All posts by admin

PHOTO ESSAY : LIFEGUARD TOWERS MIAMI

TEXT & PHOTO: TOMMY KWAK

(For English, press here)

หลังจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชายหาดไมอามี่โดยเฮอริเคนแอนดรูว์ในปี 1992 เมืองไมอามี่ได้มีการออกแบบซุ้มไลฟ์การ์ดขึ้นมาใหม่พร้อมกับหน้าตาและสีสันที่สดใสเพื่อปลุกขวัญและกำลังใจของเมืองและผู้คน ด้วยการนำเสนอที่คล้ายกับแนวทางของซีรีย์ผลงานอาคารเก็บน้ำของ Becher ผลงานภาพถ่ายชุดนี้โดย Tommy Kwak จึงเป็นเหมือนการสำรวจต่อเหล่าอาคารอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองที่ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นฟูและกลับมามีชีวิตใหม่ของย่านเซาท์ ฟลอริด้า

ผลงานชุดภาพถ่ายระดับรางวัลนี้ใช้รูปแบบการวางกรอบและเทคนิคการเปิดความเร็วชัตเตอร์ค้างเอาไว้เป็นระยะเวลานานหรือ long exposure เพื่อให้ฉากหลังของท้องฟ้าและทะเลมีรายละเอียดที่น้อยที่สุดเพื่อขับเน้นลักษณะโดดเด่นของอาคารแต่ละหลัง เป็นการเชิญชวนให้ผู้ชมได้มองเห็นและเปรียบเทียบการผสมผสานสีสันสุดสดใสและรูปทรงของอาคารแต่ละหลังได้อย่างชัดเจน งานชุดนี้ยังแสดงรูปแบบการทำงานอันโดดเด่นของทอมมี่จากองค์ประกอบภาพที่เตะตา การทำงานกับมุมภาพที่มีมิติ การกำกับควบคุมแสง เงา และสี สไตล์การถ่ายภาพของทอมมี่นั้นถ่ายทอดความงามที่เกิดขึ้นในชั่วขณะ และขณะเดียวกันมันก็แปรเปลี่ยนการมีอยู่ของสรรพสิ่งให้ปรากฏขึ้นเป็นรูปทรงที่ชัดเจน และนำพาแง่มุมใหม่ๆ มาสู่เหล่าอาคารไลฟ์การ์ดแห่งหาดไมอามี่

ถ้าอยากสนับสนุนผลงาน Lifeguard Tower Miami และรับชมแบบเต็มๆ ก็สามารถเข้าไปสั่งจอง Photobook กันได้ที่

Kickstarter – Lifeguard Towers: Miami

_____________

งานของ Tommy Kwak สำรวจชั่วขณะของภูมิทัศน์และรูปทรงธรรมชาติต่างๆ ผ่านรูปแบบของภาพถ่ายสีขนาดใหญ่ที่ให้ความรู้สึกงดงามอันแสนบอบบางที่ดูราวกับไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ ผลงานของเขาได้รับการจัดแสดงในระดับนานาชาติโดยหนึ่งในงานล่าสุดของคือผลงานที่ได้รับการคอมมิชชั่นจาก Louis vuitton ให้เข้าไปทำงานกับพื้นที่ของแบรนด์ในเมืองอย่าง นิวยอร์ก ซีแอตเทิลและโคโลญในเยอรมันทอมมี่ได้รับปริญญาศิลปกรรมบัณฑิตสาขากราฟฟิคดีไซน์จาก California College of the Artsในปี 2002 ก่อนที่จะเรียนจบคอร์สการถ่ายภาพจากInternational Center of Photography ที่เขาเข้าเรียนในช่วงปี 2006 และ 2008 ระหว่างช่วงปี 2010 และ 2016 ทอมมี่ เข้าร่วมโครงการศิลปินพำนัก SÍM Residency ที่ เมืองเรคยาวิค ประเทศไอซ์แลนด์ รวมไปถึงการเข้าร่วมงานเทศกาลศิลปะนานาชาติอย่าง Villa Reykjavík ทอมมี่เติบโตขึ้นในแถบชานเมืองชิคาโก้ เขาอาศัยและทำงานอยู่ในบรู๊คลิน นิวยอร์คอยู่เป็นเวลา13ปี ก่อนจะย้ายไปยังมอนต์แคลร์ นิวเจอร์ซี อันเป็นย่านที่เขาพำนักอยู่ในปัจจุบัน เขาเป็นสมาชิกของกลุ่ม Fowler Arts Collectiveในกรีนพอยท์ บรู็คลิน และ SONYA (South of Navy Yard Artists)

Tommykwak.com

Instagram.com/tommykwak

Twitter.com/TommyKwakArt

Behance.net/tommykwak

YA-SA-NAN HOUSE

PVWB Studio เปลี่ยนอาคารตึกแถวไม้ของร้าน ‘ยาสนั่น’ ให้กลายเป็น ‘บ้านยาสนั่น’ อันอบอุ่นและกลมกลืนกับตลาดรอบข้าง ที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและร้านค้าสำหรับดำเนินธุรกิจของครอบครัว

Read More

DUSIT RESIDENCES / PART2: ARCHITECTURE

ต่อเนื่องจากในบทความ Dusit Residences / Part 1 ที่บอกเล่าถึงเนื้อการออกแบบภายในของโครงการ Dusit Residences กันไปแล้ว คราวนี้ลองไปพิจารณากันการออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมที่ได้ทีมสถาปนิกอย่าง A49 และ OMA มาร่วมกันถ่ายทอดความเป็นสากลและความเป็นไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ

Read More

WARUT WIMOLKUNARAK

ไหนๆ art4d ได้ไปร่วมลิ้มรสอาหารและดูการแสดงของงาน 2046: The Greater Exodus แล้ว เราเลยถือโอกาสไปคุยสั้นๆ กับหัวเรือใหญ่ของงานอย่าง วรุตม์ วิมลคุณารักษ์ เสียเลยว่างานนี้มีที่มาอย่างไร

Read More

TAKANAO TODO DESIGN

PHOTO COURTESY OF TAKANAO TODO DESIGN EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

WHO
TAKANAO TODO DESIGN

WHAT
สถาปัตยกรรม/เครื่องปั้นดินเผา/คำปรึกษาด้านการออกแบบ

Bak Bodhi Pavilion l Photo: Chaiyaporn Sodabunlu Noted: Bak Bodhi Pavilion is a project in collaboration with the International Program in Design and Architecture, Chulalongkorn University (INDA) – The design team consists of Ann-pavinee Langenskioeld (Ann), Methawadee Pathomrattanapiban (Sincere), Napapa Soonjan (Luktarn), Natalie Pirarak (Tang), Natcha Thanachanan (Plern), Pheerapitch Phetchareon (Ode), Pitchaya Tangtanawirut (Pizza), Praewrung Chantumrongkul (Ping), Prima Rojanapiyawong (Pie), Slin Smakkamai (Kana), Tanon Theerasupwitaya (In), Thanapat Limpanaset (Than) and Yuhunny Baka (Hunny)

Bak Bodhi Pavilion l Photo: Chaiyaporn Sodabunlu

Bak Bodhi Pavilion l Photo: Chaiyaporn Sodabunlu

WHEN
ตั้งแต่ปี 2017 เราได้รับรางวัลจากงานประกวดด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมนานาชาติหลายงานในสเกลที่แตกต่างกันไป ซึ่งนั่นนำไปสู่การก่อตั้งบริษัทออกแบบของตัวเอง งานในส่วนการผลิตเซรามิคนั้นเริ่มขึ้นในปี 2015 โดยเริ่มจากภาชนะสำหรับทำสาเก ต่อมาเราก็ได้พัฒนาความเชี่ยวชาญการออกแบบและผลิตสำรับ อุปกรณ์ชงชา หลังจากที่ได้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับพิธีชงชา Omote-Senke

Koto Tea Space l Photo courtesy of TAKANAO TODO DESIGN

Koto Tea Space l Photo courtesy of TAKANAO TODO DESIGN

Koto Tea Space l Photo courtesy of TAKANAO TODO DESIGN

WHERE
เราเบสอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย แต่เรามีโครงการด้านสถาปัตยกรรมอื่นๆอยู่ที่เชียงใหม่และญี่ปุ่นด้วย ส่วนงานเซรามิคของเราถูกจัดแสดงอยู่ที่ Central Embassy, Open House, Central : The Original Store และ The Kolophon เนื่องจากว่าเราไม่มีเตาเผาเป็นของตัวเอง เราก็เลยเอาชิ้นงานไปเผาตามที่ต่างๆ โดยใช้วิธีการตั้งแต่เตาเผาไฟฟ้า แก๊ส ไปจนถึงการเผาแบบ Raku

WHY
ประเทศไทยมีพื้นที่และเวทีที่ส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างคนที่มีความสามารถหลากหลายมากมายโดยไม่มีเส้นอะไรมาแบ่งมากนัก ผ่านการทำงานร่วมกันนี้นี่เองที่ศักยภาพของสาขาวิชาต่างๆของการออกแบบจะได้เติบโตขยับขยาย ในขณะเดียวกัน การได้สอนและมีโครงการร่วมกับ International Program in Design and Architecture (INDA) ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เปิดโอกาสให้เราได้ทำการทดลองอะไรหลายๆอย่างด้วยเช่นกัน

Lighthouse in Yokohama l Photo: Takeshi Noguchi

Lighthouse in Yokohama l Photo: Takeshi Noguchi

คุณนิยามคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ อย่างไร
การปะทะกันของความเชี่ยวชาญรูปแบบต่างๆ ความสามารถที่จะหาความเชื่อมโยงของความรู้ทักษะที่ยังไม่ได้ถูกเผยตัวออกมา ความสามารถที่จะตีความประสบการณ์ในระดับปัจเจก และความรู้ภายในความงดงามของผลงานคลาสสิคชิ้นเอก

อธิบายหลักการทำงานของคุณด้วยคำ 3 คำ
การทำงานร่วมกัน I ความสมัยใหม่ที่เหนือกาลเวลา I ความสุข

 

คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
กินมัทฉะสักแก้ว นอน เดินเล่นเรื่อยเปื่อย หรือไม่ก็นั่งสมาธิ

โปรเจ็คต์ใดที่คุณภูมิใจมากที่สุด
ผลงานที่ชื่อว่า Tea X Tech มันเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง FabCafe, Midori-kai และ TAKANAO
TODO Design โดยตัวงานเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมของโรงน้ำชาที่ถูกสร้างและถอดประกอบใหม่ได้ มันเป็นการนำเทคนิคการผลิตแบบดิจิทัล (Digital Fabrication) มาใช้กับการสร้างโรงน้ำชา และอุปกรณ์ชงชา ตัวงานสะท้อนแรงบันดาลใจที่มาจากงานออกแบบของไทย และพิธีขั้นตอนการชงชาโดยทุกอย่างถูกนำมาควบรวมผสมผสานกัน งานชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนเล็กๆน้อยจาก Japan Foundation

Tea X Tech: Photo courtesy of TAKANAO TODO DESIGN

Tea X Tech: Photo courtesy of TAKANAO TODO DESIGN

Tea X Tech: Photo courtesy of TAKANAO TODO DESIGN

ถ้าคุณสามารถเชิญ ‘ครีเอทีฟ’ สักคนไปดื่มกาแฟด้วยกันได้ คุณจะเลือกใครและทำไม
เราอยากพบคุณสมลักษณ์ ปันติบุญ ช่างปั้นเครื่องดินเผา เขาเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักปั้นเครื่องดินเผาชาวไทยรุ่นใหม่หลายๆคนที่มีความหลงไหลในวัฒนธรรมชงชาและงานเซรามิคที่เกี่ยวพันกับมัน เรายังไม่มีโอกาสได้เจอตัวจริงเขาเลย

fb.com/takanao

OFFICE BUILDING 01 | GUARDIAN GLASS

Le Cristallin building

OFFICE BUILDING 01 | GUARDIAN GLASS

ร่วมสำรวจการใช้กระจก Guardian Glass ในการออกแบบอาคารสำนักงานชั้นนำของโลก ในฐานะวัสดุอันเป็นภาพรวมของอาคารที่ทั้งตอบรับกับการใช้สอย ทั้งยังเป็นดั่งตัวแทนที่จะนำเสนอวิสัยทัศน์ขององค์กรแก่สาธารณะ

Read More

NENDO SEES KYOTO

สำรวจคุณค่าในของเก่าไปกับ Sato Oki นักออกแบบชาวญี่ปุ่นจากสตูดิโอ nendo ที่ร่วมมือกับช่างศิลปหัตถกรรมศาสตร์ต่างๆ ในเมืองเกียวโต นำของเก่าล้ำค่าทั้ง 9 ชิ้น มาตีความด้วยสายตางานออกแบบร่วมสมัย ในนิทรรศการ NENDO SEES KYOTO
 

Read More

MUSEUM OF POPULAR HISTORY

art4d พูดคุยกับ อานนท์ ชวาลาวัณย์ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สามัญชน ผู้บันทึกประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองนอกประวัติศาสตร์กระแสหลัก ผ่านการ ‘เก็บ’ ข้าวของเครื่องใช้ที่ดูธรรมดา หากแต่บรรจุไว้ด้วยเรื่องราวการต่อสู้ของคนธรรมดา

Read More

THE DESIGN CAMP 2022

รับชมผลงานของผู้ชนะจากทั้ง 4 หัวข้อในงานประกวด The Design Camp 2022 โดยความร่วมมือระหว่าง The American Hardwood Export Council (AHEC) และ HDII Jakarta ภายใต้โจทย์หลักคือการสร้างสรรค์งานออกแบบจากไม้ American Red Oak

Read More

PHOTO ESSAY : 365OHMANAWAT

TEXT & PHOTO: ANAWAT PETCHUDOMSINSUK

(For English, press here)

ความรู้สึกที่ไม่เคยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เริ่มต้นทำสิ่งไหนก็มักหยุดความพยายามภายในไม่กี่วัน คือจุดกำเนิดของโปรเจค 365ohmanawat เป็นการถ่ายภาพ Still Life วันละ 1 ภาพทุกวันเป็นเวลา 365 วัน เพื่อพิสูจน์ความต่อเนื่องในการลงมือทำอะไรสักอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน โดยใช้ความถนัดจากวิชาชีพช่างภาพอาหารที่ทำอยู่สร้างผลงานที่ใช้ไอเดียและเทคนิคการถ่ายภาพให้แตกต่างจากปกติที่เคยทำ 

เนื่องจากงานปกติที่ทำคือการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณาทั้งสินค้าและอาหาร ซึ่งมักโดนบิดเบือนความจริงเพื่อสร้างความสมบูรณ์แบบ พอนานวันก็เกิดเป็นความเบื่อในงาน ทำให้อยากลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำหรือสิ่งที่แตกต่างจากที่เห็นได้โดยทั่วไป ภาพบางภาพจึงอาจสร้างความรู้สึกกระอักกระอ่วนให้กับผู้ชม ที่ให้ผลลัพธ์ตรงกันข้ามกับความต้องการในงานโฆษณาปกติ

และเพราะต้องการเปิดโอกาสให้ได้ลองทำ จึงไม่มีการตั้งข้อจำกัดทางเนื้อหาและเทคนิค ภาพในโปรเจคนี้จึงมีความหลากหลายสูง บางภาพอาจเกิดจากความไม่พอใจในสังคมบางเรื่อง, สิ่งของในชีวิตประจำวันผสมกับอาหารที่หาได้ทั่วไป หรืออาจจะแค่อยากลองฝึกเทคนิคที่พบเห็นในสื่อที่เราไม่เคยทำมาก่อน

_____________

อนวัช เพชรอุดมสินสุข (Anawat Petchudomsinsuk) ช่างภาพอาหาร Freelance ผู้รักใน Meme และความกวนประสาท

fb.com/FPCWL

instagram.com/ohm.anawat

ohm-anawat.com