Tag: Street Photo

PHOTO ESSAY : THE CITY’S COLORS: BANGKOK

Julachart Pleansanit
Julachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart PleansanitJulachart Pleansanit

TEXT & PHOTO: JULACHART PLEANSANIT

(For English, press here

กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในเมืองที่ขึ้นชื่อว่ามีความสนุกสนานที่สุดในโลก เต็มไปด้วยผู้คนมากมาย วัฒนธรรมหลากหลาย และบรรยากาศที่มีชีวิตชีวา ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้กรุงเทพฯ โดดเด่นก็คือสีสันที่สดใส ทำให้เมืองนี้โดดเด่น มีลักษณะเฉพาะตัว ทั้งกลางวันและกลางคืน

สีสันในกรุงเทพฯ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างบรรยากาศและเอกลักษณ์ของเมืองอีกด้วย สีสันของเมืองนี้ปรากฏให้เห็นอย่างสดใสในทุกที่ ทั้งตามป้ายโฆษณา ผ้าใบกันสาด ยานพาหนะ แฟชั่น แม้กระทั่งอาคารบ้านเรือนและผู้คน อีกทั้งสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงินนั้น โดดเด่นจนสามารถพบเห็นอยู่ทั่วทั้งเมือง เมื่อได้ผสมผสานอยู่ท่ามกลางสีอื่นๆ จึงทำเมืองนี้ มีสีสันที่พิเศษกว่าเมืองไหนๆ

ในการถ่ายภาพแนวสตรีท สีสันเป็นหนึ่งในองค์ประกอบแรกๆ ที่ผมมองหา เพราะสามารถสร้างภาพ ที่โดดเด่นขึ้นมาได้ เมื่อรวมกับการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสม สีสันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรื่องราว ในภาพน่าสนใจยิ่งขึ้น

ภาพถ่ายชุดนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้สีสันที่โดดเด่น ขณะเดียวกันยังสะท้อนความเป็น ‘street’ แบบไทย ที่มีเอกลักษณ์ ภาพแต่ละภาพ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้สีสันของกรุงเทพฯ เพื่อสร้างบรรยากาศ และแต่งแต้มเรื่องราวให้เมืองนี้เต็มไปด้วยชีวิตชีวา

___________________

จุฬชาติ เปลี่ยนสนิท เป็นสถาปนิกและนักออกแบบอีเวนต์ event designer เมื่อประมาณปีที่แล้ว เขาได้เริ่มเดินถ่ายภาพสตรีทอย่างจริงจัง ระหว่างทาง เขาจะพยายามมองสิ่งรอบตัว ผ่านมุมมองของตนเอง โดยเชื่อว่าทุกสถานที่มีมุมมองที่ซ่อนอยู่เสมอ มันเหมือนกับการล่าสมบัติ ที่เขาเพียงแค่พยายามค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ในที่ที่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม

instagram.com/longstreet_bob

PHOTO ESSAY : THE FABRIC OF SOCIETY

The Fabric of Society
The Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of SocietyThe Fabric of Society

TEXT & PHOTO: BARRY MACDONALD

(For English, press here

‘The Fabric of Society’ หรือ แปลเป็นภาษาไทย ‘ผืนผ้าของสังคม’ เป็นคำที่ใช้เปรียบเปรยในภาษาอังกฤษ หมายถึงโครงสร้างพื้นฐาน ความสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงที่ยึดถือสังคมไว้ด้วยกันเหมือนกับผ้าที่ทำจากเส้นด้ายแต่ละเส้นที่ถูกถักทอเข้าด้วยกันเพื่อสร้างเป็นผืนเดียว ‘ผืนผ้าของสังคม’ ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ เช่น ค่านิยมร่วมกัน บรรทัดฐาน กฎหมาย สถาบัน และวัฒนธรรมที่ผูกพันบุคคลและกลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผืนผ้าผืนเดียวกัน

ผ้าใบ (ผ้าใบพลาสติกแถบสีน้ำเงินขาว) ภาพจำที่ทำให้เรานึกถึงเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นแรงงาน แต่อันที่จริงแล้วชีวิตของทุกคนต่างมีส่วนที่ข้องเกี่ยวกับผ้าใบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในอาหารทุกๆ มื้อที่เราทาน ถูกปลูก ตาก จับ ส่งขาย จนประกอบเป็นอาหาร ต่างล้วนมีผ้าใบเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการไม่มากก็น้อย อาคารที่ปลูกสร้างต่างต้องเคยใช้ผ้าใบมาแล้วไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในงานก่อสร้าง งานประปา และงานไฟฟ้าต้องพึ่งพาวัสดุอเนกประสงค์นี้ หรือแม้กระทั่งสิ่งของทุกอย่างที่เราซื้ออาจใช้ผ้าใบในการขนส่ง, การเก็บรักษา หรือแม้แต่การสร้างแผงขายของตลาด ปูพื้น ทำโต๊ะ มุงหลังคา และอื่นๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของไร้ราคาบนท้องถนน หรือไปจนถึงพระพุทธรูปที่มีค่าที่สุดในวัด ผ้าใบถูกเชื่อถือในการปกป้องรักษา ดูแลสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด

ภาพชุดนี้มองดูแล้วอาจจะเกี่ยวกับผ้าใบ แต่หากมองลึกลงไปแท้จริงแล้วผ้าใบสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับสังคมได้ในหลายมิติ เราจะเห็นถึงมิติแห่งกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ทุกคนต่างใช้ผลิตภัณฑ์เดียวกัน จากแหล่งที่มาเดียวกัน มิติเชิงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของการผลิตพลาสติกจำนวนมาก รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยในการดัดแปลงวัสดุให้เป็นรูปแบบและการใช้งานใหม่ๆ ไปจนถึงการสะท้อนเห็นปัญหาแรงงานข้ามชาติและอาชีพที่พวกเขาทำในประเทศไทย ที่พวกเขาบางคนอาศัยอยู่ในที่ที่สร้างขึ้นด้วยผ้าใบ

ชวนให้ตั้งคำถามว่า หากไม่มีผ้าใบ ประเทศจะยังคงสามารถดำเนินการได้หรือไม่ หรือผ้าใบคือสิ่งที่แสดงออกถึง ‘ผืนผ้าของสังคม’ ในรูปธรรมที่แท้จริง

___________________

แบร์รี แมคโดนัลด์ (เกิดปี 2527) เป็นช่างภาพอิสระจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาเริ่มต้นถ่ายภาพนักดนตรีและค้นพบความสนุกสนานในการเดินทางจากการไปทัวร์กับวงดนตรีทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา งานของเขาพัฒนามาเป็นการผสมผสานระหว่างการถ่ายภาพแนวสตรีทและสารคดี เขาสนใจสังคมวิทยาและพยายามมองวัฒนธรรมและธรรมชาติของมนุษย์ผ่านการถ่ายภาพของเขา เขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2565

barrymacdonald.co.uk
instagram.com/barrymac84

PHOTO ESSAY : SPECTRUM OF SOLITUDE: A TAPESTRY OF URBAN LIFE

TEXT & PHOTO: CHEVAN LIKITBANNAKON 

(For English, press here

ในผลงาน ‘Spectrum of Solitude’ ซีรีส์ภาพถ่ายสะกดสายตา เลนส์กล้องส่องลึกลงไปยังพลวัตรอันซับซ้อนของเมือง จับภาพช่วงเวลาแห่งความสัมพันธ์ การใคร่ครวญ และการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ท่ามกลางพื้นหลังอย่างสวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ ไปจนถึงถนนหนทางอันจอแจ ภาพแต่ละภาพเป็นดั่งฝีแปรงที่ปรากฏบนผืนผ้าใบอันกว้างใหญ่ของชีวิตเมือง เผยความสอดคล้องระหว่างความโดดเดี่ยวกับการมีใครสักคนอยู่ข้างๆ ความเกี่ยวโยงระหว่างวัฒนธรรมและศิลปะ

ชุดภาพภ่ายนี้เปิดด้วยฉากทัศน์ของผู้คนที่รายล้อมไปด้วยมิตรภาพอันอบอุ่น พวกเขาหัวเราะ แลกเปลี่ยนเรื่องราวในอ้อมกอดอันเขียวชอุ่มของสวนสาธารณะและคาเฟ่หน้าตาสวยงามน่านั่ง เพื่อนฝูง คนรัก ปลอบประโลมซึ่งกันและกัน ความสุขของพวกเขานั้นมองเห็นได้ชัดเจนโดยมีเมืองอันงดงามเป็นพื้นหลัง อย่างไรก็ดี สิ่งที่แทรกตัวอยู่ระหว่างช่วงเวลาแห่งความเป็นมิตรเหล่านี้ คือผู้คนที่โดดเดี่ยวซึ่งเหม่อลอยอยู่ท่ามกลางความเร่งรีบวุ่นวายของชีวิตเมือง ช่วงขณะอันเปลี่ยวเหงานี้นำเสนอภาพตรงข้ามกับพลังงานอันสดใสที่เกิดจากการพบปะของผู้คน มันชักชวนให้ผู้ชมละเมียดละไมกับความงามของการสำรวจตัวเองและการค้นพบตัวตน

ภาพถ่ายในซีรีส์ค่อยๆ เผยแง่มุมการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ผ่านรูปถ่ายที่จับภาพการทับซ้อนของธรรมเนียม และการแสดงออกหลากหลายที่บ่งบอกตัวตนของเมือง จากโถงอันเงียบงันของพิพิธภัณฑ์ที่ศิลปะกับประวัติศาสตร์สัมพันธ์เชื่อมโยง ไปจนถึงถนนอันครึกครื้นซึ่งเต็มไปด้วยชีวิตหลากวัฒนธรรม แต่ละภาพคือหลักฐานของความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายของประสบการณ์ของมนุษย์ที่ปรากฏพบเจอในพื้นที่และอ้อมกอดของเมือง

‘Spectrum of Solitude’ นั้นเป็นมากกว่าชุดภาพถ่าย มันคือซิมโฟนีเฉลิมฉลองชีวิตเมืองที่มีมิติแง่มุมมากมาย ผ่านเลนส์ของการถ่ายภาพเเนวสตรีท ผู้ชมจะได้ร่วมค้นหาความสมดุลอันเปราะบางระหว่างความโดดเดี่ยวและความสัมพันธ์ วัฒนธรรมและศิลปะ เพื่อค้นพบความงามในช่วงเวลาต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่ช่วยก่อร่างสร้างประสบการณ์ในเมืองขึ้นมา

_____________

ด้วยพื้นหลังด้านการทำภาพยนตร์ Chevan Likitbannakon คือช่างภาพลูกครึ่งไทยอียิปต์ผู้ที่หลงใหลในการเล่าเรื่องด้วยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันเป็นการเล่าเรื่องผ่านรูปแบบทางทัศนศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพถ่าย มิวสิควีดีโอ หรือการทำหนัง มันจะมีช่วงเวลาที่ปรากฏขึ้นเพียงชั่วขณะที่ทำให้ผมได้เห็นเสี้ยวหนึ่งของแก่นของคนหรือเรื่องราวที่ถูกผมจับภาพ นั่นคือเรื่องราวที่ผมเล่า การเป็นคนที่อยู่หลังกล้องที่บันทึกเขาช่วงเวลานั้นเอาไว้ พาตัวผมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวเหล่านั้น มันอาจจะเป็นความรู้สึก หรือความคิด หรือสายตา ที่ถูกเผยออกมาระหว่างห้วงขณะที่ถูกจับภาพเอาไว้  และมันก็อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครได้เห็นมาก่อนเลยก็เป็นได้

chevan.myportfolio.com

 

PHOTO ESSAY : DIY THAI CHAIRS

TEXT & PHOTO: BARRY MACDONALD

(For English, press here

ผมเป็นช่างภาพ และผมก็ได้ทำการบันทึกภาพบรรดาเก้าอี้ที่ถูกซ่อม หรือวัสดุที่ถูกดัดแปลงให้นั่งได้ตามท้องถนนของประเทศไทย สิ่งเหล่านั้นมองอย่างไรก็เป็นสิ่งที่ชำรุดแล้ว แต่มันกลับไม่ถูกทิ้งขว้าง หากแต่ได้รับการซ่อมแซมด้วยการเชื่อมต่อ ปะติด มอบชีวิตใหม่ให้สิ่งของอีกครั้งหนึ่ง ในสายตาคนบางคน เฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งที่อาจดูผุพังใช้งานไม่ได้อีกต่อไป แต่ก็ยังมีคนที่เลือกซ่อมแซมมัน เพราะยังมองเห็นโอกาสที่จะใช้งานต่อได้อย่างไม่รู้จบ เราสามารถพบเจอเก้าอี้เหล่านี้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นที่เพิงวินมอเตอร์ไซค์หรือตลาด หรือสถานที่สาธารณะที่เต็มไปด้วยผู้คนที่ต้องการพักผ่อนแต่ไม่มีอุปกรณ์สาธารณะประโยชน์ตอบสนอง การสร้างที่พักพิงชั่วคราวเหล่านี้ขึ้นมาด้วยตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

นักออกแบบและวิศวกรของเก้าอี้ชุดนี้คือกลุ่มคนธรรมดาๆ ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และความหลักแหลมของตนรังสรรค์ผลงานเหล่านี้ขึ้นมา ภายใต้ปรัชญาการใช้ซ้ำ (recycling) และนำสิ่งของกลับมาใช้ใหม่ (upcycling) ในขณะที่ผลงานที่พวกเขาสร้างขึ้นมีการใช้งานเป็นจุดประสงค์หลัก แต่ถึงอย่างนั้น พวกมันก็ก่อกำเนิดความงามที่แตกต่างออกไป จากเทคนิคการประกอบร่างวัสดุหลายอย่าง เช่นงานไม้ การถักทอ การผูก การเชื่อม การติดกาว การผูกเคเบิล การแกะสลัก การติดเทป การใช้ยางยืด ฯลฯ บางครั้งวัตถุรอบๆ ก็กลายเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเสริมความแข็งแรง ราวกับเก้าอี้และท้องถนนผสานหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เช่นเดียวกับเก้าอี้ตัวหนึ่งที่ผมเคยเห็น ที่วางตัวอยู่ภายในกิ่งไม้ที่กลายเป็นที่วางแขนของมันไปในที่สุด

ของราคาถูกที่พังง่ายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เพิ่มการสร้างขยะและค่านิยมบริโภคนิยม ศิลปะของการซ่อมแซมสิ่งของที่เราเป็นเจ้าของกำลังล้าสมัย พร้อมๆ กับการที่เหล่าบริษัทผู้ผลิตใช้กลยุทธ์สร้างผลิตภัณฑ์ให้หมดอายุเมื่อผ่านระยะเวลาไปสักประมาณหนึ่ง เก้าอี้เหล่านี้เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของการออกแบบเมือง มันทำงานกับข้อจำกัดที่มาพร้อมความเสียหายและเงื่อนไขที่ไม่ปกติของวัสดุ การสร้างที่นั่งที่ทำให้การนั่งทำงานบนท้องถนนสามารถเป็นไปได้ ทักษะเหล่านี้จึงมีความจำเป็น เพราะในขณะที่เรากำลังเผชิญประเด็นปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับทรัพยากรในโลกนี้ การมีความคิดและทัศนคติว่าเราควรที่จะซ่อมแซมสิ่งต่างๆ มากกว่าที่จะหาสิ่งใหม่มาแทนที่สิ่งเก่าเสมอจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ

ผมคิดว่าทักษะของนักออกแบบธรรมดาเหล่านี้ คือการคิดริเริ่ม ความสามารถในการแก้ปัญหา รวมไปถึงมีความยืดหยุ่น เป็นสิ่งจำเป็นต่อความเป็นไปของประเทศไทย และมันควรได้รับการคำนึงถึงและส่งเสริม เมื่อมีการวางแผนพื้นที่สาธารณะในอนาคต

_____________

แบร์รี่ แมคโดนัลด์ เกิดที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร พ่อของเขาเคยถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์ม 35 มม. เป็นงานอดิเรก และได้สอนวิธีใช้กล้องนี้แก่เขาเมื่อเขายังเด็ก ตอนที่เขาอายุ 15 เขามีกล้องฟิล์มเป็นของตัวเอง สำหรับแบร์รี่ กล้องเป็นช่องทางในการปฏิสัมพันธ์กับโลกในแบบที่เป็นเหตุเป็นผล การจับภาพ สร้างเฟรมและองค์ประกอบขึ้นจากช่วงเวลาๆ หนึ่งอันนำมาซึ่งความพึงใจ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นและคงอยู่ร่วมกันอย่างลงตัว กล้องได้นำพาให้เขาออกเดินทางและพบเจอผู้คน และเขาก็รู้สึกขอบคุณมันเสมอที่เปลี่ยนชีวิตเขาและช่วยให้เขาเข้าใจโลกในแบบที่มันเป็น

instagram.com/barrymac84

THAI TAXI TALISMANS

สรรพสิ่งมหัศจรรย์บนรถแท็กซี่ไทย เป็นแรงบันดาลใจให้ Dale Konstanz ถ่ายภาพห้องโดยสารรถ ค้นคว้าข้อมูลเครื่องรางต่างๆ ข้างใน และรวบรวมข้อมูลจนกลายเป็นหนังสือที่สะท้อนความเชื่อแบบไท้ยไทยให้เราเห็น Read More

PHOTO ESSAY : SUPERNATURAL

TEXT & PHOTO: SANTANA PETCHSUK

(For English, press here)

มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เราเรียกว่า “ธรรมชาติแต่ด้วยความสามารถ สติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ หรือสิ่งใดๆ ก็แล้วแต่ แม้กระทั่งความกลัว ทำให้มนุษย์พยายามที่จะควบคุมหรือพยายามที่จะมีอำนาจเหนือธรรมชาติ ในรูปแบบของสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ทั้งที่จับต้องได้และไม่ได้  

เพราะฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าการสัมผัสรับรู้ถึงสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ (supernatural) ไม่จำเป็นต้องพึ่งพลังหรือสัมผัสพิเศษใดๆ หากแต่แค่ลองมองไปรอบตัวของเรา ก็อาจเห็นถึงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ที่มนุษย์เราได้สร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจนเรามองเป็นของธรรมดา ทั้งที่สิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติมาตั้งแต่ต้น

_____________

สันทนะ เพ็ชร์สุข ช่างภาพอิสระที่มีความสนใจในศิลปะและจิตวิทยา สำหรับเขา การถ่ายภาพเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ถ่ายทอดความคิดของเขาที่มีต่อสิ่งรอบตัว ความผิดที่ผิดทางและความไม่สมบูรณ์ มักจะดึงดูดความสนใจของเขา เพราะมันบ่งบอกและสะท้อนถึงพฤติกรรม วิธีคิด อันเป็นที่มาของความไม่สมบูรณ์นั้นๆ ปัจจุบันเขาสนใจในศิลปะภาพถ่าย Still Life และศิลปะ Collage

santanapetchsuk.com
fb.com/Santana-Petchsuk-Photography
ig: @santanapetchsuk