ป้ายกำกับ: material

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

Herzog & de Meuron สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ ‘Elbphilharmonie Hamburg’ ปรับปรุงคลังสินค้าเก่าให้กลายเป็นแลนด์มาร์กของเมือง Hamburg ประเทศเยอรมนี ด้วย façade กระจกผิวโค้งมน 3 มิติ ที่เกิดจากการร่วมพัฒนากับ Guardian Glass เป็นครั้งแรก

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: CORDELIA EWERTH

(For English, press here)

Elbphilharmonie Hamburg เป็นหนึ่งในอาคารที่ได้ชื่อว่ามีความสวยงาม และมีระบบการออกแบบ Acoustic ที่ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกระดับโลกอย่าง Herzog & de Meuron เจ้าของรางวัล Prizker Prize เมื่อปี 2001 ที่มีแนวทางการออกแบบในการประยุกต์ การผสมผสานสิ่งเก่าและสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นในงานสถาปัตยกรรมของพวกเขาอยู่เสมอ

ความน่าสนใจของโครงการนี้ไม่ใช่เพียงแค่หน้าตาของอาคาร และเทคโนโลยี แต่ยังแสดงถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพื้นที่ รวมทั้งอาคารหลังเก่าก็ช่วยสร้างให้เกิดความพิเศษขึ้นมา เดิมที่พื้นที่นี้เคยเป็นที่ตั้งคลังสินค้าหลวง (Kaispeicher) โดยทางรัฐบาลมีแนวคิด ที่จะพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นศูนย์กลางของเมือง เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายในพื้นที่สาธารณะการออกแบบจึงเริ่มต้นจากการรักษาอาคารคลังสินค้าเก่าและสร้างโครงสร้างใหม่ต่อยอดขึ้นไปด้านบน เกิดเป็นการผสมผสานระหว่างอาคารก่ออิฐและอาคารผิวกระจกที่มีความน่าสนใจอย่างมาก จากด้านล่างที่พื้นที่ต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน ห้อมล้อม และผ่านตัวอาคารคลังสินค้าเก่านี้ ก่อนที่จะขึ้นไปพบกับฟังก์ชั่นที่หลากหลายด้านบน ทั้งโรงแสดงดนตรี ร้านอาหาร บาร์ อพาร์ทเมนต์ โรงแรม รวมถึงดาดฟ้าที่สามารถชมวิวท่าเรือของเมือง Hamburg ได้

ใจความสำคัญของโครงการคงหนีไม่พัน ส่วนขยายต่อเติมที่เป็นอาคารกระจกด้านบนที่ถูกออกแบบให้มีความสุนทรียศาสตร์เพื่อให้สอคล้องไปกับฟังก์ชั่นที่เป็นโรงแสดงดนตรี โดยนำเส้นโค้งและการบิดตัวของพื้นผิวต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ที่เข้ามาใช้งาน สื่อถึงความเป็นท่าเรือโดยได้แรงบันดาลใจมากจากผ้าใบเรือ และรูปลักษณ์ของคลื่นบนพื้นผิวของ façade ขนาดพื้นที่กว่า 5,000 ตารางเมตร ไม่บ่อยครั้งนักที่วัสดุที่เราคุ้นชินอย่างกระจกจะถูกนำมาดัดโค้งบิดรูปจนเกิดเป็นพื้นผิวที่โค้งมน 3 มิติ ทำให้สถาปนิกนั้นสามารถออกแบบได้อย่างอิสระเพื่อให้ใกล้เคียงกับแนวความคิดมากที่สุด โดยได้พัฒนาร่วมกัน Guardian Glass เพื่อมองหาความเป็นไปได้นี้

ความน่าสนใจคือการสร้างกระจกที่บิดตัวเป็นแบบ 3 มิติ ที่ได้ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกในโครงการนี้ ผ่านการวิจัยอย่างละเอียดเพื่อที่จะรักษารูปแบบของกระจกพร้อมกับคงคุณสมบัติของกระจกแต่ละประเภทไว้ ทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคาร การป้องกันความร้อนเข้าสู่พื้นที่ภายใน โดยในโครงการนี้ได้เลือกใช้กระจกอย่างรุ่น Extra Clear, ClimaGuard®, SunGuard® มาผสมผสานกันเพื่อให้งานออกแบบนั้นสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งสำหรับงานสถาปัตยกรรมแล้ว การพัฒนาในแง่ของวัสดุครั้งนี้ช่วยให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดในงานออกแบบต่างๆ ในอนาคต

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

TAK EXCLUSIVE COLLECTION

TAK เปิดตัวผลิตภัณฑ์ลามิเนตคอลเล็คชั่นใหม่ของ Lamitak, Dekodur และ O2 Plus รวมถึงผลิตภัณฑ์ Creative color board ของ Forescolor ที่มีดีไซน์อันสวยงาม และกระบวนการผลิตอันโดดเด่น ตอบรับกับเทรนด์ปัจจุบันทั้งในแง่สุนทรียะ สุขภาวะ และความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม

Read More

SCG D’COR – REVOLUTIONIZING THE INDUSTRY

ทำความรู้จักกับวัสดุจาก SCG D’COR แบรนด์วัสดุตกแต่งฟาซาดทางเลือกจากเอสซีจี ที่มาพร้อมผลิตภัณฑ์หลากหลายซึ่งตอบโจทย์ทั้งด้านการใช้งานและความงาม

Read More

HOUSESCAPE DESIGN LAB

PHOTO COURTESY OF HOUSESCAPE DESIGN LAB EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

WHO
Housescape Design Lab โดย พีระพงษ์ พรมชาติ ทิพรดา จินดาธรรม และวชิระ ปากกล้า

WHAT
สตูดิโอออกแบบที่เราเริ่มต้นด้วยการคุยกันเรื่องทฤษฎีการออกแบบพื้นที่ รวมไปถึงการทดลองกับความเป็นไปได้ของวัสดุที่หน้างานจริง

Read More

MUSLIM.ARCHITECT.FOR.COMMUNITY

PHOTO COURTESY OF MUSLIM.ARCHITECT.FOR.COMMUNITY

WHO, WHAT, WHEN, WHERE, WHY

Read More