ป้ายกำกับ: architecture
PH/AD
สตูดิโอที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับบริบท เพื่อออกแบบอาคารที่ตอบโจทย์และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งาน
AAU 25+25: THE ROAD AHEAD
ชวนอ่านทิศทางของวิชาชีพสถาปัตยกรรมและการออกแบบจากเหล่าผู้คนที่เกี่ยวข้องกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในหนังสือที่ทำขึ้นเพื่อฉลองวันครบรอบ 25 ปีของคณะ
VVDESINE LANDSCAPE ARCHITECTURE
สตูดิโอออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรมที่บาลานซ์ความละมุนละไมและความชัดเจนได้อย่างลงตัว พร้อมสร้างประสบการณ์ที่น่าสนใจในทุกประสาทสัมผัสให้แก่ผู้ใช้งาน
SPARKLING MARKET
โครงการออกแบบและปรับปรุงตลาดป๋อกวงที่ท่าเรือซินจู๋ได้แรงบันดาลใจจากคลื่นทะเลและเฉดสีของเม็ดทราย จนกลายเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวและแลนด์มาร์กของไต้หวัน
BANGKOK UTOPIA: MODERN ARCHITECTURE AND BUDDHIST FELICITIES, 1910 – 1973
หนังสือของ Lawrence Chua ได้นำเสนอประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสภาพแวดล้อมเมืองในกรุงเทพฯ ซึ่งอิงจากความเชื่อทางพุทธศาสนาในระยะเวลาหนึ่งช่วงอายุคน
TIME STRETCHED
TEXT & IMAGE: ANTON REPPONEN
(For English, press here)
Time Stretched เป็นการเดินทางสำรวทางทัศนะที่จะพาเราไปค้นหาความเกี่ยวเนื่องอันซับซ้อนของเวลา การเคลื่อนไหว และการรับรู้ของมนุษย์ แต่ละภาพในชุดนี้แช่แข็งช่วงเวลาไว้ในปฏิทรรศน์แห่งเวลา (temporal paradox) สภาพแวดล้อมล้วนถูกบิดเบือนไปในความโกลาหลจากการยืดตัวของเวลา ในขณะที่ตัวละครหลักของภาพกลับไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากโครงสร้างแห่งเวลาที่บิดเบี้ยว ผลลัพธ์ที่ได้คือภูมิทัศน์ที่ยืดออก สถาปัตยกรรมที่ผิดรูป และสภาพแวดล้อมเหนือจริงที่สร้างภาพบรรยากาศอันตราตรึง
ภาพแต่ละภาพถูกบันทึกไว้จากสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ถนนที่วุ่นวายในนิวยอร์กจนถึงภูมิทัศน์ที่เต็มไปด้วยสีสันของโตเกียว บาร์เซโลนา และกรุงเทพฯ แต่ในโลกของ ‘Time Stretched’ ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์จางหายไปจนไม่เหลือความสำคัญ ผู้ชมจะถูกนำไปสู่ช่วงเวลาที่บิดเบี้ยวและเป็นนามธรรม ในโลกแห่งนี้ ตัวละครหลักปรากฏตัวอย่างโดดเดี่ยว หยุดนิ่งไม่ไหวติงภายในห้วงเวลาของตนเอง หลุดพ้นจากข้อจำกัดของสถานที่ และดื่มด่ำในปฏิสัมพันธ์ที่น่าหลงใหลและน่าค้นหาของปฏิทรรศน์เวลา
___________________
Anton Repponen เป็นนักออกแบบปฏิสัมพันธ์ (interaction design) ที่มีสำนักงานอยู่ในนิวยอร์ก เขาร่วมนำทีมสตูดิโอออกแบบชื่อ ‘Anton & Irene’ ที่ดูแลลูกค้าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสถาบันวัฒนธรรมชั้นนำเช่น M+ Museum ในฮ่องกงและ The Met Museum ในนิวยอร์ก ไปจนถึงยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Spotify Netflix และ Google แนวทางการออกแบบของเขาผสมผสานอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบปฏิสัมพันธ์ได้อย่างลงตัว สะท้อนถึงปรัชญาการออกแบบที่เน้นความเป็นมนุษย์และพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมของเขาอย่างชัดเจน