นิทรรศการใน BACC ที่นำเสนอผลงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัยจาก 8 สตูดิโอทั้งไทยและไต้หวัน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมกับผืนดินที่ตั้งอยู่
นิทรรศการใน BACC ที่นำเสนอผลงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัยจาก 8 สตูดิโอทั้งไทยและไต้หวัน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมกับผืนดินที่ตั้งอยู่
TEXT: BANGKOK TOKYO ARCHITECTURE
PHOTO: BANGKOK TOKYO ARCHITECTURE AND PAKKATUS PROMSAKA NA SAKOLNAKORN
(For English, press here)
The Distant Everyday เป็นการสนทนาด้วยภาพระหว่างสถาปัตยกรรม การสังเกต และภาพที่เห็นในชีวิตประจําวัน อาจให้เหตุผลได้ว่าสถาปัตยกรรมเป็นผลมาจากการบรรจบกันของความเห็นและแนวคิดที่หลากหลาย ในฐานะผู้สังเกตการณ์ของสภาพแวดล้อม เราค้นหาความเชื่อมโยงของบริบทต่างๆ ที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง ภาพถ่ายที่นําเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของภาพอีกมากมายของเราซึ่งสะสมมาตั้งแต่ปี 2559 เป็นการถ่ายฉากทัศน์และวัตถุในกรุงเทพฯ และโตเกียว ตามแต่โอกาส โดยไม่มีการเรียงลําดับและการจัดหมวดหมู่เป็นการเฉพาะใดๆ แต่ละภาพดูธรรมดา แต่เมื่อวางอยู่ด้วยกันแล้วจะกลายเป็นที่มาของแรงบันดาลใจและความคิด นอกจากนี้ ยังเผยให้เห็นถึง ความสามารถโดยธรรมชาติของสถาปัตยกรรมในการเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง
_____________
Bangkok Tokyo Architecture เป็นสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม ก่อตั้งโดย วทันยา จันทร์วิทัน และ Takahiro Kume ในปี 2017 เราหลงใหลในโครงสร้างแบบปลายเปิด การประกอบกันของวัสดุทั่วๆ ไป และการลด เส้นแบ่งระหว่างความธรรมดาและความพิเศษ
เปิดบทสนทนากับ ธฤต ไทยานนท์ จาก About Home ถึงการใช้งานวัสดุที่ผูกพันมาโดยตลอดตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยทำงานอย่างไม้ และการชุบชีวิตเศษไม้ American Hardwood ที่ยังคงคุณค่าและความงามในตัวมาเป็นเฟอร์นิเจอร์
COTTO ศึกษาวิถีชีวิตของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปหลังสถานการณ์โควิด 19 ร่วมกับเอกลักษณ์เฉพาะของคนในแต่ละช่วงอายุ ออกมาเป็นเทรนด์การตกแต่งภายในได้อย่างน่าสนใจ ภายใต้ชื่อ ‘MEflection’
Plan Architect พร้อมด้วย GLA Design Studio และ Plan Motif เปลี่ยนโฉมสำนักงานเก่าของธนาคารแห่งประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้อันเป็นมิตร กลางเมืองขอนแก่น
มิติ เรืองกฤตยา แสดงการเกิดขึ้น ดับไป และ ‘การเกิดใหม่’ ของภาพ ผ่านทั้งน้ำมือคนและ AI ที่เจือปนด้วยอคติ
ในปีนี้ FLO แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไทย ถือโอกาสจัดแสดงผลงานการออกแบบและชวนทุกคนมาร่วมชมเส้นทางตลอด 9 ปี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแนวคิด เทคนิค หรือวัสดุ
การดิ้นให้หลุดจากกรอบของกฎหมายที่คอยจำกัดการออกแบบอาจเป็นไปไม่ได้ ทว่าการออกแบบภายใน ‘กรอบ’ นั้นไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อ บ้านจากสตูดิโอ PHTAA Living Design หลังนี้ เป็นบ้านทรงสี่เหลี่ยมที่สามารถแสดงตัวตนของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี
À table คือชื่อของ Serpentine Pavilion ในปีนี้ ซึ่งเปรียบเปรยถึงการเชื่อมสัมพันธ์ด้วยการนั่งรับประทานร่วมกัน พื้นที่และเฟอร์นิเจอร์ถูกสถาปนิกออกแบบเป็นวงกลมให้เกิดการ ‘ล้อมวง’ ซึ่งสร้าง ‘ความใกล้ชิด’ ระหว่างผู้คน และผู้คนกับธรรมชาติ
โครงการ low-rise condominium ที่สร้างความน่าสนใจด้วยแนวคิดที่แตกต่าง แนวทางการออกแบบ ‘Product design lead’ ที่ใช้สถาปัตยกรรมและคุณภาพการอยู่อาศัยเป็นที่ตั้ง ทำให้ทีมพัฒนาโครงการและ PAON Architects สถาปนิกผู้ออกแบบเชื่อว่า โครงการนี้จะขายได้ด้วยตัวเอง