Category: PHOTO ESSAY

PHOTO ESSAY : FISH AND CHIPPERFIELD

TEXT & PHOTO: KARJVIT RIRERMVANICH

(For English, press here

David Chipperfield บอกว่า “Good architecture provides a setting, It’s there and it’s not there.” มันทั้งอยู่ตรงนั้น และก็ไม่ได้อยู่ตรงนั้น งานของเขาเป็นอย่างนั้นจริงๆ และถ้าจะมีอะไรสักอย่างที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนบนอาคารเหล่านี้ ผมคิดว่ามันคือเส้นที่บางเหลือเกินเส้นหนึ่ง ที่แบ่งอยู่ระหว่างความเหนือชั้นกับความดาษดื่นธรรมดาๆ 

The Hepworth Wakefield, Wakefield
Turner Contemporary, Margate
One Pancras Square, London

_____________

กาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ เป็นบรรณาธิการ art4d เป็นสถาปนิกผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Physicalist และเป็นนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย

instagram.com/karjvit

PHOTO ESSAY : THINGS THAT QUICKEN THE HEART

TEXT & PHOTO: YOSSAWAT SITTIWONG

(For English, press here

สิ่งที่ทำให้ใจเต้นแรงระหว่างทาง

หัวใจคนเราเต้น 60-100 ครั้งต่อนาที ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
หลายครั้ง ในระหว่างที่ผมเดินทาง
ผมมักหัวใจเต้นแรงเมื่อพบเจอกับผลงานเหล่านี้

มันชวนให้ผมสนใจในกระบวนการผลิตทั้งหมด
ตั้งแต่ งานออกแบบ ดีไซน์ การปั้น ขึ้นโครง การเลือกใช้สี จนไปถึงการเลือกจัดวาง
ว่าควรอยู่จุดไหน เพราะอะไรถึงจัดวางไว้ตรงนี้

ผมคิดไปถึงจนกระทั่งว่า วันที่ผลงานได้ผลิตเสร็จ จนถึงวันจัดวาง
ผู้สร้างจะรู้สึกอย่างไร ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร

เหตุใด มันถึงทำให้ผมรู้สึกได้ถึงความพิเศษนี้
เหตุใด มันทำให้ผมหลงใหล
เหตุใด มันทำให้หัวใจผมเต้นแรง

_____________

ยศวัศ สิทธิวงค์
ผู้กำกับโฆษณา underdoc film / ช่างภาพ / ศิลปิน M Yoss

facebook.com/Myossmusic
facebook.com/underdocfilm

PHOTO ESSAY : JAPAN WAY

TEXT & PHOTO: THANACHAI TANKVARALUK

(For English, press here

‘Japan way’ คือ การออกเดินทางในดินแดนอาทิตย์อุทัยเพื่อตามหาความบกพร่องหรือความสมบูรณ์แบบ ที่กำลังเปล่งประกายระยิบระยับราวกับดอกไม้ที่กำลังเบ่งบานส่งกลิ่นหอมเย้ายวนดึงดูดคนแปลกหน้าเพื่อนำพาไปพบกับช่วงเวลาพิเศษที่เกินกว่าจะจินตนาการได้

ภาพถ่ายในสถานการณ์ต่างๆ ที่ถูกบันทึกไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า ได้สะท้อนถึงความหลากหลายของยุคสมัยที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นผ่านบริบททางสังคมที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างเงียบๆ ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาและมุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีจารีตประเพณี วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เป็นแนวทางและรากฐานมาแต่อดีตคอยเป็นเงาติดตามมาอยู่ห่างๆ

_____________

ธนะชัย ตั้งวราลักษณ์ เกิดที่จังหวัดอุดรธานี จบการศึกษาปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันประกอบธุรกิจส่วนตัว มีความสนใจเรื่องราวรอบๆ ตัว รักการเดินทาง และการถ่ายภาพ

facebook.com/profile.php?id=100031795672130
instagram.com/thanachai_diary

PHOTO ESSAY : THE DISTANT EVERYDAY

TEXT: BANGKOK TOKYO ARCHITECTURE
PHOTO: BANGKOK TOKYO ARCHITECTURE AND PAKKATUS PROMSAKA NA SAKOLNAKORN

(For English, press here

The Distant Everyday เป็นการสนทนาด้วยภาพระหว่างสถาปัตยกรรม การสังเกต และภาพที่เห็นในชีวิตประจําวัน อาจให้เหตุผลได้ว่าสถาปัตยกรรมเป็นผลมาจากการบรรจบกันของความเห็นและแนวคิดที่หลากหลาย ในฐานะผู้สังเกตการณ์ของสภาพแวดล้อม เราค้นหาความเชื่อมโยงของบริบทต่างๆ ที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง ภาพถ่ายที่นําเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของภาพอีกมากมายของเราซึ่งสะสมมาตั้งแต่ปี 2559 เป็นการถ่ายฉากทัศน์และวัตถุในกรุงเทพฯ และโตเกียว ตามแต่โอกาส โดยไม่มีการเรียงลําดับและการจัดหมวดหมู่เป็นการเฉพาะใดๆ แต่ละภาพดูธรรมดา แต่เมื่อวางอยู่ด้วยกันแล้วจะกลายเป็นที่มาของแรงบันดาลใจและความคิด นอกจากนี้ ยังเผยให้เห็นถึง ความสามารถโดยธรรมชาติของสถาปัตยกรรมในการเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง

_____________

Bangkok Tokyo Architecture เป็นสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม ก่อตั้งโดย วทันยา จันทร์วิทัน และ Takahiro Kume ในปี 2017 เราหลงใหลในโครงสร้างแบบปลายเปิด การประกอบกันของวัสดุทั่วๆ ไป และการลด เส้นแบ่งระหว่างความธรรมดาและความพิเศษ

btarchitecture.jp
facebook.com/bangkoktokyoarchitecture

PHOTO ESSAY : EXPO DISMANTLING

TEXT & PHOTO: FILIPPO POLI

(For English, press here

ผมไปงาน Expo Milano ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015  ไม่ถึง 3 เดือนก่อนที่งานจะเริ่มขึ้น พื้นที่ทั้งหมดดูราวกับรังมดขนาดมหึมาที่ถูกรายล้อมไปด้วยมวลหมู่รถบรรทุกเป็นแถวยาวเหยียดและเหล่าคนทำงานนับพัน ผมไม่เคยเห็นไซต์ก่อสร้างไหนที่ใหญ่โตและซับซ้อนขนาดนั้นมาก่อน ด้วยจำนวนโปรเจ็คต์ที่กำลังถูกดำเนินการไปพร้อมๆ กันในคราวเดียว 

หลังคายักษ์บนทางเดินหลักของงานถูกนำเข้ามาในไซต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พาวิลเลียนต่างๆก็เริ่มจะเป็นรูปเป็นร่าง เกือบทั้งหมดถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการก่อสร้างแบบแห้งเพื่อร่นเวลาของกระบวนการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ทีมงานจากบางประเทศก็เริ่มขึ้นโครงสร้างกันอย่างรวดเร็วในขณะที่บางทีมก็ดูเหมือนว่าจะต้องใช้ปาฏิหารย์ช่วยถ้าอยากจะทำทุกอย่างให้เสร็จทันเวลา

พื้นที่ทั้งไซต์อยู่ภายใต้การดูแลควบคุมของตำรวจด้วย เพราะมีคำขู่ว่าจะเกิดการก่อจลาจลโดยกลุ่มผู้ประท้วงชุดดำที่ชื่อเสียงไม่ค่อยจะดีสักไหร่ ระหว่างทางเดินไปยังทางเข้างาน มีโซนที่เรียกว่าโซนเอื้ออาทร’ (zones of condescension) ที่จะมีผู้อพยพมายืนรอต่อคิวที่ด้านนอกรั้วกันทุกเช้าเพื่อรอการถูกว่าจ้างให้เข้าไปทำงานในไซต์ในแต่ละวัน ระบบการจัดการอันล่มสลายและขั้นตอนการว่าจ้างแรงงานแบบไม่เป็นทางการได้กลายมาเป็นทางเลือกเดียวในการทำงานให้สำเร็จลุล่วง ในช่วงท้ายๆ ก่อนวันเปิดงาน เหล่าทีมนักเก็บรายละเอียดมืออาชีพ บริษัทจัดงานแสดงสินค้า และติดตั้งระบบโทรทัศน์ต่างๆ เข้ามาร่วมขบวนกับบริษัทก่อสร้าง เพื่อช่วยพรางอะไรก็แล้วแต่ที่เสร็จไม่ทันการ และเตรียมทุกอย่างให้พร้อมสำหรับการเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2015

ผู้เข้าร่วมงานสิริรวมราว 21 ล้านคน คือสิ่งที่ตามมา และสื่อก็เฉลิมฉลองความสำเร็จนี้ด้วยบทความประกาศศักดาถึงการฟื้นคืนชีพของมิลานและอิตาลี

กฎของ BIE กำหนดว่า14 เดือนหลังจากงานจบลง ประเทศที่เข้าร่วมต้องรื้อถอนทุกอย่างให้อยู่ในสภาพเดิม และควรพยายามนำเอาพาวิลเลียนไปใช้งานที่อื่น มีอยู่ไม่กี่ประเทศที่พอจะจัดการหาที่ลงให้กับพาวิลเลียนของตัวเองได้ เป็นที่น่าเสียดายว่า รายชื่อของกลุ่มที่เอาพาวิลเลียนไปทำลายทิ้งนั้นยาวกว่ากลุ่มที่เลือกที่จะถอดชิ้นส่วนแล้วนำไปใช้ใหม่ อย่างไรก็ดี งาน Expo ก็กำลังปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยอย่างช้าๆ ขยะที่เกิดจากงานแสดงสินค้าในสเกลใหญ่โตขนาดนี้นั้นอยู่ในระดับที่นับว่ารับไม่ได้ และกลยุทธที่จะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้การผลิตขยะมหาศาลขึ้นมาอีกก็เป็นสิ่งที่กำลังถูกหยิบยกมาพิจารณา

Expo Milano สิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม 2015 และในช่วงปลายปี ประตูของมันถูกเปิดขึ้นเพื่อให้เหล่ารถบรรทุกและคนงานได้เข้าไปรื้อถอนพาวิลเลียนออกมาราวกับชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ขนาดมหึมา ผมได้เข้าไปที่งานอีกสองครั้งนับแต่ตั้งมันถูกปิดลงไม่ให้สาธารณชนเข้าถึงได้อีกต่อไป หลังจากได้เห็นกระบวนการก่อสร้างตลอดเวลาหลายเดือนที่งานดำเนินไป วงจรหนึ่งปิดตัวลง ก่อนจะบันทึกร่องรอยของสิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ตรงนั้น รวมไปถึงเหล่าเครื่องจักรที่รื้อถอนเหล็ก เลื่อย และแรงงานของเหล่าคนงานผู้อดทนไปกับการคัดแยกวัสดุทั้งหลายแหล่

พาวิลเลียนบางหลังหายไปราวกับว่ามันระเหยไปกับอากาศ บนพื้นปรากฏร่องรอยของฐานรากและโคลนดิน บางชิ้นส่วนก็ถูกรื้อจนฉีกขาด บางหลังดูราวกับว่ามันถูกทำลายด้วยระเบิดลูกยักษ์ แต่ก็ยังคงยืนอยู่อย่างสงบนิ่ง

หลังจากที่เมื่อไม่กี่เดือนก่อนผมเที่ยวตามหาจุดถ่ายรูปดีๆ ตอนนี้ผมเดินอยู่คนเดียวไปตามทางเดินหลักที่รายล้อมไปด้วยภูมิทัศน์ที่ดูราวกับโลกในวันหลังระเบิดปรมาณูลง เหล่าอาสาสมัครเข้ามาช่วยชีวิตพืชพรรณ แต่ต้นที่ไม่สามารถมีชีวิตรอดหากขาดระบบน้ำที่มนุษย์สร้างมาช่วยหล่อเลี้ยงก็ได้ล้มตายไป ในขณะเดียวกัน the third landscape ตามแนวคิดของ Gilles Clement ก็เพิ่มพื้นที่ขึ้นท่ามกลางกองโครงกระดูกของโครงสร้างและพื้นที่สวนที่ถูกทิ้งรกร้าง ในแง่มุมนี้ Expo ก็มีเสน่ห์ในแบบของมัน

ผลงานภาพถ่ายที่ถูกนำเสนอในที่นี้ต้องการที่จะตั้งคำถามที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องแต่กับเพียงสถาปัตยกรรม แต่เกี่ยวพันไปถึงสังคมของเราและความหมายของงานนิทรรศการเหล่านี้

_____________

Filippo Poli เป็นช่างภาพที่เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพงานสถาปัตยกรรม เขาทำงานอยู่ในยุโรปและร่วมงานกับบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมหลายแห่งรวมไปถึงสถาบันและสำนักพิมพ์มากมาย

ผลงานส่วนตัวของเขามุ่งความสนใจไปที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ และผลลัพธ์ที่มันก่อให้เกิดต่อพื้นที่

ภาพถ่ายของเขาได้รับเลือกให้ถูกจัดแสดงเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นถาวรของ Art Centre of Santander of public Enaire Foundation แห่งใหม่ งานของเขายังได้ถูกนำเสนอในสถานที่และงานต่างๆในยุโรป เช่น Climate Summit (COP25) ที่มาดริด งาน Venice Biennale, Arco Madrid, Photo España, Deutsches Architekturmuseum และในสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงงานที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชันส่วนตัวและสาธารณะหลายต่อหลายคอลเลคชัน

เขามีผลงานถูกตีพิมพ์ในนิตยสารสถาปัตยกรรมสำคัญๆหลายฉบับ รวมไปถึงงานที่ได้รับรางวัลโดย Fundación Enaire, PX3, European Architectural Photography, Architekturbild, IPA, Photography Master Cup, Philadelphia Basho, ArchTriumph และอื่นๆ

Filippopoli.com
facebook.com/filippopoliphotography
instagram.com/filippo.poli

PHOTO ESSAY : FUTURE BOARD

TEXT & PHOTO: PEERAPAT WIMOLRUNGKARAT

(For English, press here

โปรเจ็คต์นี้ชื่อ ’Future Board’ เป็นการเก็บรูปป้ายหาเสียงของผู้ที่อาสาเข้ามาบริหารประเทศในอนาคต

ความตั้งใจแรก เริ่มต้นจากการออกไปถ่ายรูปเก็บบรรยากาศแถวบ้าน ระหว่างนั่งรถผ่าน ได้เห็นป้ายหาเสียงที่ติดอยู่สองข้างทางถนน เลยเกิดความสนใจสำรวจแง่มุมต่างๆ ที่อยู่รอบป้ายหาเสียง

ป้ายเต็มไปด้วยนโยบาย คำพูด ตัวอักษร และนัยยะเล็กๆ น้อยๆ ซ่อนอยู่ในนั้น การถ่ายภาพก็เป็นการเก็บบันทึกคำมั่นที่นักการเมืองให้ไว้บนป้าย

ป้ายหาเสียงเลือกตั้งที่แปะเต็มไปหมดอาจทำให้เมืองมีสีสัน แต่มันก็มองเป็นมลพิษทางสายตาก็ได้ บางป้ายก็รีบแปะโดยไม่สนใจคนที่เดินเท้าเลย และตอนนี้ การเดินไปถ่ายป้าย เลยได้ตั้งคำถามเหมือนกันว่าป้ายหาเสียงมันยังเวิร์คอยู่ไหม 

_____________

แอ๊ด พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์ (addcandid) ช่างภาพผู้ชื่นชอบเก็บบันทึกภาพนิ่ง ที่มีความเคลื่อนไหวในความทรงจำ

Leica Ambassador (Thailand)
Architecture photography @somethingarchitecture

facebook.com/somethingarchitecture
facebook.com/addcandid

PHOTO ESSAY : CONTEMPLATING IN RAMADAN1444

TEXT & PHOTO: TEECHALIT CHULARAT

(For English, press here

พินิจในรอมฎอน 1444  

หากจะถามว่าช่วงเวลาพิเศษแห่งปีที่มุสลิมผู้ศรัทธารอคอยคือช่วงเวลาไหน เราตอบได้ในทันทีว่าคือช่วงเดือนรอมฎอน แม้ช่วงเวลานี้ชาวมุสลิมจะต้องอดทนกับความหิวกระหายในช่วงเวลากลางวันเพื่อบำเพ็ญจิตให้มีสติในการรำลึก นอบน้อมและขอบคุณพระผู้เป็นเจ้า สำรวมจิตใจให้ห่างไกลจากสิ่งบันเทิง รวมถึงมีการประกอบศาสนกิจที่มากกว่าเดือนอื่นๆ แต่ชาวมุสลิมที่มีศรัทธาสามารถปฏิบัติได้อย่างมีความสุข และรู้สึกได้รับความจำเริญ เพราะเดือนนี้มีผลบุญมากกว่าเดือนอื่นๆ

สิ่งหนึ่งที่ผมมีความสุขในเดือนนี้ คือการมองเห็นชีวิตผู้คนชาวมุสลิมที่พิเศษกว่าเดือนไหนๆ ในกิจกรรม วิถีชีวิตต่างๆ ซึ่งได้รวบรวมภาพถ่ายชุดนี้ไว้ในช่วงต้นเดือนรอมฎอนของปีนี้ (เป็นปีที่ศาสนาอิสลาม ได้ครบรอบ 1,444 ปีพอดี) ผมได้ใช้เวลาในการถ่ายภาพช่วงขณะเวลาทำงาน หรือ เดินทางไปประกอบศาสนกิจที่มัสยิด รวมถึง การแวะเวียนซื้ออาหารในช่วงบ่ายเพื่อเตรียมละศีลอดในตอนพลบค่ำ โดยช่วงเวลาต่างๆ ผมสังเกต เห็นสีสันบรรยากาศและชีวิตผู้คนที่แตกต่างจากเดือนอื่นอย่างสิ้นเชิง 

ปีนี้จึงเป็นปีแรกที่ผมได้ทดลองการถ่ายภาพ พินิจวิถีในเดือนรอมฎอนด้วยมุมมองที่เรียบง่ายแต่ซ่อนความรู้สึกส่วนลึกที่มีอยู่ในภาพ ให้ทุกคนที่ชมร่วมรู้สึกเดินทางไปกับผม เห็นมิติชีวิตมุมมองแบบใหม่ๆ เปี่ยมไปด้วยศรัทธาในเดือนอันประเสริฐนี้

_____________

ทีป์ชลิต จุฬารัตน์ จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปัจจุบันเป็นสถาปนิกอิสระสตูดิโอ TEECHALIT ARCHITECT ออกแบบงานมัสยิดมาแล้วกว่า 4 หลัง เป็นช่างภาพ และเป็นแอดมินกลุ่ม จุลภาพ minimal

instagram.com/minimalmccalen
facebook.com/minimal.mccalen

PHOTO ESSAY : CHRISTMAS IN THAILAND

TEXT & PHOTO: BARRY MACDONALD

(For English, press here

สำหรับประเทศอังกฤษและประเทศอื่นๆ ที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือศาสนาคริสต์ วันคริสต์มาสนับว่าเป็นเทศกาลแห่งการพักผ่อนและเฉลิมฉลองใหญ่ประจำปี ในช่วงเดือนที่อากาศมืดครึ้มหนาวเหน็บ คริสต์มาสคือสิ่งที่ใครหลายคนเฝ้ารอคอย เป็นโอกาสแห่งการได้ใช้เวลากับครอบครัวและคนที่รัก ทั่วทั้งประเทศปิดตัวลงไปชั่วครู่  วันปีใหม่ที่อยู่ไม่ไกลก็ถูกควบรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาแห่งความสุขนี้ มันยังเป็นโอกาสให้ผู้คนได้สนุกสนาน พักผ่อน ทบทวนปีเก่าที่กำลังจะผ่านพ้นไป และมองไปยังปีใหม่ที่กำลังจะมา ในช่วงปี 2022 เป็นปีที่ผมมีโอกาสได้ใช้เวลาช่วงคริสต์มาสในประเทศไทย ผมรู้สึกทึ่งที่ได้เห็นว่าคนไทยตื่นเต้นกับเทศกาลนี้มากแค่ไหน นับตั้งแต่การออกแบบพื้นที่ขนาดมหึมาในห้างสรรพสินค้า ปาร์ตี้คริสต์มาสที่จัดขึ้นในบริษัทต่างๆ ไปจนถึงการเล่นบัดดี้จับของขวัญระหว่างเพื่อนฝูง คนไทยสนุกสนานไปกับประเพณีต่างๆ ที่มาพร้อมคริสต์มาส องค์ประกอบบางอย่างได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับวัฒนธรรมของคนไทย มันน่าสนใจที่ได้เห็นคริสต์มาสถูกตีความผ่านอีกวัฒนธรรมหนึ่ง และหวังว่างานของผมจะแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งคริสต์มาสที่ผมได้สัมผัสในประเทศไทย

_____________

แบร์รี่ แมคโดนัลด์เกิดในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ่อของเขามีงานอดิเรกคือการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิลม์ 35 มม. และสอนให้เขาเรียนรู้การใช้กล้องมาตั้งแต่ยังเด็กๆ เขามีกล้องถ่ายรูปฟิลม์เป็นของตัวเองครั้งแรกในปี 1995 สำหรับแบร์รี่ กล้องกลายเป็นสิ่งที่ช่วยเปิดหนทางในการปฏิสัมพันธ์กับโลกในแบบที่เขามองว่าเป็นเหตุเป็นผล การจับภาพ สร้างเฟรมและองค์ประกอบขึ้นจากช่วงเวลาๆ หนึ่งนำมาซึ่งความพึงใจ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นและคงอยู่ร่วมกันอย่างลงตัว กล้องได้นำพาให้เขาออกเดินทางและพบเจอผู้คน และเขาก็รู้สึกขอบคุณมันเสมอที่มันเปลี่ยนชีวิตเขาและช่วยให้เขาเข้าใจโลกในแบบที่มันเป็น

instagram.com/barrymac84

PHOTO ESSAY : A YEAR COUNTDOWN

TEXT & PHOTO: JITTINUN JITHPRATUCK

(For English, press here

ภาพถ่ายบันทึกความทรงจำของอาคารแปลนเฮาส์ 1 บนถนนสาทร ซอย 10 ในปีสุดท้ายของการใช้งานเป็นสำนักงานของกลุ่มบริษัทแปลน หลังจากก่อสร้างและใช้งานมานานกว่า 30 ปี ที่ดินที่อาคารตั้งอยู่กำลังจะหมดสัญญาเช่าภายในปี 2566 นี้ และวันหนึ่งที่แห่งนี้คงหลงเหลือไว้เพียงความทรงจำ

_____________

จิตตินันท์ จิตรประทักษ์ สถาปนิกบริษัทแปลน อาคิเต็ค เริ่มเข้าทำงานตั้งแต่ปี 2012 บันทึกภาพมุมหนึ่งของที่ทำงานที่มองเห็นในแต่ละวันผ่านความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล

instagram.com/ayearcountdown

PHOTO ESSAY : #TAKEHOMEDESIGNFURSPECTIVE

G Table V.3 / Bang Phli, Samut Prakan, Thailand

TEXT & PHOTO: PAPHOP WONGPANICH

(For English, press here

เวลาไปเที่ยว เราอยากเก็บภาพความทรงจำกับสถานที่นั้นๆ เราเลือกใช้ ลูกๆ (เฟอร์นิเจอร์ที่เราออกแบบ) เป็นตัวแทนเก็บความทรงจำ ณ โมเมนท์นั้นๆ เอาไว้

แรกๆ เริ่มจากที่เราอยากจะถ่ายภาพผลงานของเราให้สวยและแตกต่าง ก็เลยเริ่มเอาเก้าอี้ไปถ่ายตามสถานที่ต่างๆ ให้คนดูมีอารมณ์ร่วมและจินตนาการได้ด้วยว่า ถ้าได้ใช้เฟอร์นิเจอร์แบบนี้  ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติสวยๆ ตรงหน้าจะเป็นอย่างไรจนกลายเป็นงานอดิเรกที่พอไปเที่ยวทั้งน้ำตกป่าเขียวทะเลจนกระทั่งภูเขาไฟและบนยอดเขาที่มีหิมะขาวโพลนก็ต้องพาลูกๆ ของเราไปด้วยจนภาพเฟอร์นิเจอร์ในที่สถานที่ต่างๆ ของเรากลายเป็นลายเซ็นอีกอย่างของแบรนด์ไปแล้วสนุกดี

_____________

ปภพ ว่องพาณิชย์ เป็นเจ้าของแบรนด์เฟอร์นิเจอร์บูทิค TAKE HOME DESIGN เคยได้แสดงงานในฐานะนักออกแบบรุ่นใหม่ ในส่วนคัดเลือกโซนพิเศษ Salone Satellite ที่งาน Salone Internazionale del Mobile di Milano อิตาลี

facebook.com/takehomedesignfurniture