COTTO ศึกษาวิถีชีวิตของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปหลังสถานการณ์โควิด 19 ร่วมกับเอกลักษณ์เฉพาะของคนในแต่ละช่วงอายุ ออกมาเป็นเทรนด์การตกแต่งภายในได้อย่างน่าสนใจ ภายใต้ชื่อ ‘MEflection’
Tag: Interior
HOUSE R3
การดิ้นให้หลุดจากกรอบของกฎหมายที่คอยจำกัดการออกแบบอาจเป็นไปไม่ได้ ทว่าการออกแบบภายใน ‘กรอบ’ นั้นไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อ บ้านจากสตูดิโอ PHTAA Living Design หลังนี้ เป็นบ้านทรงสี่เหลี่ยมที่สามารถแสดงตัวตนของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี
ASA 2023 HUMAN LIBRARY
เรียนรู้สิ่งใหม่ผ่านการพูดคุยกับ ‘หนังสือมนุษย์’ ในงานสถาปนิก’66 จาก 4 สาขาวิชาชีพทั้ง สถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม และผังเมือง พร้อมทั้งพบปะเหล่า Influencer มากความสามารถจากสาขาอื่นๆ ไปพร้อมกัน Read More
MUSEUM 02 | GUARDIAN GLASS
MUSEUM 02 | GUARDIAN GLASS
สำรวจตัวอย่างการออกแบบพิพิธภัณฑ์ทั้ง 3 แห่งที่ใช้กระจกในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างชิ้นงาน พื้นที่และผู้ชม ทั้งยังตอบโจทย์ทั้งมุมมองด้านความสวยงามและความปลอดภัยไปด้วยในเวลาเดียวกัน
THE INTERIOR | SCOPE LANGSUAN
สำรวจการออกแบบภายในของโครงการ SCOPE Langsuan ที่ออกแบบโดย Thomas Juul-Hansen อันเต็มไปด้วยความความหรูหรา ประณีต และความใส่ใจในรายละเอียดในทุกจุดแม้ว่าจะเล็กแค่ไหนก็ตาม
TEXT: JINTAWACH TASANAVITES
PHOTO COURTESY OF SCOPE LANGSUAN EXCEPT AS NOTED
(For English, press here)
SCOPE หลังสวน ได้รวบรวมและคัดสรรนักออกแบบที่มีชื่อเสียงในระดับโลกตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เพื่อสะท้อนความตั้งใจที่จะสร้างมาตรฐานระดับสากลให้กับการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยในโครงการ ทีมงานได้เลือก Thomas Juul-Hansen สถาปนิกชาวเดนมาร์กผู้อาศัยอยู่ในนิวยอร์ก ให้รับหน้าที่ผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรมภายในของโครงการนี้ และถึงแม้ว่านี่จะเป็นโปรเจ็คต์แรกในเอเชียของเขา แต่ Thomas Juul-Hansen มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับโลกของงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอันหรูหราในหลายโครงการ และอยู่เบื้องหลังการออกแบบโครงการที่พักอาศัย โรงแรม งาน retail และงานในเชิงพาณิชย์ในระดับไฮเอนด์ ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงอย่างแพร่หลายในนิวยอร์กและลอนดอน หนึ่งในตัวอย่างคือโครงการสูง 75 ชั้น One57 ซึ่งนับเป็นที่พักอาศัยที่มีราคาสูงที่สุดในนิวยอร์ก

SCOPE LANGSUAN 2 Bed Unit
งานของ Thomas Juul-Hansen มีรายละเอียดที่อยู่เหนือกาลเวลา แต่ในขณะเดียวกันก็มีความ sensitive หรือความไวต่อการตอบสนอง ในมิติของการออกแบบที่ได้รับอิทธิพลจากบริบทของพื้นที่ การเลือกและจัดการวัสดุที่มีความละเอียดลออ และการออกแบบในรายละเอียดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเจาะจงสำหรับโครงการหรือสถานที่นั้นๆ “ผมเชื่อว่าความหรูหราเป็นภาษาสากล ซึ่งเกิดจากการหลอมรวมกันของคุณภาพของแสง ที่ว่าง การใช้งาน และวัสดุ” Thomas ตอบคำถาม art4d ด้วยความมั่นใจเมื่อถูกถามว่าสำหรับเขาแล้วความหรูหรามีคำจำกัดความว่าอย่างไร “ในภาพรวม คำจำกัดความของความหรูหราในกรุงเทพฯ จึงไม่ต่างจากในนิวยอร์กหรือลอนดอน”

Thomas Juul-Hansen | Photo: Ketsiree Wongwan
การวางผังในงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายในของ SCOPE หลังสวน ได้รับการจัดลำดับการเข้าถึงบนพื้นฐานของการเดินทางของผู้อยู่อาศัย เริ่มต้นตั้งแต่ทางเข้าที่ล็อบบี้ชั้น 1 ที่โอ่โถง โดดเด่นด้วยแชนเดอเลียที่ทำจากหินโมราสีชมพู (Pink onyx) ซึ่ง Thomas เป็นผู้ออกแบบขึ้นใหม่ให้เข้ากับปริมาตรพื้นที่และการตกแต่งโดยรวมของทั้งส่วนล็อบบี้ ตัดกับเคานเตอร์ concierge หินอ่อนสีเขียวในรูปทรงที่เสมือนงานประติมากรรม ในเวลาเดียวกัน ความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ที่ได้รับความสำคัญในการออกแบบ โดยทางสัญจรของผู้อยู่อาศัยและของพนักงานได้รับการออกแบบให้แยกส่วนกัน เพื่อให้พื้นที่ส่วนกลางนั้นเป็นพื้นที่ที่เงียบสงบ ไม่แออัด รู้สึกไม่รีบร้อน และรู้สึกเป็นส่วนตัว เมื่อผ่านส่วนล็อบบี้เข้ามาภายใน ลิฟต์ส่วนตัวจะพาผู้อยู่อาศัยเข้าสู่ห้องพักของตัวเองโดยตรง โดยแต่ละห้องมีขนาดที่ผ่านการออกแบบมาจนมั่นใจว่าเป็นขนาดที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยอย่างสะดวกสบาย ตั้งแต่ 83-436 ตร.ม. และความสูงของพื้นถึงฝ้าเพดานที่ 3.5 และ 4 เมตร มิติของขนาดและความสูงที่ได้รับการออกแบบอย่างละเอียดนี้สร้างความรู้สึกของการอยู่อาศัยในพื้นที่ที่โอ่โถง ให้ความรู้สึกของการอยู่อาศัยภายในบ้านเดี่ยว ที่อยู่บนวิวและความหรูหราของการอยู่อาศัยใจกลางเมือง
ในมิติที่ลึกลงไปอย่างเรื่องความรู้สึกในสเปซ Thomas อธิบายเพิ่มเติมถึงแรงบันดาลใจที่เขาได้รับจากการมาเยี่ยมเยือนมหานครแห่งนี้ว่า “สำหรับผมแล้ว กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งแสงสว่างและความปลอดโปร่ง เป็นเมืองที่ให้ความรู้สึกของสภาพอากาศแบบร้อนชื้นที่เกิดจากความสว่างจากแสงแดดและสภาพอากาศที่โปร่งเบา ผมจึงเลือกใช้วัสดุและสีสันที่ให้ความรู้สึกสว่างและโปร่งสบายเพื่อสะท้อนถึงคุณลักษณะเฉพาะตัวเหล่านี้ของกรุงเทพฯ” ความรู้สึกเหล่านี้สามารถสัมผัสได้ทันทีเมื่อเข้ามาถึงภายในโครงการ โดยเฉพาะภายในห้องพักที่ไม่เพียงมีพื้นที่กว้างขวาง แต่ยังรวมไปถึงบานหน้าต่างที่ความสูงจากพื้นจรดฝ้าเพดานที่ช่วยเติมเต็มพื้นที่ด้วยแสงธรรมชาติ ประกอบกับการเลือกใช้วัสดุและชุดสีในโทนสว่างที่สร้างความปลอดโปร่งและชีวิตชีวาให้กับพื้นที่ภายใน ในความรู้สึกอบอุ่นอ่อนโยนและเรียบร้อยสะอาดตา
ในส่วนของงานเฟอร์นิเจอร์ SCOPE เลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่หลอมรวมฟังก์ชันการใช้งานชั้นเลิศเข้ากับรูปลักษณ์ที่สวยงามอย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะในส่วนครัวที่เลือกใช้แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนจากเยอรมนีอย่าง Gaggenau และ Bulthaup ที่มีรายละเอียดของความคิดอยู่ในทุกจุดของการออกแบบ ยกตัวอย่างเช่นส่วนท้อปเคาน์เตอร์ที่ทำจากหินทัชมาฮาลควอตไซต์สีขาวนวลและสีงาช้าง แผ่นหินเนื้อเดียวกันทั้งผืนนี้ช่วยมอบทั้งความสวยงาม พร้อมทั้งปกป้องการดูดซับน้ำทุกรูปแบบ ผู้อยู่อาศัยจึงสามารถใช้งานได้อย่างไร้กังวลว่าสีสันจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาจากการเปรอะเปื้อนและการใช้งานหนัก บริเวณโถงทางเข้า ตั้งแต่ทางเข้าห้องไปจนถึงห้องนั่งเล่นนั้นได้รับการออกแบบให้มีแนวตู้และชั้นสำหรับใช้เป็นที่เก็บของได้อย่างเหลือเฟือ พร้อมทั้งตู้รองเท้าที่ได้รับการออกแบบให้สามารถเก็บรองเท้าได้กว่าร้อยคู่ขึ้นไป รวมไปถึงเป็นที่ตั้งที่เรียบร้อยของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ อย่างเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้า ในส่วน walk-in closet เลือกใช้แบรนด์ LEMA จากอิตาลี โครงตู้เสื้อผ้ารูปตัว U นี้ตั้งอยู่ถัดจากห้องน้ำที่มีขนาดกว้างขวางกรุด้วยหินอ่อนสีขาวล้วน รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์อีกหลายชิ้นที่ Thomas เป็นผู้ออกแบบขึ้นใหม่ด้วยตัวเอง บนความใส่ใจในรายละเอียดสูงสุด “ผมได้เรียนรู้ว่าประสบการณ์การอยู่อาศัยทั้งหมดจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยการผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบสั่งทำพิเศษให้เข้ากันกับสภาพแวดล้อมภายในของพื้นที่” เฟอร์นิเจอร์หลายชิ้นภายในห้อง อย่างเช่นโต๊ะทำงาน ชั้นวางโทรทัศน์ และงาน built-in ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นสำหรับโครงการนี้โดย Thomas โดยเฉพาะ
ระดับของความประณีต และความใส่ใจในรายละเอียดในทุกจุดแม้ว่าจะเล็กแค่ไหนก็ตามโดยผู้ออกแบบระดับสากลนี้ ช่วยยืนยันคำจำกัดความของความหรูหราที่ SCOPE Langsuan ให้มาตรฐานเอาไว้ได้อย่างไม่มีข้อสงสัย
EXOTIC FOOD HEADQUARTER
IF (Integrated Field) ออกแบบออฟฟิศที่เต็มไปด้วยพื้นที่ common space เพื่อพนักงาน ด้วยดีไซน์ที่ ‘เจ็บจี๊ด’ และเป็นการหาคำตอบให้กับคำถามว่า ‘บทบาทของออฟฟิศในปัจจุบันคืออะไร ในวันที่ทุกคนไม่จำเป็นต้องทำงานในออฟฟิศอีกแล้ว’
J DESIGN & DECORATIVE HOUSE
‘เราเชื่อว่าออฟฟิศที่ดีเป็นได้ทุกอย่าง’ คือหนึ่งประโยคสั้นๆ แต่น่าสนใจจากคำตอบที่ J Design & Decorative House เขียนมาแนะนำตัวกับเรา มาทำความรู้จักกับสตูดิโอและฟังจากปากของพวกเขากันว่า ทำไมกัน ออฟฟิศที่ดีถึงต้องตอบโจทย์มากกว่าการเป็นแค่ที่ทำงาน
HANABITATE
Hanabitate สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมจากจากเชียงใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการอยู่อาศัย พร้อมทั้งค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการออกแบบสำหรับบริบทร่วมสมัยไปพร้อมกัน
AIM INTERIOR DESIGN
PHOTO: PANORAMIC STUDIO
(For English, press here)
WHO
บริษัท เอม อินทีเรีย ดีไซน์ จำกัด
WHAT
บริษัท เอม อินทีเรีย ดีไซน์ จำกัด คือบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมภายในก่อตั้งเมื่อปี 2018 โดย นางสาวสุธาสินี สุวรรณวลัยกร ด้วยความเชื่อว่าการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน คือ การออกแบบคุณภาพชีวิตของผู้คน การออกแบบภายในจึงไม่ใช่เพียงการตกแต่งให้สวยงาม แต่สิ่งสำคัญคือการออกแบบพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งานที่เฉพาะของผู้ใช้งานในแต่ละโปรเจคโดยคำนึงถึงพื้นที่ในเชิงสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรมและบริบทรอบด้านร่วมด้วย

BAC Office, project in collaboration with SSAA Studio

BAC Office, project in collaboration with SSAA Studio

BAC Office, project in collaboration with SSAA Studio

BAC Office diagram
WHEN
เริ่มจากการเป็นสถาปนิกภายในฟรีแลนซ์ในปี 2018 และจดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัทในปี 2022
WHERE
กรุงเทพฯ ประเทศไทย
WHY
เรามุ่งหวังที่จะออกแบบพื้นที่ที่สวยงามและการใช้งานที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัย

MFEC Office (Phase 2) diagram
คุณนิยามคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ อย่างไร
ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการที่ผลักดันให้สิ่งที่ดูเป็นไปไม่ได้เกิดขึ้นได้จริง ไม่มีถูกหรือผิด มีแต่มุมมองที่แตกต่าง
อธิบายหลักการทำงานของคุณด้วยคำ 3 คำ
ใส่ใจในรายละเอียด l เชื่อในการทำงานเป็นทีม l ให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า

MFEC Office (Phase 3)

MFEC Office (Phase 3)

MFEC Office (Phase 3) diagram
คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
เอาตัวเองออกมาจากงานไปสถานที่ใหม่ๆ ออกไปเจอผู้คนใหม่ๆ ฟังเรื่องราวของคนอื่นเพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ หรือบางครั้งอาจใช้เวลากับศิลปะที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกแขนงอื่นๆ เช่น เล่นดนตรี ฟังเพลง ดูหนัง ทานอาหาร เป็นต้น
โปรเจ็คต์ใดที่คุณภูมิใจมากที่สุด
ช่วงเวลารู้สึกภูมิใจของทุกโปรเจคคือเมื่องานสร้างเสร็จแล้วได้เห็นลูกค้ามีความสุข : )

Reflection Jomtien Beach Pattaya Condo, Project in Collaboration with VIDA Design Studio

Interior : AIM Interior Design, VIDA Design Studio
ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
Peter Zumthor เพราะชอบผลงานและกระบวนการออกแบบของ Peter Zumthor ค่ะ

Reflection Jomtien Beach Pattaya Condo, Project in Collaboration with VIDA Design Studio
ANIL SATHORN 12 / PART 2: WHY ‘GOLD’ MATTERS?
โครงการ ANIL Sathorn 12 ที่ได้รับการรับรอง WELL Multifamily Residential Precertified™ ระดับ Gold นี้มีความพิเศษอย่างไร ไปดูกันกับรายละเอียดการออกแบบที่อยู่ในเบื้องหน้าและเบื้องหลังอันมีจุดประสงค์หลักเพื่อมอบ ‘ความเป็น-อยู่-ดี’ ให้แก่ผู้อยู่อาศัย