Tag: residence

ATELIER01

BANNPRU RESIDENCE by A01
BANNPRU RESIDENCE by A01

BANNPRU RESIDENCE

Atelier01 เป็นออฟฟิศออกแบบในสิงคโปร์ที่มีสาขาอยู่ทั่วภูมิภาคอาเซียน พวกเขายึดภาษาการออกแบบที่เรียบง่ายแต่ลุ่มลึก เลือกใช้องค์ประกอบต่างๆ มาจัดวางให้สเปซเกิดความสมดุล

Read More

THE INTERIOR | SCOPE LANGSUAN

สำรวจการออกแบบภายในของโครงการ SCOPE Langsuan ที่ออกแบบโดย Thomas Juul-Hansen อันเต็มไปด้วยความความหรูหรา ประณีต และความใส่ใจในรายละเอียดในทุกจุดแม้ว่าจะเล็กแค่ไหนก็ตาม

TEXT: JINTAWACH TASANAVITES
PHOTO COURTESY OF SCOPE LANGSUAN EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

SCOPE หลังสวน ได้รวบรวมและคัดสรรนักออกแบบที่มีชื่อเสียงในระดับโลกตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เพื่อสะท้อนความตั้งใจที่จะสร้างมาตรฐานระดับสากลให้กับการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยในโครงการ ทีมงานได้เลือก Thomas Juul-Hansen สถาปนิกชาวเดนมาร์กผู้อาศัยอยู่ในนิวยอร์ก ให้รับหน้าที่ผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรมภายในของโครงการนี้ และถึงแม้ว่านี่จะเป็นโปรเจ็คต์แรกในเอเชียของเขา แต่ Thomas Juul-Hansen มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับโลกของงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอันหรูหราในหลายโครงการ และอยู่เบื้องหลังการออกแบบโครงการที่พักอาศัย โรงแรม งาน retail และงานในเชิงพาณิชย์ในระดับไฮเอนด์ ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงอย่างแพร่หลายในนิวยอร์กและลอนดอน หนึ่งในตัวอย่างคือโครงการสูง 75 ชั้น One57 ซึ่งนับเป็นที่พักอาศัยที่มีราคาสูงที่สุดในนิวยอร์ก

SCOPE LANGSUAN 2 Bed Unit

งานของ Thomas Juul-Hansen มีรายละเอียดที่อยู่เหนือกาลเวลา แต่ในขณะเดียวกันก็มีความ sensitive หรือความไวต่อการตอบสนอง ในมิติของการออกแบบที่ได้รับอิทธิพลจากบริบทของพื้นที่ การเลือกและจัดการวัสดุที่มีความละเอียดลออ และการออกแบบในรายละเอียดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเจาะจงสำหรับโครงการหรือสถานที่นั้นๆ “ผมเชื่อว่าความหรูหราเป็นภาษาสากล ซึ่งเกิดจากการหลอมรวมกันของคุณภาพของแสง ที่ว่าง การใช้งาน และวัสดุ” Thomas ตอบคำถาม art4d ด้วยความมั่นใจเมื่อถูกถามว่าสำหรับเขาแล้วความหรูหรามีคำจำกัดความว่าอย่างไร “ในภาพรวม คำจำกัดความของความหรูหราในกรุงเทพฯ จึงไม่ต่างจากในนิวยอร์กหรือลอนดอน”

Thomas Juul-Hansen | Photo: Ketsiree Wongwan

การวางผังในงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายในของ SCOPE หลังสวน ได้รับการจัดลำดับการเข้าถึงบนพื้นฐานของการเดินทางของผู้อยู่อาศัย เริ่มต้นตั้งแต่ทางเข้าที่ล็อบบี้ชั้น 1 ที่โอ่โถง โดดเด่นด้วยแชนเดอเลียที่ทำจากหินโมราสีชมพู (Pink onyx) ซึ่ง Thomas เป็นผู้ออกแบบขึ้นใหม่ให้เข้ากับปริมาตรพื้นที่และการตกแต่งโดยรวมของทั้งส่วนล็อบบี้ ตัดกับเคานเตอร์ concierge หินอ่อนสีเขียวในรูปทรงที่เสมือนงานประติมากรรม ในเวลาเดียวกัน ความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ที่ได้รับความสำคัญในการออกแบบ โดยทางสัญจรของผู้อยู่อาศัยและของพนักงานได้รับการออกแบบให้แยกส่วนกัน เพื่อให้พื้นที่ส่วนกลางนั้นเป็นพื้นที่ที่เงียบสงบ ไม่แออัด รู้สึกไม่รีบร้อน และรู้สึกเป็นส่วนตัว เมื่อผ่านส่วนล็อบบี้เข้ามาภายใน ลิฟต์ส่วนตัวจะพาผู้อยู่อาศัยเข้าสู่ห้องพักของตัวเองโดยตรง โดยแต่ละห้องมีขนาดที่ผ่านการออกแบบมาจนมั่นใจว่าเป็นขนาดที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยอย่างสะดวกสบาย ตั้งแต่ 83-436 ตร.ม. และความสูงของพื้นถึงฝ้าเพดานที่ 3.5 และ 4 เมตร มิติของขนาดและความสูงที่ได้รับการออกแบบอย่างละเอียดนี้สร้างความรู้สึกของการอยู่อาศัยในพื้นที่ที่โอ่โถง ให้ความรู้สึกของการอยู่อาศัยภายในบ้านเดี่ยว ที่อยู่บนวิวและความหรูหราของการอยู่อาศัยใจกลางเมือง

ในมิติที่ลึกลงไปอย่างเรื่องความรู้สึกในสเปซ Thomas อธิบายเพิ่มเติมถึงแรงบันดาลใจที่เขาได้รับจากการมาเยี่ยมเยือนมหานครแห่งนี้ว่า “สำหรับผมแล้ว กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งแสงสว่างและความปลอดโปร่ง เป็นเมืองที่ให้ความรู้สึกของสภาพอากาศแบบร้อนชื้นที่เกิดจากความสว่างจากแสงแดดและสภาพอากาศที่โปร่งเบา ผมจึงเลือกใช้วัสดุและสีสันที่ให้ความรู้สึกสว่างและโปร่งสบายเพื่อสะท้อนถึงคุณลักษณะเฉพาะตัวเหล่านี้ของกรุงเทพฯ” ความรู้สึกเหล่านี้สามารถสัมผัสได้ทันทีเมื่อเข้ามาถึงภายในโครงการ โดยเฉพาะภายในห้องพักที่ไม่เพียงมีพื้นที่กว้างขวาง แต่ยังรวมไปถึงบานหน้าต่างที่ความสูงจากพื้นจรดฝ้าเพดานที่ช่วยเติมเต็มพื้นที่ด้วยแสงธรรมชาติ ประกอบกับการเลือกใช้วัสดุและชุดสีในโทนสว่างที่สร้างความปลอดโปร่งและชีวิตชีวาให้กับพื้นที่ภายใน ในความรู้สึกอบอุ่นอ่อนโยนและเรียบร้อยสะอาดตา

ในส่วนของงานเฟอร์นิเจอร์ SCOPE เลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่หลอมรวมฟังก์ชันการใช้งานชั้นเลิศเข้ากับรูปลักษณ์ที่สวยงามอย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะในส่วนครัวที่เลือกใช้แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนจากเยอรมนีอย่าง Gaggenau และ Bulthaup ที่มีรายละเอียดของความคิดอยู่ในทุกจุดของการออกแบบ ยกตัวอย่างเช่นส่วนท้อปเคาน์เตอร์ที่ทำจากหินทัชมาฮาลควอตไซต์สีขาวนวลและสีงาช้าง แผ่นหินเนื้อเดียวกันทั้งผืนนี้ช่วยมอบทั้งความสวยงาม พร้อมทั้งปกป้องการดูดซับน้ำทุกรูปแบบ ผู้อยู่อาศัยจึงสามารถใช้งานได้อย่างไร้กังวลว่าสีสันจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาจากการเปรอะเปื้อนและการใช้งานหนัก บริเวณโถงทางเข้า ตั้งแต่ทางเข้าห้องไปจนถึงห้องนั่งเล่นนั้นได้รับการออกแบบให้มีแนวตู้และชั้นสำหรับใช้เป็นที่เก็บของได้อย่างเหลือเฟือ พร้อมทั้งตู้รองเท้าที่ได้รับการออกแบบให้สามารถเก็บรองเท้าได้กว่าร้อยคู่ขึ้นไป รวมไปถึงเป็นที่ตั้งที่เรียบร้อยของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ อย่างเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้า ในส่วน walk-in closet เลือกใช้แบรนด์ LEMA จากอิตาลี โครงตู้เสื้อผ้ารูปตัว U นี้ตั้งอยู่ถัดจากห้องน้ำที่มีขนาดกว้างขวางกรุด้วยหินอ่อนสีขาวล้วน รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์อีกหลายชิ้นที่ Thomas เป็นผู้ออกแบบขึ้นใหม่ด้วยตัวเอง บนความใส่ใจในรายละเอียดสูงสุด “ผมได้เรียนรู้ว่าประสบการณ์การอยู่อาศัยทั้งหมดจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยการผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบสั่งทำพิเศษให้เข้ากันกับสภาพแวดล้อมภายในของพื้นที่” เฟอร์นิเจอร์หลายชิ้นภายในห้อง อย่างเช่นโต๊ะทำงาน ชั้นวางโทรทัศน์ และงาน built-in ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นสำหรับโครงการนี้โดย Thomas โดยเฉพาะ

ระดับของความประณีต และความใส่ใจในรายละเอียดในทุกจุดแม้ว่าจะเล็กแค่ไหนก็ตามโดยผู้ออกแบบระดับสากลนี้ ช่วยยืนยันคำจำกัดความของความหรูหราที่ SCOPE Langsuan ให้มาตรฐานเอาไว้ได้อย่างไม่มีข้อสงสัย

scopecollection.com 
facebook.com/scopecollection

THE ARCHITECTURE | SCOPE LANGSUAN

สัมผัสความหรูหราที่เป็นแบบเฉพาะตัวสำหรับกรุงเทพมหานครในงานสถาปัตยกรรมของโครงการ The SCOPE Langsuan ที่ออกแบบโดย Kohn Pederson Fox Associates (KPF) อันเต็มไปด้วยท่าทีสุภาพและนอบน้อมในแบบไทยๆ

TEXT: JINTAWACH TASANAVITES
PHOTO COURTESY OF SCOPE LANGSUAN EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

Kohn Pederson Fox Associates (KPF) คือบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงมายาวนานที่สุดแห่งหนึ่งในระดับนานาชาติ และมักจะเป็นชื่อแรกๆ ที่ปรากฏขึ้นเมื่อกลุ่มลูกค้านึกถึงงานอาคารสูงที่เปี่ยมไปด้วยนวัตกรรม KPF เป็นที่รู้จักจากการออกแบบที่ล้ำสมัยด้วยรูปทรงที่โดดเด่นเฉพาะตัว สร้างแลนด์มาร์คให้กับมหานครมากกว่า 35 แห่งทั่วโลก และถึงแม้ว่าผลงานของบริษัทจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น สิ่งที่ทุกโครงการมีร่วมกันอยู่เสมอก็คือฟังก์ชันการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และการวางผังที่ยอดเยี่ยมไปพร้อมๆ กับการมีรูปลักษณ์อันสง่างาม ดังที่ปรากฏในงานสถาปัตยกรรมของ SCOPE Langsuan ซึ่ง KPF ได้เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะที่ปรึกษาด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม

Photo: Ketsiree Wongwan

งานสถาปัตยกรรมของ SCOPE Langsuan นอกจากจะสะท้อนถึงมาตรฐานในการออกแบบในระดับสากลของ KPF แล้ว ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยการออกแบบที่เน้นความสุภาพและนุ่มนวล เป็นความเรียบง่ายที่อยู่บนพื้นฐานของความพอดี “ความหรูหราฟุ้งเฟ้อแบบโจ่งแจ้งนั้นไม่ยากเลยที่จะออกแบบ แต่มันอาจเป็นการทำลายความตั้งใจทั้งหมดของโครงการแห่งนี้ ที่ต้องการนำเสนอความหรูหราในรูปแบบที่เงียบสงบ เรียบง่าย ไม่วิบวับแวววาว ไม่เรียกร้องความสนใจจนเกินงาม เราพยายามออกแบบให้ทุกองค์ประกอบคงความสงบและเรียบง่ายเอาไว้ให้มากที่สุด” Trent Tesch หัวหน้าผู้ออกแบบและผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวกับ art4d แนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรมและการจัดองค์ประกอบของโครงการนี้จึงอยู่บนพื้นฐานของความหรูหราที่เรียบง่าย ที่มีองค์ประกอบที่โดดเด่นซ่อนอยู่ด้วยการออกแบบพื้นผิวของอาคารที่ใช้ผืนกระจกที่ค่อยๆ ลาดเอียงอย่างนุ่มนวล สอดประสานกับจังหวะของกรอบหน้าต่างอะลูมิเนียม สร้างเป็นระนาบของริ้วคลื่นที่มีชีวิตชีวาและเป็นธรรมชาติในเวลาเดียวกัน บนพื้นฐานของโครงสร้างที่เรียบง่ายและสง่างาม “เปลือกอาคารที่ค่อยๆ พับไปมานั้นให้ความสำคัญมากในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนของอาคารสูงให้อยู่ในสเกลมนุษย์ สร้างความรู้สึกเชื่อมต่อเป็นหนึ่งเดียวกับสเปซของอาคารได้มากขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับพื้นผิวอาคารที่เรียบสนิทที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับอาคารสำนักงาน” Trent กล่าวเพิ่มเติม

ในภาพรวม ตัวอาคารได้รับการออกแบบให้แบ่งเป็นสามระดับชัดเจนบนความสูงที่ค่อยๆ ไล่เรียงขึ้นไปจากระดับถนนหน้าโครงการ สะท้อนความสวยงามของจังหวะและสัดส่วนของโครงสร้าง ในส่วนของห้องพักนั้นโดดเด่นด้วยแนวริ้วผนังกระจกเป็นองค์ประกอบสำคัญดังที่กล่าวข้างต้น และในส่วนของแกนกลางอาคารที่เป็นพื้นที่ทางเดินและส่วน Service ต่างๆ นั้นใช้ผนังกระจกพิมพ์ลายเน้นให้เห็นความแตกต่างของฟังก์ชัน และทำหน้าที่ทอนสเกลให้อาคารดูเป็นอาคารสูงที่สง่างาม กระจกสุญญากาศเหล่านี้มีคุณภาพพิเศษ ด้วยความหนาถึง 8 มิลลิเมตร และเป็นกระจก Low-E ซึ่งมีคุณสมบัติถ่ายเทความร้อนต่ำ ทำหน้าที่หลักในการปกป้องผู้อยู่อาศัยจากความร้อนและสภาพอากาศที่สุดโต่งของกรุงเทพฯ และในขณะเดียวกันก็มีความใสและคุณสมบัติของการสะท้อนเฉพาะตัวที่เอื้อให้ผู้อยู่อาศัยชมทิวทัศน์ของเมืองได้อย่างชัดเจน และมีความเป็นส่วนตัวจากสายตาของผู้คนภายนอกในยามค่ำคืน

กลยุทธ์ในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมของ SCOPE Langsuan ของ KPF นั้นสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและสง่างาม ที่เกิดจากวิธีการที่เรียบง่ายอย่างการแบ่งสัดส่วนของอาคารออกเป็นสามส่วนที่สะท้อนถึงการใช้งานพื้นที่ภายใน และเทคนิคการเลือกใช้วัสดุและการออกแบบระบบผนังกระจกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หลักการที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมานี้รังสรรค์เส้นสายที่งดงามให้กับตัวอาคาร ทั้งเมื่อมองจากภายในและเมื่อมองกลับมาจากภายนอก และที่สำคัญที่สุดคือการจัดการกับเรื่องสเกลของอาคารผ่านเทคนิคการใช้วัสดุนั้นได้สร้างท่าทีที่สุภาพนอบน้อมและเชื้อเชิญแบบไทยๆ ที่สอดประสานไปกับบริบททางวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นไปด้วยในเวลาเดียวกัน “ผมนึกภาพอาคารนี้ไปตั้งอยู่ที่อื่นไม่ออกเลย ผมรู้สึกว่ามันคือความหรูหราที่เป็นแบบเฉพาะตัวสำหรับกรุงเทพมหานครเท่านั้น” Trent กล่าวปิดท้าย

scopecollection.com 
facebook.com/scopecollection

LIVING WITH THE GLASS | GUARDIAN GLASS

LIVING WITH THE GLASS | GUARDIAN GLASS

เราลองไปดูบ้าน 3 หลังใน 3 ประเทศที่ใช้กระจกจาก Guardian Glass ในการสร้างช่องเปิดที่ตอบโจทย์ในแบบต่างๆ ทั้งการสร้างทัศนียภาพในอาคาร เปิดรับลมเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก หรือรักษาอุณหภูมิให้พอเหมาะ ทั้งนี้ก็เพื่อการสร้่างภาวะอยู่สบายให้กับผู้อยู่อาศัย

Read More

YA-SA-NAN HOUSE

PVWB Studio เปลี่ยนอาคารตึกแถวไม้ของร้าน ‘ยาสนั่น’ ให้กลายเป็น ‘บ้านยาสนั่น’ อันอบอุ่นและกลมกลืนกับตลาดรอบข้าง ที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและร้านค้าสำหรับดำเนินธุรกิจของครอบครัว

Read More

THE EXPERIENCE OF LUXURY | SCOPE LANGSUAN

The SCOPE Langsuan นำเสนอมิติใหม่ของความหรูหรา ผ่านการให้คุณค่ากับคุณภาพของสเปซพร้อมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการระดับโลก เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ‘เวลา’ ในทุกนาทีของผู้อาศัยจะถูกใช้ไปอย่างมีความหมาย

TEXT: JINTAWACH TASANAVITES
PHOTO COURTESY OF SCOPE LANGSUAN

(For English, press here)

มูลค่าและคุณค่าของโครงการอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในระดับ segment บนนั้นล้วนถูกพิจารณาผ่านปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นฐานอย่างเรื่องทำเลที่ตั้ง การเลือกใช้วัสดุ เอกลักษณ์ของโครงการ หรือชื่อเสียงของแบรนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่วิถีชีวิตของผู้คนมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เอื้อให้วิถีชีวิตของผู้คนมีความยืดหยุ่นขึ้น และหยิบยื่นโอกาสให้ผู้คนใช้เวลาอยู่ในที่พักอาศัยมากกว่าที่เคยเป็นมา ส่งผลให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับบ้านมีความหมายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และความเป็นมากกว่าพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยในปัจจุบันนั้น เรียกร้องให้การออกแบบโครงการอสังหาริมทรัพย์ในยุคปัจจุบันต้องปรับตัวเพื่อรองรับความต้องการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในระดับบนนั้นเผชิญกับความท้าทายของการออกจากผลักดันขอบเขตในการออกแบบเดิมๆ ออกไปอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับการค้นหานิยามหรือนวัตกรรมที่โครงการใหม่ๆ ควรจะมอบให้กับกลุ่มลูกค้า ในปัจจุบันที่การเลือกใช้วัสดุหรือข้าวของราคาแพงเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของโครงการนั้นกำลังถูกตั้งคำถามอย่างเข้มข้น มิติของความหรูหราได้ก้าวห่างออกจากมิติของมูลค่าที่แสดงออกผ่านทางกายภาพของวัตถุ และเคลื่อนที่เข้าสู่คุณสมบัติอันเป็นนามธรรมหรือมิติในเชิงคุณค่าอย่างเช่นเรื่องเวลา คุณภาพของสเปซ และประสบการณ์ที่มีความหมายอย่างแท้จริงกับผู้อยู่อาศัย อาจกล่าวได้ว่าการสร้างสรรค์ความหรูหราในนิยามใหม่นี้คือการสร้างความสมดุลระหว่างดินแดนของมูลค่าและคุณค่า และการนำเสนอประสบการณ์ของพื้นที่อยู่อาศัยในทำเลที่มีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ และในขณะเดียวกันก็อาจจะหาไม่ได้อีกแล้วอย่างหลังสวน การออกแบบและการเลือกใช้วัสดุที่มีไม่มีคำถามในเรื่องของคุณภาพในระดับสากล เพื่อสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่จะคงมูลค่าอยู่เหนือกาลเวลา ของโครงการ Scope หลังสวน คือความพยายามในการสร้างความสมดุลนี้ให้เกิดขึ้นในทุกแง่มุม

“เวลาคือความหรูหราที่แท้จริง” Forth Bagley หัวหน้าทีมจาก KPF (Kohn Pedersen Fox) ปรึกษาด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมให้กับโครงการ Scope หลังสวน กล่าวอย่างไม่ลังเล “เมื่อเราพิจารณาถึงมิติของเวลาที่สร้างขึ้นจากงานสถาปัตยกรรม มันหมายถึงการออกแบบพื้นที่ที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเติมพลังกายพลังใจ ได้ใช้ความคิด เป็นพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดเวลาอันมีค่า นี่เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มพัฒนาผังและกำหนดโปรแกรมการใช้งานต่างๆของอาคารกับเจ้าของโครงการ” 

ในขณะเดียวกัน ทีมงาน KPF ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษกับการสร้างลำดับขั้นของการเข้าถึง ซึ่งส่งผลกับการรับรู้และการใช้งานในพื้นที่ที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกพักผ่อนและเป็นส่วนตัวในทันทีที่ผู้อยู่อาศัยก้าวเท้าเข้าไปภายในโครงการ องค์ประกอบทางการออกแบบในภาพรวม ที่จะได้รับการกล่าวถึงในเชิงลึกต่อไปในซีรีส์งานเขียนนี้ ทำงานสอดประสานกันในการสร้างความรู้สึกสงบสุข เพื่อสร้างพื้นที่ที่นำมาซึ่งความสงบเป็นส่วนตัว และให้ผู้พักอาศัยได้ใช้เวลาอย่างผ่อนคลาย ปราศจากสิ่งรบกวนจากภายนอกอย่างแท้จริง ‘เจ้าของร่วมของโครงการ Scope หลังสวน คือกลุ่ม International Premium เราเชื่อว่าพวกเขาคือกลุ่มคนที่เลือกพักในโรงแรมที่ดีที่สุดเมื่อเดินทางไปทั่วทุกมุมโลก” Forth บอกกับ art4d “ความคาดหวังต่างๆที่พวกเขามีภายหลังจากการได้เข้าไปสัมผัสพื้นที่และประสบการณ์เหล่านี้ด้วยตนเอง จึงเพิ่มมากขึ้นเมื่อพวกเขาเลือกบ้านของตัวเอง ประสบการณ์เหล่านั้นจะเป็นสิ่งที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้รับจากพื้นที่อยู่อาศัยของตัวเองเช่นเดียวกัน”

ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่ได้รับความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบของโครงการนี้ก็คือการให้บริการเสริมต่างๆ ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระเรื่องการดูแลที่พักอาศัยในแต่ละวัน เพื่อช่วยประหยัดเวลาอันมีค่า ซึ่งมีผลต่อสมดุลที่ดีในการใช้ชีวิต และเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ‘เวลา’ ทุกนาทีถูกใช้ไปอย่างมีความหมาย บนพื้นที่กว่า 2,500 ตารางเมตรของโครงการได้รับการออกแบบให้มาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการระดับโลกที่สร้างความมั่นใจว่าประสบการณ์การอยู่อาศัยของเจ้าของโครงการนั้นจะมีความสะดวกสบายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการจอดรถ การดูแลสัมภาระตลอด 24 ชั่วโมง และบริการอื่นๆ ในระดับเดียวกับการเข้าพักในโรงแรมชั้นเลิศ

เส้นแบ่งระหว่างการออกแบบประสบการณ์ของการอยู่อาศัยกับความรู้สึกของการพักผ่อนเมื่อเดินทางกำลังจางลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะสำหรับผู้อยู่อาศัยในเมืองที่มีวิถีชีวิตที่ตารางเวลาอัดแน่นไปด้วยการทำงานและกิจกรรมต่างๆ ทีมงานระดับโลกที่อยู่เบื้องหลังโครงการ Scope หลังสวนแห่งนี้ล้วนตระหนักดีว่า ทิศทางที่พวกเขาเลือกในการออกแบบนั้นล้วนเป็นไปเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมั่นใจได้ว่า ประสบการณ์ที่พวกเขาจะได้รับจากการใช้เวลาอยู่อาศัยที่นี่นั้น จะเป็นประสบการณ์ที่แตกต่าง และมีความหมายอย่างแท้จริง

scopecollection.com 
facebook.com/scopecollection

ARCHITECTURE’S MATTER

PHOTO CREDIT AS NOTED

WHO
We’re a team of young architects who believe in architecture’s matters.

WHAT
We create matters of architecture that work with context and purpose. Not just in architecture but interior, landscape, environment, and experience. Everything that matters creates the desired place we do.

Read More