All posts by Ketsiree Wongwan

PHOTO ESSAY : LIFE – TIME – CULTURE

TEXT & PHOTO: SARAN SRITHAWATPONG

(For English, please scroll down)

การเฝ้ามองสิ่งต่างๆ ในเวลาที่ต่างกัน 
เห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม 
ทั้งในภาพเล็กและใหญ่ 
สถานที่จากวัฒนธรรมตกทอด 
เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหน้าตา 
การใช้งาน บริบท หรือแม้แต่เส้นขอบฟ้า

บางอย่างก็เปลี่ยนไปตามที่ควรจะเป็น 
บางอย่างก็เปลี่ยนไปแบบขัดเขิน 
มันอาจเป็นเพราะ
คนให้ความสำคัญแก่สถานที่ไม่เหมือนเดิม 
เมื่อก่อนสถานที่ที่มากด้วยศิลปวัฒนธรรม 
เป็นหัวใจของชุมชน 
เป็นหน้าตาของเมือง 
แต่ปัจจุบันมันกลับลดบาทความสำคัญลง 
กลายเป็นสถานที่ที่ถูกละเลย

เนื่องจากเมืองไม่ได้ต้องการแค่หาที่ทางให้ประวัติศาสตร์
เมืองจึงยังต้องการแสดงความก้าวหน้า 
ค้นหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของเมือง 
แต่ก็ไม่ได้แปลว่า การเกิดขึ้นใหม่จะทำลายอดีตของวัฒนธรรมเสมอไป 

ในบางจุดก็เกิดเป็นการผสมผสาน
ของสถานที่ทางประวัติศาสตร์และสถานที่ใหม่เข้าด้วยกัน 
จนเป็นสิ่งที่แปลกหูแปลกตา แต่ไม่ประหลาด 
มันกลับดูส่งเสริม และลงตัวด้วยซ้ำในบางที

อะไรที่ดี รักษาไว้ให้ดี
อะไรที่ต้องเปลี่ยน ก็เปลี่ยน
อะไรที่ต้องเริ่มใหม่ ก็เริ่มใหม่
เมื่อเปิดให้เริ่ม ให้รักษาไว้
เพราะระลอกของการเปลี่ยนที่เลี่ยงไม่ได้ ยังคงมี 

_____________

ศรัณย์ ศรีธวัชพงศ์
สถาปนิก
ช่างภาพสมัครเล่น
และลงภาพ IG : thaicapsule

Observing different things at different times
seeing changes in the environment
both big and small,
places conceived from inherited culture,
places that physically transform
functionalities change, context evolves, redrawing the city’s skyline.

Certain things change the way they should be.
Some reluctantly.

Perhaps,
people value places differently,
places that were once rich in art and culture,
existed as the heart of a community,
as landmarks of a city,
now they’re less recognized,
now they’re even being forgotten

A city looks for a place rich in its history,
but also desires to showcase progress,
searching for new things to serve as its new image.

But the birth of the new does not have to end up destroying a culture’s past.

At some point in time,
historical and contemporary places meet and merge,

becoming something different, not as an alienated space, but rather
complementing, fitting, so perfectly fused/integrated.

Preserve the good.
Allow whatever that needs to be changed, to change,
and for new things to begin.
Initiate but also keep,
for the unavoidable tide of change will always be around. 

_____________

Saran Srithawatpong
Architect
Amateur Photographer 
IG : thaicapsule

instagram.com/thaicapsule

WVT SUSTAINABLE CORPORATE SOCIAL HOUSING

Location: Samut Sakhon, Thailand
Building Type: Mixed-Use
Architect:  SOOK Architects

Building Area: 5,800 sq.m

(For English, please scroll down)

โครงการปรับปรุงอพาร์ทเม้นท์พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดสมุทรสาคร ที่เกิดความเสื่อมโทรมและมีปัญหาในด้านต่างๆ จากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ความเสียหายของโครงสร้างอาคาร และระบบสุขาภิบาล ด้วยแนวคิดของเจ้าของโครงการที่ต้องการปรับปรุงให้เป็นที่พักอาศัยที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยสำหรับพนักงาน โดยเน้นการแก้ปัญหาอย่างตรงจุดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด สถาปนิกจึงได้ทำการออกแบบยูนิตส่วนเปียกของห้องน้ำใหม่ ร่วมไปกับการจัดระบบวิศวกรรมสุขาภิบาล เพื่อให้บริเวณรอบๆ อาคารมีบรรยากาศที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ได้รื้อชั้น 3 ของอาคารที่มีปัญหาหลังคาชำรุด และเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบการใช้งานด้วยการจัดวางยูนิตที่พักอาศัยบริเวณชั้น 3 เสียใหม่ โดยทำการต่อเติมพื้นที่ใช้สอยอเนกประสงค์บริเวณลานภายนอกระหว่างห้องพักแต่ละหลัง ซึ่งมีความอิสระ ยืดหยุ่น และสามารถปรับการใช้งานได้หลากหลาย ในการออกแบบสถาปนิกยังได้คำนึงถึงโจทย์ที่ได้รับอีกข้อหนึ่ง คือเรื่องของระยะเวลาการก่อสร้างและความประหยัด โครงสร้างเดิมที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก จึงถูกปรับมาเป็นการใช้วัสดุทดแทนวัสดุธรรมชาติที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ เช่น โครงสร้างเหล็ก ไม้เทียม เป็นต้น ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้างและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

The renovation of the apartment building for employees of a factory in Samut Sakhon province is a result of the deterioration of the building and problems caused by standardized construction that led to problematic structural components and  sanitary system. With the owner’s idea to improve the building into a safe and healthy living space for the employees, the design puts its emphasis on providing the most efficient solutions to the project’s problems. The architect redesigns the wet area or the bathroom of the living units including the sanitary engineering system, causing the physical environment around the building to be more pleasant.   The third floor of the building is demolished due to the damaged roof structure. The functional program of the third floor is made more diverse with the new layout, adding multi-functional space in the form of an outdoor space situated between each living unit with the freedom and flexibility that accommodate different types of functionality. The architect works out the limited time frame and budget of the project by replacing the original reinforce concrete structure with alternative materials such as steel, artificial wood, etc., allowing the construction time to be diminished and the negative environmental impacts to be minimized.

sookarchitects.com
fb.com/SOOKArch