หมวดหมู่: UPDATE

SUSPENDED HOUSE

Fala Atelier กลับมาอีกครั้งพร้อมกับบ้านสามชั้นที่เต็มไปองค์ประกอบทางกราฟฟิค รูปทรง และสีสันคล้ายงานคอลลาจ พร้อมทีเด็ดอย่างเสาลอยเท้งเต้งอยู่กลางบ้าน ที่เกิดจากการปลดปล่อยสัญชาตญาณของสถาปนิก

TEXT: PRATCHAYAPOL LERTWICHA
PHOTO CREDIT AS NOTED

(For English, press here)

หากให้นึกถึงสตูดิโอสถาปัตยกรรมที่ทำงานดีไซน์แบบยียวนกวนบาทา ชื่อของ Fala Atelier สตูดิโอสถาปัตยกรรมจากโปรตุเกสจะเป็นหนึ่งชื่อที่ติดอยู่ในโผ เพราะสตูดิโอนี้ทำงานสถาปัตยกรรมเหมือนการทำคอลลาจ องค์ประกอบ รูปทรง และสีสัน ถูกนำมาตัดแปะตามที่ต่างๆ บนอาคารอย่างเมามัน โดยไม่มีหลักเกณฑ์อะไรมากไปกว่าใจที่สั่งมา 

และ Suspended House ผลงานออกแบบบ้านในเมือง Porto ประเทศโปรตุเกส ก็เป็นผลงานที่แสดงความยียวนของ Fala Atelier ไปอีกเลเวล เพราะสิ่งที่อยู่กลางบ้านคือเสาคอนกรีตหน้าตาประหลาดที่ไม่ได้ทำหน้าที่รับโครงสร้างใดๆ เป็นเพียงแค่เสาตกแต่งและเป็นวงกบให้กับประตูรอบๆ 

แล้วรู้ได้อย่างไรว่าไม่ใช่เสารับโครงสร้าง ก็เพราะว่าที่ชั้น 1 เสามันลอยตัวอยู่เหนือพื้นดิน!

Photo: Fala Atelier

เราอาจจะคิดว่าเจ้าของบ้านคือคนผู้คลั่งไคล้ในงานดีไซน์ และอยากได้บ้านที่จี๊ดจ๊าดไม่เหมือนใคร แต่เปล่าเลย เจ้าของบ้านเป็นแค่คนธรรมดาที่อยากให้สถาปนิกมาเซ็นแบบและสร้างบ้านให้เสร็จๆ ไป สถาปนิกอยากทำดีไซน์อย่างไรก็แล้วแต่ เป็นการเข้าหาสถาปนิก เพราะความจำเป็น มากกว่าความสนใจเรื่องดีไซน์ 

“บ้านหลังนี้เป็นบ้านสำหรับเพื่อนของเรา ซึ่งเขาไม่สนใจเรื่องสถาปัตยกรรมเลยซักนิด ความต้องการส่วนมากที่เขาให้มาก็ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องดีไซน์ ทำให้เรามีพื้นที่ได้ทำตามความตั้งใจ” Fala Atelier ว่า

Photo: Fala Atelier

Suspended House เป็นบ้านสามชั้น ที่มีทางเข้าหลักอยู่ชั้น 2 ตามระดับถนนด้านหน้า façade ด้านหลังบ้านตกแต่งด้วยม่านกันแดดสีสันแฟนซี รางน้ำทิ้งสีเงินกลมวางอย่างสง่าผ่าเผยกลาง façade ขอบหน้าต่างด้านบนสุดขลิบด้วยแถบหินอ่อนสีขาวดำที่ดูไม่มีตรรกะอะไรเบื้องหลังแพทเทิร์น และสิ่งที่แสนจะแรนด้อมที่สุดของ façade ด้านนี้ก็คือ แผ่นหินอ่อนกลมสีชมพูที่ยืนเด่นเป็นสง่าข้างบน 

Photo: Fala Atelier

Photo: Fala Atelier

พื้นที่ชั้น 2 และ 3 ของบ้านถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยแนวกำแพงที่เชื่อมต่อกับเสาตรงกลาง เสาทำหน้าที่เป็นวงกบให้ประตูสีน้ำเงินเข้มที่เกาะเกี่ยวรอบๆ สถาปนิกไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าแต่ละห้องจะเป็นห้องอะไร แต่ปล่อยให้เจ้าของบ้านมอบชีวิตให้กับมันเอง ชั้น 1 ไม่ได้มีกำแพงแบ่งสเปซเหมือนชั้นอื่นๆ แต่ยังมีเสาตรงกลางที่ห้อยต่องแต่งเหนือพื้นดิน เสาต้นนี้เป็นเสาหล่อคอนกรีตที่หอบหิ้วด้วยโครงสร้างคานข้างบน ตอนก่อสร้าง เสานี้ก็หล่อคอนกรีตเต็มจนถึงพื้น แต่เมื่อคอนกรีตแห้งตัว สถาปนิกก็ตัดส่วนล่างออก เหลือเป็นเสาลอยอย่างที่เห็น ชั้นหนึ่งก็มีฝ้าแนวโค้งที่ปูดออกมา ทำให้สเปซชั้นนี้ ดูเป็นการคอลลาจในเชิงสามมิติ มากกว่าเป็นการเล่นกับองค์ประกอบในระนาบแบนๆ เพียงอย่างเดียว

Photo: Laurian Ghinitoiu

Photo: Fala Atelier

Photo: Ivo Tavares

Photo: Frederico Martinho

งานนี้เป็นเหมือนกับหลายๆ งานของ Fala Atelier ที่เริ่มต้นจากข้อกำหนดธรรมดา และการเข้าหาสถาปนิกด้วยความจำเป็น โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ ที่อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในโปรตุเกสกลับมาคึกคักเฟื่องฟู หลังเคยซบเซาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกปี 2008 งานออกแบบที่มีคาแรกเตอร์อันเจนจัด เลยเป็นช่องทางที่สตูดิโอจะได้ปลดปล่อยตัวเองออกจากบรีฟซ้ำๆ หรือข้อจำกัดต่างๆ ที่พวกเขาเจอ โดยไม่ได้หวังว่ามันจะมี function หรือมีความหมายอะไรให้ตีความ 

Wireframes | © Fala Atelier

Wireframes | © Fala Atelier

falaatelier.com
facebook.com/falaatelier

PARIS 2024 PICTOGRAM

ลองไปดูเบื้องหลังการออกแบบ pictogram ในโอลิมปิกปารีส 2024 ว่ามีแนวคิดการออกแบบอย่างไรบ้าง และมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไรบ้างเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

TEXT: WEE VIRAPORN
PHOTO CREDIT AS NOTED

(For English, press here)

มนุษย์รู้จักใช้ภาษาภาพมาตั้งแต่ก่อนจะมีตัวอักษรและภาษาเขียน ดังที่ปรากฏหลักฐานเป็นภาพวาดตามผนังถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่แม้ว่าเราจะมีการใช้ภาษาเขียนและตัวอักษรเป็นหลักแล้ว การใช้สัญลักษณ์ภาพก็ยังคงมีที่ทางของมันในระบบการสื่อสารปัจจุบัน เพราะ pictogram (สัญลักษณ์ภาพที่มีรูปลักษณ์คล้ายคลึงกับวัตถุ) ยังคงมีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจร่วมอันเป็นสากลระหว่างผู้สื่อสารที่ใช้ภาษาแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดระบบชุดสัญลักษณ์มาตรฐานสำหรับกิจกรรมต่างๆ ออกมามากมาย เช่น สัญลักษณ์ด้านความปลอดภัยภายในอาคารสถานที่ สัญลักษณ์การซักรีดบนเสื้อผ้า สัญลักษณ์บนอุปกรณ์เครื่องจักรและรถยนต์ เป็นต้น

สำหรับกิจกรรมที่เกิดการรวมตัวของผู้คนจากทั่วโลกอย่างมหกรรมกีฬาโอลิมปิก การสร้าง pictogram ขึ้นมาแทนประเภทกีฬาต่างๆ เป็นสิ่งที่ผู้สนใจงาน graphic design เฝ้ารอชมเสมอ ไม่แพ้ตัวโลโก้ และ mascot ของงาน ซึ่งชุด pictogram กีฬาแบบที่เราคุ้นเคยกันนั้นเริ่มถูกออกแบบเป็นระบบในกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโตเกียว ในปี 1964 โดยหลังจากนั้นก็มีอีกหลายชุดที่น่าจดจำ เช่น Mexico City 1968 โดย Lance Wyman และ Munich 1972 เป็นต้น

pictogram ในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน กรุงโตเกียว ปี 1964 | Photo courtesy of the Organizing Committee for the Games of the XVIII Olympiad

pictogram ในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Mexico City ปี 1968 | Photo courtesy of Organizing Committee of the Games of the XIX Olympiad, MEXICO 68

pictogram ในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Munich ปี 1972 | Photo courtesy of ERCO GmbH Lüdenscheid

ชุด pictogram มักจะถูกออกแบบโดยมีการใช้ระบบกริด และองค์ประกอบอื่นๆ ที่สร้างความต่อเนื่องของรูปฟอร์ม ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างเอกลักษณ์ให้สอดคล้องกับกราฟิกอื่นๆ รวมถึงบางครั้งก็ต้องสะท้อนอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเทศเจ้าภาพด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น ชุด pictogram ของ Sydney 2000 ที่ใช้บูมเมอแรง ซึ่งเป็นอาวุธของชาวอะบอริจิน ชนพื้นเมืองออสเตรเลีย มาประกอบเป็นตัวคน และ Beijing 2008 ที่ใช้ลายเส้นเหมือนตัวอักษรจารึกบนเครื่องถ้วยชามจีนโบราณ

pictogram ในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Sydney ปี 2000 | Photo courtesy of SYDNEY 2000, ORGANISING COMMITTEE FOR THE GAMES

pictogram ในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Beijing ปี 2008 | Photo courtesy of the Beijing Olympic Organizing Committee

แน่นอนว่างานออกแบบกราฟิกสำหรับงานในสเกลนี้ย่อมยากที่จะทำออกมาให้ถูกใจทุกคนได้ โลโก้ของ London 2012 มีกระแสต่อต้านตั้งแต่เปิดตัว เพราะเลือกใช้ตัวอักษรที่สนุกสนานแหวกขนบมากๆ แต่ในส่วน pictogram กลับใช้ลายเส้นโครงร่างคนที่ค่อนข้างเหมือนจริง ส่วน Tokyo 2020 ก็ต้องเปลี่ยนโลโก้เพราะถูกหาว่าเป็นงานลอกแบบ  ในขณะที่คำวิจารณ์เกี่ยวกับชุด pictogram มักจะเป็นไปในทางว่า “ไม่มีอะไรใหม่” ซึ่งตอนแรกเราก็คิดอย่างนั้นกับชุด pictogram ของ Tokyo 2021 ที่จงใจนำแบบของ Tokyo 1964 มาขัดเกลา จนเห็นโชว์การแสดงในช่วงพิธีเปิดที่เอาคนจริงมาแสดงเป็นสัญลักษณ์ได้อย่างคาดไม่ถึง

pictogram ในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน London ปี 2012 | Photo courtesy of The London Organising Committee of the Olympic Games and Paralympic Games Limited

pictogram ในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Tokyo ปี 2021 | Photo courtesy of Tokyo Olympic Organizing Committee

ตั้งแต่คลิปการเปิดตัว Paris 2024 ในพิธีปิดกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียว ผู้ชมได้ตื่นตาตื่นใจกับแนวคิดใหม่ๆ หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดประเภทกีฬาที่ไม่เคยมีในโอลิมปิกมาก่อน เช่น สเก็ตบอร์ดและการเต้นเบรคแดนซ์ หรือการจัดการแข่งขันในสถานที่แลนด์มาร์คต่างๆ แน่นอนว่าในส่วนของงานออกแบบ visual identity ก็ทำได้น่าประทับใจ ตั้งแต่โลโก้ที่มาจากการรวมเปลวไฟ เหรียญทอง และใบหน้าของ Marianne หญิงที่เป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศส การสร้าง custom variable font ที่ได้แรงบันดาลใจจากศิลปะ art deco จนถึงการใช้ชุดสีสดใสที่สะท้อนความรุ่มรวยทางศิลปวัฒนธรรมของเมืองและประเทศเจ้าภาพ เหมาะกับ mood & tone โดยรวมของทุกสื่อที่ออกมาเป็นอย่างดี

Photo courtesy of International Olympic Committee, 2023

ล่าสุดได้มีการเปิดตัวชุด pictogram สำหรับ Paris 2024 ออกมา และมันเป็นงานออกแบบที่พลิกความคาดหมายจนเราไม่ค่อยแน่ใจว่าควรจะเรียกว่า pictogram ดีหรือไม่ เพราะในสัญลักษณ์ของทุกประเภทกีฬาไม่มีคนอยู่ในนั้นเลย แต่เป็นการนำเครื่องกีฬาและองค์ประกอบต่างๆ ของสนามหรือพื้นที่แข่งขัน มาจัดองค์ประกอบกันในพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสที่ถูกแบ่งครึ่งโดยเส้นทะแยง เป็นรูปแบบที่ชวนให้นึกถึงตราประจำตระกูล หรือตราประจำเมืองของยุโรป ที่ต้องมองความหมายในรายละเอียด มากกว่าสัญลักษณ์ภาพที่ทำให้เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว

Photo courtesy of International Olympic Committee, 2023

ณ ตอนนี้เรายังไม่แน่ใจว่า pictogram (?) ชุดนี้จะทำงานได้เวิร์คหรือไม่ จุดอ่อนแรกที่เรากังวลคือมันจะใช้งานในขนาดเล็กได้ยากกว่าแบบเดิมที่คุ้นเคยกันมา เพราะลักษณะลายเส้นก็ไม่ได้ดูเป็นชุดเดียวกับโลโก้ Paris 2024 นัก แต่กลับดูเข้าชุดกับโลโก้ของ Paris 1924 มากกว่า เราเชื่อว่าทั้งหมดนี้เป็นความจงใจในการสื่อสารประเด็นความคิดสร้างสรรค์ที่สืบเนื่องจากอดีตมาจนปัจจุบัน และ pictogram ทุกชิ้นจะถูกออกแบบเป็น variable logo (โลโก้ที่เปลี่ยนรูปแบบตามขนาดพื้นที่) ที่อยู่ในสื่อเคลื่อนไหวได้อย่างสนุกสนานแน่นอน

Paris 1924 Olympic logo

Photo courtesy of International Olympic Committee, 2023

paris2024.org

WHAT DOES MATTER?

นิทรรศการที่พาเราสำรวจ 25 สิ่งสำคัญในการเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ และความเป็นไปฉบับย่อของอุตสาหกรรมกราฟิกไทยในรอบ 20 ที่ผ่านมา ผ่านสายตาของ Pink Blue Black & Orange (PBB&O)

Read More

CENTRAL RAMINDRA

ศูนย์การค้ารีโนเวทใหม่จาก Central Pattana ที่ตั้งใจจะเป็นเพื่อนบ้านที่เป็นมิตรให้กับผู้คนในย่านรามอินทราด้วยคอนเซ็ปต์ ‘Everyday Good Vibes’

Read More

MARINA ABRAMOVIC – “HISTORY OF LONG DURATIONAL WORK AND MAI”

งานบรรยายพิเศษจากศิลปิน performance art ระดับโลกอย่าง Marina Abramovic ในกรุงเทพฯ ที่ผ่านมา ที่ดำดิ่งสู่ประวัติศาสตร์การทำงาน performance ของเธอ ซึ่งอาจจะช่วยให้เราเข้าใจเพิ่มขึ้นว่า แท้จริงแล้ว performance art คืออะไร ?

Read More

LIXIL EXPERIENCE CENTER

LIXIL Experience Center entrance with GROHE AquaSymphony

LIXIL เปิดตัว LIXIL Experience Center, Bangkok ที่แสดงนวัตกรรมสุขภัณฑ์หลากหลายแบรนด์ ผ่านการสร้างประสบการณ์แบบ multi-sensorial experience ที่ช่วยให้คนเข้ามาสัมผัสผลิตภัณฑ์จริงๆ และได้เห็นภาพว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะช่วยเติมเต็มบ้านในฝันของพวกเขาได้อย่างไร

TEXT: PRATCHAYAPOL LERTWICHA
PHOTO COURTESY OF LIXIL (THAILAND) EXCEPT AS NOTED 

(For English, press here

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ลิกซิล ประเทศไทย ผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดการน้ำและที่อยู่อาศัย เปิดตัว LIXIL Experience Center, Bangkok พื้นที่สัมผัสประสบการณ์เหนือระดับจากแบรนด์สุขภัณฑ์คุณภาพภายใต้กลุ่มลิกซิล อันได้แก่ GROHE, American Standard และ INAX ตั้งอยู่ที่อาคาร All Seasons Place ถนนวิทยุ ย่านใจกลางเมืองกรุงเทพฯ โดยมี อองตวน เบสเซเร เดอ ซอร์ (Antoine Besseyre des Horts) ลีดเดอร์ประจำ ลิกซิล กลอบอล ดีไซน์ ภูมิภาคเอเชีย เป็นผู้กุมบังเหียนในการออกแบบโชว์รูมทั้งหมด 

Antoine Besseyre des Horts, Leader (VP), LIXIL Global Design, Asia | Photo: Ketsiree Wongwan

ถึงการชอปปิงออนไลน์จะได้รับความนิยมในตอนนี้ แต่การสร้างพื้นที่ออฟไลน์จะเปิดโอกาสให้คนได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์จริงๆ และช่วยให้ลูกค้านึกภาพออกว่าถ้าผลิตภัณฑ์นี้อยู่ในบ้านของเขา มันจะเป็นอย่างไร” Antoine Besseyre des Horts เผยถึงความสำคัญของ LIXIL Experience Center ในโลกยุค online shopping 

พื้นที่ LIXIL Experience Center ถูกแบ่งออกเป็นสัดเป็นส่วนตามแบรนด์ต่างๆ ซึ่งแต่ละส่วนก็สะท้อนคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นของแบรนด์ออกมา แม้แต่ละส่วนจะต่างกัน แต่สิ่งที่ร้อยเรียงทุกพื้นที่ในโชว์รูมให้เป็นหนึ่งเดียวก็คือ การแสดงนวัตกรรมสุขภัณฑ์ไปจนถึงการจัดแสดงพื้นที่ห้องครัวที่ทำให้บ้านในฝันของทุกคนเป็นจริง 

GROHE Zone

“LIXIL ประกอบด้วยแบรนด์ต่างๆ ที่นำเสนอคุณค่าที่ส่งมอบให้กับลูกค้า (value proposition) และตำแหน่งทางการตลาดที่แตกต่างกัน เราดึงองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแบรนด์มาใช้ในงานออกแบบเพื่อชูความโดดเด่นของแบรนด์ออกมา จากนั้นเราเชื่อมโยงทั้งสามแบรนด์ด้วยจุดมุ่งหมายที่มีร่วมกัน นั่นคือการทำให้บ้านน่าอยู่ขึ้นเป็นไปได้จริงสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก’ ” Antoine กล่าว

เมื่อผ่านจากโถงทางเข้า ทุกคนจะได้พบกับพื้นที่แสดงผลิตภัณฑ์ของ GROHE แบรนด์ที่มาพร้อมสุขภัณฑ์ที่มอบประสบการณ์การใช้น้ำที่มีระดับและเพลิดเพลินไม่ซ้ำใคร 

ไฮไลท์ของโซน GROHE ก็คือพื้นที่ GROHE SPA ที่จำลองบรรยากาศแบบสบาย ๆ เงียบสงบ ไม่ต่างกันกับการไปสปา บริเวณนี้ยังคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นหอม ๆ ของน้ำมันหอมระเหย ‘AQUA Therapy’ ที่ปรุงขึ้นมาพิเศษสำหรับ GROHE SPA โดยมีผลิตภัณฑ์ไฮไลท์ คือ GROHE AquaSymphony ผลิตภัณฑ์ฝักบัวที่เหนือชั้นด้วยสเปรย์หัวฉีดน้ำ 6 แบบ และความสามารถในการเปิดเพลงและปรับเอฟเฟ็กต์แสงไฟได้ตามใจชอบ และที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือก๊อกน้ำ GROHE ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี ICON 3D หรือการพิมพ์โลหะ 3 มิติ รวมถึงการขัดผิวด้วยมืออย่างประณีต ทำให้มีรูปทรงโฉบเฉี่ยว ไม่เหมือนใคร

GROHE Icon 3D

GROHE SPA “The Five Senses Wall”

ยังไม่หายตื่นตาจากผลิตภัณฑ์เท่ๆ ในโซน GROHE เราก็เข้าสู่โซนของ INAX แบรนด์ที่นำวัฒนธรรมการใช้น้ำของญี่ปุ่นมาต่อยอดเป็นนวัตกรรมสุขภัณฑ์ โซนนี้มีบรรยากาศที่ดูอ่อนโยน นุ่มนวล สอดคล้องไปกับคาแรกเตอร์ของผลิตภัณฑ์ INAX ที่มีเส้นสายโค้งมน INAX Zone นำเสนอแนวคิด ‘Curated by LIXIL Design Bathroom Solutions’ นอกจากโซนนี้จะมีผลิตภัณฑ์ของ INAX แล้ว เรายังเห็นอุปกรณ์ฟิตติ้งของ GROHE ผสมผสานเข้ามาด้วย เปิดให้เห็นความสนุกในการ mix and match สุขภัณฑ์จากแบรนด์ต่างๆ เข้าด้วยกัน 

Curated by LIXIL Design Bathroom Solutions

ด้านในสุดของ LIXIL Experience Center คือพื้นที่ของแบรนด์ American Standard กับผลิตภัณฑ์ที่เน้นตอบโจทย์ฟังก์ชันการใช้งาน และมีการออกแบบที่เข้าถึงง่าย เป็นมิตรกับทุกคน นอกเหนือจากการโชว์นวัตกรรม เช่น สุขภัณฑ์เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ หรือนวัตกรรมที่เอื้อสุขอนามัยที่ดีแล้ว American Standard ก็มีส่วนจัดแสดงคอลเลกชัน ACACIA SUPASLEEK และ Signature ที่ทันสมัยและมีสไตล์ สร้างภาพจำที่สดใหม่ให้กับแบรนด์ American Standard อีกด้วย

American Standard Zone

ACACIA SUPASLEEK and Signature Collection

ใน Experience Center แห่งนี้ ผู้เข้าชมจะได้เพลิดเพลินกับประสบการณ์การเข้าชมที่เรียกว่า multi-sensorial experience เช่น กลิ่นและเสียงที่เราคัดสรรมาเพื่อเติมเต็มประสบการณ์โดยเฉพาะ รวมไปถึงชมการสาธิตนวัตกรรมการใช้น้ำในรูปแบบต่างๆ และเทคโนโลยีล่าสุดของเรา ห้องน้ำได้รับการตกแต่งด้วยสี วัสดุ และพื้นผิวต่างๆ สะท้อนเทรนด์ล่าสุดที่ทางทีมของเราได้ค้นคว้ามา เรายังเสริมสร้างประสบการณ์ดิจิทัลด้วยเครื่องมือ LIXIL CustoMy Space ที่ช่วยให้ลูกค้าได้เห็นภาพห้องน้ำที่พวกเขาใฝ่ฝันและต้องการในมุมมอง 360 องศา รวมไปถึงการติดป้าย QR CODE ข้างๆ ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ทุกคนสแกนเข้าไปเช็คข้อมูลรายละเอียดผลิตภัณฑ์ และเก็บไว้เป็นรายการโปรดสำหรับการซื้อภายหลัง” Antoine พูดสรุปถึงเบื้องหลังงานออกแบบ LIXIL Experience Center 

ร่วมสัมผัสประสบการณ์เต็มอิ่มจาก LIXIL Experience Center, Bangkok โดยสามารถนัดหมาย online ได้เลยที่ https://lixilshowroom-th.youcanbook.me/ และถ้าไม่สะดวกมาที่ LIXIL Experience Center ด้วยตัวเองก็สามารถเข้าชมโชว์รูมแบบออนไลน์ได้เช่นกัน ที่ https://virtualshowroom.lixil.com/th

lixil.co.th

DREAMDAY

มิตร ใจอินทร์ แฝงเรื่องราวของพุทธศาสนา ความผูกพันของเขาต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นในภาคเหนือของประเทศไทย รวมถึงพื้นหลังทางการเมืองของประเทศไทยที่ยังไม่ไปไหนเสียที ผ่านนิทรรศการที่เต็มไปด้วยงานศิลปะหลากสีสัน

Read More

SYDNEY MODERN

ส่วนต่อขยายของ Art Gallery of New South Wales ที่ออกแบบโดย SANAA นี้เต็มไปด้วยลานกว้างและสวนที่ชวนให้คนทั่วไปเข้ามาใช้งาน และชวนให้เราตั้งคำถามว่า หน้าที่ของพื้นที่ทางศิลปะในศตวรรษที่ 21 นี้ควรจะเป็นอย่างไร

Read More

BRINGING AN AMERICAN TOUCH TO INDONESIAN CRAFTSMANSHIP

สำรวจเรื่องราวของ Abie Abdillah นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ชาวอินโดนีเซียจาก Studio Hiji ที่ผสมผสานงานหัตถกรรมอินโดนีเซียเข้ากับไม้เนื้อแข็งอเมริกันเพื่อค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของงานออกแบบและรักษาอัตลักษณ์ของความเป็นพื้นถิ่นไปพร้อมๆ กัน

Read More

THE STANDARD, BANGKOK MAHANAKHON

โรงแรมที่ฉีกกรอบโรงแรมเดิมๆ ด้วยการผนวกงานศิลปะ ดนตรี แฟชั่น และดีไซน์ที่จัดจ้านเข้ามาเพื่อให้คนที่อยู่ในโรงแรมรู้สึกเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด พร้อมสโลแกนว่า  “Anything but standard”  

Read More