หมวดหมู่: CO.SPACE

THE EXPERIENCE OF LUXURY | SCOPE LANGSUAN

The SCOPE Langsuan นำเสนอมิติใหม่ของความหรูหรา ผ่านการให้คุณค่ากับคุณภาพของสเปซพร้อมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการระดับโลก เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ‘เวลา’ ในทุกนาทีของผู้อาศัยจะถูกใช้ไปอย่างมีความหมาย

TEXT: JINTAWACH TASANAVITES
PHOTO COURTESY OF SCOPE LANGSUAN

(For English, press here)

มูลค่าและคุณค่าของโครงการอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในระดับ segment บนนั้นล้วนถูกพิจารณาผ่านปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นฐานอย่างเรื่องทำเลที่ตั้ง การเลือกใช้วัสดุ เอกลักษณ์ของโครงการ หรือชื่อเสียงของแบรนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่วิถีชีวิตของผู้คนมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เอื้อให้วิถีชีวิตของผู้คนมีความยืดหยุ่นขึ้น และหยิบยื่นโอกาสให้ผู้คนใช้เวลาอยู่ในที่พักอาศัยมากกว่าที่เคยเป็นมา ส่งผลให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับบ้านมีความหมายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และความเป็นมากกว่าพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยในปัจจุบันนั้น เรียกร้องให้การออกแบบโครงการอสังหาริมทรัพย์ในยุคปัจจุบันต้องปรับตัวเพื่อรองรับความต้องการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในระดับบนนั้นเผชิญกับความท้าทายของการออกจากผลักดันขอบเขตในการออกแบบเดิมๆ ออกไปอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับการค้นหานิยามหรือนวัตกรรมที่โครงการใหม่ๆ ควรจะมอบให้กับกลุ่มลูกค้า ในปัจจุบันที่การเลือกใช้วัสดุหรือข้าวของราคาแพงเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของโครงการนั้นกำลังถูกตั้งคำถามอย่างเข้มข้น มิติของความหรูหราได้ก้าวห่างออกจากมิติของมูลค่าที่แสดงออกผ่านทางกายภาพของวัตถุ และเคลื่อนที่เข้าสู่คุณสมบัติอันเป็นนามธรรมหรือมิติในเชิงคุณค่าอย่างเช่นเรื่องเวลา คุณภาพของสเปซ และประสบการณ์ที่มีความหมายอย่างแท้จริงกับผู้อยู่อาศัย อาจกล่าวได้ว่าการสร้างสรรค์ความหรูหราในนิยามใหม่นี้คือการสร้างความสมดุลระหว่างดินแดนของมูลค่าและคุณค่า และการนำเสนอประสบการณ์ของพื้นที่อยู่อาศัยในทำเลที่มีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ และในขณะเดียวกันก็อาจจะหาไม่ได้อีกแล้วอย่างหลังสวน การออกแบบและการเลือกใช้วัสดุที่มีไม่มีคำถามในเรื่องของคุณภาพในระดับสากล เพื่อสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่จะคงมูลค่าอยู่เหนือกาลเวลา ของโครงการ Scope หลังสวน คือความพยายามในการสร้างความสมดุลนี้ให้เกิดขึ้นในทุกแง่มุม

“เวลาคือความหรูหราที่แท้จริง” Forth Bagley หัวหน้าทีมจาก KPF (Kohn Pedersen Fox) ปรึกษาด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมให้กับโครงการ Scope หลังสวน กล่าวอย่างไม่ลังเล “เมื่อเราพิจารณาถึงมิติของเวลาที่สร้างขึ้นจากงานสถาปัตยกรรม มันหมายถึงการออกแบบพื้นที่ที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเติมพลังกายพลังใจ ได้ใช้ความคิด เป็นพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดเวลาอันมีค่า นี่เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มพัฒนาผังและกำหนดโปรแกรมการใช้งานต่างๆของอาคารกับเจ้าของโครงการ” 

ในขณะเดียวกัน ทีมงาน KPF ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษกับการสร้างลำดับขั้นของการเข้าถึง ซึ่งส่งผลกับการรับรู้และการใช้งานในพื้นที่ที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกพักผ่อนและเป็นส่วนตัวในทันทีที่ผู้อยู่อาศัยก้าวเท้าเข้าไปภายในโครงการ องค์ประกอบทางการออกแบบในภาพรวม ที่จะได้รับการกล่าวถึงในเชิงลึกต่อไปในซีรีส์งานเขียนนี้ ทำงานสอดประสานกันในการสร้างความรู้สึกสงบสุข เพื่อสร้างพื้นที่ที่นำมาซึ่งความสงบเป็นส่วนตัว และให้ผู้พักอาศัยได้ใช้เวลาอย่างผ่อนคลาย ปราศจากสิ่งรบกวนจากภายนอกอย่างแท้จริง ‘เจ้าของร่วมของโครงการ Scope หลังสวน คือกลุ่ม International Premium เราเชื่อว่าพวกเขาคือกลุ่มคนที่เลือกพักในโรงแรมที่ดีที่สุดเมื่อเดินทางไปทั่วทุกมุมโลก” Forth บอกกับ art4d “ความคาดหวังต่างๆที่พวกเขามีภายหลังจากการได้เข้าไปสัมผัสพื้นที่และประสบการณ์เหล่านี้ด้วยตนเอง จึงเพิ่มมากขึ้นเมื่อพวกเขาเลือกบ้านของตัวเอง ประสบการณ์เหล่านั้นจะเป็นสิ่งที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้รับจากพื้นที่อยู่อาศัยของตัวเองเช่นเดียวกัน”

ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่ได้รับความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบของโครงการนี้ก็คือการให้บริการเสริมต่างๆ ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระเรื่องการดูแลที่พักอาศัยในแต่ละวัน เพื่อช่วยประหยัดเวลาอันมีค่า ซึ่งมีผลต่อสมดุลที่ดีในการใช้ชีวิต และเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ‘เวลา’ ทุกนาทีถูกใช้ไปอย่างมีความหมาย บนพื้นที่กว่า 2,500 ตารางเมตรของโครงการได้รับการออกแบบให้มาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการระดับโลกที่สร้างความมั่นใจว่าประสบการณ์การอยู่อาศัยของเจ้าของโครงการนั้นจะมีความสะดวกสบายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการจอดรถ การดูแลสัมภาระตลอด 24 ชั่วโมง และบริการอื่นๆ ในระดับเดียวกับการเข้าพักในโรงแรมชั้นเลิศ

เส้นแบ่งระหว่างการออกแบบประสบการณ์ของการอยู่อาศัยกับความรู้สึกของการพักผ่อนเมื่อเดินทางกำลังจางลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะสำหรับผู้อยู่อาศัยในเมืองที่มีวิถีชีวิตที่ตารางเวลาอัดแน่นไปด้วยการทำงานและกิจกรรมต่างๆ ทีมงานระดับโลกที่อยู่เบื้องหลังโครงการ Scope หลังสวนแห่งนี้ล้วนตระหนักดีว่า ทิศทางที่พวกเขาเลือกในการออกแบบนั้นล้วนเป็นไปเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมั่นใจได้ว่า ประสบการณ์ที่พวกเขาจะได้รับจากการใช้เวลาอยู่อาศัยที่นี่นั้น จะเป็นประสบการณ์ที่แตกต่าง และมีความหมายอย่างแท้จริง

scopecollection.com 
facebook.com/scopecollection

THE VISIONS | SCOPE LANGSUAN

เพื่อสร้างให้ SCOPE Langsuan เป็นโครงการที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในระดับสากล ยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCOPE Co., Ltd. ร่วมงานกับสถาปนิกและสตูดิโอออกแบบภายในระดับโลกอย่าง Kohn Pedersen Fox (KPF) and the Thomas-Juul Hansen ในการออกแบบโครงการ

TEXT: JINTAWACH TASANAVITES
PHOTO: KETSIREE WONGWAN EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

ความหรูหราดูเหมือนจะเป็นเครื่องบอกถึงความสำเร็จและเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตของคนในทุกยุคสมัย แต่แท้จริงแล้วความหรูหรานั้นหมายความว่าอย่างไรกันแน่ หากมองอย่างผิวเผิน เราอาจพบว่าความหรูหรานั้นมีที่มาที่สืบเนื่องมาจากความเป็นวัตถุนิยม นับเป็นเวลากว่ายาวนานร่วมหลายศตวรรษของการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยที่ความหรูหราปรากฏในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมูลค่า ความหายาก นวัตกรรม การแสดงออกถึงความมั่งคั่ง ไปกระทั่งความน้อยหรือความเรียบง่ายอย่างสุดขั้ว นิยามเหล่านี้แตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ก็ล้วนเกี่ยวพันอยู่กับการได้เป็นเจ้าของสิ่งสวยงามราคาแพง อย่างไรก็ตาม นิยามของความหรูหราโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยได้ค่อยๆ เกิดความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน การแสดงออกถึงความมั่งคั่งด้วยสิ่งของราคาแพงเพียงอย่างเดียวอาจเป็นตัวแทนของความหรูหราที่ล้าสมัยไปเสียแล้ว มุมมองต่อความหรูหราในปัจจุบันได้ปลดเปลื้องตัวเองออกจากการให้ความสำคัญต่อวัตถุ ไปสู่แนวคิดอย่าง ‘luxury essentialism’ ที่หมายถึงการให้คุณค่ากับสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ แต่เป็นการเติมเต็มชีวิตด้วยสิ่งของที่มีความหมายและการใช้สอยที่ไม่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงและมีความสุขเป็นสำคัญ อาจจะดูตื้นเขินเกินไปหากเราจะสรุปว่าความปรารถนาของมนุษย์ต่อวัตถุนั้นได้หมดลง หากแต่แนวคิดของผู้คนในยุคสมัยปัจจุบันที่มีต่อความสมดุล และการจัดลำดับความสำคัญในชีวิต กำลังมีการเปลี่ยนผ่านจากการมองหาความหรูหราผ่านรูปลักษณ์ภายนอกและป้ายราคา ไปสู้การห้อมล้อมตัวเองด้วยงานออกแบบและสิ่งของที่สร้างขึ้นอยางพิถีพิถัน ที่ตอบสนองต่อทุกแง่มุมของกิจกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ แก่นแท้ดังกล่าวคือวิสัยทัศน์และความคิดเบื้องหลังการก่อร่างสร้างตัวของ SCOPE Langsuan

Yongyutt Chaipromprasith

ท่ามกลางตลาดโครงการอสังหาริมทรัพย์จำนวนมากในกรุงเทพฯ ที่มีผลิตภัณฑ์อันหลากหลายพร้อมตอบสนองความต้องการของทุกภาคส่วนทางเศรษฐกิจนั้น ช่องว่างในเรื่องของคุณภาพเป็นสิ่งที่ SCOPE Langsuan มุ่งหมายที่จะเป็นหนึ่งในโครงการแรกๆ ที่จะเข้ามาเติมเต็ม ยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCOPE Co., Ltd. เจ้าของวิสัยทัศน์ที่เป็นแรงผลักดันสำคัญของ SCOPE Langsuan กล่าวว่าเราตั้งใจสร้างโครงการนี้ขึ้นมาอย่างพิถีพิถันที่สุด บนนิยามของความหรูหราเฉพาะตัวที่เจ้าของบ้านจะได้อยู่อาศัย เราเชื่อว่านี่คือกลุ่มคนที่ให้ความใส่ใจกับพื้นที่อยู่อาศัยในฐานะสิ่งที่มีความหมายสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของชีวิต นอกเหนือไปจากแง่มุมอื่นๆ ที่พวกเขาให้ความสำคัญและต้องการลงทุนกับมัน พวกเขามีมุมมองที่กว้างไกล ได้เห็นโลกมาเยอะ และมีประสบการณ์ที่หลากหลาย เราคิดว่าเรากำลังสร้างโครงการนี้ให้กับกลุ่มเจ้าของบ้านที่เรานิยามว่า ‘The International Premium’ ผมเชื่อว่าสำหรับคนกลุ่มนี้แล้ว การใช้ชีวิตอยู่ในบ้านที่ถูกสร้างขึ้นอย่างประณีตและเต็มไปด้วยรายละเอียดของความใส่ใจคือสิ่งพื้นฐานสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งของชีวิตคำกล่าวที่ว่าโยงใยอย่างใกล้ชิดอยู่กับโลกในปัจจุบัน ที่การเข้าถึงข้อมูลปริมาณมหาศาลไม่รู้จบของผู้คนได้สร้างมาตรฐานของความเป็นสากลหรือความ international ขึ้นมาใหม่ พวกเขาไม่ได้เปรียบเทียบสิ่งที่พวกเขากำลังจะซื้อกับผลิตภัณฑ์ที่หาได้ภายในประเทศเท่านั้น แต่เป็นในระดับสากล และประสบการณ์จากการมองเห็นโลกก็สร้างการรับรู้ด้วยตัวเองต่อสิ่งที่พวกเขาจะลงทุนไปกับมัน ความหรูหราในที่นี้จึงหมายถึงการได้เป็นเจ้าของสิ่งที่มีมาตรฐานระดับสากล ที่คุณภาพ ความสมเหตุสมผล การใช้งาน ความสะดวกสบาย และประสบการณ์เชิงสุนทรียะอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล และสามารถที่จะเติมเต็มความต้องการด้านการใช้สอยและอารมณ์ความรู้สึกของเจ้าของบ้านได้อย่างครอบคลุม

Thomas Juul-Hansen

แน่นอนว่าเมื่อเป็นเรื่องของที่อยู่อาศัย ทำเลยังคงเป็นและจะยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งเสมอ และหลังสวนก็เป็นพื้นที่ในอุดมคติที่จะผลักดันให้วิสัยทัศน์นี้สมบูรณ์แบบ สถานะของหลังสวนในแง่ของความเป็นทำเลที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าสูงที่สุดไม่ได้เป็นเพียงเพราะมันตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ที่สามารถเข้าถึงกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพได้อย่างสะดวกสบายและง่ายดายเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะหลังสวนเป็นทำเลหายากที่ยังคงความเงียบสงบ แม้จะตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองชั้นในที่หนาแน่นและวุ่นวาย แต่ก็ยังคงสามารถหยิบยื่นสุขภาวะทางอารมณ์ให้ผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ SCOPE Langsuan นั้นตั้งอยู่บนที่ดิน freehold ที่ผู้ถือครองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ต้องการและหาได้ยากยิ่งในพื้นที่แถบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทำเลที่ประตูหน้าบ้านตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าเพียง 140 เมตรเท่านั้น

Thomas Juul-Hansen

ด้วยที่ดินที่มีทำเลที่มีความพิเศษและยอดเยี่ยมแปลงนี้ เราจึงต้องการที่จะสร้างอาคารที่มีความโดดเด่น ให้เป็นที่จดจำในระดับสากลอย่างแท้จริงยงยุทธกล่าวการที่จะทำแบบนั้นได้ เราต้องมีทีมที่รวมเอาคนทำงานในระดับนานาชาติที่จะช่วยทำให้วิสัยทัศน์ของเราสมบูรณ์แบบ ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงเลือกที่จะทำงานกับ Kohn Pedersen Fox (KPF) และ Thomas-Juul Hansen” KPF รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านงานสถาปัตยกรรมของโครงการ และพวกเขาก็เป็นหนึ่งในบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับการยอมรับ และเป็นที่รู้จักกว้างขวางจากผลงานออกแบบโครงการที่โดดเด่นด้วยนวัตกรรมและกลายเป็นแลนด์มาร์คของเมืองมากมายในซีกโลกตะวันตก รวมไปถึงพื้นที่เมืองที่กำลังเติบโตของประเทศตะวันออกในช่วงเวลาไม่นานมานี้ โครงการนี้ยังเป็นการทำงานร่วมกับ Thomas Juul-Hansen นักออกแบบตกแต่งภายในชื่อดัง ที่เป็นที่รู้จักจากแนวทางการออกแบบที่ตอบสนองกับความหรูหราได้อย่างเรียบง่ายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากผลงานออกแบบในหลายประเทศทั่วโลก อาทิเช่น ผลงาน ONE57 ที่เป็นอพาร์ทเมนท์ที่มีสถิติราคาสูงที่สุดในนิวยอร์คนับถึงเดือนมกราคม 2562 ด้วยยอดการขายที่พักอาศัยอยู่ที่ราคา 3,140 ล้านบาท (100.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและทะเยอทะยานนี้ เมื่อรวมกับทีมงานนักออกแบบระดับโลก และแนวความคิดของความหรูหราเฉพาะตัว SCOPE Langsuan จึงเป็นโครงการที่พร้อมปักหมุดหมายสำคัญ ไม่ใช่เพียงโครงการที่อยู่อาศัยที่หรูหราอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ตั้งใจให้เป็นโครงการที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในระดับสากลอย่างแท้จริง

  • HUDSON YARDS New York © Connie Zhou

scopecollection.com 
facebook.com/scopecollection

LEGO HOUSE | GUARDIAN GLASS

LEGO HOUSE | GUARDIAN GLASS

BIG ออกแบบโปรเจ็คต์ LEGO House โดยได้แรงบันดาลใจมาจากรูปทรงของตัวต่อเลโก้ ทั้งรูปลักษณ์ภายนอก และภายในบริเวณห้องนิทรรศการที่มีการใช้ SunGuard® Extra Selective SNX 60/28 ดึงแสงธรรมชาติเข้ามายังพื้นที่จัดแสดง เผยรายละเอียดและสีสันของผลงานตัวต่อ LEGO ให้เด่นชัดมากขึ้น

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: IWAN BAAN

(For English, press here)

หลายคนเติบโตมากับ LEGO และคุ้นเคยกับการประกอบตัวต่อต่างๆ ที่เป็นระบบ modular ที่สามารถต่อประกอบกันได้ไม่รู้จบ และในหลายครั้งของเล่นที่ชื่อนี้ LEGO กลายเป็นงานสถาปัตยกรรมขนาดย่อม ที่เราสามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาได้โดยง่ายจากการประกอบตัวต่อไปเรื่อยๆ อย่างอิสระ ซึ่งนี่เป็นเหมือนที่มาของแนวความคิดในการออกแบบ LEGO House โดยผู้ออกแบบ BIG ได้สร้างอาคารเสมือนกับว่า ถูกประกอบร่างขึ้นมาจากตัวต่อ LEGO จริงๆ

อาคารหลังนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Billund ประเทศ Denmark ที่เป็นจุดกำเนิดของ LEGO ซึ่งมุ่งหวังให้เมืองกลายเป็นศูนย์กลางของเยาวชนในอนาคต LEGO House ทำหน้าที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำเมือง ไปพร้อมกับพื้นที่ภายในกว่า 12,000 ตารางเมตร ที่บอกเล่าเรื่องราวทุกแง่มุม จากของเล่นชิ้นโปรดตลอดกาลของใครหลายคน ตลอดจนสามารถเห็นถึงเอกลักษณ์ที่ชัดเจนได้ตั้งแต่ รูปร่างอาคารที่ถูกออกแบบให้เหมือนตัวต่อสีขาวขนาดใหญ่ถูกนำมาประกอบ ตั้งซ้อนเรียงกัน จนเกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีความโดนเด่นเช่นนี้

จากภายนอก หากมองจากระดับปกติ ผู้ใช้งานจะมองเห็นอาคารสีขาวที่เป็นเสมือนกล่องสี่เหลี่ยมคล้ายสัดส่วนของตัว LEGO ตั้งเรียงกัน ไล่ระดับขึ้นไป โดนมีทั้งส่วนที่ปิดทึบด้วยผนังสีขาว และส่วนที่เปิดมุมมองจากภายในสู่ภายนอกด้วยบานกระจกขนาดใหญ่ แต่หากมองจากด้านบน บนดาดฟ้าของอาคารแต่ละก้อน ถูกออกแบบให้มีสีสันที่แตกต่างกันคล้ายกับสีของตัวต่อ LEGO เพื่อรองรับกิจกรรมกลางแจ้งที่เป็นสนามเด็กเล่น และสีต่างๆ ก็นำเสนอผ่านการแบ่งโซนของกิจกรรมการเรียนรู้ของแต่ละส่วนใน Museum ส่วนพื้นที่ภายในอาคารนั้นประกอบไปด้วย ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านขายของ ห้องนิทรรศการ พื้นที่การเรียนรู้และเล่นที่สามารถลำดับการเรียนรู้ได้ตาม สีต่างๆ ที่ถูกออกแบบไว้เป็นอย่างดี

โถงกลางของอาคารถูดจัดแสดงด้วย LEGO ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ถูกโอบล้อมด้วยบันได และแสงธรรมชาติที่ถูกส่องผ่านลงมาจาก skylight เพื่อเพิ่มความสว่างให้กับโถงอาคาร และอีกจุดหนึ่งที่เป็นไฮไลต์สำคัญ คือห้องจัดแสดงงาน LEGO คอลเลคชั่นพิเศษต่างๆ โดยภายในห้องได้ถูกออกแบบให้มีช่องแสง skylight วงกลม จำนวน 8 จุด เปรียบเสมือนเอกลักษณ์ของตัวต่อ LEGO ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดจากด้านบนที่เป็นดาดฟ้า โดยกระจกที่เลือกใช้นั้นคือ SunGuard® Extra Selective SNX 60/28 ที่สามารถรับแสงธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารได้ถึง 60% และยังป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์ให้ผ่านเข้ามาในอาคารเพียง 28% เท่านั้น ซึ่งช่วยให้พื้นที่ภายในนั้นมีความสว่าง โปร่ง เย็นสบาย รวมทั้งให้ความชัดเจนในการจัดแสดงชิ้นงานภายในอาคาร

ซึ่งกระจกนั้นถูกผสานเข้ามาในหลายๆ ส่วน ทั้งผนังอาคาร ราวกันตก ที่เลือกใช้กระจกเพื่อความโปร่งของพื้นที่ แต่ยังคงความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานที่ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ช่วยให้พื้นที่ส่วนๆ ต่างเชื่อมโยงถึงกันเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ภายในได้เป็นอย่างดี

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

THEPPANYA HOSPITAL | GUARDIAN GLASS

THEPPANYA HOSPITAL | GUARDIAN GLASS

LEARN MORE ABOUT THE PROPERTY AND THE APPLICATION OF SOLAR CONTROL SERIES GLASS AND SUNGUARD® FROM GUARDIAN GLASS IN THEPPANYA HOSPITAL IN CHIANG MAI THAT ACCENTUATES THE DESIGN WHILE EFFORTLESSLY FULFILLING THE REQUIRED INTERIOR FUNCTIONALITIES

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: THANANUPHONG KAMMERUU

(For English, press here)

กระจกโค้ท หรือกระจกเคลือบเป็นกระจกรูปแบบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ทั้งที่พักอาศัย อาคารสาธารณะ และอาคารสูงต่างๆ จนชินตา แต่หลายครั้งเราอาจจะไม่รู้ว่าผิวกระจกที่เรามองเห็นอยู่นั้น มีความหลากหลาย และมีคุณสมบัติที่ซ่อนอยู่อย่างไรบ้าง 

อาคารหลังใหม่ของโรงพยาบาลเทพปัญญาที่ตั้งอยู่บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ตัดกับถนนเชียงใหม่-ลำปาง ผ่านการออกแบบ จาก Prompt Architect ตัวอาคารตั้งอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของชุมชนโดยรอบด้วยฟอร์มที่เรียบง่าย แต่โดดเด่นด้วย façade จากกระจกโค้ทตัดกับตัวอาคารทึบสีเทาอ่อน ซึ่งแสดงออกถึง ภาพลักษณ์ ของโรงพยาบาล ที่น่าเชื่อถือและทันสมัยได้อย่างดี โดยหากมองจากภายนอก จะสามารถมองเห็นโทนสีของกระจกที่แตกต่างกันออกไป ถึง 3 เฉด ที่ถูกออกแบบจัดวางเพิ่มมิติของตึกทำให้ façade มีความน่าสนใจมากขึ้น และยังสอดคล้องกับฟังก์ชั่นภายในได้แบบไม่ต้องพยายาม

ทีมออกแบบได้เลือกผลิตภัณฑ์สามรายการจาก Guardian SunGuard® Solar Series และ Guardian High Durable Series สำหรับเฉดสีต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ นอกจากสีแล้ว กระจกเคลือบแต่ละอันยังมีลักษณะทางกายภาพที่น่าสนใจและโดดเด่นอีกด้วย 

High Durable Colours Series (สี HD Blue) ให้โทนสีที่สดใสกว่าเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆ ทำให้ภายนอกดูสะดุดตามากขึ้น ในขณะที่ยังคงพื้นที่ภายในให้โล่งและกว้างขวางด้วยความโปร่งใส ประสิทธิภาพและสุนทรียภาพที่ดีของ HD Blue ทำให้ได้เปรียบเมื่อเทียบกับกระจกไพโรไลติกและกระจกย้อมสีอื่นๆ

นอกจากนี้ Royal Blue 20 และ Solar Natural 67 จาก Guardian SunGuard® Solar Series ยังให้ความสามารถในการสะท้อนความร้อนออกไปด้วยการเคลือบระดับโมเลกุลที่เกิดจากเทคนิค Sputtering ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมที่โดดเด่นของ Guardian Glass ซึ่งสร้างลักษณะทางกายภาพเฉพาะสำหรับแต่ละประเภทกระจกได้ SunGuard® Solar Series ยังมาพร้อมกับสีสันที่หลากหลาย ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนการออกแบบได้ตอบโจทย์มากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับกระจกสี หรือกระจกติดฟิล์มอื่นๆ

กระจกเคลือบภายใต้ Solar Series และ High Durable Colours Series นี้สามารถผ่านเทคนิคการแปรรูป เช่น การอบชุบด้วยความร้อน (เทมเปอร์ หรือ ฮีสเสตรงเทน) และทำเป็นกระจกนิรภัยหลายชั้น (ลามิเนต) และนำไปดัดโค้งเพื่อให้การออกแบบเป็นไปได้มากขึ้น

โรงพยาบาลเทพปัญญาแห่งนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งในการเลือกใช้ศักยภาพของกระจกอย่างเต็มที่ เพิ่มมุมมองจากอาคาร โรงพยาบาลที่ดูเรียบๆ ให้เป็นโครงการที่มีความทันสมัยทั้งในแง่ของเฉดสี การจัดวางขนาดกระจกที่หลากหลาย ทั้งกระจกแผ่นเล็กไปจนขนาดใหญ่ที่กว้างกว่า 2 เมตร ทำให้วัสดุที่เราคุ้นชินอย่างกระจกนั้นถูกออกแบบให้เกิดเป็น ลวดลาย เพิ่มองค์ประกอบที่น่าสนใจให้กับโครงการโรงพยาบาล และกลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่น่ามอง

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Offical Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

A TALK ABOUT WELLADEE WELLNESS WITH SURAT NIRUNSITTIRAT | GUARDIAN GLASS


A TALK ABOUT WELLADEE WELLNESS WITH SURAT NIRUNSITTIRAT | GUARDIAN GLASS

ART4D TALKS WITH SURAT NIRUNSITTIRAT, THE OWNER OF WELLADEE WELLNESS, ABOUT THE PROJECT’S BACKGROUND, DESIGN PROCESS AS WELL AS HER INTENTION TO CREATE THE ACCOMMODATION TO HEAL VISITOR’S PHYSICAL AND MENTAL HEALTH

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: THANANUPHONG KAMMERUU

(For English, press here)

จากบทความ Welladee Wellness ที่ได้พูดถึงแนวความคิดและบรรยากาศการออกแบบเบื้องต้น ไปแล้ว ในบทความนี้จะมาทุกท่านมาสู่ถึงเบื้องหลัง ความเป็นมาของโครงการตลอดถึงรูปแบบการทำงาน และความตั้งใจในการสร้างที่พักสำหรับการฟื้นฟูสุขภาพทั้งกายและสุขภาพใจนี้ กับ คุณแอร์ สุรัติ นิรันต์สิทธิรัชต์ เจ้าของโครงการโรงแรมเวลาดี เวลเนส เชียงใหม่

art4d: ความตั้งใจและจุดเริ่มต้นของโครงการ
Surat Nirunsittirat: 
จริงๆ เราเป็นคนที่ทำงานในสายโรงแรมอยู่แล้ว มีหลายโครงการที่เราซื้อมาแล้วนำมา rebranding ใหม่ โดนส่วนใหญ่อยู่ในทำเลที่ดีด้วย แต่ยังพบปัญหาในแง่ของการตลาดอยู่ ด้วยหลากหลายปัจจัย จึงเหมือนเป็นคำถามที่คาใจ ผนวกกับประสบการณ์ของตัวเอง ที่เริ่มมองเห็นว่าการดูแลตัวเองมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการทำงาน จึงมองว่าหากเอาความถนัดในการทำงานมารวมกับแนวความคิดนี้ จะสามารถสร้างอะไรขึ้นมาใหม่ได้ แล้วให้มันมีคุณค่าในแง่ wellness ด้วย จึงศึกษา ใช้ชีวิตตามรูปแบบนั้นเพื่อทำความเข้าใจให้มากขึ้น และเริ่มมีไอเดียในการสร้างโรงแรมที่ตอบโจทย์ สำหรับคนกลุ่มที่สนใจในการดูแลตัวเองโดยเฉพาะ

art4d: แนวความคิดที่ส่งต่อให้สถาปนิก
SN: เราได้ทำงานกับ สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) ที่เริ่มพูดคุยกันจากความตั้งใจว่า อยากให้ที่นี่เป็นที่พักที่แตกต่างจากที่อื่น เพราะด้วยความที่เราไม่ได้มีวิว หรือ สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ๆ ซึ่งถ้าคนรู้สึกอยากพักผ่อนขึ้นมา ก็ควรที่จะเริ่มต้นจากภายในห้อง ภายในโครงการเองเลย เราพยายามมุ่งเน้นให้ออกแบบถึงความสบาย ความน่าอยู่จากภายใน จึงมีพื้นที่อย่างสวน ลำธาร ภูเขา เข้ามาเป็นไอเดียภายในโครงการ ซึ่งพื้นที่ที่ออกแบบมานั้น ก็ได้มีหน้าต่างกระจกทั้งหมด เพื่อให้รู้สึกถึงบรรยากาศรอบๆ ด้วย

art4d: ปัญหาที่พบเจอและดีเทลที่น่าสนใจ
SN: 
ในตอนนั้นเราพูดคุยกันถึงเรื่องของเสียง เพราะด้วยความที่โครงการติดถนน การเดินทางมาสะดวกแต่เราจะทำยังไงให้เวลาอยู่ภายในห้องพัก มันรู้สึกเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน อันนี้จึงเป็นที่มาของการได้ร่วมงานกับ การ์เดียนกลาส โดยเราได้เลือกใช้กระจกที่เป็น กระจกลามิเนต ความหนา 8.76 มม. โดยใช้ฟิล์มอคูสติก เพื่อลดเสียงรบกวนจากภายนอกช่วยให้เวลาปิดบานกระจกห้องพัก เสียงภายในจะเงียบทันที ซึ่งในส่วนของกระจกอื่นๆ เราเลือกกระจกโฟลต ซึ่งเราก็ได้พยายามออกแบบให้สีของกระจกที่เลือกมานั้นมีส่วนช่วยสร้างบรรยากาศของอาคารให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

จากภาพแรกที่ตั้งใจ สู่การอกกแบบก่อสร้าง จนตอนนี้โรงแรมเวลาดี เวลเนส เชียงใหม่ ใกล้ที่จะเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นอีกจุดหมายหนึ่งสำหรับคนที่มองหาโรมแรมที่มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ถูกออกแบบมาอย่างดี ใช้วัสดุคุณภาพ และยังได้ดูแลสุขภาพไปด้วยในเวลาเดียวกัน

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Offical Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

WELLADEE WELLNESS | GUARDIAN GLASS

WELLADEE WELLNESS | GUARDIAN GLASS

BY USING ACOUSTIC GLASS FROM GUARDIAN GLASS, WELLADEE WELLNESS CHIANGMAI HOTEL WELCOMES THE NATURAL SURROUNDING INTO THE INTERIOR SPACE WHILE RETAINING ITS CALM AND RELAXED ATMOSPHERE

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: THANANUPHONG KAMMERUU

(For English, press here)

หากใครต้องการหาที่ผ่อนคลาย ทั้งพักผ่อนร่างกาย พักผ่อนสมอง กับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่อาจก่อให้เกิดความเครียด เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ชายหาดสวยๆ ริมทะเล ชมวิวและดึ่มด่ำบรรยากาศดีๆ บนเขา หรือยอดดอย น่าจะเป็นทางเลือกแรกๆ แต่หากต้องการทิ้งความวุ่นวายและยังคงได้รับการดูแลร่างกายและจิตใจเป็นพิเศษ คงจะดีไม่น้อยหากมีสักที่ ที่สามารถฟื้นฟูทั้งสองด้าน ไปพร้อมๆ กัน เปรียบเสมือนเป็นการพักอย่างแท้จริง 

นั่นคือสิ่งที่จุดประกายให้เกิดโครงการโรงแรมเวลาดี เวลเนส เชียงใหม่ คิดเริ่มต้น เพื่อสร้างบรรยากาศสำหรับการพักผ่อน โดยคำนึงถึงการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นทั้งกายและใจ หรือที่เรียกว่า รีทรีท กันอย่างจริงจัง โดยได้มอบหมายให้ ทีมสถาปนิกจาก สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) ดูแลด้านออกแบบ วางแผนการพัฒนาสถานที่จากจุดประสงค์แรกเริ่ม

ที่ตั้งของโครงการอยู่บนถนนสายวัฒนธรรมสันกำแพง-เชียงใหม่ ที่ห่างจากตัวเมืองไม่มากนัก และเต็มไปด้วยธรรมชาติจากต้นจามจุรีขนาดใหญ่สองข้างทาง ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ให้กับโครงการได้ดี ด้านหน้าของอาคารถูกออกแบบให้เป็นพื้นสีเขียวด้วยกำแพงต้นไม้ และสวนหย่อม เพื่อช่วยบรรเทาเสียง และมลพิษที่จะเข้ามาสู่พื้นที่ภายใน ช่วยทำให้คนที่เข้ามานั้นรับรู้ถึงบรรยากาศสงบที่สัมผัสได้ตั้งแต่ก้าวเข้ามาเยือน

ฟังก์ชั่นของอาคารถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือพื้นที่พักอาศัย และพื้นที่กิจกรรมต่างๆ ที่ประกอบได้ด้วย คาเฟ่ ร้านอาคาร สปา ฟิตเนส และส่วนบริการนวดเพื่อสุขภาพ ซึ่งสามารถแบ่งพื้นที่ออกได้ชัดเจน โดยส่วนอาคาร 2 ชั้นล่าง เป็นพื้นที่กิจกรรมต่างๆ และอาคารด้านบนเป็นพื้นที่ห้องพักทั้งหมด 34 ห้อง

พื้นที่กิจกรรมด้านล่างถูกออกแบบให้มีความเปิดโล่งด้วยบานกระจกที่สูงจากระดับพื้นถึงฝ้าเพดานโดยสามารถรองรับการถ่ายเทอากาศได้ดีในช่วงหน้าหนาว ด้วยขนาดของกระจกนี้ ทำให้สามารถรับแสงธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารและมองเห็นบรรยากาศสวนที่อยู่โดยรอบได้เป็นอย่างดี 

ซึ่งรายละเอียดที่น่าสนใจไม่ใช่เพียงการออกแบบเลือกใช้กระจกสำหรับการมองเห็นวิวรอบๆ เท่านั้น บานกระจกยังมีหน้าที่อื่นที่โดดเด่น ตอบรับโจทย์ได้อย่างดี เช่น การเลือกใช้กระจกอะคูสติกลามิเนต ซึ่งเป็นกระจกนิรภัยทั้งเพิ่มความปลอดภัยและช่วยกรองเสียงจากภายนอก กระจกอะคูสติกลามิเนต จากการ์เดียนกลาส ซึ่งเป็นนวัตกรรมกระจกนิรภัยลดเสียง ผลิตด้วยแผ่นฟิล์ม PVB พิเศษที่ติดคั่นอยู่ระหว่างแผ่นกระจกแผ่นเดี่ยว 2 แผ่น รวมความหนาถึง เกือบ 9 มม. ถูกเลือกใช้สำหรับโครงการนี้เพื่อช่วยให้ผู้มาเยือนรู้สึก สงบ ผ่อนคลายสบาย และปลอดภัยมากขึ้นเมื่ออยู่ภายในอาคาร

จากพื้นที่ชั้น 1 เราสามารถมองเห็นสวน บ่อน้ำ ที่แทรกตัวอยู่ในผังอาคารโดยมีบันไดวนที่เป็นเสมือน จุดศูนย์กลางเพื่อเชื่อมไปยังห้องต่างๆ บนชั้น 2 ขณะเดียวกัน พื้นที่ของฟิตเนสที่อยู่ชั้นเดียวกันนี้เอง ก็สามารถมองผ่านบานกระจกลงมายังสวนด้านล่างได้เช่นกัน ในส่วนของห้องพักนั้น ถูกออกแบบ ให้มีความโปร่ง สบาย เพื่อให้รู้สึกเสมือนอยู่บ้านมากที่สุด ด้วยบรรยากาศของงานออกแบบภายใน และการเปิดระเบียงกระจกขนาดใหญ่ ทำให้สามารถมองเห็นบรรยากาศภายนอก และรู้สึกผ่อนคลายได้เมื่ออยู่ภายในห้องพัก

ด้วยความตั้งใจที่แตกต่างออกไป ทำให้โรงแรมเวลาดี เวลเนส เชียงใหม่ นั้นมีเอกลักษณ์และความพิเศษ ที่ดึงดูด ให้อยากไปพักผ่อนรวมถึงฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจมากกว่าที่จะเป็นเพียงที่พักสำหรับการท่องเที่ยวเท่านั้น

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Offical Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

SMG | GUARDIAN GLASS

SMG | GUARDIAN GLASS

LEARN MORE ABOUT SMG (SOLAR MANAGEMENT GLASS), ARCHITECTURAL GLASS FOR SOLAR HEAT FILTRATION AND ENERGY EFFICIENCY IN THE BUILDING FROM GUARDIAN GLASS

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART

(For English, press here)

กระจกที่พบเห็นนั้นมีอยู่หลายประเภทและหลากหลายรูปแบบที่รองรับการใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งในหลายๆ ครั้ง งานออกแบบก็ขึ้นอยู่กับความสวยงามและคุณภาพของวัสดุที่เลือกใช้ เรามักจะเห็นอาคารสูงมากมายในเมืองใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นเปลือกอาคาร คอยบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ภายใน และในหลายๆ ครั้ง กระจกก็เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่สื่อถึงแนวความคิดของงานสถาปัตยกรรมได้เช่นกัน

Photo courtesy of Shigeru Ban Architects

Tainan Art Museum ที่ออกแบบโดยสถาปนิกระดับโลก Shigeru Ban เป็นหนึ่งในโปรเจ็คต์ที่ออกแบบให้มีคอร์ตกลางอาคารเพื่อรับแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายใน ด้วยโครงสร้างที่น่าสนใจและการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อให้วัสดุต่างๆ สื่อสารออกมาได้ดีที่สุด กระจก SMG (Solar Management Glass) จาก Guardian Glass กระจกโฟลตประหยัดพลังงานถูกเลือกให้เป็นส่วนประกอบหลักของงานชิ้นนี้ ที่คอยเปิดรับแสงธรรมชาติ แต่ยังคงช่วยสร้างสมดุลเรื่องของการใช้พลังงานและควบคุมอุณหภูมิภายในได้

Photo courtesy of Shigeru Ban Architects

ด้วยคุณสมบัติในการกรองความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้สูง ที่ยืนยันได้ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์ (SHGC) เท่ากับ 0.54 หมายถึงความร้อนจากแสงอาทิตย์สามารถผ่านได้เพียง 54% เท่านั้น ซึ่งดีกว่ากระจกโฟลตเขียวที่เราพบเห็นกันทั่วไป นอกจากนี้ยังกรองรังสี UV ให้ผ่านเข้าสู่ตัวอาคารได้เพียง 22 % ทำให้ป้องกันความเสียหาย ความเสื่อมของวัสดุต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเฟอร์นิเจอร์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงการลดการใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลงเมื่ออุณหภูมิภายในไม่สูงจนเกินไป ในขณะเดียวกันก็ยังคงให้แสงสว่างส่องเข้ามาภายในอาคารได้ถึง 70% ไม่เหมือนกับการติดฟิลม์แบบที่พบเห็นได้ทั่วไป ทำให้ยังคงมองเห็นทิวทัศน์ได้ชัดเจนมากกว่าการติดฟิล์มกันความร้อนและทดแทนการใช้กระจกโฟลตใสแบบปกติได้

*หมายเหตุ: ตัวเลขแสดงประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนข้างต้น เป็นคุณสมบัติของกระจก SMG 6 มิลลิเมตร

นอกจากนี้บางประเภทอาคารที่ต้องการความปลอดภัยพิเศษ เช่น อาคารสำนักงาน อาคารสูงสำหรับพักอาศัย กระจก SMG นั้น สามารถนำไปทำเป็นกระจกนิรภัยแบบลามิเนต (Laminated Glass) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในกรณีที่กระจกแตกได้รับความเสียหาย หรือสามารถทำเป็นกระจกเทมเปอร์ (Temper Glass) หรือฮีทสเตรงเทน (Heat Strengthened Glass) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวกระจกได้ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในกรณีอาคารสูงที่มีกฎหมายควบคุมได้เป็นอย่างดี

จากคุณสมบัติที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ด้วยมาตรฐานของค่า LSG (Light to Solar Gain) และ SHGC (Solar Heat Gain Coefficient) ทำให้กระจก SMG ผ่านการรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ด้านการประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง (ฉลากเบอร์ 5) ทำให้มั่นใจได้ว่าอาคารที่เราออกแบบนั้น หากเลือกใช้กระจกที่มีคุณสมบัติอย่าง SMG แล้ว จะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากกว่าเดิม และนี่เป็นเพียงหนึ่งในผลิตภัณฑ์คุณภาพจาก Guardian Glass ที่ยังคงมีกระจกหลากหลายรูปแบบที่น่าสนใจให้ติดตามในบทความถัดๆ ไป

และในบทความฉบับหน้าจะพาทุกท่านเจาะลึกการสัมภาษณ์สถาปนิกชาวญี่ปุ่น ผู้ออกแบบโปรเจ็คต์ Tainan Art Museum ในไต้หวัน พร้อมพาชมส่วนต่างๆ ในอาคารอีกมากมายที่น่าสนใจ

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.guardianglass.com