ป้ายกำกับ: materials
TERRA HAUS VIBHA – PHAHON 21
โครงการบ้านที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง เฉกเช่น terrarium หรือสวนในขวดแก้วที่จำลองระบบนิเวศขนาดเล็กไว้ในพื้นที่จำกัด โดย Built Land
PHOTO ESSAY : THE FABRIC OF SOCIETY
TEXT & PHOTO: BARRY MACDONALD
(For English, press here)
‘The Fabric of Society’ หรือ แปลเป็นภาษาไทย ‘ผืนผ้าของสังคม’ เป็นคำที่ใช้เปรียบเปรยในภาษาอังกฤษ หมายถึงโครงสร้างพื้นฐาน ความสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงที่ยึดถือสังคมไว้ด้วยกันเหมือนกับผ้าที่ทำจากเส้นด้ายแต่ละเส้นที่ถูกถักทอเข้าด้วยกันเพื่อสร้างเป็นผืนเดียว ‘ผืนผ้าของสังคม’ ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ เช่น ค่านิยมร่วมกัน บรรทัดฐาน กฎหมาย สถาบัน และวัฒนธรรมที่ผูกพันบุคคลและกลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผืนผ้าผืนเดียวกัน
ผ้าใบ (ผ้าใบพลาสติกแถบสีน้ำเงินขาว) ภาพจำที่ทำให้เรานึกถึงเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นแรงงาน แต่อันที่จริงแล้วชีวิตของทุกคนต่างมีส่วนที่ข้องเกี่ยวกับผ้าใบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในอาหารทุกๆ มื้อที่เราทาน ถูกปลูก ตาก จับ ส่งขาย จนประกอบเป็นอาหาร ต่างล้วนมีผ้าใบเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการไม่มากก็น้อย อาคารที่ปลูกสร้างต่างต้องเคยใช้ผ้าใบมาแล้วไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในงานก่อสร้าง งานประปา และงานไฟฟ้าต้องพึ่งพาวัสดุอเนกประสงค์นี้ หรือแม้กระทั่งสิ่งของทุกอย่างที่เราซื้ออาจใช้ผ้าใบในการขนส่ง, การเก็บรักษา หรือแม้แต่การสร้างแผงขายของตลาด ปูพื้น ทำโต๊ะ มุงหลังคา และอื่นๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของไร้ราคาบนท้องถนน หรือไปจนถึงพระพุทธรูปที่มีค่าที่สุดในวัด ผ้าใบถูกเชื่อถือในการปกป้องรักษา ดูแลสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด
ภาพชุดนี้มองดูแล้วอาจจะเกี่ยวกับผ้าใบ แต่หากมองลึกลงไปแท้จริงแล้วผ้าใบสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับสังคมได้ในหลายมิติ เราจะเห็นถึงมิติแห่งกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ทุกคนต่างใช้ผลิตภัณฑ์เดียวกัน จากแหล่งที่มาเดียวกัน มิติเชิงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของการผลิตพลาสติกจำนวนมาก รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยในการดัดแปลงวัสดุให้เป็นรูปแบบและการใช้งานใหม่ๆ ไปจนถึงการสะท้อนเห็นปัญหาแรงงานข้ามชาติและอาชีพที่พวกเขาทำในประเทศไทย ที่พวกเขาบางคนอาศัยอยู่ในที่ที่สร้างขึ้นด้วยผ้าใบ
ชวนให้ตั้งคำถามว่า หากไม่มีผ้าใบ ประเทศจะยังคงสามารถดำเนินการได้หรือไม่ หรือผ้าใบคือสิ่งที่แสดงออกถึง ‘ผืนผ้าของสังคม’ ในรูปธรรมที่แท้จริง
___________________
แบร์รี แมคโดนัลด์ (เกิดปี 2527) เป็นช่างภาพอิสระจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาเริ่มต้นถ่ายภาพนักดนตรีและค้นพบความสนุกสนานในการเดินทางจากการไปทัวร์กับวงดนตรีทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา งานของเขาพัฒนามาเป็นการผสมผสานระหว่างการถ่ายภาพแนวสตรีทและสารคดี เขาสนใจสังคมวิทยาและพยายามมองวัฒนธรรมและธรรมชาติของมนุษย์ผ่านการถ่ายภาพของเขา เขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2565
THE TUBE COLLECTION
TEXT: TIM TEVEN
PHOTO: PIERRE CASTIGNOLA
(For English, press here)
ผลงานชุด The Tube Collection นั้นมีจุดกำเนิดมาจากการทดลองกับวัสดุในรูปแบบต่างๆ อันรวมไปถึงการใช้เครื่องจักรมาเปลี่ยนรูปโลหะ การทดลองเหล่านี้ทำให้ได้มาซึ่งกระบวนการและระบบต่างๆ ที่ช่วยในการเล่นแร่แปรธาตุ และการเปลี่ยนแปลงรูปทรงวัสดุ เป็นสุนทรียะที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นเองจากเครื่องจักรและการดัดแปลงเชิงเทคนิค
ด้วยการทำให้เส้นแบ่งระหว่างการควบคุมดีเทลงานออกแบบทุกกระเบียดนิ้วและการปล่อยผลลัพธ์ให้เกิดขึ้นเองเลือนรางลง งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการกระทำโดยเครื่องจักรกลและการกระทำที่เกิดขึ้นจากมือมนุษย์
_____________
Tim Teven (เกิดปี 1993) เป็นนักออกแบบชาวดัตช์ที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยการออกแบบ Design Academy Eindhoven ในปี 2018 การสรรหาแนวทางสร้างสรรค์ใหม่ๆ ด้วยการใช้วัสดุในรูปแบบที่แปลกใหม่ผิดแผกไปจากวิธีการทั่วไป เปิดประตูให้เขาได้ค้นพบเทคนิคที่น่าประหลาดใจมากมาย และนำไปสู่การประยุกต์สร้างสรรค์วัตถุที่มีทั้งประโยชน์ใช้สอยและความน่าสนใจ สถานที่ทำงานหลักของ Teven คือสตูดิโอออกแบบของเขาเองในเมืองไอนด์โฮเฟน ที่เขาก่อตั้งขึ้นในปี 2018 โดยผลงานทุกชิ้นถูกทำขึ้นจากมือควบคู่ไปกับกรรมวิธีทางอุตสาหกรรม