Category: PHOTO ESSAY

WE SEE OUR SOULS BETTER IN THE DARK

TEXT & PHOTO: WAN CHANTAVILASVONG

(For English, press here)

เดินทางคนเดียวในวันที่ฟ้าครื้มไปด้วยเมฆและฝนพรำ ความสงัดตกลงท่ามกลางหมู่ถ้ำอชันตา มรดกโลกที่พระสงฆ์เคยใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมกว่าพันปีที่ผ่านมา ถ้ำและโครงสร้างเหล่านี้เป็นส่วนที่เหลือไว้จากการขุดของมนุษย์ ยิ่งขุดลึกเข้าไปในภูเขามากเท่าไหร่ แสงสว่างก็จะลดเหลือน้อยนิดและเลือนลางลง พื้นที่อันมืดมิดเหล่านั้นคือที่ตั้งของห้องเล็กๆ รายล้อมโถงกลาง เป็นช่องว่างอันมืดมิดเพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมเห็นซึ่งธรรมชาติของจิตใจตนเอง

ในพื้นที่อันมืดมิดนั้นเองที่ช่างอนุรักษ์กำลังส่องไฟดวงน้อยเพื่อคอยต่อชีวิตให้กับช่องว่างแห่งการเข้าใจธรรมชาติของจิตใจ

_____________

ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ นักวางแผนเมืองและนักวิจัย ผู้มีการถ่ายภาพเป็นการเล่นที่จริงจัง ภาพถ่ายของว่านมักเป็นการถ่ายทอดความคล้ายและความแตกต่างของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวิถีชีวิตของผู้คนจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก

facebook.com/wan.chtvlv
wanchantavilasvong.squarespace.com

PHOTO ESSAY : BANGKOK URBAN STORIES

TEXT & PHOTO: HIROTARO SONO

(For English, press here)

ผมมักพยายามมองหาเรื่องราว เวลาที่ผมเดินผ่านพื้นที่ต่างๆ ในเมืองอยู่เสมอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และผู้คน

“ทำไมพื้นที่นี้ถึงดูน่าสบายจัง?” “อะไรคือองค์ประกอบที่ทำให้บรรยากาศของพื้นที่เป็นแบบนี้กันนะ?”

พื้นที่เมืองถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ มันจึงเต็มไปด้วยความคิดของผู้คนหลากหลาย
และปริมาณที่มากมายของความคิดนั้นก็เป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจในทันทีทันใด
ดังนั้นแล้ว หากเราต้องการที่จะรู้สึกสนุกไปกับการเดินเล่นภายในเมือง เราต้องตั้งใจมองหาและจับความคิดและเรื่องราวอันแตกต่างกันไปของพื้นที่เมือง

ผมถ่ายภาพเวลาที่ผมสังเกตเห็นเรื่องราวบางอย่าง
เพื่อเป็นแรงบันดาลใจการออกแบบสถาปัตยกรรม
เพื่อความสุขของตัวผมเองที่จะได้ร่วมแบ่งปันมันกับผู้อื่น

นี่คือมุมมองของผม
และนี่ก็คือกรุงเทพฯ ของผม

_____________

Hirotaro Sono (Hiro) คือช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่จับภาพและแบ่งปันอารมณ์ของพื้นที่และผู้คน เขายังเป็นสถาปนิกที่ออกแบบความรู้สึกของพื้นที่และผู้คนด้วยเช่นกัน

hirotarosono.com
instagram.com/sono_thai.jp

PHOTO ESSAY : YOUR HOUSE DOWNSTAIRS

TEXT & PHOTO: JONATHAN TAN

(For English, press here)

สิงคโปร์เป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องโครงการที่อยู่อาศัยของรัฐ โดยประชากรกว่า 80% ของสิงคโปร์อยู่อาศัยในแฟลตของ Housing Development Board หรือ HDB บริเวณใต้ถุนของแฟลตเหล่านี้มีองค์ประกอบหนึ่งที่มักถูกมองข้ามไปก็คือ ‘ช่องในกำแพง’ ที่มาในหลากหลายรูปทรงและสีสัน การมีอยู่ของมันช่วยทำให้พื้นที่ส่วนกลางของแฟลตที่เหล่าผู้พักอาศัยมาพบปะรวมตัวกันมีความสนุกขึ้นอีกเป็นกอง และแม้มักจะพบเจอได้เฉพาะในแฟลตการเคหะรุ่นเก่าๆ ช่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ชาวสิงคโปร์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศเลยก็ว่าได้

ภาพถ่ายชุดนี้มุ่งหมายที่จะรวบรว ‘ช่อง’ เหล่านี้ที่ชาวสิงคโปร์รู้จักกันดีในฐานะ ‘Your House Downstairs’ 

_____________

เมื่อใดที่พอมีเวลาว่าง โจนาธานชอบสนุกไปกับโปรเจ็คต์แนวสร้างสรรค์อยู่เสมอๆ ผลงานภาพถ่ายของเขาอย่าง ‘Singapore Pantone’ และ ‘Your House Downstairs’ ได้รับการพูดถึงในสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งในท้องถิ่นและต่างประเทศ งานส่วนใหญ่ของเขางอกเงยมาจากความเชื่อที่ว่าคุณสามารถเจอศิลปะในสิ่งรอบตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิ่งที่ถูกมองข้าม เพียงเพราะมันเป็นสิ่งที่คุณเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ปัจจุบันโจนาธานทำงานในวงการโฆษณา โดยดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการแบรนด์อาวุโสของ 72andSunny Singapore และแม้ตำแหน่งหน้าที่การงานจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานด้านสร้างสรรค์นัก โจนาธานเชื่อว่าทุกคนล้วนมีความเป็นครีเอทีฟด้วยกันทั้งนั้น

cargocollective.com/jontan
facebook.com/jontannn
instagram.com/jontannn

PHOTO ESSAY : AYUTTHAYA, 2015 – 2021

TEXT & PHOTO: NAWAPAT DUSDUL

(For English, press here)

ชุดภาพถ่ายสถาปัตยกรรมเกิดใหม่ในอยุธยา ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2564 บันทึกไว้ด้วยสมาร์ทโฟนขณะไปเยี่ยมชมสถานที่จริง จากโอกาสที่ผู้เขียนจับพลัดจับผลูได้ทำงานเป็นสื่อคลุกคลีแวดวงสถาปัตยกรรมและการออกแบบ และมักใช้สิทธิ์จากการเป็นคนพื้นเพ อาสาเป็นตัวแทนทีมไปสัมภาษณ์ผู้ออกแบบในแต่ละโปรเจ็คต์ด้วยความปรีติ
 
ไล่ตั้งแต่ The Wine Ayutthaya และ The Artisans Ayutthaya โดย ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา จาก Bangkok Project Studio, Baan Pomphet และ Sala Ayutthaya โดย ศิริยศ ชัยอำนวย และอริศรา จักรธรานนท์ แห่ง Onion จนล่าสุด The Summer Coffee Company Old Town โดย นพชัย อรรฆยะพิศุทธิ์ จาก Space+Craft
 
ผู้เขียนจึงอยากบันทึกภาพจากมุมมองของตัวเอง ผ่านช่วงเวลาที่แสงตกกระทบลงบนสถาปัตยกรรม ที่ผู้ออกแบบตีความและนำเสนอความเป็นอยุธยาออกมาในหลากมิติ เก็บเอาไว้ในฐานะชาวกรุงเก่า ที่หวังอย่างยิ่งว่าจะมีสถานที่ซึ่งเป็นมรดกใหม่ของเมืองเช่นนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เพื่อตั้งอยู่คู่ขนานไปกับโบราณสถานที่ขึ้นหิ้งเป็นมรดกโลก
 
_____________
 
นวภัทร ดัสดุลย์ ปัจจุบันทำงานในสังกัดบ้านและสวน เป็นนักเล่าเรื่องที่ตัวเองอยากเล่าเป็นบางครั้ง เล่าตามสั่งด้วยหน้าที่เป็นส่วนใหญ่ สนใจการถ่ายภาพธรรมชาติที่ไม่ต้องสั่งเปลี่ยนท่า สถาปัตยกรรมที่ไม่เขินกล้อง รวมถึงวัตถุที่หยุดนิ่งและเคลื่อนไหวโดยไม่ต้องร้องขอ
 

PHOTO ESSAY : FIND THE LIGHT

TEXT & PHOTO: SOMYOS SAE-NGOW

(For English, press here)

แสงทำให้เกิดเงาและแสงเปลี่ยนแปลงในทุกๆ วัน
แสงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน
แสงของเราจะเป็นอย่างไร จะรู้ก็ต่อเมื่อเราหาเจอด้วยตัวเอง
 
_____________
 
สมยศ แซ่โง้ว เป็นพนักงานบริษัท กับ Freelance รับถ่ายภาพสถาปัตยกรรม ชอบถ่ายภาพสิ่งต่างๆ รอบตัว และสนใจในงานถ่ายภาพสถาปัตยกรรม
 
 
 
 

PHOTO ESSAY : (NEXT) STATION

TEXT & PHOTO: PEERAPAT WIMOLRUNGKARAT

(For English, press here)

สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) // คือสถานที่ที่สร้างแรงบันดาลใจในทุกๆ ครั้งที่ไปเยี่ยมเยือน

_____________

แอ๊ด พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์ (addcandid)
ช่างภาพผู้ชื่นชอบเก็บบันทึกภาพนิ่ง
ที่มีความเคลื่อนไหวในความทรงจำ

Leica Ambassador (Thailand)
Architecture photography @somethingarchitecture
Pocketbook A(dd)perture @abookpublishing

fb.com/addcandid
addcandid.com

PHOTO ESSAY : FEEL COMPLICATED

TEXT & PHOTO: ANAN NARUPHANTAWAT

(For English, press here)

ภาพถ่ายแนวกราฟิกเป็นสไตล์ภาพที่ผมชอบเสมอ มันเรียบง่ายแต่กลับสื่ออารมณ์ในภาพได้มากมาย ความบังเอิญในวันหนึ่งที่พบกับมุมแปลกๆ ระหว่างทำงานย่านอารีย์ ทำให้ผมพบเจอกับตึกรูปทรงที่น่าสนใจ 

เส้นสายของโครงสร้างตัดกับกระจกอาคารทอดตัวยาวต่อเนื่อง สลับกันไปมาหลายๆ ชั้น ดึงความรู้สึกให้เราเคลื่อนไหวตามไปในทุกมิติ ความสลับซับซ้อนของตัวอาคารทำให้ผมรู้สึกเหมือนถูกดึงลงไปในห้วงอารมณ์ลึกๆ ที่มีอยู่ภายในจิตใจ พร้อมกับทำให้ค้นพบว่า บางทีงานสถาปัตยกรรมอาจไม่ได้ซับซ้อนเท่าจิตใจของมนุษย์เลยก็ว่าได้…

_____________

อานันท์ นฤพันธาวาทย์ ช่างภาพอิสระที่หลงใหลธรรมชาติและงานออกแบบ ชื่นชอบในการถ่ายทอดความรู้สึกต่างๆ ที่มีผ่านการลั่นชัตเตอร์ ปัจจุบันเปิดเพจถ่ายภาพด้านสถาปัตยกรรม Studio.Horizon

facebook.com/StudioHorizonPhotograp

PHOTO ESSAY : IN THAT MOMENT

TEXT & PHOTO: WARUT DUANGKAEWKART

(For English, press here)

ในบางช่วงเวลาของการใช้ชีวิต จะมีบางครั้งที่รู้สึกว่าทุกสิ่งรอบตัวนั้นพิเศษ จนอยากที่จะบันทึกเรื่องราวผ่านภาพถ่ายเอาไว้ เพราะสิ่งที่ปรากฎนั้นอาจเกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งเดียว ที่ชวนให้สงบนิ่ง หยุดหายใจ หลงใหล และ อยากใช้เวลาอยู่กับบรรยากาศที่อยู่ตรงหน้า ที่ไม่ใช่เพียงสิ่งที่มองเห็น แต่รวมถึงเสียง กลิ่น อุณหภูมิ ไปจนถึงความรู้สึกที่สัมผัสได้

หากแต่การที่จะสัมผัสได้นั้น ไม่ใช่การเฝ้ารอเพื่อให้สิ่งต่างๆ มาอยู่ตรงหน้า หรือให้ผู้อื่นเป็นคนชี้นำ ท้ายที่สุด มีหลากหลายองค์ประกอบที่ร่วมก่อร่าง คัดสรร มองหา ปรุงแต่ง และรับรู้ ว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ณ ชั่วขณะนั้น เป็นช่วงเวลาที่โลกทั้งใบหยุดนิ่ง เป็นช่วงเวลาที่ถูกต้องอย่างแท้จริง

ต้นไม้ที่อยู่นอกหน้าต่าง ผ้าม่านที่รับแสงแดด ต้นหญ้าที่เคลื่อนไหวตามแรงลม หมู่ดอกเห็ดที่ขึ้นใต้ขอนไม้ บ้านไม้ธรรมดาริมถนน ผืนป่าและภูเขา ใบไม้ที่เลือนลาง เมืองที่ไม่คุ้นตา ดอกหญ้าที่สังเกตเห็น และอะไรบางอย่างที่เลือกจะมองให้ไม่ชัดเจน

_____________

วรุตร์ ดวงแก้วกาศ ทำงานสร้างสรรค์ในนาม lowerline studio โดยสนใจการผสมผสานระหว่าง สถาปัตยกรรม ศิลปะ และ ชีวิต ชื่นชอบในการสังเกตเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัว เริ่มตั้งคำถามกับสิ่งที่เห็น และหาคำตอบจากสิ่งที่เป็นอยู่

facebook.com/lowerlinestudio
instagram.com/lowerline.studio
behance.net/lowelinestudio

PHOTO ESSAY : FLUKE

TEXT & PHOTO: WATTIKON KOSONKIT

(For English, press here)

“ทำงาน เก็บเงิน และออกเดินทาง” เป็นคำแนะนำจากเจ้านายคนสุดท้ายของผม และไม่ใช่เรื่องแปลกที่สถาปนิกจะออกเดินทางไปแสวงบุญตามสถาปัตยกรรมที่ตนชื่นชอบไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่ แต่สำหรับคนที่ทำงานจนวินาทีสุดท้ายก่อนเดินทาง ก็มักจะหยิบจับอุปกรณ์ถ่ายภาพที่ไม่เหมาะแก่การเก็บภาพตึกต่างๆ ที่ตนเองชื่นชอบ จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการไปเยี่ยมงานต่างๆ และบันทึกไว้เพียงความทรงจำเพียงเท่านั้น ไม่สามารถบันทึกภาพสถาปัตยกรรมที่ตนชื่นชอบได้ แต่ในทางกลับกันการพยายามจดจำทุกจุดของอาคารให้ได้มากที่สุดก็มักจะหันไปเจออากัปกริยาของผู้คนที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกอาคารนั้นที่น่าสนใจ จนเป็นเหตุให้เริ่มใส่ใจผู้คนที่ใช้อาคารมากกว่าตัวงาน ยิ่งพอเราไม่ใช่ช่างภาพมืออาชีพด้วยแล้วการรอ subject ให้เข้ามาในเฟรมภาพยิ่งแทบเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นการหยิบเลนส์ผิดในแต่ละทริป จังหวะการเก็บภาพในแต่ละการเดินทาง ถ้าไม่เรียกว่าฟลุ๊คแล้วก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร

_____________

วัทธิกร โกศลกิตย์ – สถาปนิกตัวกลมพิกัด 100 กิโลกรัม ปัจจุบันทำงานเป็น Draftsman อยู่ FATTSTUDIO ชอบลาพักร้อนหนีเที่ยวเป็นเดือนเพื่อท่องเที่ยวไปตามสถาปัตยกรรมที่ชื่นชอบ และมีความสนใจด้านการถ่ายภาพบางประเภท

instagram.com/wattikon21

PHOTO ESSAY : AKITA GEOMETRY

TEXT & PHOTO: NATHANICH CHAIDEE

(For English, press here)

การเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนตั้งแต่สมัยประถม (อโณทัย อูปคำ – คิวเรเตอร์) ซึ่งย้ายถิ่นฐานมาพำนักชั่วคราวที่จังหวัดอะกิตะ ประเทศญี่ปุ่น นำมาสู่ประสบการณ์ใหม่ของการท่องเที่ยวที่เหมือนมีเพียงเราสองคนที่กำลังเดินท่องเที่ยวอยู่ ณ สถานที่เหล่านั้น 

ต้นเดือนมีนาคมปีที่แล้ว (2019) เราเดินทางจากกลางเมืองไปยังออนเซ็นน้ำนมที่ขึ้นชื่อของอะกิตะ ปกติจะมีรถบัสตรงจากสถานีไปถึงปลายทางเลย แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง รถบัสคันนั้นที่เราขึ้นไปนั่งจำเป็นต้องแวะเปลี่ยนรถที่ทะเลสาบทะซะวะ จริงอยู่ว่าเพื่อนเราเคยไปออนเซ็นนี้แล้วสองสามครั้ง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เธอได้แวะระหว่างทาง

ที่นั่นมีเพียงเราสองคนกับคู่หนุ่มสาวคู่หนึ่งที่ลงป้ายแห่งนี้ แม้จะเป็นทะเลสาบขึ้นชื่อของจังหวัดแต่จุดที่เราลงไม่ได้เป็นแลนด์มาร์คในแผนที่ท่องเที่ยวแต่อย่างใด ความตื่นเต้นของสถานที่ที่บังเอิญได้ไป เทือกเขาที่ทอดยาว น้ำทะเลสาบใสแจ๋ว หิมะที่ฉาบพื้นผิวบางๆ และบทสนทนาของคนที่ไม่ได้เจอกันนานยังคงตรึงในใจของเราสองคนจนถึงทุกวันนี้

หลังจากกลับมามองภาพรวมของรูปทั้งหมด เราสังเกตเห็นความสัมพันธ์ของรูปทรงเรขาคณิตหลากหลายขนาด ร้อยเรียงอยู่อย่างสงบนิ่ง

_____________

ณัฐนิช ชัยดี เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนย้ายเข้ามาสู่กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาต่อในคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเบนสายเข้าสู่ความสนใจทางด้านดีไซน์เต็มตัว ด้วยการศึกษาต่อปริญญาตรีอีกใบ ที่ภาควิชาการออกแบบตกแต่งภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ โดยมีการถ่ายภาพด้วยฟิล์มเป็นงานอดิเรกที่ยังคงทำต่อเนื่องตั้งแต่เรียนมัธยมต้นจนถึงทุกวันนี้

instagram.com/skiixy