Tag: material

MR.NEW’S CABIN

Mr.New cabin

ธรรมชาติและลมหนาวคือสองสิ่งที่บ้าน Mr.New’s Cabin หลังนี้เปิดรับ โดย Housescape Design Lab ออกแบบให้ผู้อยู่อาศัยไม่ต้องสูญเสียความเป็นส่วนตัว และเป็นบ้านที่ใช้งานได้หลากหลายไปพร้อมกัน
Read More

A MILLION LITTLE ODD THINGS, THE LAST PROMISE, AND ONE BIG PICTURE

นิทรรศการนี้นำเสนอชุดสิ่งของและผลงานของ นพไชย อังควัฒะนพงษ์ ซึ่งเป็นตัวแทนของความทรงจำร่วมกันกับคู่ชีวิต อีกทั้งยังสะท้อนคำถามต่อบทบาททางเพศ และโครงสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ของตลาดนัดงานศิลปะ
Read More

WINDSOR: LIVING

WINDSOR: Living

ตัวอย่างการใช้งานกรอบประตูหน้าต่างวินด์เซอร์ในที่พักอาศัย ซึ่งมีเทคโนโลยีฟิล์มลามิเนตที่สามารถมอบลายไม้และผิวสัมผัสให้เจ้าของบ้านได้
Read More

PHOTO ESSAY : CLUSTERED OF PATTERNS

TEXT & PHOTO: JUTI KLIPBUA

(For English, press here

กลุ่มมวลของลวดลาย

การตกแต่งในสถาปัตยกรรมไทยและประเทศเพื่อนบ้านนั้น การใส่รายละเอียดอาจมองเป็นเพียงงานตกแต่งเพื่อแสดงความวิจิตรงดงาม แต่ส่วนตัวของผมนั้นการสนใจรายละเอียดเหล่านี้ ในฐานะที่ทำหน้าที่ลดทอนสัดส่วนของอาคาร ลดความแข็งทื่อของจังหวะการปะทะกันของส่วนประกอบต่างๆ ผมเริ่มสนใจถ่ายภาพรายละเอียดส่วนต่างๆของอาคารเหล่านี้เก็บไว้เมื่อมีโอกาส ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสมัยเรียนสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในยุคนั้นช่างน่าตื่นตาตื่นใจสำหรับนักศึกษาอย่างเรา สถาปัตยกรรมไทยที่เห็นตามวัดวาที่ผ่านตามาตั้งแต่เด็กจนโตไม่อยู่ในความสนใจเท่าไรนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป จากประสบการณ์การทำงานและการเดินทาง ได้ขัดเกลาส่งผลต่อความเข้าใจในความงามและเชิงการช่างและงานฝีมือมีมากขึ้น ยอมรับเลยว่ากล้องของผมก็เต็มไปด้วยภาพถ่ายการย่อมุม ขอบหน้าต่าง การติดกระจกสี และรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมไทยและจนขยายไปถึงของประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ที่ได้มีโอกาสไปเยือนมากมาย

ผมชอบที่วิธีการถ่ายเจาะและอัดจังหวะให้รายละเอียดเหล่านี้อยู่ในเฟรมเดียวกันโดยไม่ได้เสนอให้เห็นภาพใหญ่ของอาคารมากนัก หลายๆ ครั้งรายละเอียดเหล่านี้ก็กลายเป็นรูปทรงของสถาปัตยกรรมด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างเช่นเหมือนขอบของแถวอาคารวัดวาโบราณต่อเนื่องกันเป็นแถวๆ และให้มุมมองคล้ายกับลวดลายผ้าหรือ graphic design ที่เป็นเอกลักษณ์ของช่วงยุคนั้นๆ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลต่องานออกแบบของผมเอง ไม่ว่าจะการใช้ pattern หรือ scale ต่างๆ กันอย่างตรงไปตรงมาหรือลดทอนนำเฉพาะสันหรือเส้นขอบบางส่วนไปใช้ทั้งในงานสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน และงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของ JUTI architects สิ่งที่เห็นจนชินตาตั้งแต่เด็ก กลายเป็นสิ่งที่เราอยากจะสานต่อ ถ่ายทอดลงไปในสถาปัตยกรรมในยุคสมัยปัจจุบัน รายละเอียดที่เมื่อก่อนในความคิดว่าเป็นเพียงความวิจิตร ปัจจุบันสำหรับผม คือ จังหวะสัดส่วน และคุณค่าเชิงการช่างและศิลปะที่ร่วมสมัยอันงดงาม

___________________

จุติ กลีบบัว ผู้ก่อตั้งและ design director ของบริษัท จุติ อาร์คิเท็คส์ จำกัด (JUTI architects) นอกเหนือจากความสนใจในงานสถาปัตยกรรมตามสายงานอาชีพแล้วยังมีความสนใจในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบรถยนต์ และภาพถ่าย ปัจจุบันงานอดิเรกที่ใช้เวลาส่วนใหญ่คือการถ่ายภาพ และกำลังฝึกฝนให้งานภาพถ่ายออกมาในรูปแบบ abstract photography จากสิ่งแวดล้อมที่คุ้นชินในวันทำงานทั่วไปของเขา เช่น ไซต์งานก่อสร้าง เมืองระหว่างรถติด ธรรมชาติรอบตัวในไซต์งานต่างจังหวัด

instagram.com/nackandm

HEILIG OBJECTS

สตูดิโอออกแบบที่ก่อตั้งโดย Daniel Heilig ผู้เชื่อในสัญชาตญาณของตนเอง ที่นี่สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานผ่านดีไซน์เฉพาะตัวซึ่งล้วนมีเรื่องราวซ่อนไว้ให้ค้นหา ในขณะเดียวกันก็ยังคงความเรียบง่ายไว้ในผลงาน

Read More

THE DEPARTMENT OF JEWELRY DESIGN, FACULTY OF DECORATIVE ARTS, SILPAKORN UNIVERSITY

degree show SU jewelry-feat

degree show 2024 jewelry cover

ศิลปนิพนธ์ 7 เรื่อง จากนักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Read More

AHEC AT CLERKENWELL DESIGN WEEK

AHEC at design week feature

ชื่นชมผลงานดีไซน์ไม้เนื้อแข็งจาก 2 อีเวนต์โดย American Hardwood Export Council ในงาน Clerkenwell Design Week ณ กรุงลอนดอน

Read More

ACUTE AND OBTUSE

TEXT: ADRIENNE LAU
PHOTO: RAQUEL DINIZ

(For English, press here)  

สถาปนิกและนักออกแบบ Adrienne Lau เป็นหัวหอกสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างสรรค์ Acute And Obtuse ชุดเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้งที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล 100% งานชุดนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการออกแบบซึ่งปล่อยให้วัสดุที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะเหล่าชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาตรฐาน ได้เป็นตัวขับเคลื่อนการตัดสินใจว่ามันจะถูกใช้งานอย่างไร มีกระบวนการผลิตแบบไหน และต้องการสื่อสารอะไร

โครงการนี้เริ่มต้นจากความต้องการฟื้นฟูพื้นที่ปลูกพืชเพื่อบริโภคใน Abbey Gardens ซึ่งเป็นทั้งสวนสาธารณะและสวนเพื่อการเก็บเกี่ยวใน Newham, London เมื่อสิบห้าปีที่แล้วสวนชุมชนแห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นจากโครงการศิลปะมีชีวิตที่ประกอบด้วยกระบะปลูกต้นไม้ที่เรียงตัวกันเป็นแนวทแยง ภายหลังเวลาผันผ่าน กระบะรูปสี่เหลี่ยมคางหมูที่ทำจากแผ่นไม้ยึดด้วยปลอกมุมเหล็กชุบสังกะสีก็ถึงเวลาต้องถูกเปลี่ยนใหม่

หลังจากรื้อถอนกระบะ Adrienne พบว่ามุมเหล็กส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาพดีและน่านำกลับมาใช้ใหม่เป็นเฟอร์นิเจอร์ มุมเหล็กที่มีองศาเฉพาะเหมาะสำหรับการเป็นสร้างโครงสร้างของเฟอร์นิเจอร์ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นมุมเหล็กขนาด 150 องศา สำหรับการทำเป็นเก้าอี้เอนหลัง 110 องศา สำหรับการสร้างเก้าอี้ และมุมที่เล็กกว่าที่ถูกนำไปใช้เป็นส่วนรองรับม้านั่ง

การทำงานร่วมกับสวนชุมชนระดับรากหญ้าทำให้การจัดเก็บวัสดุและการทำงานอย่างยืดหยุ่นเกิดขึ้นได้ และด้วยความช่วยเหลือจากชุมชนในท้องถิ่นและเหล่าอาสาสมัคร เหล่ามุมเหล็กก็ถูกถอดสลักเกลียวและแยกออกจากแผ่นไม้เก่า

การเชื่อมเหล็กชุบสังกะสีบางๆ เหล่านี้มีทั้งอันตรายจากสารพิษและความเสี่ยงอื่นๆ ทำให้ต้องมีการใช้วัสดุอื่นเป็นข้อต่อ ผู้ออกแบบจึงจับมือกับสตูดิโอ Rosie Strickland โดยนำคานไม้ดักลาสเฟอร์ (Douglas Fir beam) จากโรงทหารสมัยวิคตอเรียนที่ถูกรื้อถอนมาใช้ในการสร้างชิ้นงานที่สมบูรณ์ และเพื่อสร้างความสมดุลและความแตกต่างระหว่างไม้กับความคมของแผ่นเหล็ก ชิ้นส่วนจากไม้ดักลาสเฟอร์จึงมีรูปทรงโค้งมนสะอาดตา รอยบากและรูตะปูบนไม้ที่ถูกนำมาใช้ถูกปล่อยไว้โดยไม่ผ่านการขัดเกลาเพื่อแสดงถึงร่องรอยทางประวัติศาสตร์และถูกชูให้เป็นองค์ประกอบเด่นของการออกแบบ

หลังจากเป็นส่วนหนึ่งของ Edgy Collective winning installation ในเทศกาลสถาปัตยกรรมลอนดอน 2023 (London Festival of Architecture 2023) Acute And Obtuse ได้ถูกย้ายกลับมาไว้ที่ Abbey Gardens สถานที่อันเป็นต้นกำเนิดของเหล่ามุมเหล็ก ปัจจุบันพวกมันทำหน้าที่เป็นที่นั่งที่สามารถปรับเปลี่ยนโยกย้ายได้อย่างยืดหยุ่นภายในพื้นที่ของชุมชนที่กำลังเติบโต

“แทนที่จะซ่อนความไม่สมบูรณ์แบบ เราควรโอบรับความไม่สมบูรณ์แบบนั้นอย่างสร้างสรรค์เพื่อทำให้การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่เป็นสิ่งน่าดึงดูดใจและเป็นที่สนใจในวงกว้างขึ้น” Adrienne Lau กล่าว “การทำให้เรื่องราวของวัสดุปรากฏชัดเจนจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนดูแลรักษามัน สิ่งของจะไม่กลายเป็นขยะ ถ้าสุดท้ายแล้วตัวมันยังมีคุณค่าในสายตาของผู้ใช้งาน”

_____________

Adrienne Lau เป็นสถาปนิกและนักออกแบบผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสภาสถาปนิกแห่งสหราชอาณาจักร (Architects Registration Board หรือ ARB) ปัจจุบันเธอประจำอยู่ที่มหานครลอนดอนและฮ่องกง ด้วยความเชี่ยวชาญอันหลากหลาย ผลงานของเธอครอบคลุมทั้งด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ การสร้างสรรค์ installation ในพื้นที่เมือง ตลอดจนการออกแบบฉากเวที แนวทางการทำงานของเธอมุ่งเน้นการตอบสนองความจำเป็นทางสังคมและระบบนิเวศ ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์อันล้ำสมัยในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง Edgy Collective กลุ่มนักออกแบบผู้คว้ารางวัลมากมาย Adrienne และทีมงานทุ่มเทให้กับการฟื้นฟูพื้นที่เมือง โดยเชื่อมโยงพื้นที่เหล่านั้นเข้ากับมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม พร้อมทั้งสะท้อนความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน ด้วยประสบการณ์อันยาวนานกว่าทศวรรษในวงการ และเส้นทางอาชีพอันโดดเด่นในบริษัทออกแบบชั้นนำระดับโลกอย่าง Heatherwick Studio และ OMA Adrienne ได้ร่วมงานกับลูกค้าระดับแนวหน้าอย่าง PRADA และ Google นอกจากนี้ เธอยังได้ดำรงตำแหน่งผู้นำระดับอาวุโสของโครงการสถาปัตยกรรมและการออกแบบเมืองระดับนานาชาติขนาดใหญ่หลากหลายโครงการ

adriennelauprojects.com
instagram.com/thinking_out_lau

ARCHIDEX 2024: CURATED BOOTH

ARCHIDEX2024-booth

สำรวจ 11 บูธที่ได้รับการคัดสรรมาจัดแสดงภายในงาน ARCHIDEX 2024 มหกรรมแสดงสินค้าด้านอุตสาหกรรมสถาปัตย์

Read More

KEMPEGOWDA INTERNATIONAL AIRPORT, TERMINAL 2 DEPARTURES

Kempegowda Airport

โครงการต่อเติมสนามบินในประเทศอินเดียซึ่งเป็นผลงานออกแบบภายใต้แนวคิด biophilic design ผ่านความคิดสร้างสรรค์ของสตูดิโอ Enter Projects Asia โดยเลือกใช้หวายเป็นวัสดุหลัก

Read More