All posts by Ketsiree Wongwan

PHOTO ESSAY : GREENERY IN BANGKOK, DREAM OR ILLUSION?

TEXT & PHOTO: PUVADOL SAENGVICHIEN

(For English, please scroll down)

พื้นที่สีเขียวในเมืองกรุง, ความฝันหรือภาพลวง

ความฝันของคนจำนวนมากที่พักอาศัยกันอยู่อย่างแออัดในกรุงเทพมหานคร คือการที่ได้มีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ในขณะที่พื้นที่สวนสาธารณะในเมืองหลวงของเรานั้น มีขนาดเพียงน้อยนิด เมื่อเทียบสัดส่วนกับขนาดพื้นที่ของอาคารบ้านเรือน ถนน และอาคารพาณิชย์ในรูปแบบต่างๆ ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกวัน

สิ่งที่เราพบเห็นในเมืองกรุงกันจนชินตาก็คือ ภาพจำลองของการได้มีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่สีเขียวที่ใช้ในการโฆษณาแข่งขันการขายโครงการที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ รวมไปถึงการตกแต่งรั้วผนังของพื้นที่ก่อสร้าง อาคาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆ บนถนนหนทาง ที่นำเอาภาพจำลองของธรรมชาติมาแปะประกอบกันเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของโครงการและเขตพื้นที่ของตนให้ตรงกับภาพเมืองในฝันของคนส่วนใหญ่

หากเราสังเกตให้ดีจะเห็นได้ว่า ภาพของการตกแต่งแบบฉาบฉวยเหล่านี้ค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา พวกมันเริ่มสื่อสารข้อความที่แตกต่างไปจากสิ่งที่ผู้สร้างตั้งใจ ผลลัพธ์ที่ได้กลับกลายเป็นการสะท้อนถึงความรู้สึกโหยหาธรรมชาติของชีวิตคนเมืองอันเต็มไปด้วยความฉาบฉวย เปรียบเสมือนเป็นภาพลวงของความฝันของคนเมืองที่ยังห่างไกลจากสภาพความเป็นจริงยิ่งนัก

_____________

ภูวดล แสงวิเชียร เกิดและเติบโตในจังหวัดสมุทรปราการ จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และปริญญาโทสาขาธุรกิจด้านการตลาด มีประสบการณ์การทํางานในบริษัทต่างๆ ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม ออกแบบร้านค้าและผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการวางแผนทางการตลาดให้กับธุรกิจการค้าปลีกเป็นเวลารวม 18 ปี ปัจจุบันภูวดลได้ตัดสินใจทิ้งโลกทางธุรกิจไว้เบื้องหลังเพื่อให้เวลากับตัวเองอย่างเต็มที่ในการถ่ายภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตัวเองรัก

Packed in the concrete residences, Bangkokians have been sought for a dream of getting access to nature. However, there is a lack of parks in urban areas when compared with the ratio size of residences, roads, and commercial buildings that have been deliberately increasing nowadays.

What Bangkok has always been portrayed to us is the illustration of a green city fantasizing the chance of community getting closer to the environment. Those images were consistently used for promoting in several real estate advertisements. Moreover, many construction sites were decorated with vinyl posters simulating the green ambience in order to highlight their image towards the projects in a district and connect the individuals’ utopia dream of the city.

If we take a closer look, we will be able to steadily observe the transformation of the green decorations throughout the time. The messages included inside those images will appear to change differently from the beginning. The result seems to be a reflection of the city people’s intense desire for the true nature in order to recompense their shallow life. This reveals the illusion dream of city people that is still quite far away from reality.

_____________

Puvadol Saengvichien was born and raised in Samut Prakan Province. He holds a  Bachelor’s degree in Architecture and a Master’s degree in Business Administration (Marketing). For 18 years, he had been working in the field of architecture, retail and product management. He left the corporate world behind and devote most of the time to pursue his passion for Photography.

puvadolsaengvichien.com
instagram.com/pudols

OPENING TO THE NEW POSSIBILITIES


TEXT: PAPHOP KERDSUP
PHOTO: WASAWAT DECHAPIROM EXCEPT AS NOTED

“ช่องเปิด” ทางสถาปัตยกรรมในแต่ละยุคสมัยบอกอะไรกับเรา?

นอกเหนือไปจากการแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป “ช่องเปิด” — ซึ่งในที่นี้นับรวมทั้งประตู หน้าต่าง การเจาะช่องลงบนระนาบทางตั้งและทางนอนในงานสถาปัตยกรรม หรือกระทั่งการกรอบภาพด้วยองค์ประกอบอย่างผนัง — ยังเป็นเครื่องสะท้อนความสัมพันธ์ที่มนุษย์เรามีต่อบริบทแวดล้อมอย่างสภาพภูมิอากาศ พฤติกรรมการใช้สเปซ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงธรรมชาติ…

เดิมการเลือกใช้โครงสร้างประเภทผนังรับน้ำหนัก (wall-bearing) ในงานสถาปัตยกรรมไทยเป็นข้อจำกัดหนึ่งที่ทำให้การเจาะช่องเปิดนั้นมีขนาดที่ไม่ใหญ่นัก เช่น ผนังของอุโบสถ หรืออาคารพาณิชย์ยุคแรก ซึ่งทำให้ความรู้สึกที่มนุษย์มีต่อแสงสว่างและความมืดในอดีตนั้นแตกต่างไปจากปัจจุบัน เผลอๆ เราเองอาจจะเคยคุ้นเคยกับความงามในเงาสลัวที่สัมผัสต่างๆ นั้นคลุมเครือมากกว่าการเห็นทุกอย่างชัดแจ้งอยู่ตรงหน้าเสียด้วยซ้ำ

เมื่อเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทยิ่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 20 จนเอื้อให้ผู้คนสามารถเปิดรับเอาแสงสว่างเข้ามาอยู่ร่วมกับการใช้ชีวิตได้มากขึ้นผ่านการใช้กระจกบานใหญ่และกรอบประตูหน้าต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์บานกรอบอะลูมิเนียมที่ได้มาตรฐานของ TOSTEM ประสบการณ์ที่คนไทยมีต่อแสงสว่างก็พลันเปลี่ยนตาม ไม่ว่าแสงนั้นจะเป็นแสงธรรมชาติในช่วงกลางวัน หรือแสงจากหลอดไฟในช่วงค่ำคืน เราเริ่มได้กลับมาชื่นชมความสุนทรีย์ของแสงมากกว่าเคยอีกครั้ง

เมื่อสถาปัตยกรรมเดินทางมาถึง ณ ขณะปัจจุบัน ประสบการณ์ที่เรามีต่อสเปซเริ่มหลากหลาย ความคุ้นชินที่เกิดขึ้นจาก “ช่องเปิด” ที่เปลี่ยนไปตามแต่ละยุคสมัยทำให้เราเริ่มมองเห็นภาพรอบตัวในมุมมองที่แตกต่าง ภาพที่ถูกกรอบขึ้นเมื่อมองออกไปยังนอกหน้าต่าง ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้การเดินลัดเลาะไปรอบกรุงเทพฯ แล้วบังเอิญมองไปเห็นภาพปลายตาเป็นสถาปัตยกรรมสักแห่งที่ถูกกรอบไว้ด้วยผนังริมทาง

tostemthailand.com