คอลั่มน์ VIEWS โดย กุลธิดา ทรงกิตติภักดี และ Jenchieh Hung ครั้งนี้พาเราไปสำรวจอาคารสาธารณูปโภคของสตูดิโอ NODE Architecture & Urbanism ที่ตั้งคำถามว่า ‘สถาปัตยกรรมจะสามารถขับเคลื่อนเมืองได้อย่างไร?’
All posts by admin
RUAY MITR SATHORN
ศรันย์ เย็นปัญญาสร้างสรรค์ร้านข้าวต้มในย่านสาทรให้เต็มไปด้วย ‘Vibe’ ในแบบที่เป็นกันเองผ่านองค์ประกอบสุดครีเอทจากข้าวของธรรมดา พร้อมทั้งตีความร้านข้าวต้มกุ๊ยให้เป็นมากกว่าสถานที่กินข้าว หากแต่เป็นสถานที่พบปะของมิตรสหายหรือครอบครัว
85 SOCIAL DWELLINGS IN CORNELLÀ
85 Social Dwellings in Cornellà โดย Peris+Toral.acquitectes ในกรุง Barcelona นี้ส่งผ่านคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้อยู่อาศัยด้วยขนาดห้องที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต อากาศที่ถ่ายเทพร้อมทั้งพื้นที่โล่งและพื้นที่สีเขียว และที่สำคัญคือชวนให้เราคิดว่าอนาคตของ public hosing นั้นควรจะเป็นอย่างไร
FOLLY IN THE FOREST
ถึง Folly in the Forest โดย Bangkok Tokyo Architecture (BTA) จะดูเรียบง่ายและกลืนไปกับบริบทรอบข้างหาก แต่อาคารนี้กลับซ่อมความกำกวมขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและวิธีการใช้งาน ที่เปิดโอกาสผู้ใช้งานได้ตีความอาคารออกมาด้วยตัวเอง
ADF MILANO SALONNE DESIGN AWARD 2022
ไปดูกันกับผลงานของผู้ชนะเลิศทั้งสามในงานประกวด ADF Milano Salonne Design Award 2022 ทั้งในสาขา Best Performance Award และ Outstanding Performance Award ภายใต้โจทย์ “re_”
BAKSTERS OFFICE
MUN Architect ใช้ประโยชน์จาก ‘ที่ว่าง’ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายให้กับพนักงานในออฟฟิศของบริษัท IT อย่าง Baksters ทั้งยังสอดแทรกความรู้สึกสนุกสนานลงไปในพื้นที่อันเต็มไปด้วยเส้นสายอันโฉบเฉี่ยวอย่างแนบเนียน
BAAN AKAT YEN
ในย่านใจกลางเมืองอย่างซอยเย็นอากาศ ‘บ้านอากาศเย็น’ คือบ้านจาก Studio Krubka ที่สร้างบทสนทนาระหว่างความเป็นส่วนตัว และส่วนรวม ด้วยการปกปิดตัวอยู่หลังรั้วสูง และห่อหุ้มตัวด้วยเปลือกคอนกรีตแน่นหนา ขณะเดียวกันก็เปิดอาคารโอบล้อมคอร์ท และเจาะช่องโล่งรับธรรมชาติภายใน
JIM THOMPSON ART CENTER
มารู้จักกับอาคารหลังใหม่ของ ‘หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน’ ที่ออกแบบโดย design qua ซึ่งเชื่อมโยงตัวตนในอดีตและปัจจุบันของหอศิลป์ พร้อมต้อนรับผู้คนด้วยท่าทีอันเป็นมิตร
WATSUK ARCHITECT STUDIO
PHOTO COURTESY OF WATSUK ARCHITECT STUDIO
(For English, press here)
WHO
Watsuk Architect Studio
WHAT
Watsuk Architect Studio คือสตูดิโอ ออกแบบงานสถาปัตยกรรม ที่มุ่งเน้นออกแบบให้อยู่ร่วมกันกับบริบทได้อย่างเหมาะสม การนำธรรมชาติ สภาพแวดล้อม วิถีชีวิต และความต้องการของผู้อยู่อาศัย ให้ผนวกและสามารถอยู่รวมกันได้อย่างยั่งยืน คือแนวคิดเริ่มต้นของการกำเนิดสตูดิโอนี้
WHEN
เริ่มก่อตั้งในปี 2020 หลังจากเริ่มมีแนวคิดที่อยากพัฒนารูปแบบงานสถาปัตยกรรมในแนวทางของตนเอง จุดกำเนิดเริ่มตั้งแต่การเรียนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีความใส่ใจและถูกปลูกฝังในเรื่องความยั่งยืน (sustainability) ในทุกๆ งานของผู้ออกแบบเองตั้งแต่สมัยเรียนจะมุ่งเน้นไปในทางเอื้อกับสภาพแวดล้อม และคิดถึงพื้นที่ที่คนจะได้เข้าไปอยู่เป็นหลัก ต่อมาได้มีโอกาสทำงานในบริษัทที่เน้นการดีไซน์ และมีระบบการจัดการความคิดที่ดี จึงเริ่มนำประสบการณ์ที่มีมาสร้างผลงานต่อในทิศทางที่มุ่งหวัง
WHERE
ลักษณะงานเริ่มจากเป็นรูปแบบฟรีแลนซ์ ปัจจุบันอยุ่ที่จังหวัดชลบุรี
WHY
ในปัจจุบันที่งานสถาปัตยกรรมมีมากมายหลากหลาย ทางเลือกในการเลือกหาผู้ออกแบบมีมากขึ้น เราเชื่อว่ารูปแบบการอยู่อาศัยของอาคารแต่ละประเภท มีความแตกต่างกันแต่สิ่งหนึ่งที่ทุกรูปแบบต้องการคือความสะดวกสบายและความยั่งยืน การพัฒนาไปด้วยกันเรียนรู้ไปด้วยกันคือความท้าทายและความสนุกที่จะได้ทำร่วมไปกับคนที่สนใจในแบบที่ใกล้เคียงกัน
คุณนิยามคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ อย่างไร
อนาคต เราว่าคือการนำไปสู่อนาคตการต่อยอดความคิดจากสิ่งเล็กๆ ที่ดูเป็นไปได้หรือไม่ได้ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไม่มากก็น้อย เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง และผู้อื่นเพื่อต่อยอดต่อไป
อธิบายหลักการทำงานของคุณด้วยคำ 3 คำ
เข้าอกเข้าใจ I สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี I มีความสุข
คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
เราว่าทำสิ่งที่ตัวเองชอบ คือทางแก้ปัญหาดีมาก อย่างเราก็นั่งวาดรูป วาดไปวาดมาคิดงานออกเฉยเลย หรือบางทีหนังดู Netflix บทพูดหนังบางคำฟังแล้วสะดุดหูก็เอามาเป็นแรงบันดาลใจในการคิดงานต่อไปได้ เคยมีอยู่ครั้งนึงทำงานร่วมกับเพื่อนลูกค้าบอกว่า “ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบรีสอร์ทมาจากเพลงที่ฟัง แล้วหน้าปกแผ่นเพลงเป็นฉากปิ้งบาบีคิวที่ที่หน้าบ้านชอบความรู้สึกนี้” เราก็ว่าการทำอย่างอื่นนอกจากคิดงานนี่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจได้เยอะมากจริงๆ
โปรเจ็คต์ใดที่คุณภูมิใจมากที่สุด
รู้สึกภูมิใจกับทุกๆ งานที่ทำออกมาแต่ละงานมีบริบทที่ทั้งสถานที่ โจทย์ คนที่ใช้ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ ต่างกัน อย่างเช่น โปรเจคจันทร์เจ้ารีสอร์ท เป็นโปรเจ็คต์ที่ดูทั่วไปอาจจะไม่ได้หน้าตาหวือหวามากแต่เรารู้สึกว่าได้กลิ่นอายของความเป็นไทย ที่ดูแตกต่างออกไปประสบการณ์ที่ได้และการอยู่ร่วมกันธรรมชาติ น่าจะช่วยเยียวยาจิตใจได้ไม่มากก็น้อย
ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
เลือกไม่ได้จริงๆ อยากชวนนักออกแบบจากหลายๆสายมาเลยน่าจะเกิดไอเดียใหม่ให้มาถกเถียงกันถึงประเด็นที่เกิดขึ้นและแนวทางที่จะต่อยอดในอนาคต รูปแบบงานออกแบบจะเป็นยังไงต่อไปนะ น่าลุ้น
GOLEM 2022 – UNCANNY
ในนิทรรศการ GOLEM 2022 – Uncanny เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมลทดลองสร้างรูปจำลองมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดจากชิ้นส่วนของสิ่งชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ ลองดูกันว่าราคาที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ต้องจ่ายเพื่อความปรารถนาอันไร้ที่สิ้นสุดของมนุษย์นั้นมีเท่าไหนกัน