ป้ายกำกับ: House

BAAN MAK MUAN

บ้านจาก S Pace Studio ที่มีหัวใจหลักคือพื้นที่ Semi-outdoor ขนาดใหญ่ด้านหน้าที่เชื่อมต่อแลนด์สเคป สถาปัตยกรรม และพื้นที่ภายในเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อก่อให้เกิดความ ‘ม่วน’ ในพื้นที่จากกิจกรรมที่หลากหลายของผู้คน

Read More

427 HOUSE

บ้านสำหรับผู้ใช้งานที่รักงานศิลปะและของสะสมโดย Maincourse ที่เต็มไปด้วยพื้นที่คล้ายแกลเลอรี่เพื่อให้ของสะสมและงานศิลปะได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคาร

Read More

VIRADASTUDIO

TEXT COURTESY OF VIRADASTUDIO
PHOTO CREDIT AS NOTED

(For English, press here)

WHO
Viradastudio บริษัทออกแบบที่เน้นงานออกแบบตกแต่งภายใน

WHAT
ผู้ให้บริการ ด้านการตกแต่งภายใน ตั้งแต่บ้านพักอาศัย แรกเริ่มเราเน้นงานที่อยู่อาศัยเพราะอยากให้ความสุขของผู้คน เริ่มต้นที่บ้านของเขา แต่ต่อมาได้ขยายงานออกแบบด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ รีสอร์ต Retails Cafe ร้านอาหาร สำนักงาน โรงแรม

WHEN
เริ่มจัดตั้งบริษัทเมื่อ 2019

WHERE
ตอนนี้เราตั้งออฟฟิศอยู่ที่กรุงเทพฯ

WHY
เราเชื่อว่าเรามีส่วนช่วยทำให้ผู้คนมีความสุขจากพื้นที่ส่วนตัวไปถึงพื้นที่ส่วนรวม

BODYtune China Town | Photo: Ketsiree Wongwan

BODYtune China Town | Photo: Ketsiree Wongwan

คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
“ความคิดสร้างสรรค์” ในมุมมองของเราคือ การหาทางออก การสร้างความเป็นไปได้ให้เกิดขึ้น

ขอสามคำให้กับหลักการในการทำงานแต่ละครั้งของคุณ
ความสุข | ความเข้าใจ | ความเป็นไปได้

Just-In-Case Home | Photo: Chalermkit Pokamas

คุณคิดว่าอะไรคือความสนุกที่สุดของการทำงานออกแบบภายใน
การแก้ปัญหา การแก้โจทย์ในแต่ละงาน เพื่อตอบความต้องการของแต่ละงานนั้นๆ

โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
ทุกงานที่เมื่อจบเราได้สร้างคุณค่าอะไรบางอย่าง และความสุขให้แก่เจ้าของงานและทีมงาน

คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
ไปวิ่ง โดยเฉพาะการไปวิ่งในสวน

ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
ถ้าเป็นไปได้ คงเป็น Christian Liaigre เพราะชื่นชมในผลงานและสไตล์

Kanissu Ice cream Café | Photo: Natdachat Chatpawee

fb.com/viradastudio

STUDIO FINE ART

TEXT & PHOTO COURTESY OF STUDIO FINE ART

(For English, press here)

WHO
STUDIO FINE ART เป็นบริษัทออกแบบบริษัทเล็กๆ บริษัทหนึ่ง

WHAT
เราให้บริการงานออกแบบตกแต่งภายใน และกำลังเริ่มรับงานสถาปัตย์

Baan Vibhavadi

WHEN
บริษัทเราเปิดมาได้ 5 ปี

WHERE
เราอยู่กันที่ ประดิพัทธ์ 17 โครงการ 33 Space

คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
สำหรับเรา “ความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดเพื่อแก้ปัญหา”

Baan Vibhavadi

อะไรคือแรงบันดาลใจและหลักการในการทำงานแต่ละครั้งของคุณ
แรงบันดาลใจตอนนี้ คือการเห็นงานทุกงานที่ส่งมอบลูกค้าแล้ว ลูกค้ามีความพึงพอใจ ทำให้อยากพัฒนางานต่อๆไปให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ขอสามคำเพื่ออธิบายหลักการในการทำงานของคุณ
Do Less But Do Good

Prima House

โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
ถ้าพูดถึงความภูมิใจแล้ว ทุกๆ งานให้ความรู้สึกภูมิใจแตกต่างกันไปครับ บางงานเราเองก็ได้ความรู้ใหม่ๆ จากลูกค้า รวมถึงมิตรภาพดีๆ บางงานเราได้บทเรียนและความรู้เพิ่มเติมจากทีมช่าง ทำให้ในทุกๆ งานมีความประทับใจ และความภูมิใจแตกต่างกันไปครับ สุดท้ายแล้ว เมื่อลูกค้าถือกระเป๋าเดินเข้าบ้านด้วยรอยยิ้ม ทุกหลังคือความภูมิใจของผมที่สุดแล้ว

Prima House

คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
นั่งดื่มกาแฟ หรือขับรถไปเรื่อยๆ

มีสตูดิโอ ดีไซเนอร์ ครีเอทีพไหนที่คุณชื่นชอบผลงานเป็นพิเศษบ้างหรือเปล่า
พี่ด้วง ดวงฤทธิ์ บุนนาค DUANGRIT BUNNAG ARCHITECT LIMITED (DBALP) ติดตามผลงานของพี่ด้วงมาตั้งแต่เริ่มทำงานออกแบบในปีแรกเลย เพราะชอบความเรียบง่ายแต่ดูดี เส้นสายและการใช้สีในงานออกแบบเรียบง่ายดูสะอาดตาดี อีกคนหนึ่งคือ พี่จูน Jun Sekino Junsekino Architect and Design งานพี่จูนให้แรงบันดาลใจ เรื่องการใช้วัสดุ และการนำเสนอ ด้วยความเรียบง่าย แต่มีเสน่ห์ด้วยการสร้าง contrast ระหว่างวัสดุ ทำให้งานดูน่าสนใจมากขึ้น รวมถึงการนำเสนอภาพ 3Dที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ดูแล้วเคลียร์เลยในภาพเดียวเลย

Prima House

fb.studiofineart

VERY TINY PALAZZO

บ้านหลังจิ๋วจาก Fala Atelier ที่ดูเรียบง่ายหากแต่เต็มไปด้วยรายละเอียดสุดขี้เล่น ทั้งผนังตกแต่งส่วนหัวอาคารที่เหมือนเป็นการสวมมงกุฎให้กับบ้าน ก้อนสีขาวก้อนใหญ่ในบ้านที่ดูหนักแน่นแต่ลอยตัว

Read More

SEAM DESIGN & ARCHITECTS

TEXT & PHOTO COURTESY OF SEAM DESIGN & ARCHITECTS EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

WHO
Seam Design & Architects

WHAT
บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและบริบท ทั้งภายนอกและภายใน Seam หรือที่แปลว่า ‘รอยต่อ’ นี้ สำหรับเราเชื่อว่าไม่ใช่เพียงรอยต่อของสิ่งที่จำต้องได้ในงานสถาปัตยกรรม เช่น วัสดุ หรือ พื้นที่อย่างเดียว แต่เชื่อว่ายังหมายถึงรอยต่อของสิ่งที่จับต้องไม่ได้อื่นๆ ที่สำคัญต่องานสถาปัตยกรรมด้วย

WHEN
เริ่มทำงานสถาปนิกมาตั้งแต่ปี 2014 จนปี 2020 ที่ก่อตั้งบริษัทด้วยชื่อ Seam อย่างเป็นทางการ

WHERE
กรุงเทพฯ ประเทศไทย

WHY
เพราะเชื่อว่าสถาปัตยกรรม เป็นสิ่งที่ออกแบบโดยมนุษย์ สร้างมาเพื่อมนุษย์ และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ด้วยกัน

คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
ความคิดสร้างสรรค์ คือจุดสูงสุดและการตกผลึกจากกระบวนการของความรู้ การเป็นจุดเริ่มต้นของความใหม่บางอย่าง และความเป็นต้นแบบ

อะไรคือแรงบันดาลใจและหลักการในการทำงานแต่ละครั้งของคุณ
อาจารย์ที่เคารพสมัยเรียนท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า สถาปัตยกรรม เป็นมากกว่าแค่งานที่เห็นเป็นรูปธรรม แต่มีมิติอื่นที่เป็นนามธรรมร่วมอยู่ด้วยเสมอ และอาชีพสถาปนิกเป็นวิชาชีพที่ได้สิทธิที่ในการเริ่มต้นสร้างสิ่งดังกล่าวนี้ ซึ่งสำหรับผมคิดว่า เป็นแรงบันดาลใจอย่างมากที่ได้รับเกียรตินั้น คือ เกียรติของการเป็นผู้สร้าง

ขอสามคำเพื่ออธิบายหลักการในการทำงานของคุณ
คน I ธรรมชาติ I สิ่งที่อยู่ตรงกลาง

โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
ภูมิใจทุกงาน แต่อาจจะเป็นในจุดต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน ด้วยประเด็นที่น่าสนใจแตกต่างกัน

คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
เปิดหนังสือที่สะสมไว้ ตีเทนนิส ท่องเที่ยว พูดคุยกับผู้คน เพราะบางครั้ง การที่ได้ถอยห่างจากงานบ้าง อาจจะช่วยทำให้เห็น ภาพกว้างหรือมุมของงานที่กำลังทำอยู่ด้วยหัวสมองที่ปลอดโปร่งมากขึ้น

มีสตูดิโอ ดีไซเนอร์ ครีเอทีพไหนที่คุณชื่นชอบผลงานเป็นพิเศษบ้างหรือเปล่า
Louis Kahn และ Kerry Hill เป็นสองท่านที่มีอิทธิพลทางความคิด และงานออกแบบสถาปัตยกรรมของเราอย่างมาก

African School competition 2019 Isometric (Competition Project)

สำหรับคำถามข้อสุดท้าย เราเปิดพื้นที่ให้คุณได้แนะนำตัวกับคนที่อยากรู้จักคุณมากขึ้น
พวกเราเป็นกลุ่มสถาปนิกขนาดย่อม ที่พยายามสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ตอบรับความต้องการของผู้คน จากความถนัด ความสามารถและประสบการณ์ มาปรับใช้ให้ได้เหมาะสมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเชื่ออย่างยิ่งว่า สถาปัตยกรรม จะเป็นรอยต่อ เชื่อมประสาน และสร้าง คุณค่าบางอย่างสำหรับคนไม่มากก็น้อย

fb.com/seamdsn

HOUSE AND RESTAURANT

โปรเจ็คต์บ้านใต้ดินล้ำจินตนาการจาก Junya Ishigami + Associates ที่ควบรวมสถาปัตยกรรมเข้ากับธรรมชาติด้วยวิธีที่ที่ไม่เหมือนใคร และชวนให้เราสงสัยว่า ‘อาคารนี้สร้างอย่างไร’

Read More

LABRI HOUSE

บ้านของผู้อยู่อาศัยวัยเกษียนขนาดย่อมโดย Nguyen Khai Architects & Associates ที่เต็มไปด้วยร่มไม้นานาพันธุ์และเปิดกว้างให้ผู้อยู่อาศัยได้ใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการ

Read More

BINH DUONG HOUSE

บ้านที่เปลี่ยนให้ต้นไม้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเพื่อตอบคำถามว่า ‘สถาปัตยกรรมจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติในบริบทเดิมได้อย่างไร’

Read More

LIVING WITH THE GLASS | GUARDIAN GLASS

LIVING WITH THE GLASS | GUARDIAN GLASS

เราลองไปดูบ้าน 3 หลังใน 3 ประเทศที่ใช้กระจกจาก Guardian Glass ในการสร้างช่องเปิดที่ตอบโจทย์ในแบบต่างๆ ทั้งการสร้างทัศนียภาพในอาคาร เปิดรับลมเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก หรือรักษาอุณหภูมิให้พอเหมาะ ทั้งนี้ก็เพื่อการสร้่างภาวะอยู่สบายให้กับผู้อยู่อาศัย

Read More