไปมีส่วนร่วม แต่ละโปรเจ็คต์ที่เราทำ มีโจทย์ ความท้าทาย และให้ประสบการณ์ การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน … รูปแบบของความภูมิใจที่เกิดขึ้นในแต่ละโปรเจ็คต์ก็แตกต่างกันไป … และเปรียบเทียบกันไม่ได้
นอกเหนือจากการทำงาน Interior design เราแอบเห็นว่าคุณยังทำงานในพื้นที่ของ Furniture design อีกด้วย จุดเริ่มต้นนั้นคืออะไร
จุดเริ่มต้น เกิดจากการทำงานออกแบบภายในและเห็นความสำคัญของเฟอร์นิเจอร์ที่มีผลโดยตรงต่อผู้ใช้งานและมีส่วนสำคัญกับความงามของ space … แต่ก็พบว่า เฟอร์นิเจอร์ที่ดี ที่สวย ที่เราอยากใส่ไปในงานออกแบบ ส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์นำเข้าจากต่างประเทศ ราคาสูงมากๆ หรือถ้าต้องการเฟอร์นิเจอร์ในราคาที่จับต้องได้ ก็จะเป็นงานลอกเลียนแบบ … เราจึงสนใจที่จะนำเสนอทางเลือกสำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่ดี ที่สวย มีเอกลักษณ์ และราคาสมเหตุสมผล
ช่วยแนะนำเฟอร์นิเจอร์ของคุณที่คุณชอบที่สุดหนึ่งตัวได้หรือเปล่า
เราชอบเฟอร์นิเจอร์ทุกตัวภายใต้แบรนด์ everyday ::))แต่ผลงานที่เราชอบมากที่สุด คือ เก้าอี้สตูล rocky family ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ everyday studio และทำให้คนจำเราได้ เราชอบกระบวนการออกแบบ rocky family ที่เริ่มต้นจากการออกแบบความรู้สึกของผู้ใช้งานเฟอร์นิเจอร์ มาก่อนการคิดถึงรายละเอียดและความเป็นไปได้ของการผลิต
มีสตูดิโอ ดีไซเนอร์ ครีเอทีพไหนที่คุณชื่นชอบผลงานเป็นพิเศษบ้างหรือเปล่า
หนึ่งในสตูดิโอที่เราชื่นชอบผลงาน คือ nendo ภายใต้วิสัยทัศน์และแนวทางของ Oki Sato ผู้ก่อตั้งสตูดิโอนี้ขึ้นมา ก่อให้เกิดผลงานการออกแบบหลากหลายขนาด หลากหลายประเภท ซึ่งมีแนวทางการออกแบบที่เรียบง่าย แต่คิดถึงรายละเอียดอย่างลึกซึ้ง … เราชื่นชอบความสามารถในการ simplify ของ nendo ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวมากมาย เบื้องหลังทุกงานออกแบบ ผ่านรูป graphic sketch ที่เรียบง่าย สะท้อนให้เข้าใจจุดเด่นของแต่ละผลงาน
สำหรับคำถามข้อสุดท้าย เราเปิดพื้นที่ให้คุณได้แนะนำตัวกับคนที่อยากรู้จักคุณมากขึ้น
นอกจาก งานออกแบบภายในและออกแบบเฟอร์นิเจอร์ภายใต้แบรนด์ everyday แล้ว สตูดิโอของเรายังทำงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์สำหรับโปรเจ็คต์ … ซึ่งช่วยให้โปรเจ็คต์นั้นๆ มีเฟอร์นิเจอร์ที่สอดคล้องกับพื้นที่ภายใน มีสัดส่วนที่เหมาะสม และผู้ใช้งานได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น
HANDIGRAPH
TEXT & PHOTO COURTESY OF HANDIGRAPH
(For English, press here)
WHO
ชื่อ Handigraph มาจาก handicraft + graphic เพราะงานที่เราทำคือการสร้างผลงานกราฟฟิกด้วยวิธีแบบแฮนเมด ซึ่งที่เราทำก็คือการแกะยางลบ เลยจะเรียกว่าเป็นสตูดิโอแกะตัวปั๊มยางลบก็ได้
WHAT
เป็นสตูดิโอทำงานคราฟต์แกะยางลบเป็นหลัก แล้วก็มาใช้ทำงานภาพพิมพ์ ลายที่แกะก็มีหลายอย่างแต่ส่วนใหญ่จะเป็นงานสถาปัตยกรรม ในประเทศไทยเพราะรู้สึกว่าน่าสนใจ
WHEN
จริงๆ เป็นงานอดิเรกที่ทำมาได้ประมาณ 10 ปีแล้ว ตั้งแต่สมัยเรียนสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ ตอนนั้นเริ่มต้นจากการที่เห็นผลงานแกะยางลบของต่างประเทศแล้วรู้สึกว่าน่าจะไม่ยาก เลยลองเริ่มทำดู (ถึงได้รู้ว่าจริงๆ แล้วก็ไม่ง่ายขนาดนั้น) ตอนแรกๆ ก็คือแกะลายทั่วๆ ไปก่อน ไม่ได้แค่งานสถาปัตยกรรม แต่ชอบแกะแบบเป็นคอลเลคชั่น เวลาปั๊มด้วยกันเยอะๆ แล้วน่ารักดี
WHERE
เพราะทำเป็นงานอดิเรก ก็เลยทำงานที่บ้านเป็นหลักในวันที่ว่าง ส่วนผลงานมีวางขายในเพจแล้วก็ที่มิวเซียมสยามนะ
WHY
เราเห็นที่คนต่างประเทศแกะยางลบให้เป็นลายต่างๆ ตาม culture แต่ละประเทศ แต่ของไทยยังไม่ค่อยมีที่เป็นงาน craft ลักษณะนี้ที่แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของบ้านเราด้วย เราเลยรู้สึกว่ามันน่าจะมีอะไรอย่างนี้บ้างในไทย
แล้วทำไมถึงเริ่มแกะตัวปั๊มเป็นลายสถาปัตยกรรม?
ส่วนตัวเป็นคนที่ชอบดูอาคารต่างๆ อยู่แล้ว แล้วงานสถาปัตยกรรมก็มักจะมีดีเทลรายละเอียดเฉพาะตัว โดยเฉพาะตึกเก่าแบบพวกยุคบ้านขนมปังขิง ที่มันจะมีดีเทลที่อาคารในยุคใหม่ๆ ไม่ค่อยมี แล้วพองานที่แกะมันมีเส้นสายดีเทลเยอะๆ งานมันดูสวยแล้วดูเต็มดีโดยตึกแรกๆ ที่ลองเริ่มแกะคือตึกพระที่นั่งอนันตสมาคม
ขั้นตอนไหนที่สนุกที่สุดและขั้นตอนไหนที่ยากที่สุด.
จริงๆ ทุกขั้นตอนก็มีความยากง่ายในตัว อย่างตอนหาแบบอาคารบางหลังก็หาแบบนานมาก เพราะเวลาแกะตึกต่างๆ เราจะแกะตาม proportion เลยต้องหาพวกแบบก่อสร้าง แบบรูปด้านอาคารให้ได้ก่อน ส่วนตัวเราเองเป็นคนที่ชอบประวัติศาสตร์แบบที่ไม่ได้อยู่ในตำราเรียนอยู่แล้วด้วย เลยสนุกกับการไปค้นคว้าหาข้อมูลแบบต่างๆ อย่างตอนนี้มีหลังหนึ่งที่อยากแกะมากคือบ้านบ้านบรรทมสินธุ์ทั้งๆที่เป็นบ้านสำคัญในยุคนั้นแต่ยังหาแบบไม่ได้สักที ส่วนขั้นตอนการแกะจริงๆต้องบอกว่าอันนี้คือท้าทายสุด เพราะพอวาดลายเสร็จแล้วมันดูละเอียดมาก เรามักจะคิดว่า มันจะรอดมั้ยเนี่ย อันนี้พังชัวร์ 555 ก็เรียกว่าเป็นขั้นที่ต้องคิดเยอะสุดว่าจะแกะออกมายังไงดี ตรงนี้เอาไงดี ลุ้นๆ กันไป ส่วนขั้นตอนที่ดูเหมือนจะง่ายแต่จริงๆยากคือตอนปั๊ม เพราะถ้าปั๊มแล้วเอียง กดไม่ดี ใบนั้นก็ต้องทิ้งเลย แล้วการปั๊มเป็นสิ่งที่ใช้ประสบการณ์ค่อนข้างเยอะ เคยมีเหตุการณ์ที่ปั๊มเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่หมึกดันซึมบนกระดาษเยอะมาก สรุปก็คือเป็นเพราะว่าวันนั้นฝนตก ทำให้ความชื้นสูง การปั๊มให้สวยเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ง่ายเลยแต่ว่าจริงๆ คือยากกว่าที่คิด
โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
ถ้าเท่าที่แกะมาตอนนี้ ชอบบ้านสุริยานุวัตรที่สุด พอแกะเสร็จแล้วรู้สึกว่าอาคารมีความน่ารักมาก เหมือนบ้านตุ๊กตาเลย ตัวบ้านเดิมเป็นของพระยาสุริยานุวัตรตั้งอยู่ที่ถนนหลานหลวง ตอนนี้เค้าเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปเข้าชมได้แล้วด้วย
อะไรคือหลักการทำงานของ Handigraph
ทำเพราะชอบ ทำเพราะรัก ทำเท่าที่เราสบายใจ ไม่ชอบความกดดันเลย เวลาที่เราทำเรารู้สึกชอบเวลาแกะไปคิดไปเรื่อยๆ มากกว่า ไม่รู้ว่า final จะออกมาเป็นยังไงด้วยซ้ำบางครั้ง เลยไม่อยากรับจ้างแกะยางลบ เพราะคนจ้างคงคาดหวัง ผลงานที่ขายก็เลยเป็นภาพพิมพ์ handprint จากยางลบที่เราแกะมากกว่า
ถ้าอยากฝึกแกะยางลบบ้างต้องทำอย่างไร
บางครั้งเราจะมีจัด workshop ตามที่ต่างๆ อย่างล่าสุดก็ที่มิวเซียมสยาม แต่หลักการง่ายๆ คือทำไปเรื่อยๆ เหมือนงาน craft ประเภทอื่นๆ หลักการไม่ยาก แต่การแกะให้ได้ดีต้องใช้ทักษะ ทำจนเคยชินทำจนชำนาญแล้วเราจะเห็นถึงรายละเอียดต่างในการทำผลงานแต่ละชิ้น ใช้ยางลบชนิดไหนดี หมึกอะไรดี กระดาษอะไรเหมาะ หรือแม้แต่ว่าจะเก็บยางลบอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ใช้การสังเกตและใช้เวลากับมัน
คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
กินขนม เวลาเหนื่อยมากๆและต้องการ heal ตัวเอง จะอยากกินของหวาน
ถ้าคุณสามารถเชิญศิลปินหรือครีเอทีฟ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
ไปกับคุณวราเนี่ยแหละ (สามีตัวเอง) เพราะว่าทำงานออกแบบทั้งคู่ เป็นคนที่เป็นคู่คิด เป็นที่ปรึกษา เป็นคนที่เท่าทันกัน เป็นคนที่รู้ใจไม่ว่าจะเป็นตอนที่เราพูด หรือเราไม่พูด แล้วก็เป็นคนที่อยู่ด้วยแล้วสบายใจสุด เรียกว่าเป็น best partner ในทุกสถานการณ์