ป้ายกำกับ: material

ENTER PROJECTS ASIA

art4d พูดคุยกับ Enter Projects Asia ถึงแนวทางการออกแบบของสตูดิโอที่เน้นนำวัสดุอย่าง ‘หวาย’ มาผนวกรวมกับเทคโนโลยี แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของการใช้วัสดุท้องถิ่นในงานออกแบบร่วมสมัย

Read More

ELBPHILHARMONIE HAMBURG: FAÇADE DETAILS | GUARDIAN GLASS

ELBPHILHARMONIE HAMBURG: FAÇADE DETAILS | GUARDIAN GLASS

หลังจากได้นำเสนอเบื้องหลังแนวคิดการดีไซน์อาคาร ELBPHILHARMONIE HAMBURG กันไปในครั้งก่อน คราวนี้ไปเจาะลึกถึง façade กระจกของอาคารที่ประกอบด้วย Guardian ExtraClear®, Guardian ClimaGuard® และ Guardian SunGuard® ที่ก่อให้เกิดเส้นสายดั่งคลื่นน้ำและท่าเรือใกล้เคียง

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: CORDELIA EWERTH

(For English, press here)

Façade กระจกดัดโค้งรูปร่างประหลาดตา กลายเป็นภาพจำของโปรเจ็คต์ Elbphilharmonie Hamburg ผลงานออกแบบจาก Herzog & de Meuron ที่นำคลังสินค้าเก่ามาออกแบบใหม่ให้กลายเป็นศูนย์กลางของเมือง Hamburg ที่เต็มไปด้วยกิจกรรม ทั้งโรงแสดงดนตรี ร้านอาหาร บาร์ อพาร์ทเมนต์ และ โรงแรม

จากแนวความคิดในการออกแบบที่มาจากคลื่นน้ำ นำมาสู่การพัฒนารูปร่างของกระจกให้เกิดความโค้งแบบ 3 มิติ ด้วยพื้นที่ของ Façade กว่า 21,800 ตารางเมตร โดยมีส่วนที่ถูกออกแบบให้เป็นกระจกโค้งกว่า 5,000 ตารางเมตร ที่เกิดจากการพัฒนาร่วมกันกับ Guardian Glass และโครงการ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่เคยมีการพัฒนากระจกในลักษณะนี้มาก่อน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของรูปลักษณ์เท่านั้น แต่แผงกระจกนี้ยังคงต้องคงคุณสมบัติต่างๆ ไว้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งความเข็งแรง ความปลอดภัย และ การลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร

สถาปนิกเลือกนำกระจก 3 ชั้นมาดัดโค้งและประกอบจนเกิดเป็นรูปแบบตามความต้องการ นอกจากที่จะตอบโจทย์ในแง่ของความสวยงามแล้ว กระบวนการผลิตก็ยังคงคุณสมบัติต่างๆ ของกระจกไว้ได้อย่างดีแม้ว่าจะนำไปดัดโค้ง ทำให้สามารถรักษาประสิทธิภาพของผิวกระจก Low-E ที่สามารถควบคุมความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้อย่างครบถ้วน

กระจกที่เลือกมาใช้ในโครงการ Elbphilharmonie Hamburg นั้นประกอบไปด้วย Guardian ExtraClear® กระจกโฟลตใส ที่เลือกใช้เป็นกระจกหลักกับ Façade ของอาคาร เพื่อให้มีความโปร่งใส รวมถึง Guardian ClimaGuard® DT กระจกฉนวนความร้อน มีที่คุณสมบัติควบคุมอุณหภูมิจากภายนอกสู่ภายในได้ดี  มีความแข็งแรงทนทาน และ Guardian SunGuard® Solar Light Blue 52 กระจกควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องเข้าสู่ตัวอาคาร สามารถส่งผ่านแสงอาทิตย์เข้าสู่ตัวอาคาร หรือ Visible Light Transmission (VLT) ที่ 47% และ ส่งผ่านความร้อนเพียง 36% เท่านั้น ซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมอุณหภูมิ และ ลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศภายในอาคารได้

จากเทคโนโลยีในการก่อสร้างอาคาร Elbphilharmonie Hamburg นี้ ทำให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ต่างๆ ในการนำกระจกมาใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งหากเรานำการออกแบบ มาผสมผสานกับองค์ความรู้ในแง่ของวัสดุ และ กระบวนการผลิตนั้น ก็จะช่วยให้มองเห็นความเปิดกว้างในงานออกแบบมากขึ้นในอนาคต

และย้อนดูบทความเกี่ยวกับเบื้องหลังแนวคิดในการออกแบบอาคาร Elbphilharmonie Hamburg ได้ที่

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

GLASS IN ARCHITECTURE

กังวานสิริ เตชะวณิช จากสตูดิโอ pbm จะมานำเสนอเรื่องราวของวัสดุอย่าง ‘กระจก’ ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่แผ่นบางๆ ที่กั้นตรงกลางเท่านั้น หากแต่เป็นวัสดุที่ทำลายทุกกรอบของความเป็นไปได้ในงานออกแบบ เพื่อแสดงออกถึงวิสัยทัศน์แห่งอนาคตของงานสถาปัตยกรรม

Read More

SLABTITUDE

วสุ วิรัชศิลป์ สถาปนิกผู้ก่อตั้งสตูดิโอ VasLab ถ่ายทอดตัวตนออกมาผ่านดีไซน์ของคาเฟ่ Slabtitude ที่มีทั้งเส้นสายของอาคารอันโฉบเฉี่ยว การผสมผสานระหว่างวัสดุไม้และคอนกรีต และโต๊ะไม้ขนาดใหญ่กลางอาคารอันโดดเด่น ที่ดูราวกับกำลังลอยอยู่กลางอากาศได้อย่างมหัศจรรย์

Read More

CUBE BERLIN | GUARDIAN GLASS

CUBE BERLIN | GUARDIAN GLASS

3XN Architects นำเสนออาคาร Cube Berlin ที่ทำหน้าที่เป็นแลนด์มาร์คให้กับพื้นที่สาธารณะที่ผสมศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันทั้งงานสถาปัตยกรรม ศิลปะและเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง Façade จากกระจกรุ่น Climaguard Premium 2 และ Sunguard High Durable Diamond 66 ก็ได้สร้างความโดดเด่นและลดการใช้พลังงานในอาคารไปได้พร้อมๆ กัน

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: ADAM MØRK

(For English, press here)

จัตุรัสใจกลางเมืองเบอร์ลินเป็นที่ตั้งของอาคารรูปทรงทันสมัยอย่าง Cube Berlin ด้วยทำเลที่ตั้งที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหลักของเมือง อีกทั้งยังติดริมแม่น้ำ จึงทำให้อาคารนี้ทำหน้าที่เป็นเสมือน Landmark ให้กับพื้นที่สาธารณะในย่านนี้ ที่ไม่ใช่แค่เพียงรูปลักษณ์ภายนอกที่โดดเด่นเท่านั้น แต่อาคารหลังนี้ยังเป็นการผสมผสานศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งในแง่ของความเป็นงานสถาปัตยกรรม ศิลปะ และ เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

จากความตั้งใจของผู้ออกแบบ 3XN Architects มีแนวความคิดที่ต้องการให้มิติของตัวอาคารนั้นมีความหลากหลายมากกว่าเดิม แม้ว่าจะเป็น office แต่ก็ยังสามารถแสดงออกเสมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่งได้ รวมไปถึงการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับพื้นที่โดยรอบด้วยผนังกระจกรอบด้าน ที่สะท้อนทางเดิน บรรยากาศของเมืองได้ ด้วยมิติที่หลากหลายเมื่อมองจากทั้งภายในและภายนอก

อาคารพาณิชย์สูง 10 ชั้นที่ประกอบไปด้วยพื้นที่กิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งออฟฟิศ ตลาด ที่จอดรถ ดาดฟ้า เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับพื้นที่โดยรอบ และด้วยความสูงของเปลือกอาคาร 42.5 เมตร โดยรอบ ทำให้ฟอร์มทรงลูกบาศก์นั้นโดดเด่นชัดเจน ด้วยผิวอาคารกระจกที่เปิดโล่งทั้งอาคารเผยให้เห็นโครงสร้างอย่างชัดเจนและจากมุมมองพื้นที่ภายในที่ผนังกระจกสูงจากพื้นถึงเพดาน เปิดให้เห็นวิวโดยรอบอย่างชัดเจนและรับแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ใช้สอยภายในได้อย่างเต็มที่

Façade ถูกออกแบบให้เกิดเป็นมุมหักสะท้อนที่แตกต่างทิศทางกันออกไป คล้ายกับรูปทรงของปริซึม เกิดเป็นลูกเล่นสำหรับผู้คนที่พบเห็น เปลือกอาคารถูกออกแบบให้เป็น กระจก 2 ชั้นช่วยให้เกิดมิติของอาคารที่มากกว่าเดิม ครอบคลุมพื้นที่ใช้สอย และ ส่วนระเบียงที่เรียงตัวสลับกันไปมาในแต่ละชั้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดเป็นพื้นที่เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ภายใน และ ภายนอก ซึ่งเมื่อมองจากภายนอกนั้น ผนังกระจกที่หุ้มอาคารนั้นเลือกใช้กระจกรุ่น Climaguard Premium 2 และ Sunguard High Durable  Diamond 66 ที่มีคุณสมบัติในการดักจับพลังงานความร้อนและมีการเคลือบสารสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์บนผิวของกระจก ทำให้สามารถตอบโจทย์ของการออกแบบที่ส่งเสริมเรื่องของอาคารอัจฉริยะที่เป็นอีกหนึ่งแนวความคิดหลักของโครงการนี้

ด้วยแนวความคิดของอาคารอัจฉริยะทำให้ผู้ออกแบบให้ความสำคัญถึงการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยประสิทธิภาพของกระจกนั้น ช่วยให้อาคารสามารถจัดการเรื่องความร้อนภายนอก และอุณหภูมิที่จะส่งเข้ามายังพื้นที่ภายใน ช่วยลดการใช้พลังงานภายในอาคารได้ ถึงแม้ว่าเปลือกอาคารจะเป็นผืนกระจกทั้งหมด แต่ไม่ส่งผลกับการจัดการพลังงานของอาคารหลังนี้ และเมื่อผนวกกับระบบการจัดการต่างๆ ทำให้อาคารหลังนี้ตอบโจทย์ความเป็นอาคารอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

CITÉ DU VIN | GUARDIAN GLASS

CITÉ DU VIN | GUARDIAN GLASS

XTU Architect ออกแบบโปรเจ็คต์​ Cité du Vin โดยนำแรงบันดาลใจจากแม่น้ำ Garome ในประเทศฝรั่งเศสและไวน์ที่เป็นเครื่องดื่มประจำชาติ มาสร้างสถาปัตยกรรมที่เต็มไปด้วยความโค้งมน พร้อมกรุด้วย façade กระจกรุ่น SunGuard® Solar Gold 20 และ Guardian UltraClear™ ที่บิดโค้งไปตามรูปทรงอาคาร

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO COURTESY OF GUARDIAN GLASS

(For English, press here)

คงน่าสนใจไม่น้อย หากงานสถาปัตยกรรมคอยบอกเล่าเรื่องราวของเมือง และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ผสมผสานทั้งเรื่องราวที่น่าสนใจ ผ่านการออกแบบที่เต็มไปด้วยวัสดุ รูปทรง และ เทคโนโลยีการก่อสร้างที่ร่วมสมัย ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น รวมอยู่ภายในโครงการ Cité du Vin นี้แล้ว

โปรเจกต์ Cité du Vin นี้ตั้งอยู่ในเมือง Bordeaux ประเทศฝรั่งเศส พื้นที่ของโครงการตั้งอยู่ริมแม่น้ำ Garome แม่น้ำสายหลักที่ผ่านกลางใจเมือง ทำให้ตัวอาคารนั้นถูกออกแบบให้มีเอกลักษณ์ และเป็นเสมือน Landmark ของเมืองไปด้วยในเวลาเดียวกันผ่านอาคารรูปทรงโค้งมน ด้วยพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ฟังค์ชั่นของตัวอาคารนั้นเป็นพิพิธภัณฑ์ไวน์ที่ประกอบไปด้วย ร้านอาหาร ห้องจัดแสดง ห้องสำหรับการเรียนรู้ รวมไปถึง ห้องทดลองไวน์ โดยมีพื้นที่แสดงนิทรรศการมากถึง 22 ส่วน เพื่อจัดแสดงและบอกเล่าประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ ในการรับชมอาคาร

XTU Architect ผู้ออกแบบโครงการนี้ตั้งใจนำแนวความคิดของไวน์ที่เป็นเครื่องดื่มทางวัฒนธรรมประจำชาติ ให้แสดงออกผ่านงานสถาปัตยกรรม จึงเกิดเป็นรูปทรงของอาคารที่บิดโค้ง ไร้มุม และสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงมากขึ้นระหว่างตัวอาคารและบริบทของพื้นที่โดยรอบ โดยเมื่อมองจากภายนอกจะเห็นถึงรูปทรงอาคารที่สอดคล้องไปกับแม่น้ำที่ไหลผ่านอยู่ด้านข้างตัวอาคาร นอกจากนี้ ภายนอกตัวอาคารยังสามารถมองเห็นพื้นผิวของ façade กระจกที่สะท้อนแสงธรรมชาติในมุมต่างๆ รอบทิศทาง โดยถูกออกแบบให้บิดตัวไปตามรูปทรงของอาคาร

แผงกระจกที่ถูกออกแบบให้เป็นไฮไลต์ของอาคาร เลือกใช้กระจกรุ่น SunGuard® Solar Gold 20 และ Guardian UltraClear™ นำมาดัดโค้งเพื่อใช้เป็น Façade ให้ช่วยส่งเสริมรูปทรงของอาคารมากขึ้น โดย SunGuard® Solar Gold 20 ที่ถูกออกแบบให้มีสีทองนั้นมีคุณสมบัติทั้งช่วยลดรังสีและกรองแสงที่ส่องผ่าน ซึ่งเมื่อนำมาใช้ใน Façade ก็สามารถสร้างลวดลายให้มีความน่าสนใจได้และเมื่อใช้ร่วมกับ Ultraclear ที่มีคุณสมบัติให้แสงส่องผ่านได้ดี ก็จะสามารถมองเห็นโครงสร้างภายในได้ชัดเจน ช่วยให้ตัวอาคารมีรายละเอียดที่น่าสนใจมากขึ้น

จากรูปฟอร์มภายนอกส่งเข้ามาถึงพื้นที่ภายใน ที่เส้นสายต่างๆ ทำให้สเปซภายในสื่อถึงแนวความคิดของไวน์ ของสายน้ำออกมาได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ห้องนิทรรศการหลัก ที่เลือกใช้ไม้ในการออกแบบเป็นพื้นที่ภายใน โดยใช้แนวความคิดของโครงสร้างเรือมาสร้างเพื่อสื่อถึงการเดินทางของไวน์และเพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับผู้เข้าชม

การเลือกใช้วัสดุอย่างพิถีพิถันจะช่วยส่งเสริมให้งานสถาปัตยกรรมสื่อสารออกมาได้อย่างเติมที่ ควบคู่ไปกับข้อมูลที่น่าสนใจของอาคารนั้นๆ Cité du Vin จึงเป็นอีกหนึ่งงานสถาปัตยกรรมที่แสดงเรื่องราวออกมาได้เป็นอย่างดี

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

SHER MAKER

นอกเหนือจากการออกแบบบนกระดาษหรือโปรแกรมสามมิติ Sher Maker สตูดิโอออกแบบจากเชียงใหม่ยังสร้างสถาปัตยกรรมผ่านการทดลองกับวัสดุจริง การทำความเข้าใจผู้ใช้งานและบริบท รวมไปถึงความสัมพันธ์กับช่างและงานช่าง

Read More

SUQ AL-QAYSARIYA

รอยเว้าแหว่งในผลงานนี้จาก Studio Anne Holtrop ไม่ได้เกิดจากการโดนทุบหรือการผุพังไปตามกาลเวลาแต่อย่างใด แต่เป็นร่องรอยจากความตั้งใจ ตามแนวคิด ‘material gesture’ ของสตูดิโอที่นำวัสดุมาใช้ในรูปแบบใหม่ที่สร้างสรรค์

Read More

MARAYA CONCERT HALL | GUARDIAN GLASS

MARAYA CONCERT HALL | GUARDIAN GLASS

Maraya Concert Hall คืออาคารกระจกเงาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งแฝงตัวอยู่ท่ามกลางทะเลทราย Arabian พื้นผิวอาคารถูกห่อหุ้มด้วยกระจกเงา UltraMirror ที่พัฒนาโดย Guardian Glass ซึ่งสะท้อนภาพทิวทัศน์โดยรอบลงบนพื้นผิวภายนอกของอาคาร สร้างภาพลวงตาเสมือนอาคารหายไปในสภาพแวดล้อม

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO COURTESY OF GUARDIAN GLASS

(For English, press here)

มองแล้ว ต้องมองอีกที สำหรับโปรเจ็คต์ Maraya Concert Hall ที่มองผ่านๆ ถ้าไม่ทันสังเกตเราอาจจะเห็นเป็นทิวทัศน์ของภูเขาท่ามกลางทะเลทราย Arabian เพราะตัวอาคารนั้นปิดผิว Façade ทั้งหมดด้วยกระจกเงา จนเกิดเป็นทิวทัศน์โดยรอบ ภายใต้กรอบสี่เหลี่ยมของตัวอาคาร จนคล้ายกับว่าจะหายไปจากการมองเห็นในบางครั้ง สร้างความรู้สึกเหมือนภาพลวงตาให้เกิดขึ้นสำหรับคนที่พบเห็น

สำหรับห้องจัดแสดงขนาด 500 ที่นั่ง และ ด้วยพื้นที่กว่า 9740 ตารางเมตร ทำให้ Maraya Concert Hall นั้นกลายเป็นอาคารกระจกเงาที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยบันทึกลงใน Guinness Book ซึ่งด้วยสเกลของอาคารนั้นทำให้ภาพที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงสภาดแวดล้อมโดยรอบอย่างชัดเจน ซึ่งคำว่า Maraya นั้นหมายถึง ‘กระจก’ ในภาษาอาหรับ ซึ่งหลายมาเป็น Concept Idea หลักของโปรเจ็คต์นี้

ในตอนเริ่มต้นนั้น Façade ถูกออกแบบให้ดูคล้ายผนังเหล็กขนาดใหญ่ ที่สะท้อนให้เป็นภาพทิวทัศน์โดยรอบแบบเลือนราง และ ไม่ชัดเจน เนื่องด้วยความกังวลในการใช้กระจกจริงสำหรับการออกแบบอาคารในสภาพแวดล้อมที่เป็นทะเลทรายเช่นนี้ ที่ทั้งความร้อน และ รังสี UV จะส่งผลถึงสารเคลือบกระจกต่างๆ จนทำให้เกิดปัญหาในการดูแลรักษาในอนาคต รวมถึงผลลัพธ์ของการสะท้อนที่ไม่ชัดเจนมากพอ จนถึงการผิดเพี้ยนของสี ที่อาจะส่งผลให้การใช้กระจกไม่ได้ผลดีเท่าที่คิด 

แต่ด้วยเทคโนโลยีจาก Guardian Glass ที่ได้พัฒนากระจกหลากหลายรูปแบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการใช้งาน ซึ่งทางทีมก็ได้เลือก UltraMirror ที่เป็นกระจกเงาสำหรับงานออกแบบภายใน เพื่อพัฒนาให้มีคุณสมบัติมากพอสำหรับการใช้งานในโครงการที่มีสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ 

โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ทาง Guardian Glass ไม่ใช้เพียงแต่ผลิตกระจกเท่านั้น แต่ยังสามารถร่วมพัฒนาผลงาน ค้นคว้า และ หาทางออกที่เหมาะสม และตอบโจทย์ที่สุดสำหรับงานกระจกในงานสถาปัตยกรรม แม้ว่าจะเป็นแนวความคิดที่ยากจนเกือบเป็นไปไม่ได้ก็ตาม เพราะกระจกทุกรูปแบบ มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน อยู่ที่การทำความเข้าใจ คัดสรร และ ประยุกต์เลือกใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

นอกจากเรื่องคุณสมบัติของกระจกแล้วยังมีความท้าทาย ในการขนส่ง และ ติดตั้ง เนื่องจากกระจกเงาที่ใช้นั้นมีความแตกต่างจากกระจกเงาปกติ เพราะต้องนำไปตัด อบความร้อน และ เคลือบสารเคมีต่างๆ ที่มาก และ ซับซ้อนกว่าปกติ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งหากมองในภาพรวม ทั้งวิธีการติดตั้ง ขนาดของกระจก และ พื้นผิวโดยรวม รวมไปถึงประสิทธิภาพในการสะท้อนสภาพแวดล้อมโดยรอบนั้น ส่งผลให้ Maraya Concert Hall เป็นผลงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นอย่างมาก จนได้รับรางวัล Popular winner จาก Architizer A+Awards ปี 2020 ในสาขา สถาปัตยกรรม และ กระจก เป็นรางวัลที่การันตีการประสบความสำเร็จของโครงการนี้ได้เป็นอย่างดี

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

CERARL BY AICA

แนะนำ CERARL (เซรอร์ล) วัสดุตกแต่งผนังสำเร็จรูปจาก AICA Laminate ผู้นำด้านวัสดุปิดผิว (แผ่นลามิเนต) จากประเทศญี่ปุ่น ที่สามารถตอบโจทย์ตอบโจทย์ทั้งการใช้งาน ดีไซน์ และทลายข้อจำกัดเดิมๆ ของวัสดุตกแต่งผนัง

Read More