จุดแวะพักรถสุดเตะตาในเมือง Shonan ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมาพร้อมผังและเส้นสายเรียบง่าย การปาดหลังคาและวางกรอบผนังให้ซิกแซกคือวิธีที่สตูดิโอสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น NASCA ทำให้อาคารโดดเด่นออกมา
หมวดหมู่: ARCHITECTURE
BUONO FACTORY
กลุ่มอาคารโรงงานสามหลังที่ Skarn Chaiyawat Architects สื่อสารผ่านการออกแบบว่า ‘คุณภาพของ space ที่ดี’ และ ‘คุณภาพชีวิตที่ดี’ เป็นเรื่องเดียวกัน Read More
BANYUWANGI INTERNATIONAL AIRPORT
ความประหยัด ยั่งยืน เรียบง่าย ใช้งานได้จริง และการคงปรัชญาของสถาปัตยกรรมเขตร้อนแบบอินโดนิเซีย คือแกนหลักที่ andramatin สตูดิโอสถาปัตยกรรมจากอินโดนิเซีย ใช้ออกแบบสนามบินประจำเมือง Banyuwangi ในประเทศอินโดนิเซีย
TAINAN MARKET
MVRDV สตูดิโอสถาปัตยกรรมจากเนเธอร์แลนด์ ร่วมกับ LLJ Architects สตูดิโอสถาปัตยกรรมจากไต้หวัน สร้างตลาดที่มีหลังคาเนินสูงต่ำด้านบน เพื่อทำให้ที่นี่เป็นทั้งตลาด เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ แหล่งเรียนรู้ และแลนด์มาร์กของเมือง
ABRAHAMIC FAMILY HOUSE
โครงการศาสนสถานโดย Adjaye Associates ที่เชื่อมโยงคนจากสามศาสนา ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนายิว เพื่อร้อยเรียงความแตกต่างของความเชื่อเข้าไว้ด้วยกัน
YELLOW HOUSE
JOYS Architects หยิบเอาเอกลักษณ์ของคอนกรีตดิบเปลือยและเนินดินสูงต่ำจากโครงการ Yellow Submarine Coffee Tank มาปรับใช้เข้ากับบ้านส่วนต่อขยายที่แม้ดูปิดทึบ แต่กลับเปิดโล่งภายในด้วยคอร์ททั้งสี่
ASA 2023 HUMAN LIBRARY
เรียนรู้สิ่งใหม่ผ่านการพูดคุยกับ ‘หนังสือมนุษย์’ ในงานสถาปนิก’66 จาก 4 สาขาวิชาชีพทั้ง สถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม และผังเมือง พร้อมทั้งพบปะเหล่า Influencer มากความสามารถจากสาขาอื่นๆ ไปพร้อมกัน Read More
LONG GOY
Sher Maker ออกแบบโรงตัดเย็บใหม่ของ LONG GOY แบรนด์เสื้อผ้าจากเชียงใหม่ที่ถ่ายทอด ‘ความเป็นท้องถิ่น’ อันเป็นจุดร่วมสำคัญของทั้งตัวแบรนด์และสถาปนิก Read More
TINY TIN HOUSE
บ้านที่ RAD studios หยิบ ‘กระป๋อง’ มาเป็นไอเดียหลักในการออกแบบ เพื่อตอบรับข้อจำกัดของที่ดินและทัศนียภาพที่ไม่น่ามอง และตอบโจทย์สำคัญอย่างการสร้างองค์ประกอบทางสายตาที่สวยงามให้แก่ผู้อยู่อาศัย
TEXT: KORRAKOT LORDKAM
PHOTO: SOFOGRAPHY
(For English, press here)
ในซอกซอยซับซ้อนของย่านที่อยู่อาศัยหนึ่งในแขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร บ้านสีขาวเรียบโล่งตั้งเด่นแตกต่างจากบรรดาบ้านหลังอื่นในละแวก แม้แต่ในที่ดินเดิมของบ้านหลังนี้เอง ก็เรียงรายไปด้วยกลุ่มบ้านเก่าหลายหลังของครอบครัวใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยบ้านของสมาชิกหลายคนที่อยู่อาศัยในที่ดินผืนใหญ่ผืนนี้ด้วยกัน ด้วยความผูกพันของเจ้าของบ้านกับที่อยู่อาศัยเดิม ทำให้เขาเลือกลงหลักบ้านหลังใหม่ในที่ตั้งเก่าแทนการย้ายออก ในบริบทของที่ตั้งที่ท้าทายทั้งด้านขนาดที่ดินอันจำกัด รวมถึงด้านทัศนะวิสัยรอบบ้านที่ค่อนข้างเก่า ขาดการดูแลรักษาและภาพรวมดูแตกต่างกันเป็นอย่างมาก อันยากจะให้ความรู้สึกสุนทรีย์ในการอยู่อาศัย
Tiny Tin House ถูกตั้งชื่อตามชื่อเล่นของผู้เป็นเจ้าของบ้าน และตามคอนเซ็ปต์การออกแบบที่สถาปนิก RAD studios เป็นผู้วางไว้ ปวัน ฤทธิพงศ์ สถาปนิกผู้ออกแบบ เปรียบเทียบสภาพที่ตั้งและบ้านหลังใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับกระป๋องบรรจุอาหาร ที่สำหรับเขาน่าสนใจทั้งในแง่รูปลักษณ์และความสามารถของการเป็นบรรจุภัณฑ์ ปวันกล่าวว่า
“เรามองหาสิ่งต่างๆ รอบตัวว่า อะไรบ้างที่มันสามารถจุฟังก์ชันได้มากมายอยู่ในที่ที่อันเล็กนิดเดียว เราก็เลยมองไปถึงกระป๋องใส่อาหารต่างๆ ที่บางทีเราเปิดกระป๋องออกมาแล้วเราเทออกมา ของภายในมันดูเยอะมากกว่าที่ภายนอกเรามองเห็น เราคิดว่ามันน่าสนใจ กลายเป็นแรงบันดาลใจ และคิดว่ามันนำมาเล่นกับสถาปัตยกรรมได้”
จากคอนเซ็ปต์นี้ ปวันกล่าวว่า ที่ดินขนาดราวเพียง 10 คูณ 13 เมตร เป็นความท้าทายแรกของการบรรจุพื้นที่ใช้สอยต่างๆ ของครอบครัวใหม่ให้เพียงพอและต้องได้คุณภาพดีเทียบเท่าบ้านหลังใหญ่ “กระป๋อง” ในที่นี้จึงได้เข้ามาเป็นคอนเซ็ปต์ที่ส่งผลต่อทั้งด้านรูปลักษณ์ภายนอกและต่อพื้นที่ใช้สอยภายใน โดยลักษณะของกระป๋องที่ปิดทึบเป็นลักษณะนำมาเป็นลักษณะเด่นของตัวสถาปัตยกรรม ที่สอดคล้องกับการตอบสนองต่อบริบทที่ไม่น่ามองได้ด้วย แต่ด้วยความเป็นที่อยู่อาศัย อาคารจึงจำเป็นต้องแบ่งรับแบ่งสู้ระหว่างการเปิดรับสภาพแวดล้อม และการปิดทึบบดบังสิ่งที่ไม่ต้องการ การเปิดรับและเชื่อมต่อกับภายนอกบ้านในบางด้านที่เหมาะสม และปิดบังตัวเองจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ในด้านที่เหลือ จึงเป็นความท้าทายหนึ่งด้านบริบทที่ส่งผลต่อการออกแบบโดยรวมของที่พักอาศัยแห่งนี้ ดังที่สถาปนิกอธิบายว่า
“บริบทส่งผลกระทบเยอะมาก ทั้งขนาดที่ดินที่เล็กมาก แล้วก็สภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างไม่น่าดู แต่เราเอามาเป็นความท้าทายว่าเราจะสร้างอะไรดีๆ ขึ้นมาได้อย่างไร ผมใช้คำว่ามันบันดาลใจเรา ว่าทำอย่างไรให้ทำบ้านที่ปิดแบบนี้แล้วได้คุณภาพการอยู่อาศัยที่ดีที่สุด ให้เหมือนบ้านใหญ่ที่สามารถดีไซน์บนที่โล่ง หรือที่สภาพที่ตั้งที่ดีกว่านี้ได้”
ในเบื้องต้น บ้านพักอาศัย 3 ชั้นขนาดราว 350 ตารางเมตร หลังนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นบ้านกล่องสี่เหลี่ยมสีขาว เรียบโล่งโดยตลอดทุกทิศทาง และปราศจากองค์ประกอบตกแต่งหรือส่วนยื่นเกินใดๆ ความเหลี่ยมและโล่งเรียบที่ภายนอกนี้ ถูกลดทอนโดยแนวคิดการนำลักษณะของ “กระป๋อง” มาใช้ในบริเวณแรกสุดคือทางเข้าบ้านเพื่อสร้างความโดดเด่น โดยมุมบ้านด้านทางเข้าได้ถูกคว้านให้โค้งเว้า ลึกและซ้อนเข้าไปใต้ตัวบ้านชั้นบนที่ยังคงความเป็นกล่อง เกิดเป็นองค์ประกอบที่สร้างความโดดเด่นในแง่รูปลักษณ์ให้กับทางเข้าบ้าน และยังมีประโยชน์โดยได้สร้างระยะร่นให้กับประตูบ้าน เกิดระยะห่างให้ประตูไม่ตั้งชิดกับพื้นที่ภายนอกมากเกินไป
เมื่อเดินเข้าสู่ภายในตัวบ้าน จะพบโถงต้อนรับเล็กๆ เป็นส่วนตู้รองเท้า ต่อจากนั้นขึ้นมาจะเป็นโถงนั่งเล่นหลัก ซึ่งเป็นส่วนใช้สอยต่อมาที่แนวคิดเรื่อง “กระป๋อง” ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างเห็นได้ชัดที่สุด ดังจะเห็นได้จากลักษณะของสเปซที่ถูกออกแบบให้เป็นรูปแบบโถงวงกลม มีลักษณะเด่นคือการเป็นโถงฝ้าสูงแบบ double volume โดยมีบันไดเชื่อมต่อไปยังชั้น 2 ที่บริเวณกึ่งกลาง ลักษณะของโถงเช่นนี้ ปวันกล่าวว่าเป็นแนวคิดของการแทรกความโปร่งโล่งเข้าไปในที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โถงนั่งเล่นที่ประกบด้วย pantry ที่เจ้าของบ้านจะใช้อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่นี้ ยังมีช่องเปิดขนาดใหญ่ที่ถูกกำหนดไว้ในมุมหนึ่งเพื่อสร้างความปลอดโปร่งและเชื่อมต่อระหว่างภายในกับภายนอกตามแนวความคิดหลัก อันเป็นมุมที่ต่อเนื่องออกไปยังที่ว่างระหว่างบ้านข้างๆ ที่กว้างขวางพอ และไม่มีภาพกวนสายตาจนเกินไป เช่นเดียวกับในส่วน pantry ก็ได้รับการออกแบบให้มีช่องเปิดขนาดย่อมเป็นของตัวเองในตำแหน่งที่ไม่มีสิ่งใดรบกวนสายตาที่ภายนอกด้วย
บนชั้นสองจะเป็นพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น ประกอบไปด้วยห้องนอนสองห้อง และห้องทำงานหนึ่งห้องที่จัดวางชิดไปกับโถง double space ที่ต่อเนื่องมาจากข้างล่าง ห้องทำงานอันเป็นอีกส่วนพื้นที่ใช้สอยที่เจ้าของบ้านจะใช้เวลาภายในห้องนี้มาก จึงเป็นพื้นที่อีกส่วนที่สถาปนิกต้องการสอดแทรกความโปร่งโล่งให้มากที่สุด แนวคิด double space ถูกนำมาใช้อีกครั้ง ที่ท้ายที่สุดส่งผลให้ห้องที่มีลักษณะเป็นห้องแคบแต่ยาว ถูกกรุด้วยผนังกระจกสูงโปร่งด้านหนึ่งเพื่อรับทิวทัศน์และแสงธรรมชาติจากภายนอกได้เต็มที่เพื่อลดความคับแคบ และแน่นอนว่าตำแหน่งของช่องเปิดขนาดใหญ่ด้านนี้ก็จะสอดคล้องกับทัศนียภาพภายนอก อันเป็นด้านที่ทิวทัศน์ปลอดโปร่งกว่าด้านอื่นที่หันหน้าชนบ้านหลังข้างเคียง
ส่วนสุดท้าย ชั้น 3 เป็นชั้นที่อุทิศให้ห้องนอนมาสเตอร์ของเจ้าของบ้านผู้กำลังเริ่มสร้างครอบครัว โดยมีเฉพาะผนังของห้องอ่างอาบน้ำที่เอื้อให้กรุหน้าต่างบานใหญ่สร้างความพิเศษด้านทิวทัศน์ ส่วนที่เหลือบนชั้นนี้ ถูกออกแบบให้เป็นลานดาดฟ้ารูปวงกลม อันเป็นอีกหนึ่ง “กระป๋อง” ที่ถูกบรรจุในลักษณะของพื้นที่ใช้สอยเพื่อการสันทนาการของครอบครัว ลานวงกลมนี้จึงนอกจากจะให้ประโยชน์ด้านหน้าที่ใช้สอยแล้ว รูปลักษณ์อันพิเศษก็ยังให้ความรู้สึกในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้านคอนเซ็ปต์ อันสอดคล้องต่อเนื่องไปทั่วทั้งบ้านหลังเล็กอีกด้วย
สำหรับการออกแบบภายใน สถาปนิกได้คงเอกลักษณ์ความเรียบโล่งไว้เป็นเอกลักษณ์สำคัญ มีบ้างบางองค์ประกอบ เช่น ช่องทางเดิน หรือฉากกั้นห้อง ที่ถูกออกแบบโดยเล่นกับเส้นโค้งหรือซุ้มโค้งแบบ Arch สร้างความรู้สึกสนุกสนานขึ้นในหลายจุด รวมถึงในหลายส่วนก็มีการซ่อนลูกเล่นทางกราฟิกดีไซน์หรือลูกเล่นทางวัสดุไว้เบื้องหลังรูปลักษณ์ภายนอกที่เรียบโล่ง แต่โดยรวม ความคมชัดของเส้นสายที่ชัดเจน เช่นเดียวกับรูปลักษณ์ภายนอกของตัวสถาปัตยกรรม ก็ยังเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดของบ้านหลังนี้ อาจกล่าวได้ว่าลักษณะการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยคำนึงถึงรูปทรง เส้นสาย และความสอดคล้องต่อเนื่องขององค์ประกอบทางสายตา นั้นเป็นเอกลักษณ์ที่แท้ของบ้านหลังนี้
อาคารที่ถูกออกแบบโดยให้คำนึงถึงการสอดคล้องกันขององค์ประกอบทางสายตาเป็นสำคัญ อาจเป็นแนวทางของสถาปัตยกรรมที่เดินเข้าใกล้ความเป็นภาพวาดหรือภาพศิลปะสองมิติมากขึ้น ที่ความงามหรือความเข้มข้นของชิ้นงานในหลายแง่เกิดจากความสอดคล้องกันขององค์ประกอบศิลป์ อย่างที่ปวันยกตัวอย่างถึงการออกแบบเส้นสายอันคดโค้งแต่สอดคล้องกันของบันไดบ้านในโถงกลาง รวมถึงผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ของแสงและเงาอันแหลมคมที่เกิดขึ้นบนอาคารที่ภายนอก ที่เขาอธิบายว่า “เราคิดค่อนข้างเป็นสองมิติมาก ในแต่ละส่วนเราดูสัดส่วนเป็นส่วนๆ ไป แล้วเอาแต่ละส่วนมาประกอบกัน” บ้านสีขาวเรียบโล่งอย่าง Tiny Tin House จึงเป็นตัวอย่างอันดีของบ้านที่แฝงการออกแบบที่คำถึงถึงผลกระทบทางสายตา มากพอๆ กับคุณภาพของสเปซ และคุณภาพการอยู่อาศัยของผู้อยู่ในภาพรวม
HORIZON : CAFE & RESTAURANT
โครงการปรับปรุงอาคารเก่าริมแม่น้ำกกให้กลายเป็นคาเฟ่โดย ALSO design studio ที่หยิบเอาสิ่งที่โดดเด่นเดิมในพื้นที่มาเป็นวัตถุดิบสำคัญในการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้เดิม โรงจอดรถ และบ้านเก่า เพื่อนำเสนอบรรยากาศของการพักผ่อนสบายๆ ให้กับผู้ใช้งาน
TEXT: MONTHON PAOAROON
PHOTO: PATIWETH YUENTHAM EXCEPT AS NOTED
(For English, press here)
ในพื้นที่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายออกไปทางตะวันออกริมแม่น้ำกก เป็นที่ตั้งของ Horizon : Cafe & Restaurant โครงการปรับปรุงอาคารเก่าเป็นคาเฟ่ที่ออกแบบโดย รัชต์พล บัวจ้อย ที่พื้นเพเป็นคนเชียงรายแต่ปัจจุบันเปิดออฟฟิศ ALSO design studio ที่เชียงใหม่ สำหรับโครงการนี้ในตอนแรกเจ้าของไม่ได้บอกความต้องการอะไรเลย มีเพียงแค่โจทย์ว่าต้องการปรับปรุงพื้นที่เป็นคาเฟ่และให้อิสระสถาปนิกออกไอเดียได้เต็มที่ รัชต์พลบอกว่าความอิสระนี้ทั้งง่ายและยากในเวลาเดียวกัน สิ่งที่โดดเด่นและดีอยู่แล้วในพื้นที่จึงกลายมาเป็นวัตถุดิบสำคัญในการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้เดิมที่ปลูกอยู่เต็มพื้นที่ โรงจอดรถ และบ้านเก่าหนึ่งหลังที่มีชานด้านหลังเปิดออกไปสู่ที่ว่างริมแม่น้ำกก
การปรับปรุงเริ่มจากการวางผังที่จอดรถใหม่เพื่อเชื่อมอาคารโรงจอดรถเดิมกับบ้านให้เป็นอาคารเดียวกัน และสร้างพื้นที่ service เพิ่มเติมไว้ด้านหลัง โดยอาคารโรงจอดรถถูกปรับปรุงเป็นส่วนทางเข้าและเคาน์เตอร์ชงกาแฟ เมื่อเข้ามาภายในจุดแรกที่เห็นคือพื้นที่นั่งรอเครื่องดื่มทรงโค้ง ที่ตั้งใจให้พื้นที่นี้มีความเป็นประติมากรรมในตัวเอง ซึ่งเปลี่ยนจากความตั้งใจแรกที่สเปซมีช่องแสงเจาะจากด้านบนลงสู่บ่อน้ำล้น ให้ความรู้สึกนิ่งๆ มาเป็นน้ำตกที่ผ่านการทดลองกับผู้รับเหมาก่อสร้างอยู่หลายยก เนื่องจากได้เห็นความงามและมุมมองของแสงในสภาพจริง ถัดเข้ามาเป็นพื้นที่เคาน์เตอร์ชงกาแฟสโลว์บาร์ในส่วนต่อเติมที่มีผนังเป็นกระจกตลอดแนว เป็นเฟรมภาพที่เปิดออกไปเห็นต้นไม้เดิมได้อย่างเต็มที่
พื้นที่ถัดมาเป็นส่วนของอาคารบ้านเดิม สถาปนิกเลือกเอากำแพงแบ่งกั้นห้องออก และเปิดพื้นที่โล่งตามแนวหลังคา โดยแทนที่จะเจาะหน้าต่างขนาดใหญ่เปิดเข้าสู่ต้นไม้เดิมเหมือนในส่วนเคาน์เตอร์กาแฟ สถาปนิกเลือกที่จะเว้าอาคารเป็นคอร์ทภายในอีกฝั่งที่ติดกับที่ดินข้างเคียง โชว์ความดิบของเสาโครงสร้างเดิมและต้นไม้ที่ปลูกใหม่แทน ด้วยอยากให้คอร์ทเล็กๆ นี้สร้างประสบการณ์ของแสงธรรมชาติคนละแบบกับพื้นที่ส่วนแรก พื้นที่ส่วนนี้ใช้โครงสร้างเดิม ผสมกับโครงสร้างใหม่ในส่วนที่นั่งเล่นระดับ
ส่วนชานบ้านเดิมในด้านหลังที่เปิดไปทางที่ว่างริมแม่น้ำกกถูกปรับปรุงโดยเปลี่ยนประตูหน้าต่างเพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อพื้นที่ และเก็บสระว่ายน้ำเดิมไว้โดยเปลี่ยนเพียงแค่วัสดุกรุผิว สถาปนิกได้เพิ่มทางลาดด้านข้างเพื่อให้ผู้พิการและผู้สูงอายุเข้าถึงพื้นที่นี้ได้ง่ายจากทางเข้าอาคาร และเพื่อให้เส้นสายตัดกับ mass อาคารด้านนี้ที่ดูทึบตัน ราวจับทางลาดใช้วัสดุเหล็กทำสีสนิมที่ค่อยๆ ไล่เฉดสีมาจากสีผนังก่ออิฐมอญของอาคารเดิมที่ปล่อยเปลือยโชว์อยู่ภายในอาคาร การออกแบบลำดับการเข้าถึงตั้งแต่ทางเข้าไหลไปสู่พื้นที่ด้านหลังและวกกลับมาที่ทางเข้าอีกครั้งผ่านทางลาดช่วยทำให้การสัญจรทั้งหมดลื่นไหล และลูกค้าสามารถเคลื่อนที่เข้าออก และเคลื่อนที่ภายในสเปซได้อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงส่วนงาน landscape ที่คงแนวอุโมงค์ต้นไม้เดิมที่ปลูกเรียงกันอย่างเป็นระเบียบเอาไว้ และมีการปรับเนินดินเพื่อช่วยสร้างจังหวะและความต่อเนื่องของพื้นที่ ตั้งแต่เข้าถึงโครงการ
สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนจากภาพรวมของอาคารทั้งภายนอกและภายในก็คือการให้ความสำคัญในโทนภาพรวมของสีวัสดุ ที่เริ่มต้นจากการนำวัสดุของบ้านเดิมเป็นวัตถุดิบแรก เช่นสีปูนของเสาคอนกรีตเปลือยหรือสีอิฐมอญ หลังจากนั้นจึงเติมสีหรือวัสดุใหม่ให้เข้ากับวัสดุเดิม ซึ่งในขั้นตอนการทำงานจริงนั้นมีการทดสอบสีและทำตัวอย่างวัสดุหลายรอบ เช่น การทดลองทำตัวอย่าง concrete block กว่า 30 ชิ้นเพื่อให้ได้สีที่ลงตัว และทำให้องค์ประกอบอาคารทั้งหมดต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ภายใต้สโลแกนออฟฟิศ ALSO design studio ที่ว่า You are happy, I’m also ที่รัชต์พลบอกว่าแสดงแนวคิดที่ไม่ได้เอาความคิดของสถาปนิกเป็นศูนย์กลางอย่างเดียว แต่แบ่งปันกับทุกคนในการทำงานและผลลัพธิ์สุดท้าย อย่างเช่นที่ Horizon แห่งนี้ที่แม้จะอยู่ไกลจากตัวเมืองเชียงราย แต่ก็เริ่มเป็นที่รู้จักจากกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ทั้งกลุ่มทั้งวัยรุ่น กลุ่มผู้สูงอายุที่มานั่งเล่นพูดคุย และกลุ่มครอบครัวที่มาพร้อมเด็กๆ เพื่อมาใช้เวลาพักผ่อนร่วมกัน