PHOTO ESSAY : A SHAPE FOR BREATHING
TEXT & PHOTO: CHATCHAWIN THANASANSUB
(For English, press here)
ช่องว่างสำหรับหายใจ
ผมได้เห็นโครงการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อดคิดไม่ได้ว่า สภาพแวดล้อมของเมืองยังอึดอัดคับแคบไม่พออีกหรือ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการเบียดเสียดของกลุ่มอาคาร ท้องฟ้าถูกปกคลุมจากแผ่นพื้นและเสาคอนกรีตขนาดใหญ่ของสถานีรถไฟฟ้า บ้างแทรกตัวอยู่บนถนนที่แคบจนใกล้ชิดกับอาคารบ้านเรือน บ้างคาดผ่านเกาะกลางถนนที่ไร้ต้นไม้ให้ความร่มเงา
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นหัวใจหลักของคนเมืองที่อำนวยความสะดวกสบายและรวดเร็วกว่าการรอรถประจำทาง หรือหลีกหนีจากการจราจรที่แสนสาหัส แต่ในทางกลับกันความแห้งแล้งของผืนคอนกรีตที่ตั้งตระหง่านบนท้องฟ้ากลับทำให้เกิดความรู้สึกที่กดทับและหนักอึ้ง ซึ่งเปรียบเสมือน ‘เมืองที่หายใจไม่ออก’ โดยภาพถ่ายชุดนี้ผมพยายามที่จะแสดงถึงความรู้สึกอึดอัดผ่านช่องว่างที่ยังสามารถมองลอดผ่านจากการบดบังของสิ่งปลูกสร้างของโครงการรถไฟฟ้า โดยรูปทรงของช่องที่เกิดขึ้นนั้น ต่างเกิดขึ้นจากสภาพบริบทโดยรอบ ของสถานที่นั้นเอง ซึ่งระดับการบดบังและความทึบตันก็จะแสดงออกแตกต่างกันไปตามเส้นทางที่เดินผ่าน
ส่วนตัวผมเองได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ในระยะเวลาหนึ่ง ได้ซึมซับความเป็นระบบระเบียบในการวางแผนและการจัดการเมืองที่ดี รถไฟฟ้าถูกนำลงไปอยู่ใต้ดิน ทำให้ทัศนียภาพของเมืองเปิดออก ถึงแม้จะมีตึกสูงรายล้อมมากมาย แต่ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ถูกจัดวางอย่างตั้งใจ ได้สร้างความร่มรื่นด้วยเงาจากธรรมชาติ อดคิดอิจฉาไม่ได้เลยถ้ากรุงเทพฯ ของเราได้ถูกวางแผนแบบนั้นบ้าง ทัศนียภาพของเมืองจะมีชีวิตชีวามากแค่ไหน มีต้นไม้สูงสองข้างทาง มีท้องฟ้าที่สะอาดตา จริงอยู่เราไม่สามารถเปรียบเทียบได้ขนาดนั้น ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างของประเทศไทย แต่อย่างน้อยรูปถ่ายชุดนี้ขอเป็นพื้นที่ที่จะสะท้อนและแสดงออกถึงความรู้สึกอึดอัดต่อการบดบังทัศนียภาพของเมือง ในฐานะคนที่ชอบเดินในเมืองคนหนึ่ง
_____________
ชัชวินทร์ ธนสารทรัพย์ จบปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ขณะนี้กลับมาศึกษาต่อปริญญาโท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชัชวินทร์เคยทำงานเป็น 3D visualizer และช่างภาพทางสถาปัตยกรรม แต่ผันตัวมาเป็น interior architect ที่ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก มีความสนใจเกี่ยวกับบริบทของเมืองในสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายระหว่าง คน พื้นที่สาธารณะ และสถาปัตยกรรม โดยบันทึกผ่านภาพถ่ายระหว่างทางที่พบเจอ
FORMATION 02
Formation 02 โถสุขภัณฑ์ในซีรีส์ Kohler X SR_A ที่ออกแบบโดย Samuel Ross โดยมีงานสถาปัตยกรรมแบบ brutalist เป็นแรงบันดาลใจ
CONCEAL
สุธี คุณาวิชยานนท์ นำรูปลักษณ์แผนที่ของประเทศไทยมาเป็นต้นแบบในการสร้างผลงานศิลปะที่ถ่ายทอดการเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์การเมืองในประเทศ
FREITAG – DONNERSTAG WEEKS
แบรนด์ FREITAG รับมือกับการเลียนแบบผลงานของตนเองอย่างมีชั้นเชิง ด้วยการนำผลงานเลียนแบบมาเลียนแบบอีกครั้ง พร้อมปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของร้านสาขาแรกให้กลายเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าของการลอกเลียน
LIFESTUDIO
ทำความรู้จัก lifestudio สตูดิโอออกแบบที่มีเป้าหมายคือการสร้างผลงานที่สามารถสัมผัสกับชีวิตผู้คนได้หลายแง่มุม
CENTRAL NAKHON PATHOM
ถึงคราวชมรายละเอียดการออกแบบของศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครปฐม ซึ่งผสมผสานระหว่างการถอดองค์ประกอบจากสิ่งที่มีอยู่เข้ากับภาพลักษณ์ร่วมสมัย โดย Stu/D/O Architects
PHOTO ESSAY : TOWARDS EVENING
TEXT & PHOTO: FEDERICO COVRE
(For English, press here)
รูปเหล่านี้นำเสนอคอลเล็กชันของโปรเจ็กต์ต่างๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในหลากหลายประเทศแถบยุโรป ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก ทั้งหมดถูกถ่ายในยามเย็นก่อนที่กลางคืนจะคืบคลานมาถึง ทุกภาพล้วนแสดงบรรยากาศที่เงียบสงบ แสงธรรมชาติ โดยมีสถาปัตยกรรมรับบทบาทเป็นตัวเอก
________________
Federico Covre (เกิดปี 1977) เป็นช่างภาพสถาปัตยกรรมและแลนด์สเคปที่ทำงานและพำนักอยู่ในอิตาลีและสวีเดน เขามุ่งสร้างสมดุลระหว่างความเข้มข้นทางแนวคิดและการใช้งานจริงในงานสถาปัตยกรรมผ่านการสื่อสารทางภาพหลากหลายวิธีการ ผลงานของเขาเน้นการถ่ายทอดองค์ประกอบที่เรียบง่ายแต่มีระดับ อธิบายสถาปัตยกรรมในบริบทแวดล้อม พร้อมกับจับภาพความงามของวัตถุ ไปจนถึงสิ่งที่อยู่นอกเหนือมิติทางกายภาพ
federicocovre.com
facebook.com/fedcovre
instagram.com/Federico.Covre