นอกจาก façade ของอาคารที่เป็นเสาไม้ขนาดใหญ่จะมีความโดดเด่นแล้ว Good Cycle Building จาก Asanuma Corporation และ Nori Architects ยังน่าสนใจจากการถ่ายทอดแนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้างที่เน้นใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า รวมไปถึงการหยิบองค์ประกอบที่น่าสนใจอย่างดินเก่า ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร
All posts by admin
BREATHE (REFRESH) & RESTART BY COTTO
COTTO ร่วมกับ YIMSAMER และ PATCHOULI สร้างสรรค์บูทในงานสถาปนิก’65 ที่ชวนให้เราได้สัมผัสประสบการณ์การรีเฟรชตัวเองใหม่ ภายใต้คอนเซปต์ ‘Breathe (Refresh) & Restart’
THE RICE FIELD PROJECT
วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร ชวนรำลึกถึงวัฒนธรรมการปลูกนาแบบดั้งเดิมที่หายไป และสุนทรียะหลากมิติที่เคยรายล้อมนาข้าว กับ ‘นานิเวศน์สุนทรีย์’ ผลงาน public art ที่เกิดขึ้นจากฝีมือของศิลปินและชาวนาในพื้นที่
ENTER PROJECTS ASIA
art4d พูดคุยกับ Enter Projects Asia ถึงแนวทางการออกแบบของสตูดิโอที่เน้นนำวัสดุอย่าง ‘หวาย’ มาผนวกรวมกับเทคโนโลยี แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของการใช้วัสดุท้องถิ่นในงานออกแบบร่วมสมัย
DÉJÀ VU: WHEN THE SUN RISES IN THE WEST
ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก พระพุทธเจ้าปรากฏตัวในวัฒนธรรมกรีกโบราณ นที อุตฤทธิ์ ร้อยเรียงวัฒนธรรมและความทรงจำขึ้นใหม่ในนิทรรศการ Déjà vu: When the Sun Rises in the West ที่ตั้งคำถามสำคัญว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากอารยธรรมและความเจริญของโลกมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เอเชีย แทนที่โลกตะวันตกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน”
ELBPHILHARMONIE HAMBURG: FAÇADE DETAILS | GUARDIAN GLASS
ELBPHILHARMONIE HAMBURG: FAÇADE DETAILS | GUARDIAN GLASS
หลังจากได้นำเสนอเบื้องหลังแนวคิดการดีไซน์อาคาร ELBPHILHARMONIE HAMBURG กันไปในครั้งก่อน คราวนี้ไปเจาะลึกถึง façade กระจกของอาคารที่ประกอบด้วย Guardian ExtraClear®, Guardian ClimaGuard® และ Guardian SunGuard® ที่ก่อให้เกิดเส้นสายดั่งคลื่นน้ำและท่าเรือใกล้เคียง
TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: CORDELIA EWERTH
(For English, press here)
Façade กระจกดัดโค้งรูปร่างประหลาดตา กลายเป็นภาพจำของโปรเจ็คต์ Elbphilharmonie Hamburg ผลงานออกแบบจาก Herzog & de Meuron ที่นำคลังสินค้าเก่ามาออกแบบใหม่ให้กลายเป็นศูนย์กลางของเมือง Hamburg ที่เต็มไปด้วยกิจกรรม ทั้งโรงแสดงดนตรี ร้านอาหาร บาร์ อพาร์ทเมนต์ และ โรงแรม
จากแนวความคิดในการออกแบบที่มาจากคลื่นน้ำ นำมาสู่การพัฒนารูปร่างของกระจกให้เกิดความโค้งแบบ 3 มิติ ด้วยพื้นที่ของ Façade กว่า 21,800 ตารางเมตร โดยมีส่วนที่ถูกออกแบบให้เป็นกระจกโค้งกว่า 5,000 ตารางเมตร ที่เกิดจากการพัฒนาร่วมกันกับ Guardian Glass และโครงการ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่เคยมีการพัฒนากระจกในลักษณะนี้มาก่อน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของรูปลักษณ์เท่านั้น แต่แผงกระจกนี้ยังคงต้องคงคุณสมบัติต่างๆ ไว้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งความเข็งแรง ความปลอดภัย และ การลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร
สถาปนิกเลือกนำกระจก 3 ชั้นมาดัดโค้งและประกอบจนเกิดเป็นรูปแบบตามความต้องการ นอกจากที่จะตอบโจทย์ในแง่ของความสวยงามแล้ว กระบวนการผลิตก็ยังคงคุณสมบัติต่างๆ ของกระจกไว้ได้อย่างดีแม้ว่าจะนำไปดัดโค้ง ทำให้สามารถรักษาประสิทธิภาพของผิวกระจก Low-E ที่สามารถควบคุมความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้อย่างครบถ้วน
กระจกที่เลือกมาใช้ในโครงการ Elbphilharmonie Hamburg นั้นประกอบไปด้วย Guardian ExtraClear® กระจกโฟลตใส ที่เลือกใช้เป็นกระจกหลักกับ Façade ของอาคาร เพื่อให้มีความโปร่งใส รวมถึง Guardian ClimaGuard® DT กระจกฉนวนความร้อน มีที่คุณสมบัติควบคุมอุณหภูมิจากภายนอกสู่ภายในได้ดี มีความแข็งแรงทนทาน และ Guardian SunGuard® Solar Light Blue 52 กระจกควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องเข้าสู่ตัวอาคาร สามารถส่งผ่านแสงอาทิตย์เข้าสู่ตัวอาคาร หรือ Visible Light Transmission (VLT) ที่ 47% และ ส่งผ่านความร้อนเพียง 36% เท่านั้น ซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมอุณหภูมิ และ ลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศภายในอาคารได้
จากเทคโนโลยีในการก่อสร้างอาคาร Elbphilharmonie Hamburg นี้ ทำให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ต่างๆ ในการนำกระจกมาใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งหากเรานำการออกแบบ มาผสมผสานกับองค์ความรู้ในแง่ของวัสดุ และ กระบวนการผลิตนั้น ก็จะช่วยให้มองเห็นความเปิดกว้างในงานออกแบบมากขึ้นในอนาคต
และย้อนดูบทความเกี่ยวกับเบื้องหลังแนวคิดในการออกแบบอาคาร Elbphilharmonie Hamburg ได้ที่
สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en
Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com
GLASS IN ARCHITECTURE
กังวานสิริ เตชะวณิช จากสตูดิโอ pbm จะมานำเสนอเรื่องราวของวัสดุอย่าง ‘กระจก’ ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่แผ่นบางๆ ที่กั้นตรงกลางเท่านั้น หากแต่เป็นวัสดุที่ทำลายทุกกรอบของความเป็นไปได้ในงานออกแบบ เพื่อแสดงออกถึงวิสัยทัศน์แห่งอนาคตของงานสถาปัตยกรรม
SLABTITUDE
วสุ วิรัชศิลป์ สถาปนิกผู้ก่อตั้งสตูดิโอ VasLab ถ่ายทอดตัวตนออกมาผ่านดีไซน์ของคาเฟ่ Slabtitude ที่มีทั้งเส้นสายของอาคารอันโฉบเฉี่ยว การผสมผสานระหว่างวัสดุไม้และคอนกรีต และโต๊ะไม้ขนาดใหญ่กลางอาคารอันโดดเด่น ที่ดูราวกับกำลังลอยอยู่กลางอากาศได้อย่างมหัศจรรย์
ARAYA KUBOTA ARCHITECT
PHOTO: BEER SINGNOI EXCEPT AS NOTED
(For English, press here)
WHO
Araya Kubota architect
WHAT
สตูดิโอออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่เน้นในการออกแบบองค์รวม เราเชื่อว่างานสถาปัตยกรรมที่ดีนั้นเป็นเพียงแค่ฉากหลังแต่สามารถก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ใช้งานได้
WHEN
17 พฤษภาคม 2564
WHERE
ถนนนางลิ้นจี่ กรุงเทพมหานคร
WHY
ชอบความรู้สึกที่ได้ร่วมสร้างฝันไปกับลูกค้า
คุณนิยามคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ อย่างไร
ความคิดสร้างสรรค์คือการทำความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นโจทย์ที่ได้รับจากลูกค้าหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และสามารถนำมาคิดต่อยอดเพื่อก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ได้
อธิบายหลักการทำงานของคุณด้วยคำ 3 คำ
Delicate / Learning / Happy
คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
ออกไปร้านกาแฟใกล้ๆ
โปรเจ็คต์ใดที่คุณภูมิใจมากที่สุด
รู้สึกภูมิใจกับทุกโปรเจ็คต์ทั้งที่ทำเสร็จแล้วและอยู่ในระหว่างทำ เพราะว่าแต่ละโปรเจ็คต์ มีเรื่องราวในตัวเองที่แตกต่างกันไป ทำให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่หลากหลายและสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้
ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
ถ้าทำได้อยากชวนคุณ Dorte Mandrup ออกไปกินกาแฟด้วยเพราะว่าเป็นสถาปนิกที่เราชื่นชอบผลงานและศึกษางานเขามาตั้งแต่เรียนในมหาวิทยาลัย
ARCHITECT’22: EVENT HIGHLIGHT
ไปดูกันกับไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาดในงานสถาปนิก ’65 ภายใต้แนวคิด “CO-WITH CREATORS: พึ่งพา-อาศัย” ที่นำเสนอแนวคิดและประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อผลักดันศักยภาพของสถาปนิกและนักออกแบบทุกสาขา พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในงาน
Read More