Tag: Barry Macdonald

PHOTO ESSAY : EVERYTHING JINGLE BELL


TEXT & PHOTO: BARRY MACDONALD 

(For English, press here) 

เทศกาลคริสต์มาสในประเทศอังกฤษ เป็นวันหยุดและเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่สำคัญที่สุดของปี ในช่วงฤดูหนาวที่มืดมน เทศกาลนี้จึงเป็นเทศกาลที่เรารอคอย เป็นโอกาสดีที่จะได้ใช้เวลารร่วมกับครอบครัวและคนที่เรารัก เป็นโอกาสที่ผู้คนได้เฉลิมฉลอง พักผ่อน ได้ทบทวนปีที่ผ่านไป และรวมถึงวางแผนปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง

ในช่วงปี 2022 และ 2023 ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เฉลิมฉลองคริสต์มาสในประเทศไทย และรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับความกระตือรือร้นของคนไทยเกี่ยวกับวันคริสต์มาส ตั้งแต่การตกแต่งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ไปจนถึงงานปาร์ตี้คริสต์มาสของแต่ละออฟฟิศ การแลกของขวัญระหว่างเพื่อนๆ หลายๆ ประเพณีที่ผมรู้จักเกี่ยวกับวันคริสมาสต์ได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่ หรือมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย การได้เห็นคริสต์มาสผ่านวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก โปรเจกต์ของผมต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของคริสต์มาสในประเทศไทย

ในประเทศไทย ‘Everything jingle bell’ เป็นภาษาพูดที่หมายถึง ‘ของเยอะแยะไปหมด’ หรือ ‘ทุกอย่าง’ ซึ่งคนใช้กันเพราะเสียงของคำว่า ‘ติง’ กับ ‘จิง’ คล้องจองกันเฉยๆ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับเทศกาลคริสต์มาสเลย วลีนี้สามารถใช้ได้ทั้งปี เป็นการแสดงถึงการรับวัฒธรรมเข้ามาแบบไทยๆ ในอีกรูปแบบหนึ่ง

___________________

แบร์รี่ แมคโดนัลด์ (เกิดปี 1984) เป็นช่างภาพจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาเริ่มต้นจากการ ถ่ายภาพนักดนตรี และได้ค้นพบความสนุกจากการเดินทางในขณะที่ออกทัวร์กับวงดนตรีต่างๆ ทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา ต่อมาเขาได้พัฒนาสู่การถ่ายภาพที่ผสมผสานระหว่างแนวสตรีท และสารคดี เขาสนใจในสังคมวิทยาและพยายามแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและธรรมชาติของ มนุษย์ผ่านการถ่ายภาพของเขา เขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2022

barrymacdonald.co.uk
instagram.com/barrymac84

PHOTO ESSAY : THE FABRIC OF SOCIETY

The Fabric of Society
The Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of Society

TEXT & PHOTO: BARRY MACDONALD

(For English, press here

‘The Fabric of Society’ หรือ แปลเป็นภาษาไทย ‘ผืนผ้าของสังคม’ เป็นคำที่ใช้เปรียบเปรยในภาษาอังกฤษ หมายถึงโครงสร้างพื้นฐาน ความสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงที่ยึดถือสังคมไว้ด้วยกันเหมือนกับผ้าที่ทำจากเส้นด้ายแต่ละเส้นที่ถูกถักทอเข้าด้วยกันเพื่อสร้างเป็นผืนเดียว ‘ผืนผ้าของสังคม’ ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ เช่น ค่านิยมร่วมกัน บรรทัดฐาน กฎหมาย สถาบัน และวัฒนธรรมที่ผูกพันบุคคลและกลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผืนผ้าผืนเดียวกัน

ผ้าใบ (ผ้าใบพลาสติกแถบสีน้ำเงินขาว) ภาพจำที่ทำให้เรานึกถึงเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นแรงงาน แต่อันที่จริงแล้วชีวิตของทุกคนต่างมีส่วนที่ข้องเกี่ยวกับผ้าใบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในอาหารทุกๆ มื้อที่เราทาน ถูกปลูก ตาก จับ ส่งขาย จนประกอบเป็นอาหาร ต่างล้วนมีผ้าใบเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการไม่มากก็น้อย อาคารที่ปลูกสร้างต่างต้องเคยใช้ผ้าใบมาแล้วไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในงานก่อสร้าง งานประปา และงานไฟฟ้าต้องพึ่งพาวัสดุอเนกประสงค์นี้ หรือแม้กระทั่งสิ่งของทุกอย่างที่เราซื้ออาจใช้ผ้าใบในการขนส่ง, การเก็บรักษา หรือแม้แต่การสร้างแผงขายของตลาด ปูพื้น ทำโต๊ะ มุงหลังคา และอื่นๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของไร้ราคาบนท้องถนน หรือไปจนถึงพระพุทธรูปที่มีค่าที่สุดในวัด ผ้าใบถูกเชื่อถือในการปกป้องรักษา ดูแลสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด

ภาพชุดนี้มองดูแล้วอาจจะเกี่ยวกับผ้าใบ แต่หากมองลึกลงไปแท้จริงแล้วผ้าใบสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับสังคมได้ในหลายมิติ เราจะเห็นถึงมิติแห่งกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ทุกคนต่างใช้ผลิตภัณฑ์เดียวกัน จากแหล่งที่มาเดียวกัน มิติเชิงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของการผลิตพลาสติกจำนวนมาก รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยในการดัดแปลงวัสดุให้เป็นรูปแบบและการใช้งานใหม่ๆ ไปจนถึงการสะท้อนเห็นปัญหาแรงงานข้ามชาติและอาชีพที่พวกเขาทำในประเทศไทย ที่พวกเขาบางคนอาศัยอยู่ในที่ที่สร้างขึ้นด้วยผ้าใบ

ชวนให้ตั้งคำถามว่า หากไม่มีผ้าใบ ประเทศจะยังคงสามารถดำเนินการได้หรือไม่ หรือผ้าใบคือสิ่งที่แสดงออกถึง ‘ผืนผ้าของสังคม’ ในรูปธรรมที่แท้จริง

___________________

แบร์รี แมคโดนัลด์ (เกิดปี 2527) เป็นช่างภาพอิสระจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาเริ่มต้นถ่ายภาพนักดนตรีและค้นพบความสนุกสนานในการเดินทางจากการไปทัวร์กับวงดนตรีทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา งานของเขาพัฒนามาเป็นการผสมผสานระหว่างการถ่ายภาพแนวสตรีทและสารคดี เขาสนใจสังคมวิทยาและพยายามมองวัฒนธรรมและธรรมชาติของมนุษย์ผ่านการถ่ายภาพของเขา เขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2565

barrymacdonald.co.uk
instagram.com/barrymac84

PHOTO ESSAY : DIY THAI CHAIRS

TEXT & PHOTO: BARRY MACDONALD

(For English, press here

ผมเป็นช่างภาพ และผมก็ได้ทำการบันทึกภาพบรรดาเก้าอี้ที่ถูกซ่อม หรือวัสดุที่ถูกดัดแปลงให้นั่งได้ตามท้องถนนของประเทศไทย สิ่งเหล่านั้นมองอย่างไรก็เป็นสิ่งที่ชำรุดแล้ว แต่มันกลับไม่ถูกทิ้งขว้าง หากแต่ได้รับการซ่อมแซมด้วยการเชื่อมต่อ ปะติด มอบชีวิตใหม่ให้สิ่งของอีกครั้งหนึ่ง ในสายตาคนบางคน เฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งที่อาจดูผุพังใช้งานไม่ได้อีกต่อไป แต่ก็ยังมีคนที่เลือกซ่อมแซมมัน เพราะยังมองเห็นโอกาสที่จะใช้งานต่อได้อย่างไม่รู้จบ เราสามารถพบเจอเก้าอี้เหล่านี้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นที่เพิงวินมอเตอร์ไซค์หรือตลาด หรือสถานที่สาธารณะที่เต็มไปด้วยผู้คนที่ต้องการพักผ่อนแต่ไม่มีอุปกรณ์สาธารณะประโยชน์ตอบสนอง การสร้างที่พักพิงชั่วคราวเหล่านี้ขึ้นมาด้วยตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

นักออกแบบและวิศวกรของเก้าอี้ชุดนี้คือกลุ่มคนธรรมดาๆ ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และความหลักแหลมของตนรังสรรค์ผลงานเหล่านี้ขึ้นมา ภายใต้ปรัชญาการใช้ซ้ำ (recycling) และนำสิ่งของกลับมาใช้ใหม่ (upcycling) ในขณะที่ผลงานที่พวกเขาสร้างขึ้นมีการใช้งานเป็นจุดประสงค์หลัก แต่ถึงอย่างนั้น พวกมันก็ก่อกำเนิดความงามที่แตกต่างออกไป จากเทคนิคการประกอบร่างวัสดุหลายอย่าง เช่นงานไม้ การถักทอ การผูก การเชื่อม การติดกาว การผูกเคเบิล การแกะสลัก การติดเทป การใช้ยางยืด ฯลฯ บางครั้งวัตถุรอบๆ ก็กลายเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเสริมความแข็งแรง ราวกับเก้าอี้และท้องถนนผสานหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เช่นเดียวกับเก้าอี้ตัวหนึ่งที่ผมเคยเห็น ที่วางตัวอยู่ภายในกิ่งไม้ที่กลายเป็นที่วางแขนของมันไปในที่สุด

ของราคาถูกที่พังง่ายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เพิ่มการสร้างขยะและค่านิยมบริโภคนิยม ศิลปะของการซ่อมแซมสิ่งของที่เราเป็นเจ้าของกำลังล้าสมัย พร้อมๆ กับการที่เหล่าบริษัทผู้ผลิตใช้กลยุทธ์สร้างผลิตภัณฑ์ให้หมดอายุเมื่อผ่านระยะเวลาไปสักประมาณหนึ่ง เก้าอี้เหล่านี้เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของการออกแบบเมือง มันทำงานกับข้อจำกัดที่มาพร้อมความเสียหายและเงื่อนไขที่ไม่ปกติของวัสดุ การสร้างที่นั่งที่ทำให้การนั่งทำงานบนท้องถนนสามารถเป็นไปได้ ทักษะเหล่านี้จึงมีความจำเป็น เพราะในขณะที่เรากำลังเผชิญประเด็นปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับทรัพยากรในโลกนี้ การมีความคิดและทัศนคติว่าเราควรที่จะซ่อมแซมสิ่งต่างๆ มากกว่าที่จะหาสิ่งใหม่มาแทนที่สิ่งเก่าเสมอจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ

ผมคิดว่าทักษะของนักออกแบบธรรมดาเหล่านี้ คือการคิดริเริ่ม ความสามารถในการแก้ปัญหา รวมไปถึงมีความยืดหยุ่น เป็นสิ่งจำเป็นต่อความเป็นไปของประเทศไทย และมันควรได้รับการคำนึงถึงและส่งเสริม เมื่อมีการวางแผนพื้นที่สาธารณะในอนาคต

_____________

แบร์รี่ แมคโดนัลด์ เกิดที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร พ่อของเขาเคยถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์ม 35 มม. เป็นงานอดิเรก และได้สอนวิธีใช้กล้องนี้แก่เขาเมื่อเขายังเด็ก ตอนที่เขาอายุ 15 เขามีกล้องฟิล์มเป็นของตัวเอง สำหรับแบร์รี่ กล้องเป็นช่องทางในการปฏิสัมพันธ์กับโลกในแบบที่เป็นเหตุเป็นผล การจับภาพ สร้างเฟรมและองค์ประกอบขึ้นจากช่วงเวลาๆ หนึ่งอันนำมาซึ่งความพึงใจ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นและคงอยู่ร่วมกันอย่างลงตัว กล้องได้นำพาให้เขาออกเดินทางและพบเจอผู้คน และเขาก็รู้สึกขอบคุณมันเสมอที่เปลี่ยนชีวิตเขาและช่วยให้เขาเข้าใจโลกในแบบที่มันเป็น

instagram.com/barrymac84

PHOTO ESSAY : CHRISTMAS IN THAILAND

TEXT & PHOTO: BARRY MACDONALD

(For English, press here

สำหรับประเทศอังกฤษและประเทศอื่นๆ ที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือศาสนาคริสต์ วันคริสต์มาสนับว่าเป็นเทศกาลแห่งการพักผ่อนและเฉลิมฉลองใหญ่ประจำปี ในช่วงเดือนที่อากาศมืดครึ้มหนาวเหน็บ คริสต์มาสคือสิ่งที่ใครหลายคนเฝ้ารอคอย เป็นโอกาสแห่งการได้ใช้เวลากับครอบครัวและคนที่รัก ทั่วทั้งประเทศปิดตัวลงไปชั่วครู่  วันปีใหม่ที่อยู่ไม่ไกลก็ถูกควบรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาแห่งความสุขนี้ มันยังเป็นโอกาสให้ผู้คนได้สนุกสนาน พักผ่อน ทบทวนปีเก่าที่กำลังจะผ่านพ้นไป และมองไปยังปีใหม่ที่กำลังจะมา ในช่วงปี 2022 เป็นปีที่ผมมีโอกาสได้ใช้เวลาช่วงคริสต์มาสในประเทศไทย ผมรู้สึกทึ่งที่ได้เห็นว่าคนไทยตื่นเต้นกับเทศกาลนี้มากแค่ไหน นับตั้งแต่การออกแบบพื้นที่ขนาดมหึมาในห้างสรรพสินค้า ปาร์ตี้คริสต์มาสที่จัดขึ้นในบริษัทต่างๆ ไปจนถึงการเล่นบัดดี้จับของขวัญระหว่างเพื่อนฝูง คนไทยสนุกสนานไปกับประเพณีต่างๆ ที่มาพร้อมคริสต์มาส องค์ประกอบบางอย่างได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับวัฒนธรรมของคนไทย มันน่าสนใจที่ได้เห็นคริสต์มาสถูกตีความผ่านอีกวัฒนธรรมหนึ่ง และหวังว่างานของผมจะแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งคริสต์มาสที่ผมได้สัมผัสในประเทศไทย

_____________

แบร์รี่ แมคโดนัลด์เกิดในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ่อของเขามีงานอดิเรกคือการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิลม์ 35 มม. และสอนให้เขาเรียนรู้การใช้กล้องมาตั้งแต่ยังเด็กๆ เขามีกล้องถ่ายรูปฟิลม์เป็นของตัวเองครั้งแรกในปี 1995 สำหรับแบร์รี่ กล้องกลายเป็นสิ่งที่ช่วยเปิดหนทางในการปฏิสัมพันธ์กับโลกในแบบที่เขามองว่าเป็นเหตุเป็นผล การจับภาพ สร้างเฟรมและองค์ประกอบขึ้นจากช่วงเวลาๆ หนึ่งนำมาซึ่งความพึงใจ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นและคงอยู่ร่วมกันอย่างลงตัว กล้องได้นำพาให้เขาออกเดินทางและพบเจอผู้คน และเขาก็รู้สึกขอบคุณมันเสมอที่มันเปลี่ยนชีวิตเขาและช่วยให้เขาเข้าใจโลกในแบบที่มันเป็น

instagram.com/barrymac84