หมวดหมู่: PHOTO ESSAY

PHOTO ESSAY : SPEND TIME

TEXT & PHOTO: PEERAPAT WIMOLRUNGKARAT

(For English, press here

ไร่แม่ฟ้าหลวง (อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง) เป็นสถานที่ที่ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนทุกครั้ง ที่ขึ้นไปเชียงราย (ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 7)

สถานที่แห่งความสุขความทรงจำ ในครั้งแรกที่ได้ขึ้นไปสัมผัสกับความสงบและสง่าของที่แห่งนี้ 

หลายปีก่อนได้มีโอกาสไปร่วมงานแต่งงานของรุ่นพี่ที่เคารพทั้งสองท่าน ครั้งนั้นก็ได้มีคำมั่นกับตัวเอง ว่าครั้งหน้าจะมาเชียงราย และจะต้องกลับมาอีกให้ได้ 

ใครจะคิดว่าคำความคิดวันนั้น ทำให้ผมได้หวนเวียนกลับมาอีกตอนต้นปี 2023 ผมได้มีโอกาสขึ้นมา ที่จังหวัดเชียงราย หลังจากได้ถ่ายงานเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ผม อาจารย์ และพี่พี่ ได้มีโอกาสมาชม นิทรรศการ Light of Life ที่จัดขึ้นในช่วงเวลานั้นพอดิบพอดี รวมทั้งบรรยากาศก็ดี ผมได้ถือโอกาส มาชมทั้งเวลาค่ำคืนที่จัดแสงไฟ และตอนกลางวันที่ไม่เปิดแสดงไฟ 

ความสวยงามของไร่แม่ฟ้าหลวงทำให้ผมต้องหลงเสน่ห์ ไม่ว่าจะเป็นจังหวะการจัดวางชิ้นงานศิลปะ ในแต่ละชิ้น ที่สอดรับขับกล่อมไปกับสวนและอาคารงานสถาปัตยกรรม 

และในครั้งนี้ (2024) ผมได้มีโอกาสใช้เวลากลับมาบันทึกภาพไร่แม่ฟ้าหลวงอย่างจริงจัง และเพลิด เพลินกับงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ที่ไร่แม่ฟ้าหลวง เป็นอีกหนึ่งในสถาน ที่จัดแสดงงานของศิลปินหลายท่าน ด้วยพื้นที่ที่เหมาะกับการจัดแสดงงานศิลป์ในรูปแบบต่างๆ แล้ว บรรยากาศในการถ่ายงานครั้งนี้ของผมนั้นเสมือนกับการได้พักผ่อนจิตใจไปในคราวเดียวกัน 

การที่เราให้เวลากับพื้นที่ ให้นาทีกับงานศิลปะชิ้นนั้นๆ ทำให้เราค่อยๆ ซึมซับพลังงานจากสถานที่ และศิลปิน เหมือนการจิบเครื่องดื่มที่ถูกปาก หอมคอ ในเวลาเดียวกัน 

การที่ได้มีโอกาสเดินและสัมผัสกับธรรมชาติภายในไร่แม่ฟ้าหลวงนั้นทำให้ผมค่อยๆ สังเกตตัวเองในเรื่องการมองโลก การมองพื้นที่ที่เปลี่ยนไป ไม่รีบเร่งและมีการวางแผนสำหรับการถ่ายทำงาน และ เพลินกับงานสถาปัตยกรรม พร้อมกับตั้งคำถามโน่นนี่นั่นไป สัมผัสรอยยิ้มของกลิ่นอายของต้นหญ้า เสียงใบไม้ทักทายกัน สร้างบรรยากาศสุขสงบ ทำให้ผมหลงรักพื้นที่แห่งนี้ขึ้นมา จนรู้สึกว่า “อยากมีบ้านอยู่เชียงรายครับ”

_____________

พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์ (แอ๊ด) ช่างภาพผู้ชื่นชอบเก็บบันทึกภาพนิ่ง ที่มีความเคลื่อนไหวในความทรงจำ

Leica Ambassador (Thailand)
Architecture photography @somethingarchitecture

facebook.com/somethingarchitecture
facebook.com/addcandid

PHOTO ESSAY : PRATEEP’S VISION V

TEXT: PRATCHAYAPOL LERTWICHA
PHOTO: PRATEEP TANGMATITHAM

(For English, press here

อิสรภาพในการเดินทางพลันดับสิ้นไปเมื่อโรคระบาดเข้ามาเยือน โลกตกอยู่ภายใต้ภาวะชะงักงัน สรรพสิ่งหยุดนิ่ง แต่เมื่อฝันร้ายมลายหายไป ชีวิตกลับมาโลดแล่น และผู้คนเริ่มต้นออกเดินทางเช่นเคย แต่การเดินทางในคราวนี้กลับต่างออกไป เพราะภาพทัศน์ที่มองเห็นรอบกายนั้นให้ความรู้สึกสดใหม่ไม่เหมือนเดิม 

หลังวิกฤตการณ์โรคระบาดคลี่คลาย ดร.ประทีป ตั้งมติธรรม หัวเรือใหญ่ของบริษัทศุภาลัย ออกเดินทางซึมซับความงามของโลกกว้างด้วยดวงตาคู่ใหม่ พร้อมบันทึกความประทับใจลงในหนังสือและนิทรรศการภาพถ่ายประทีปทัศน์ 5 ซึ่งสะท้อนทั้งความงามของต้นไม้ภูเขา ทะเล สถาปัตยกรรม ผู้คน และมุมมองของชีวิต ที่ดร.ประทีปสั่งสมมาอย่างยาวนาน

_____________

ดร.ประทีป ตั้งมติธรรม ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)

PHOTO ESSAY : WHEN YOU CAN LIVE FOREVER, WHAT DO YOU LIVE FOR?

TEXT & PHOTO: SUBPAWICH KUNJAK

(For English, press here

ในบรรยากาศงานที่ถูกความโศกเศร้าจู่โจม 

แววตา สีหน้า ความรู้สึก นับจากนี้ล้วนเป็นของคนที่กำลังมีชีวิตอยู่

ห้วงเวลา ณ ขณะนั้น ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาพถ่ายที่มากกว่าแค่การเก็บภาพพิธีการ แต่จะกลายเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของความสัมพันธ์ระหว่างคนที่อยู่และจากไป ให้เป็นความทรงจำสุดท้ายที่ดีที่สุด

_____________

สรรพวิญช์ กัลจาก ช่างภาพอิสระที่มีมุมมองการถ่ายภาพงานศพเป็นเหมือนการบันทึกความรู้สึกตัวเอง

facebook.com/omo.kunjak

PHOTO ESSAY : TIME STANDS STILL

TEXT & PHOTO: PRADITCHYA SINGHARAJ

(For English, press here

ผมสนใจในการ capture ช่วงเวลาของสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่รอบตัวเรา โดยแทนที่ภาพถ่ายจะเก็บสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลา 1/100 หรือ 1/1000 วินาที แต่เป็น 1 วินาที หรือนานกว่านั้น การรับรู้ของคนเราไม่สามารถหยุดเวลาเป็นเศษเสี้ยวของวินาทีได้ เวลามันเคลื่อนที่ สรรพสิ่งมันเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

ภาพชุดนี้ผมถ่ายด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมันตอบโจทย์ได้ดีเกินคาดมาก สามารถถ่ายภาพ long exposure ได้อย่างง่ายดาย ทุกเวลาและสถานที่ แทนการถ่าย long exposure ทั่วไปที่อาจเป็นไปไม่ได้เลยในบางช่วงเวลาและสถานที่ที่แสงอาจมากเกินไป หรือที่ที่เราไม่สามารถตั้งขาตั้งกล้องได้

ภาพถ่ายมันบอกความเป็นตัวตนของเรา ผมคิดเสมอว่าการที่เราถ่ายภาพ กล้องและเลนส์ มันเป็นเพียงแค่อุปกรณ์ แต่การนำภาพที่เราเห็นหรือรู้สึกออกมาให้ได้นั้นสำคัญกว่า

_____________

ประดิชญา สิงหราช Managing Director ประจำบริษัท Innovative Design & Architecture Co.,Ltd. ชอบถ่ายภาพ ฟังเพลง และหมกมุ่นกับการสร้างเครื่องขยายเสียง

facebook.com/praditchya.singharaj

PHOTO ESSAY : HUMAN TRACE

TEXT & PHOTO: DITTA SUTHEPPRATANWONG

(For English, press here

เราต่างเดินบนพื้น เราสร้างบ้านบนพื้น เราเพาะปลูก หาอาหารและใช้ชีวิตบนพื้น และการมีอยู่ของเราล้วนถูกกำหนดอยู่บนระนาบนอนภายใต้แรงโน้มถ่วง จึงไม่แปลกเลยที่พื้นจะเต็มไปด้วยร่องรอยของมนุษย์ 

ทุกครั้งที่เราใช้ชีวิต ทุกครั้งที่เราเดินทาง ทุกครั้งที่เราประกอบกิจกรรมต่างๆ เราต่างเคยทิ้งร่องรอยหรือเศษเสี้ยวของเรา ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรมไว้บนพื้นทั้งสิ้น 

ผมจึงเกิดความสงสัยใคร่รู้ เริ่มต้นศึกษาความเป็นมนุษย์ ผ่านสมมติฐานที่ว่า หากเราบันทึกร่องรอยที่หลงเหลือเหล่านั้น แล้วนำมาปะติดปะต่อกัน จะสามารถประกอบสร้างความเป็นมนุษย์ขึ้นมาใหม่เหมือนกับการต่อเลโก้ได้หรือไม่ ดังเช่นที่เราทุกคนต่างก็เคยเก็บเศษเสี้ยวของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง ทั้งหยิบยื่นบางส่วนของตนเองให้คนอื่น หรือแม้กระทั่งการเผลอทำบางส่วนของตัวเองหล่นพื้น 

ภาพชุดนี้จึงรวบรวมร่องรอยของมนุษย์ที่หลงเหลือบนพื้นเอาไว้และใช้ความผิดที่ผิดทาง เป็นชนวนขับเน้นร่องรอยเหล่านั้น พร้อมกับเชิญชวนผู้ชมมาลองประกอบสร้างความเป็นมนุษย์ขึ้นมาใหม่ผ่านความคิดและวิจารณญาณส่วนตัวของแต่ละคน ขอให้สนุกครับ

_____________

ดิษฐา สุเทพประทานวงศ์ นักเรียนสถาปัตย์ที่กลายมาเป็นช่างภาพสถาปัตยกรรม และศิลปินอิสระ ปัจจุบันเป็นช่างภาพให้กับ W Workspace

facebook.com/dittaphoto
instagram.com/ditta25

PHOTO ESSAY : FISH AND CHIPPERFIELD

TEXT & PHOTO: KARJVIT RIRERMVANICH

(For English, press here

David Chipperfield บอกว่า “Good architecture provides a setting, It’s there and it’s not there.” มันทั้งอยู่ตรงนั้น และก็ไม่ได้อยู่ตรงนั้น งานของเขาเป็นอย่างนั้นจริงๆ และถ้าจะมีอะไรสักอย่างที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนบนอาคารเหล่านี้ ผมคิดว่ามันคือเส้นที่บางเหลือเกินเส้นหนึ่ง ที่แบ่งอยู่ระหว่างความเหนือชั้นกับความดาษดื่นธรรมดาๆ 

The Hepworth Wakefield, Wakefield
Turner Contemporary, Margate
One Pancras Square, London

_____________

กาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ เป็นบรรณาธิการ art4d เป็นสถาปนิกผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Physicalist และเป็นนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย

instagram.com/karjvit

PHOTO ESSAY : THINGS THAT QUICKEN THE HEART

TEXT & PHOTO: YOSSAWAT SITTIWONG

(For English, press here

สิ่งที่ทำให้ใจเต้นแรงระหว่างทาง

หัวใจคนเราเต้น 60-100 ครั้งต่อนาที ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
หลายครั้ง ในระหว่างที่ผมเดินทาง
ผมมักหัวใจเต้นแรงเมื่อพบเจอกับผลงานเหล่านี้

มันชวนให้ผมสนใจในกระบวนการผลิตทั้งหมด
ตั้งแต่ งานออกแบบ ดีไซน์ การปั้น ขึ้นโครง การเลือกใช้สี จนไปถึงการเลือกจัดวาง
ว่าควรอยู่จุดไหน เพราะอะไรถึงจัดวางไว้ตรงนี้

ผมคิดไปถึงจนกระทั่งว่า วันที่ผลงานได้ผลิตเสร็จ จนถึงวันจัดวาง
ผู้สร้างจะรู้สึกอย่างไร ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร

เหตุใด มันถึงทำให้ผมรู้สึกได้ถึงความพิเศษนี้
เหตุใด มันทำให้ผมหลงใหล
เหตุใด มันทำให้หัวใจผมเต้นแรง

_____________

ยศวัศ สิทธิวงค์
ผู้กำกับโฆษณา underdoc film / ช่างภาพ / ศิลปิน M Yoss

facebook.com/Myossmusic
facebook.com/underdocfilm

PHOTO ESSAY : JAPAN WAY

TEXT & PHOTO: THANACHAI TANKVARALUK

(For English, press here

‘Japan way’ คือ การออกเดินทางในดินแดนอาทิตย์อุทัยเพื่อตามหาความบกพร่องหรือความสมบูรณ์แบบ ที่กำลังเปล่งประกายระยิบระยับราวกับดอกไม้ที่กำลังเบ่งบานส่งกลิ่นหอมเย้ายวนดึงดูดคนแปลกหน้าเพื่อนำพาไปพบกับช่วงเวลาพิเศษที่เกินกว่าจะจินตนาการได้

ภาพถ่ายในสถานการณ์ต่างๆ ที่ถูกบันทึกไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า ได้สะท้อนถึงความหลากหลายของยุคสมัยที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นผ่านบริบททางสังคมที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างเงียบๆ ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาและมุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีจารีตประเพณี วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เป็นแนวทางและรากฐานมาแต่อดีตคอยเป็นเงาติดตามมาอยู่ห่างๆ

_____________

ธนะชัย ตั้งวราลักษณ์ เกิดที่จังหวัดอุดรธานี จบการศึกษาปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันประกอบธุรกิจส่วนตัว มีความสนใจเรื่องราวรอบๆ ตัว รักการเดินทาง และการถ่ายภาพ

facebook.com/profile.php?id=100031795672130
instagram.com/thanachai_diary

PHOTO ESSAY : THE DISTANT EVERYDAY

TEXT: BANGKOK TOKYO ARCHITECTURE
PHOTO: BANGKOK TOKYO ARCHITECTURE AND PAKKATUS PROMSAKA NA SAKOLNAKORN

(For English, press here

The Distant Everyday เป็นการสนทนาด้วยภาพระหว่างสถาปัตยกรรม การสังเกต และภาพที่เห็นในชีวิตประจําวัน อาจให้เหตุผลได้ว่าสถาปัตยกรรมเป็นผลมาจากการบรรจบกันของความเห็นและแนวคิดที่หลากหลาย ในฐานะผู้สังเกตการณ์ของสภาพแวดล้อม เราค้นหาความเชื่อมโยงของบริบทต่างๆ ที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง ภาพถ่ายที่นําเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของภาพอีกมากมายของเราซึ่งสะสมมาตั้งแต่ปี 2559 เป็นการถ่ายฉากทัศน์และวัตถุในกรุงเทพฯ และโตเกียว ตามแต่โอกาส โดยไม่มีการเรียงลําดับและการจัดหมวดหมู่เป็นการเฉพาะใดๆ แต่ละภาพดูธรรมดา แต่เมื่อวางอยู่ด้วยกันแล้วจะกลายเป็นที่มาของแรงบันดาลใจและความคิด นอกจากนี้ ยังเผยให้เห็นถึง ความสามารถโดยธรรมชาติของสถาปัตยกรรมในการเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง

_____________

Bangkok Tokyo Architecture เป็นสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม ก่อตั้งโดย วทันยา จันทร์วิทัน และ Takahiro Kume ในปี 2017 เราหลงใหลในโครงสร้างแบบปลายเปิด การประกอบกันของวัสดุทั่วๆ ไป และการลด เส้นแบ่งระหว่างความธรรมดาและความพิเศษ

btarchitecture.jp
facebook.com/bangkoktokyoarchitecture

PHOTO ESSAY : EXPO DISMANTLING

TEXT & PHOTO: FILIPPO POLI

(For English, press here

ผมไปงาน Expo Milano ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015  ไม่ถึง 3 เดือนก่อนที่งานจะเริ่มขึ้น พื้นที่ทั้งหมดดูราวกับรังมดขนาดมหึมาที่ถูกรายล้อมไปด้วยมวลหมู่รถบรรทุกเป็นแถวยาวเหยียดและเหล่าคนทำงานนับพัน ผมไม่เคยเห็นไซต์ก่อสร้างไหนที่ใหญ่โตและซับซ้อนขนาดนั้นมาก่อน ด้วยจำนวนโปรเจ็คต์ที่กำลังถูกดำเนินการไปพร้อมๆ กันในคราวเดียว 

หลังคายักษ์บนทางเดินหลักของงานถูกนำเข้ามาในไซต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พาวิลเลียนต่างๆก็เริ่มจะเป็นรูปเป็นร่าง เกือบทั้งหมดถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการก่อสร้างแบบแห้งเพื่อร่นเวลาของกระบวนการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ทีมงานจากบางประเทศก็เริ่มขึ้นโครงสร้างกันอย่างรวดเร็วในขณะที่บางทีมก็ดูเหมือนว่าจะต้องใช้ปาฏิหารย์ช่วยถ้าอยากจะทำทุกอย่างให้เสร็จทันเวลา

พื้นที่ทั้งไซต์อยู่ภายใต้การดูแลควบคุมของตำรวจด้วย เพราะมีคำขู่ว่าจะเกิดการก่อจลาจลโดยกลุ่มผู้ประท้วงชุดดำที่ชื่อเสียงไม่ค่อยจะดีสักไหร่ ระหว่างทางเดินไปยังทางเข้างาน มีโซนที่เรียกว่าโซนเอื้ออาทร’ (zones of condescension) ที่จะมีผู้อพยพมายืนรอต่อคิวที่ด้านนอกรั้วกันทุกเช้าเพื่อรอการถูกว่าจ้างให้เข้าไปทำงานในไซต์ในแต่ละวัน ระบบการจัดการอันล่มสลายและขั้นตอนการว่าจ้างแรงงานแบบไม่เป็นทางการได้กลายมาเป็นทางเลือกเดียวในการทำงานให้สำเร็จลุล่วง ในช่วงท้ายๆ ก่อนวันเปิดงาน เหล่าทีมนักเก็บรายละเอียดมืออาชีพ บริษัทจัดงานแสดงสินค้า และติดตั้งระบบโทรทัศน์ต่างๆ เข้ามาร่วมขบวนกับบริษัทก่อสร้าง เพื่อช่วยพรางอะไรก็แล้วแต่ที่เสร็จไม่ทันการ และเตรียมทุกอย่างให้พร้อมสำหรับการเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2015

ผู้เข้าร่วมงานสิริรวมราว 21 ล้านคน คือสิ่งที่ตามมา และสื่อก็เฉลิมฉลองความสำเร็จนี้ด้วยบทความประกาศศักดาถึงการฟื้นคืนชีพของมิลานและอิตาลี

กฎของ BIE กำหนดว่า14 เดือนหลังจากงานจบลง ประเทศที่เข้าร่วมต้องรื้อถอนทุกอย่างให้อยู่ในสภาพเดิม และควรพยายามนำเอาพาวิลเลียนไปใช้งานที่อื่น มีอยู่ไม่กี่ประเทศที่พอจะจัดการหาที่ลงให้กับพาวิลเลียนของตัวเองได้ เป็นที่น่าเสียดายว่า รายชื่อของกลุ่มที่เอาพาวิลเลียนไปทำลายทิ้งนั้นยาวกว่ากลุ่มที่เลือกที่จะถอดชิ้นส่วนแล้วนำไปใช้ใหม่ อย่างไรก็ดี งาน Expo ก็กำลังปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยอย่างช้าๆ ขยะที่เกิดจากงานแสดงสินค้าในสเกลใหญ่โตขนาดนี้นั้นอยู่ในระดับที่นับว่ารับไม่ได้ และกลยุทธที่จะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้การผลิตขยะมหาศาลขึ้นมาอีกก็เป็นสิ่งที่กำลังถูกหยิบยกมาพิจารณา

Expo Milano สิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม 2015 และในช่วงปลายปี ประตูของมันถูกเปิดขึ้นเพื่อให้เหล่ารถบรรทุกและคนงานได้เข้าไปรื้อถอนพาวิลเลียนออกมาราวกับชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ขนาดมหึมา ผมได้เข้าไปที่งานอีกสองครั้งนับแต่ตั้งมันถูกปิดลงไม่ให้สาธารณชนเข้าถึงได้อีกต่อไป หลังจากได้เห็นกระบวนการก่อสร้างตลอดเวลาหลายเดือนที่งานดำเนินไป วงจรหนึ่งปิดตัวลง ก่อนจะบันทึกร่องรอยของสิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ตรงนั้น รวมไปถึงเหล่าเครื่องจักรที่รื้อถอนเหล็ก เลื่อย และแรงงานของเหล่าคนงานผู้อดทนไปกับการคัดแยกวัสดุทั้งหลายแหล่

พาวิลเลียนบางหลังหายไปราวกับว่ามันระเหยไปกับอากาศ บนพื้นปรากฏร่องรอยของฐานรากและโคลนดิน บางชิ้นส่วนก็ถูกรื้อจนฉีกขาด บางหลังดูราวกับว่ามันถูกทำลายด้วยระเบิดลูกยักษ์ แต่ก็ยังคงยืนอยู่อย่างสงบนิ่ง

หลังจากที่เมื่อไม่กี่เดือนก่อนผมเที่ยวตามหาจุดถ่ายรูปดีๆ ตอนนี้ผมเดินอยู่คนเดียวไปตามทางเดินหลักที่รายล้อมไปด้วยภูมิทัศน์ที่ดูราวกับโลกในวันหลังระเบิดปรมาณูลง เหล่าอาสาสมัครเข้ามาช่วยชีวิตพืชพรรณ แต่ต้นที่ไม่สามารถมีชีวิตรอดหากขาดระบบน้ำที่มนุษย์สร้างมาช่วยหล่อเลี้ยงก็ได้ล้มตายไป ในขณะเดียวกัน the third landscape ตามแนวคิดของ Gilles Clement ก็เพิ่มพื้นที่ขึ้นท่ามกลางกองโครงกระดูกของโครงสร้างและพื้นที่สวนที่ถูกทิ้งรกร้าง ในแง่มุมนี้ Expo ก็มีเสน่ห์ในแบบของมัน

ผลงานภาพถ่ายที่ถูกนำเสนอในที่นี้ต้องการที่จะตั้งคำถามที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องแต่กับเพียงสถาปัตยกรรม แต่เกี่ยวพันไปถึงสังคมของเราและความหมายของงานนิทรรศการเหล่านี้

_____________

Filippo Poli เป็นช่างภาพที่เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพงานสถาปัตยกรรม เขาทำงานอยู่ในยุโรปและร่วมงานกับบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมหลายแห่งรวมไปถึงสถาบันและสำนักพิมพ์มากมาย

ผลงานส่วนตัวของเขามุ่งความสนใจไปที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ และผลลัพธ์ที่มันก่อให้เกิดต่อพื้นที่

ภาพถ่ายของเขาได้รับเลือกให้ถูกจัดแสดงเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นถาวรของ Art Centre of Santander of public Enaire Foundation แห่งใหม่ งานของเขายังได้ถูกนำเสนอในสถานที่และงานต่างๆในยุโรป เช่น Climate Summit (COP25) ที่มาดริด งาน Venice Biennale, Arco Madrid, Photo España, Deutsches Architekturmuseum และในสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงงานที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชันส่วนตัวและสาธารณะหลายต่อหลายคอลเลคชัน

เขามีผลงานถูกตีพิมพ์ในนิตยสารสถาปัตยกรรมสำคัญๆหลายฉบับ รวมไปถึงงานที่ได้รับรางวัลโดย Fundación Enaire, PX3, European Architectural Photography, Architekturbild, IPA, Photography Master Cup, Philadelphia Basho, ArchTriumph และอื่นๆ

Filippopoli.com
facebook.com/filippopoliphotography
instagram.com/filippo.poli