ป้ายกำกับ: material

OFFICE BUILDING 01 | GUARDIAN GLASS

Le Cristallin building

OFFICE BUILDING 01 | GUARDIAN GLASS

ร่วมสำรวจการใช้กระจก Guardian Glass ในการออกแบบอาคารสำนักงานชั้นนำของโลก ในฐานะวัสดุอันเป็นภาพรวมของอาคารที่ทั้งตอบรับกับการใช้สอย ทั้งยังเป็นดั่งตัวแทนที่จะนำเสนอวิสัยทัศน์ขององค์กรแก่สาธารณะ

Read More

PERCEPTION OF EMPTINESS

กุลธิดา ทรงกิตติภักดี จาก HAS design and research มองความว่างเปล่าที่ปรากฏบนวัตถุและพื้นที่ในสถาปัตยกรรม ในฐานะเครื่องมือเพื่อสร้างการรับรู้ที่ไร้ขอบเขต น่าค้นหา และเป็นอนันต์

Read More

ARRHOV FRICK: REORIENTATION

ต้นข้าว ปาณินท์ พาไปรู้จักกับ Arrhov Frick ออฟฟิศสถาปนิกจากสวีเดนที่สลัดวาทกรรมว่าด้วย ‘การสร้างความงาม’ ผ่านการทำงานอย่างตรงไปตรงมาตามตรรกะของโครงสร้างในงานสถาปัตยกรรม

Read More

LA CASA DEL DESIERTO | GUARDIAN GLASS

LA CASA DEL DESIERTO | GUARDIAN GLASS

ท่ามกลางทะเลทรายที่ร้อนระอุ บ้านพักตากอากาศ La Casa del Desierto โดย OFIS Architects กลับมีการออกแบบที่โดดเด่นด้วยการใช้วัสดุที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมอย่างกระจก SunGuard eXtraSelective SuperNeutral 60 (SNX 60) และ ClimaGuard® Premium2 ที่มีคุณสมบัติในการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารพร้อมทั้งเปิดรับแสงธรรมชาติเข้ามาได้พร้อมกัน

Read More

BUDDHAANDZ

PHOTO: PURIN CHAWARATTANAWONG

(For English, press here)

WHO
Buddhaandz

WHAT
คืองานศิลปะสมัยใหม่ที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องราวทางพุทธศาสนา และถ่ายทอดออกมาด้วยเทคนิคที่หลากหลายทั้งสมัยใหม่สมัยเก่า เพื่อก่อให้เกิดงานศิลปะและการเรียนรู้ธรรมะไปพร้อมกัน

WHEN
Senior Project ในภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรมคณะสถาปัตย์ จุฬา ในสาขา Material and Context base ตอนนั้นได้ทำผลงานที่ต่อยอดจากงานทดลองวัสดุ ด้วยการผลักดันของเหล่าปรามาจารย์ ทั้งอาจารย์บี (ผศ. ดร. เถกิง พัฒโนภาษ) อาจารย์พิม (ผศ. พิม สุทธิคำ) อาจารย์แป๊ป (ผศ. ดร. จุฑามาศ ตั้งสันติกุล) โดยเริ่มจากการลงผลงานใน social media ส่วนตัว แล้วมีผลตอบรับค่อนข้างดี จึงพัฒนาผลงานต่อในเส้นทางนี้

WHERE
ทำงานที่บ้าน ที่วัดบ้าง(คิดงาน) และอาจได้มีผลงานไปแสดงในที่ต่างๆ

WHY
พุทธศาสนา เป็นเรื่องที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกต้ังแต่สมัยเด็กๆ แวดล้อมอยู่รอบตัว เราโชคดีที่ได้มีโอกาสได้ไปเรียนธรรมะพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตั้งแต่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนิทานชาดกหรือหลักธรรมต่างๆ (ตอนเด็กๆ เวลาเพื่อนพูดถึง การ์ตูนโคนัน ภาพในหัวเราจะลอยมาเป็น นิทานชาดกโคนันทิวิศาลเลย)

ช่วงต่อมาดูยูทูปเยอะจึงได้แรงบันดาลใจจากคนนั้นคนนี้ เราก็หาหนังสืออ่านตามเรื่อยๆ แกะออกมาประยุกต์ใช้ได้ อีกทั้งพ่อเราสะสมพระ แต่เราไม่ค่อยอินกับรูปแบบเดิมๆ เท่าไหร่ เราชอบ art toys จึงอยากนำมาผสมพระพุทธศาสนา จึงเกิดงานแนวนี้ขึ้นมา

คุณนิยามคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ อย่างไร
คือการประยุกต์ใช้ของที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ และได้ฝึกฝนตนเองเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ระหว่างเดียวกันก็ฝึกสมาธิระหว่างทำชิ้นงานพร้อมกับรับการเปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อลงมือทำชิ้นงานจริงจะคลาดเคลื่อนกับที่คิดไว้แน่นอน ที่สำคัญคือต้องควบคุมให้ตัวเองอารมณ์ดีตลอดเวลา มันจะส่งผลกระทบออกมาให้งานออกมาดี

อธิบายหลักการทำงานของคุณด้วยคำ 3 คำ
ธรรมะ  l ป๊อป l กระบวนการโบราณ (จริงๆ ก็เหมือนคนทำไอติมโบราณ ที่เราก็ไม่รู้หรอกว่าโบราณจริงๆ เขากันยังไง)

 

คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
เวลาคิดงานไม่ออก ก็จะไปทำอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงาน แต่ถ้าอยากให้คิดออกอย่างต่อเนื่องต้องเดิน ออกไปเดินข้างนอกแล้วสังเกตุสิ่งรอบข้าง การฟังเพลง hip-hop จะทำให้คิดงานออกได้สุดยอดมาก การออกไปทำบุญก็ช่วยให้คิดออก ถ้าขี้เกียจเดินก็อ่านหนังสือ อ่านกวี ส่วนใหญ่จะคิดอะไรออกมาตอนกำลังเพลินๆ แล้วจดเอาไว้ เจอโปรเจคที่เหมาะก็นำมา match กัน

โปรเจ็คต์ใดที่คุณภูมิใจมากที่สุด
ชิ้นงาน Still Buddha and Cloud Robe ตอนที่พบกับชิ้นส่วนพระพุทธรูปนี้รู้สึกมหัศจรรย์มาก แล้วเราเหมือนเห็นนิมิตเป็นภาพคลื่นนี้ขึ้นมา ว่าต้องเอามาปั้นต่อนะ แล้วก็ทำออกมาต่อยอดได้กับอีกหลายๆ ชิ้น

ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
Daniel Arsham เพราะเรากรี๊ดคนนี้มาก ติดตามมานานมากตั้งแต่สมัยแกยังไม่ค่อยมีชื่อเสียง งานของเขา inspire เรามากทั้งในแง่กระบวนการทำงาน วิธีคิดงาน ความเท่ ความรวย ครั้งนึงมีโอกาสได้ไปเนเธอร์แลนด์ แล้วบังเอิญเจองานเขาจัดแสดงคู่กับงาน Banksy พอดี เข้าไปเห็นของจริงคือประทับใจมาก เขาเล่นกับเรื่องเวลาวัตถุในประวัติศาสตร์ ปัจจุบันคืออดีตของอนาคต เขาจะเซ้นลายเซ็นบวกไปอีกพันปี เช่นปีนี้ 2022 เขาจะเขียนเป็น 3022 จริงๆยังมีครีเอทีฟอีกหลายท่านที่อยากมีโอกาสได้สนทนาจิบชาจิบกาแฟ มีเรื่องให้คนเราได้เรียนรู้อีกเยอะ

fb.com/Buddhaandz

///

มอง ‘กระจก’ วัสดุที่ทั้งมองเห็นและไม่เห็นผ่านสายตาของ กาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ บรรณาธิการ art4d ที่ชี้ให้เห็นความพิเศษของวัสดุที่ทั้งมีตัวตน และไม่มีตัวตน คาดเดาได้ และคาดเดาไม่ได้

Read More

WOODDEN – ARCHITECT ’22

พบกับบูุธ WoodDen ในงานสถาปนิก ’65 ที่ได้้รับการออกแบบร่วมกับ PHTAA ภายใต้คอนเซ็ปต์หลักอย่าง Wood-Den Exploring ที่นำเสนอมุมมองที่แตกต่างและศักยภาพของวัสดุที่อยู่คู่การก่อสร้างของไทยมาอย่างช้านานอย่าง ‘ไม้สัก’

Read More

ROYAL PROJECT FOUNDATION | GUARDIAN GLASS

ROYAL PROJECT FOUNDATION | GUARDIAN GLASS

โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวงนี้เป็นอาคารแบบล้านน้าที่ซ่อนรายละเอียดของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยไว้ภายในผ่านใช้กระจกจาก Guardian Glass เพื่อตอบโจทย์ในด้านการกรองแสงแดดและถ่ายทอดอัตลักษณ์ของอาคาร

Read More

GOOD CYCLE BUILDING

นอกจาก façade ของอาคารที่เป็นเสาไม้ขนาดใหญ่จะมีความโดดเด่นแล้ว Good Cycle Building จาก Asanuma Corporation และ Nori Architects ยังน่าสนใจจากการถ่ายทอดแนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้างที่เน้นใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า รวมไปถึงการหยิบองค์ประกอบที่น่าสนใจอย่างดินเก่า ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร 

Read More

BREATHE (REFRESH) & RESTART BY COTTO

COTTO ร่วมกับ YIMSAMER และ PATCHOULI สร้างสรรค์บูทในงานสถาปนิก’65 ที่ชวนให้เราได้สัมผัสประสบการณ์การรีเฟรชตัวเองใหม่ ภายใต้คอนเซปต์ ‘Breathe (Refresh) & Restart’

Read More